Friday, September 18, 2009

มารู้จักเมืองเมลเบิร์น (Melbourne) ประเทศออสเตรเลีย

มารู้จักเมืองเมลเบิร์น (Melbourne) ประเทศออสเตรเลีย

ประกอบ คุปรัตน์
แปลและเรียบเรียง

From Wikipedia, the free encyclopedia
Keywords: cw107, ออสเตรเลีย

Updated: Saturday, September 19, 2009

ภาพ แผนที่ประเทศออสเตรเลีย

ความนำ

ประเทศออสเตรเลีย (Australia) เป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ มีบริเวณทั้งสิ้น 7,686,850 ตารางกิโลเมตร จัดเป็นประเทศใหญ่อันดับที่ 6 ของโลก มีประชากร (Population) สำรวจในปี ค.ศ. 2009 ประมาณ 21,885,016 ล้านคน จัดเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 53 ของโลก หรือมีประชากรประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีความหนาแน่นของประชากร (Density) ที่ 2.833 คน/ตารางกิโลเมตร จัดเป็นความหนาแน่นอันดับที่ 232 ของโลก ซึ่งจัดว่าเบาบางมาก เมื่อเทียบกับประเทศอย่างสิงคโปร์ หรือประเทศไทย


ดังนั้น การจะท่องเที่ยวเพื่อให้ไปถึงในทุกสถานที่ของประเทศจึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และประกอบกับพื้นที่เป็นอันมาก เป็นเขตแห้งแล้ง ไม่มีผู้อาศัยอยู่มาก การเดินทางข้ามประเทศโดยรถยนต์เป็นเรื่องที่มักไม่ค่อยจะทำกัน การจะไปเที่ยวแบบพอเป็นไปได้ คือ การเดินทางโดยเครื่องบิน แล้วไปเที่ยวย่านเมืองหลัก ดังเช่น เมืองซิดนีย์ (Sydney) อ้นเป็นเมืองใหญ่สุด หรือเมลเบิร์น (Melbourne) ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อ้นดับที่สองของประเทศ


ดังนั้นในช่วงที่เราได้การส่งเสริมการท่องเที่ยวของการบินไทย จึงได้ใช้แต้มสะสมจากการเดินทางที่ผ่านๆมา แล้วรวบรวมแลกตั๋วสำหรับผมและภรรยา จ่ายเงินค่าน้ำมันอีกเล็กน้อย แล้วเดินทางไปเมืองเมลเบอร์นในช่วงวันที่ 23-19 กันยายน ค.ศ. 2009 และในการนี้ได้ศึกษาข้อมูลขึ้นพื้นฐาน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศก่อนเดินทาง และเพื่อแลกเปลี่ยนกับท่านผู้อ่านทั้งหลาย


ภาพสถานที่่ท่องเที่ยวแนะนำของเมือง Melbourne

ภาพ เมืองเมลเบิร์นในยามคำคืน ถ่ายจากบริเวณท่าเรือ

เมือง Melbourne ตั้งอยู่ในรัฐ Victoria

ประชากร
Population:

3,892,419 คน (2008 Estimate) [1] (2nd)

ความหนาแน่นประชากร
Density:

1566 คน/ตารางกิโลเมตร (km²)
(4,055.9/sq mi) (2006)[2]

ก่อตั้งเมื่อ
Established:

30 สิงหาคม ค.ศ. 1835
30 August 1835

ตำแหน่งที่ตั้ง ดูได้ด้วย GPS
Coordinates:

37°48′49″S 144°57′47″E / 37.81361°S 144.96306°E / -37.81361; 144.96306Coordinates: 37°48′49″S 144°57′47″E / 37.81361°S 144.96306°E / -37.81361; 144.96306

ระดับสูงกว่าพื้นทะเล
Elevation:

31 เมตร (102 ft)

บริเวณ
Area:

8806 ตารางกิโลเมตร
(3,400.0 sq mi)

เขตเวลา
Time zone:

เวลาเปรียบเทียบ
Summer (DST)

AEST (UTC+10)

AEDT (UTC+11)

ระบบบริหารท้องถิ่น
LGA:

จัดแบ่งเป็นเขตเมือง 31 แห่ง รวมเป็นมหานครของเมลเบอร์น
31 Municipalities across Greater Melbourne

เขต
County:

Bourke

รัฐ และเขต
State District:

54 electoral districts and regions

จัดเป็นส่วนของรัฐบาลกลาง
Federal Division:

23 Divisions

อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด
Mean Max Temp

อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด
Mean Min Temp

ปริมาณน้ำฝนตลอดปี
Annual Rainfall

19.8 °C
68 °F

10.2 °C
50 °F

646.9 mm
25.5 in

เมลเบิร์น (Melbourne) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของรัฐวิคตอเรีย (State of Victoria) และจัดเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศออสเตรเลีย และจัดเป็นเขตหลัก ของมหานครเมลเบิร์น ที่รู้จักกันในนามว่า Greater Melbourne metropolitan area ทั้งนี้โดยชื่อ Melbourne เป็นชื่อที่ใช้เรียกกันโดยทั่วไป จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2008 มีประชากร 3.9 ล้านคน

ชื่อ Melbourne เป็นการตั้งชื่อตาม 2nd Viscount Melbourne, William Lamb ในปี ค.ศ. 1837 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศสหราชอาณาจักร (Prime Minister of the United Kingdom) อยู่ในช่วงสมัยครองราชสมบัติของ King William IV และ Queen Victoria เมืองเมลเบิร์นตั้งอยู่บนฝั่งตอนล่างของแม่น้ำยาร่า (Yarra River) และทางตอนเหนือและตะวันออกของท่าเรือฟิลลิป (Port Phillip) และยาวไปจนถึงเขตแผ่นดินที่ใกล้ฝั่งทะเล (hinterland)

