Saturday, October 18, 2014

องค์การอนามัยโลกเสนอให้มีการตรวจสอบมาตรการจัดการกับอีโบลา (Ebola)

องค์การอนามัยโลกเสนอให้มีการตรวจสอบมาตรการจัดการกับอีโบลา (Ebola)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: สุขภาพ, health, healthcare, โรคติดต่อ, epidemic, อีโบลา, Ebola, Ebola virus disease – EVD


ภาพ – CNN – บุคลากรสาธารณสุขขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนกำลังคุยกับผู้ป่วยอีโบลาที่รับการรักษาพยาบาลที่ศูนย์ในประเทศไลบีเรีย – 16 ตุลาคม 2014

องค์การอนามัยโลก (WHO) ร้องเตือนในวันเสาร์ที่ผ่านมา (16 ตุลาคม 2014) ว่า ประชาชาติจะต้องกลับมาตรวจสอบวิธีการจัดการกับโรคระบาดมหาภัยอีโบลาในอัฟริกาตะวันตก เมื่อวิกฤติได้ผ่านพ้นไปแล้ว อีโบลา (Ebola) ได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 4,500 คน แต่สหประชาชาติและองค์การอนามัยโลกได้ปฏิเสธที่จะให้ข่าวที่มีเอกสารหลุดรั่วออกมาวิจารณ์ความไร้ประสิทธิภาพของการจัดการกับอีโบลาของประชาคมโลก

ทุกคนที่เกี่ยวข้องในการระบาดนี้ล้มเหลวที่จะมองเห็นคำอธิบายที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรได้อย่างเปิดเผยให้ทุกฝ่ายได้รับรู้ เอกสารองค์การอนามัยโลก ตามการรายงานของ Associated Press กล่าวว่า พายุร้ายกำลังก่อตัว พร้อมที่จะระเบิดอย่างเต็มที่” แต่องค์การอนามัยโลกออกความเห็นว่า เอกสารที่หลุดรั่วมานี้เป็นเพียงขั้นการร่าง ที่ยังต้องมีการตรวจสอบข้อมูลหรือตรวจอ่านโดยเจ้าหน้าที่แล้วให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกได้ให้ข้อคิดเห็นว่า เอกสารสมบูรณ์จะรายงานได้ต่อเมื่อโรคระบาดร้ายแรงนี้ได้ผ่านไปแล้ว

Aid workers train to battle Ebola

Ebola spreading concerns investors

McCormick: Contact with Duncan was flawed

ตามการประมาณการขององค์การอนามัยโลก มีผู้ป่วยด้วยโรคอีโบลาหรือสงสัยว่าป่วยแล้ว 9,200 คน ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา และมีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 4,500 คน (ตุลาคม 2557) ข้อมูลเหล่านี้มาจาก กีนี (Guinea), ไลบีเรีย (Liberia), ไนจีเรีย (Nigeria), เซเนกัล (Senegal), เซีบรา เลโอน (Sierra Leone), สเปน (Spain) และสหรัฐอเมริกา (United States) ข้อมูลนี้มีแนวโน้มว่าประเมินต่ำกว่าที่เป็นจริง โดยเฉพาะในบริเวณที่ห่างไกลผู้คน ซึ่งก็ห่างไกลการแพทย์ที่ทันสมัย และมีผู้ป่วยและเสียชีวิตไปโดยไม่ได้รับการรักษาพยาบาล จึงไม่ได้มีการบันทึกไว้อย่างเป็นระบบ

ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา สหประชาชาติเรียกร้องไปยังนานาชาติให้ช่วยบริจาคเงินเป้าหมาย 1,000 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 32,000 ล้านบาท สนับสนุนการจัดการกับโรคระบาดอีโบลาในอัฟริกาตะวันตก นายจอห์น แครี (John Kerry) รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐได้ออกมากล่าวว่าปัจจุบันระดมเงินได้เพียงหนึ่งในสามของที่ต้องการ

หากไม่มีการร่วมแรงกันจริงจังจากประชาคมนานาชาติ นายแครีกล่าวว่า “อีโบลามีศักยภาพที่จะแพร่กระจายไปเหมือนกับโรคเอดส์ (HIV) หรือโปลิโอ ที่เราต้องร่วมกันขจัดเป็นเวลาหลายทศวรรษ
ในวันเสาร์นายเดวิด คาเมรอน (David Cameron) นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร ได้กล่าวเตือนสมาชิกสหภาพยุโรปให้ลงทุน 1,000 ล้านยูโร หรือ 41,150 ล้านบาท และส่งอาสาสมัครจำวน 2,000 คน เข้าทำงานต่อสู้กับอีโบลา

แคนาดาไม่ได้ช่วยเป็นเงิน แต่ได้ส่งเวชภัณฑ์ที่มีศักยภาพรักษาโรคอีโบลา ฝ่ายสาธารณสุขของแคนาดาได้ส่งยารักษาอีโบลาในขั้นทดลองจำนวน 800 ขวดไปให้องค์การอนามัยโลก ณ เมืองเจนีวา เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่านมา ผลของการรักษาพยาบาลด้วยวัคซีน ซึ่งได้เริ่มขึ้นที่โรงพยาบาลทหาร Walter Reed Army Institute of Research ในรัฐแมรีแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา (Maryland, USA) ซึ่งจะสามารถรายงานผลได้ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557

