ประกอบ คุปรัตน์
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Keywords: IT, ICT, wireless, sufficiency economy, เทคโนโลยีสารสนเทศ, เศรษฐกิจพอเพียง,
ผมได้เดินทางกลับมาจากสหรัฐอเมริกาในปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 แล้วมาพักที่บ้านได้สักระยะหนึ่งแล้ว หลังจากใช้เวลาอยู่ในประเทศสหราชอาณาจักร 10 วัน และที่สหรัฐอีก 2 เดือน
ระหว่างอยู่ที่เมือง Brooklyn, เมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เรียนรู้การใช้การนำเสนอผ่าน Blogger ผมได้เรียนรู้วิธีการสร้าง Blog นี้กับลูกชาย ลองดูงานของผมได้ที่ http://pracob.blogspot.com
ระหว่างอยู่ที่สหรัฐคันกระเป๋าสตางค์ อยากจะซื้อ
การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใหม่กว่าเดิม แล้วยกเครื่องกระเป๋าหิ้ว (Laptop, Notebook) คอมพิวเตอร์เก่าที่เก่าที่ยังใช้ได้ดีอยู่ให้กับมูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย เพื่อใช้ฝึกอาสาสมัครที่จะมาช่วยงานของมูลนิธิฯ เครื่องเก่าของผมมีประวัติติดตัวผมไปทั้งทางรถโดยสาร รถไฟ เครื่องบิน รวมนับเป็นแสนๆกิโลเมตรแล้ว
พูดถึงทางเทคนิคบ้างเล็กน้อย เครื่องเก่าเป็น Laptop มีอายุการ้ใช้งานกว่า 5 ปีแล้ว มีฟขนาดความเร็ว 1.8 Gigahertz หน่วยความจุช่วยคราวหรือ RAM ขนาด 750 MB, Hard disk ความจุ 80 GB ซึ่งเครื่องเนื่องจากเป็นเครื่องเก่า ไม่สามารถปรับปรุงอะไรได้มากกว่านี้แล้ว
เครื่องที่ผมเอามาปรับปรุงใหม่เพื่อใช้ คือ Sony VAIO มีอายุการใช้งานมาสัก 2 ปีแล้ว เป็นแบบจอกว้าง ลูกสาวเขาให้มาใช้นานแล้ว แต่ขี้เกียจไปจัดการระบบซอฟต์แวร์และ Applications ต่างๆ เพราะของเก่าก็ยังใช้ได้ดี แต่มาวันนี้ ตัดใจไปแถว Fortune Town ให้ร้านซ่อมคอมพิวเตอร์เขาเปลี่ยน ใส่ Hard disk ใหม่ที่จุหน่วยความจำที่ 160 GB ราคา 2200 บาท Harddisk เดิมเอาไว้ใช้เป็นตัวสำรองข้อมูล และเพื่อให้ความมั่นใจว่า Hardisk จะไม่พังไปอย่างง่ายๆ เพราะหมดอายุ
เติมหน่วยความจำ RAM หรือ Random Access Memory จากเดิม 512 MB เป็น 1 GB เสียค่าเติม RAM ไป 1100 บาท
ใช้บริการรับส่ง SMS โดยเลือกบริการส่ง SMS ต่อเดือนที่ประมาณ 120 ครั้งต่อเดือน ราคา 100 บาท ราคาต่อข้อความละ .83 บาท ถ้ารับส่งปกติจะเสียครั้งละ 2.00 บาท
รวมค่า Upgrade ค่าอุปกรณ์และค่าแรงแล้วประมาณ 4300 บาท ถ้าจะซื้อของใหม่ ก็จะเสียเงินประมาณ 35000 บาท ผมกะว่าจะใช้งานไปอีกสัก 2-3 ปี
การใช้ Aircard หรือ Wireless เสริมในมือถือเก่า จ่ายเงินเท่าเดิม ใช้การพูดคุยไม่เกิน 400 นาทีต่อเดือน ตัว Aircard นี้ราคาประมาณ 2800 บาท ตัดใจซื้อ และจะลองใช้งานดู ทางร้านเขาบอกว่าทางที่ดีให้ไปขอบริษัทมือถือ ให้ทำ SIM Card ที่ใส่ในเครื่องโทรศัพท์มือถือเพิ่มอีก 1 อัน เขาไม่คิดค่าบริการเพิ่มเติม มิฉะนั้นต้องถอด SIM เข้าๆออกๆ จะพังไปเสียก่อน จะเสียเวลาและยุ่งยาก
ปัญหาการไปทำงานต่างจังหวัดประการหนึ่งคือ ไม่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้สะดวก เพราะโรงแรมที่พักบางแห่ง หรือบ้านพักอาจไม่มีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตใช้ จึงซื้อ Modem สำหรับใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ เขาเรียกว่า Wireless Card ใช้ร่วมกับระบบโทรศัพท์มือถือ