ภาพเมืองเมลเบิร์น และแม่น้ำยาร่า
Melbourne and the Yarra in 1928

ในปี ค.ศ. 1835 ได้มีการจัดตั้งเมือง ซึ่งเป็นประมาณ 47 ปีหลังจากได้มีชาวยุโรปได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานจาก Van Diemen’s Land ซึ่งมีลักษณะเป็นเมืองของพวกคนเลี้ยงแกะ (pastoral township) รอบๆเขตที่มีน้ำจืด (estuary) ของแม่น้ำ Yarra และได้กลายเป็นเมืองหลวงของรัฐวิคตอเรีย (Victoria) เมื่อมีการประกาศให้เขตเป็นเมืองขึ้นที่แยกออกจากส่วน New South Wales ในปี ค.ศ. 1851

เมื่อมีการค้นพบแร่ทองคำ (gold) ในเขตเมลเบิร์นในช่วงทศวรรษ 1850s ซึ่งยุคนี้เรียกได้ว่า ยุคตื่นทองของรัฐวิคตอเรีย (Victorian gold rush) วิคตอเรียกลายเป็นเขตเมืองที่มั่งคั่ง จัดเป็นเมืองใหญ่ที่สุดและรวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในยุคปี ค.ศ. 1880s

Upon the Federation of Australia in 1901, Melbourne served as the seat of government of the newly founded Commonwealth of Australia until 1927 while the new nation's of Canberra was being built.

ในช่วงปี ค.ศ. 1991 ที่ได้จัดให้มีการปกครองเป็น Federation of Australia เมืองเมลเบิร์นได้กลายเป็นที่ตั้งของ Commonwealth of Australia จนกระทั่งปี ค.ศ. 1927 เมื่อได้เกิดเป็นชาติใหม่ในปี ค.ศ. 1927 เมืองหลวง (capital) จึงได้ย้ายไปตั้ง ณ เมืองแคนเบอร่า (Canberra) ที่ได้ก่อตั้งใหม่

เมลเบิร์นจัดเป็นศูนย์กลางของศิลปะ (arts), การพาณิชย์ (commerce), การศึกษา (education), อุตสาหกรรม (industry), การกีฬา (sports) และการท่องเที่ยว (tourism) ในปี ค.ศ. 2002 ได้รับการจัดอันดับโดยนิตยสาร The Economist ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก และได้รับการจัดอ้นดับให้เป็นเมืองต้นแบบของโลกที่เรียกว่า beta world city+ จากการศึกษาสำรวจเรื่อง การตั้งถิ่นฐานเมือง (The World Cities Study’s inventory) โดยมหาวิทยาลัย Loughborough University

เมืองเมลเบิร์นมีลักษณะพิเศษที่เป็นลักษณะประสมระหว่างแนววิคตอเรียน (Victorian) และสถาปัตยกรรมร่วมสมัย (contemporary architecture) มีเขตสวนสาธารณะและสวนไม้ต้นไม้ดอก (parks and gardens) และเป็นสังคมที่ลักษณะหลายเผ่าพันธุ์ (multicultural society) และเป็นเมืองที่มีเครือข่ายรถรางที่ใหญ่ที่สุด (World’s largest tram network) จัดเป็นเมืองหลวงที่มีสถาบันทางวัฒนธรรมและการกีฬาของชาติ .[15] It is recognised as Australia's 'cultural and sporting capital' and is home to some of the nation’s most significant cultural and sporting institutions.[16]

ในปี ค.ศ. 2007 ได้รับการจัดให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยของโลก โดยสถาบัน RMIT และในปี ค.ศ. 2008 ได้รับการจัดให้เป็นเมืองแห่งวรรณกรรม (City of Literature) โดยองค์การ UNESCO แห่งสหประชาชาติ (UN)

In 2007, it was also ranked in the top five university cities in the Global University Cities Index by RMIT,[17] and was classified as a City of Literature by UNESCO in 2008.[18]

เมืองเมลเบิร์นนอกจากจะได้เป็นเจ้าภาพของานละดับนานาชาติและของชาติ ซึ่งรวมถึงการเป็นที่ตั้งของรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย (Parliament of Australia) ที่เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1901

กีฬาโอลิมปิกปี ค.ศ. 1956 Z1956 Summer Olympics), การประชุมกลุ่มประเทศเครือจักรภพ (Commonwealth Heads of Government Meeting) ในปี ค.ศ. 1981การประชุมเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ในปี ค.ศ. 2000, กีฬาเครือจักรภพ ปี ค.ศ. 2006 (2006 Commonwealth Games) และการประชุมกลุ่มประเทศ G20 (G20 Summit) ในปีเดียวกัน

1 comment:

  1. ผมได้เดินทางไปเที่ยวส่วนตัวกับภรรยา โดยพักอยู่ที่ Melbourne, Australia แล้วไปเที่ยวในสถานที่ใกล้เคียง อันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ และขณะเดียวกันกำลังหาจุดแข็งสำหรับการส่งนักศึกษาไปเรียนที่ประเทศออสเตรเลียอย่างได้ผล หากใครมีข้อมูลหรือความเห็นใดๆ จะแลกเปลี่ยน โปรดเข้ามานำเสนอได้

    ReplyDelete