Wednesday, October 30, 2013

ยุคหลังระบอบทักษิณ ต้องเรียนรู้จากแผนฟื้นฟูจากมาร์แซล (Marshall Plan)


ยุคหลังระบอบทักษิณ ต้องเรียนรู้จากแผนฟื้นฟูจากมาร์แซล (Marshall Plan)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat E-mail: pracob.cooparat@gmail.com


ภาพ นายพลจอร์จ มาร์แชล (General George Marshall)



Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance, การเปลี่ยนแปลง,change, การวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง, planned change, สงครามโลกครั้งที่สอง, แผนพัฒนากำลังคน, นายพลจอร์จ มาร์แชล, General George Marshall


ภาพ สัญลักษณ์ภาพการช่วยเหลือของสหรัฐตามแผนมาร์แชล (The labeling used on Marshall Plan aid packages)

ความหวังที่ปลายอุโมงค์

เพื่อนของผมที่เป็นหนึ่งในแกนนำต่อต้านระบอบทักษิณคนหนึ่ง เขาบอกว่าเขาและพรรคพวกได้ต่อสู้กับระบอบทักษิณมารวมแล้วนานถึง 7 ปี ขณะนี้ก็ยังติดคดีความที่ต้องต่อสู้กันอีกนาน แต่การจะกำจัดระบอบทักษิณไปได้ สังคมไทยอาจต้องใช้เวลาต่อไปอีก 7 ปี

แต่ในบทความโดย “ลางแห่งความพินาศ” วสิษฐ เดชกุญชร ให้ความเห็นว่าระบอบทักษิณใกล้ถึงวันพินาศแล้ว เมื่อทักษิณหวังจะหักด่านออกกฏหมายนิรโทษกรรมคนผิดความอาญาและผิดฐานคอรัปชั่น พร้อมทั้งยกเงินเงิน 46,000 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยคืนให้กับเขา อย่างถือว่าไม่มีความผิดใดๆ และนี่แหละ จากนี้ต่อไปจะเปิดจุดเสื่อมลงของทักษิณและพรรคพวก

ระบอบทักษิณที่ล่มสลาย

ทักษิณและระบอบทักษิณยิ่งแข็งแรงขึ้น กระทำการอย่างย่ามใจยิ่งขึ้น แต่ให้สังเกตว่าระบบสังคมโดยรวมอ่อนแอลง ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

คนมีความทุกข์ไม่สุขสบายในการดำรงชีวิต หากไม่เอาความรู้สึกมาเปรียบเทียบ ก็ต้องเอาตัวเลขอย่างที่โดยสากลเขาใช้กันในการดูสถานะของสังคมประเทศว่าเสื่อมโทรมลงจริงหรือไม่

ดูตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ Gross Domestic Products (GDP) ที่ต้องประมาณการลดลงอย่างต่อเนื่องมาตลอด เหลือเพียงประมาณร้อยละ 2.5-2.7 ในปี 2556 นี้ โดยเฉลี่ย 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเติบโตโดยเฉลี่ยที่ปีละ 4.5

ตัวเลขการส่งออกลดลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเราไม่สามารถระบายข้าวออกขายต่างประเทศได้ ส่วนข้าวที่ต้องเก็บไว้นานเกินควร ก็จะเสื่อมลงไปเรื่อยๆ กลไกการดูแลตลาดข้าวมีปัญหาด้วยระบบรับจำนำข้าวในราคาสูงพิเศษ ทำให้ขาดทุนปีละ 2 แสนล้านบาท หากต่อเนื่องตลอดสมัยของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ นั่นคือประมาณ 1 ล้านล้านบาท มีผลกระทบโดยรวมต่อเศรษฐกิจของชาติแน่

ตัวเลข GDP ของไทยอยู่ที่ปีละ 4,898,000 ล้านบาท เงินใช้เพื่อจำนำราคาข้าวที่เสียไปกับคอรัปชั่นและการบริหารที่ผิดพลาดปีละ 200,000 ล้านบาท นับเป็นเพียง 1 ใน 25 ของรายได้ประชาชาติ แต่เมื่อประกอบกับการบริหารที่ไร้ประสิทธิภาพและคอรัปชั่นในเกือบจะทุกระบบ จะทำให้ภาพรวมผลกระทบหนักขึ้นเป็นลำดับ และจะทำให้เห็นได้จากการชะงักงันของการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
อีกส่วนหนึ่งให้สังเกตไว้ คือดรรชนีตลาดหลักทรัพย์ (Set Index) ดูย้อนหลัง 5 ปี ดรรชนีหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นโดยตลอด รวมถึง 1 ปีแรกของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หุ้นก็ยังขึ้นต่อเนื่องในปีแรก หุ้นขึ้นสูงสุดที่ 1653 แต่หลังจากนั้นหุ้นก็ตกลงอย่างต่อเนื่องในลักษณะทรงกับทรุด ปัจจุบันอยู่ที่ 1431 วิธีการอธิบายของผม คือในปีแรกของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ (2555) หุ้นยังขึ้นได้ เพราะมันเป็นแรงเฉื่อยต่อเนื่องจากปีก่อนหน้านั้น ที่ภาพรวมเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ปี 2556 นี้เป็นผลมาจากสภาพการจัดการเศรษฐกิจในปี 2555 จนถึงในปัจจุบัน ซึ่งมิได้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ และส่วนหนึ่งชัดเจนก็คือระบอบทักษิณ เมื่อไม่มีความโปร่งใสในการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่ได้มองประโยชน์ของชาติบ้านเมืองเป็นใหญ่ ผลพลอยก็จะส่งผลมาถึงตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเขาอธิบายเพียงว่า “ไม่มีข่าวดีในช่วงนี้”