ขณะเดียวกัน ก็บอกปรับ Package การใช้งานใหม่ ซึ่งทุกปี เขาจะมีบริการที่ถูกลง ส่วนชั่วโมงการโทรศัพท์ดูสถิติย่อนหลังแล้วใช้ประมาณไม่เกิน 400 ชั่วโมงต่อเดือน
การบอกใช้บริการเพื่ม การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่าน Mobilephone ในราคา Package แบบ 20 ชั่วโมงต่อเดือน เอาไว้ใช้ในสถานที่ๆไม่สามารถใช้ Broadband Internet ได้
เขามีบริการแบบใช้ตลอด 24 ชั่วโมงทั้งเดือนราคา 999 บาท น่าสนใจ แต่ไม่จำเป็นสำหรับผม ที่บ้านผมรับบริการ ADSL ความเร็ว 2 Mbps เสียค่าบริการอยู่แล้ว เดือนละ 1000 บาท คำนวณแล้ว ลองทดลองอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือใช้แบบไม่เกิน 20 ชั่วโมงก็คงจะพอสมควรแล้ว
รวมค่าบริการใช้โทรศัพท์มือถือของผมคือไม่สูงไปกว่าเดิม แต่ใช้งานที่หลากหลาย ใช้โทรศัพท์มือถือโทรกันแบบทั่วไป ใช้เพื่อสื่อสารอินเตอร์เน็ตในสถานที่ๆไม่อาจใช้อินเตอร์เน็ตทั่วไปได้
การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือในแบบเป็น Package 20 ชั่วโมงต่อเดือน 100 บาท นาทีละ 9 สตางค์ หรือชั่วโมงละ 5 บาท หากไปเช่าใช้เครื่องที่อินเตอร์เน็ตคาเฟ่จะเสียชั่วโมงละ 15-20 บาท หากไปใช้ในโรงแรมบางแห่งจะเสียชั่วโมงละหลายสิบบาท หากเป็นในต่างประเทศ โรงแรมเขาให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
ในอีกด้านหนี่ง ผมอ่านหนังสือพิมพ์ผ่านอินเตอร์เน้ตแบบฟรีมากขึ้น จึงงดรับหนังสือพิมพ์ที่เคยรับมาตลอดหลายสิบปี จะซื้ออ่านเป็นครั้งคราว ซื้อได้หลายฉบับ แต่ขณะเดียวกัน ก็ยังคงบอกรับนิตยสาร Time ที่เป็นรายเดือน ซึ่งนอกจากดูข่าวผ่านโทรทัศน์บอกรับ (Subscribed TV) อย่าง True Vision และขณะเดียวกัน ก็ตติดจานรับโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เรียกว่า Dish TV หรือ Satellite TV ลองวิเคราะห์ตนเองแล้ว ก็เป็นห่วงสื่อหนังสือพิมพ์และนิตยสารในบ้านเรา ที่มีแนวโน้มจะต้องประสบปัญหาเหมือนหนังสือพิมพ์เก่าแก่ของหลายๆเมืองในสหรํฐอเมริกา ที่คนหันไปใช้สื่อโทรนิกส์มากขึ้น สื่อกระดาษก็พากันปิดตัวเองไป เรื่องนี้เห็นว่า คณะกรรมาธิการด้านการสื่อสารของรัฐสภาของไทย น่าจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการมาศึกษาปัญหาและแนวโน้มกันอย่างจริงจัง เพราะสื่อหนังสือพิมพ์เหล่านี้ ความจริงเป็นฝ่ายไปวิ่งหาข้อมูลมา แต่เมื่อมาเผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ต หรืออ่านข่าวตอนเช้าแทน สื่อกระดาษ ก็ตกที่นั่งลำบาก
สรุปรวม ผมปรับปรุงระบบสื่อสารเฉพาะตัวของผม ควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการสื่อสารและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น แต่คนอย่างผมที่มีอาชีพด้านวิชาการ และชอบเดินทาง ก็จะมีค่าใช้จ่ายบางประการสูงกว่าคนทั่วไป แต่ก็คงพอเหมาะแก่สถานะ ในยุคที่เราต้องกินใช้อย่างเศรษฐกิจพอเพียง
No comments:
Post a Comment