ผมพอสรุปได้ว่าสักวันไม่ว่านานเพียงใด ระบอบทักษิณจะหมดไปจากแผ่นดินไทย ผมไม่ได้หมายเพียงทักษิณ ชินวัตรในฐานะบุคคลหรือครอบครัว แต่ระบอบทักษิณ อันได้แก่ ระบบการเมืองแบบประชานิยม การเมืองแบบคนต้องเลือกข้าง การไม่แสวงหาคนเก่งคนดีมาทำงาน แต่เลือกเพราะความเป็นพรรคพวก เลือกเพราะความสวามิภักดิ์ต่อบุคคลหรือนายใหญ่ การมีความเป็นสองมาตรฐาน ระบบที่รัฐบาลไม่สามารถยืนอยู่ตรงกลาง รักษากฎหมายของบ้านเมืองให้ยุติธรรมและคงความศักดิ์สิทธิ์ได้ เพราะคอรัปชั่นได้กัดกินไปถึงระบบบริหารราชการแผ่นดินทั้งมวลไปแล้ว

ก้าวใหม่ของสังคมไทย

บางคนกล่าวถึงยุคหลังทักษิณแล้วว่าประเทศไทยพึงต้องทำอะไรกันบ้าง อย่าคิดเพียงใช้ความโกรธ เกลียด และต่อต้านบุคคล แต่ต้องคิดและสร้างความสามารถในคนทั้งระดับคนนำ และประชาชนทั่วไป ให้มีความสามารถในการฟื้นฟูบ้านเมือง สร้างความแข็งแกร่งในประชากร ที่จะทำให้บ้านเมืองเข้มแข็งพอที่จะทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงใดๆในอนาคตได้

ผมไม่ได้หมายความเพียงปฏิรูปหรือปรับปรุงระบบการศึกษาในระบบทั่วไป (Formal Education) นั่นไม่เพียงพอสำหรับการฟื้นฟูประเทศไทย แต่หมายถึงระบบสังคมไทยทั้งมวล ต้องมีกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาคน (Human Resource Development – HRD) ที่จะเป็นส่วนของการฟื้นฟูสังคมประเทศโดยรวม
ในการนี้ จำเป็นต้องมีนักคิด หรือกลุ่มนักคิดที่จะมีแผนฟื้นฟูประเทศอีกครั้ง เหมือนดังแผนที่เสนาธิการทหารของฝ่ายสัมพันธมิตร นายพลจอร์จ มาร์แชล (George Marshall) นายพล 5 ดาวหัวหน้าเสนาธิการร่วมเหล่าทัพของอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การรบไม่ได้หมายเพียงใช้กำลังรบ แต่มันต้องเกี่ยวข้องกับหลายๆด้าน และรวมถึงการพัฒนาคน

นายพลจอร์จ มาร์แชล เป็นเสนาธิการทหารที่ต้องคิดการขยายกำลังทัพอเมริกัน จาก 189,000 คน เป็น 8 ล้านคน จากเด็กหนุ่มที่ไม่มีประสบการณ์รบใดๆ เขาเหล่านี้ต้องผ่านกระบวนการฝึกอบรม ที่ทำให้พร้อมที่จะต่อสู้กับกองทัพของเยอรมันนาซีและกองทัพญี่ปุ่นที่มีความพร้อมและบึกบึนในการสู้รบมากกว่า เขาต้องขยายกำลังพล 40 เท่า และภายในเวลา 4 ปี เพื่อเข้าร่วมและนำการสู้รบในสงครามโลกครั้งที่สอง แล้วชนะสงครามอย่างราบคาบในเวลา 4 ปีต่อมา

แต่สิ่งสำคัญที่มาร์แชลได้รับการยกย่องมากยิ่งกว่านั้น จนระดับได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ คือ การเสนอแผนการฟื้นฟูยุโรป ที่คนเรียกอย่างให้ความเคารพว่า “แผนมาร์แชล”

แผนมาร์แชล (Marshall Plan) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “แผนฟื้นฟูยุโรป” (European Recovery Program – ERP) เป็นความริเริ่มของอเมริกันที่จะช่วยยุโรป โดยการให้การสนับสนุนทางเศรษฐกิจ สร้างและฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปหลังความพินาศในสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่ขยายของคอมมิวนิสต์โซเวียต


ภาพ จอร์จ มาร์แชล ขณะทำงานร่วมกับทีมงาน


ภาพ เมืื่อสงครามสงบในช่วงยุคประธานาธิบดีทรูแมน และจะเริ่มแผนฟื้นฟูยุโรป สิ่งสำคัญคือการวางทีมงานที่จะจัดการแผนนั้น จอร์จ มาร์แชล ในฐานะทีมงานคณะรัฐมนตรีของทรูแมน กับผู้รับผิดชอบบริหารแผนฟื้นฟูยุโรปต่อไป


สำหรับพี่น้องชาวไทย ผมว่าอย่ามองเพียงการโค่นล้มทักษิณชินวัตร แต่ต้องมองถึงแผนการฟื้นฟูประเทศหลังการล่มสลายของระบอบทักษิณด้วย ผมจึงขอนำเสนอการศึกษาประวัติศาสตร์ที่อาจทำให้เราเกิดความคิดบางอย่างในสังคมไทยบ้าง

No comments:

Post a Comment