ส่วนประเทศพัฒนาแล้วนอกจากนี้ ดังกรณีเยอรมนีและฝรั่งเศสอยู่ในขั้นตรวจคัดแยกผู้โดยสารสายการบินจากกีนีในอัฟริกาตะวันตกมายังประเทศของตน ส่วนประเทศอื่นๆเพียงเริ่มตระหนักดูแลไม่ให้โรคร้ายนี้ระบาดเข้าสู่พรมแดนของประเทศตน

ซึ่งมาตรการป้องกันแบบควบคุมบริเวณนี้รวมถึงประเทศสหรัฐ เมื่อได้มีกรณีผู้ป่วยด้วยอีโบลาในประเทศของตน และทำให้นายโธมัส อีริค ดันแคน (Thomas Eric Duncan) เสียชีวิต

ด้วยความกลัวการแพร่ระบาดอย่างรุนแรง ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้แต่งตั้งผู้มีอำนาจสูงสุดในการจัดการกับอีโบลาในประเทศสหรัฐอเมริกา คือนายรอน เคลน (Ron Klain) อดีตหัวหน้าทีมงานของรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน (Joe Biden) และอดีตรองประธานาธิบดีอัล กอร์ (Al Gore)

ฝรั่งเศสได้เริ่มตรวจกรองผู้โดยสารสายการบินซึ่งมีวันละหนึ่งเที่ยวจากกีนี (Guinea) เพื่อคัดแยกผู้มีอาการอันสงสัยว่าป่วยเป็นอีโบลา ผู้โดยสารจะต้องกรอกแบบฟอร์มและได้รับการตรวจอุณหภูมิร่างกาย
ในประเทศสเปน เทรีซ่า โรเมโร รามอส (Teresa Romero Ramos) ผู้ช่วยพยาบาลได้ติดโรคอีโบลาหลังจากดูแลอาสาสมัครศาสนา 2 คน และได้กลับมารักษาตัวที่โรงพยาบาล Carlos III ในกรุงแมดริด ส่วนอาสาสมัครศาสนา 2 คนในที่สุดอาการได้ทรุดหนักและเสียชีวิตที่โรงพยาบาลแห่งนี้

หลังจากกรณีติดโรคและเสียชีวิตในประเทศ รัฐบาลของประเทศสเปนได้หันมาดูแลการระบาด โดยติดตามคนใกล้ชิดผู้ป่วยในสเปน 87 คน โดย 67 คนอาศัยอยู่ที่บ้านภายใต้การติดตามดูแล ส่วนที่เหลือที่ต้องกักตัวที่โรงพยาบาล มี 2 คนที่แสดงอาการ ส่วนอีก15 คนที่ไม่ได้แสดงอาการ ที่เกาะคานารี (Canary Islands) มี 3 คนที่ต้องอยู่ภายใต้การดูแล

ดังพายุก่อตัวเพื่อโหมกระหน่ำ

หากโรคนี้เป็นการเริ่มแพร่ระบาดในรัฐใดรัฐหนึ่งของสหรัฐอเมริกา คงใช้เวลาไม่นานนักที่อเมริกันจะพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคระบาดนี้ ดังในกรณีโรคเอดส์ แต่เพราะการเกิดและระบาดนั้นเกิดในประเทศด้อยพัฒนา มีการรบพุ่ง อยู่ห่างไกลประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ โรคระบาดนี้จึงยังวนเวียนอยู่ในโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1976 แต่นั่นมิได้หมายความว่ามันจะหายไป

เพียงแต่มันจะอาศัยการฟักตัวอยู่ในเขตที่มนุษย์ไม่ใส่ใจ แล้วสักวันมันอาจระบาดไปทั่วโลก ซึ่งจะก่อให้เกิดผลร้ายอย่างกว้างขวาง มีผลกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจและสังคมอีกมากมาย

ข้อมูลพื้นฐาน

อีโบลา มีชื่อเต็มว่า Ebola virus disease – EVD ก่อนหน้านี้เรียกว่า ไข้เลือดออกอีโบลา (Ebola hemorrhagic fever - EHF) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Ebolavirus

สัญญาณและอาการของที่โรคอีโบลาทั่วไปจะเริ่มจากภายใน 2 วันถึง 3 สัปดาห์หลังจากผู้ป่วยได้ติดเชื้อไวรัสนี้ ซึ่งจะทำให้มีไข้สูง เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ และปวดหัว หลังจากนั้นจะอาเจียน ท้องร่วง และมีผื่นขึ้น และตามด้วยอาการตับและไตวาย และเมื่อถึงช่วงนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดออกทั้งภายในและภายนอกให้เห็น การเสียชีวิตจะเริ่มให้เห็นได้ในช่วง 6-16 วันหลังติดโรค หลังจากเกิดอาการความดันโลหิตต่ำและสูญเสียน้ำในร่างกาย

การติดและแพร่ขจายของโรคนี้เกิดจากการการสัมผัสเลือดและของเหลวจากร่างกายของคนหรือสัตว์ที่ป่วย ซึ่งอาจเกิดจากการสัมผัสโดยตรง หรือสิ่งของที่ปนเปื้อนด้วยเชื่อโรค ในปัจจุบันยังไม่พบการแพร่กระจายทางอากาศ โดยทั่วไปเชื่อว่าค้างคาวกินผลไม้ (Fruit bats) เป็นพาหะนำโรค

มนุษย์ที่จะติดโรคจนนำสู่การแพร่กระจายสู่มนุษย์ ก็ด้วยการสัมผัสกับค้างคาวที่เป็นพาหะ ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และตายแล้วที่ได้ติดเชื่อโรคนี้มา และเมื่อมีการติดโรคระหว่างมนุษย์สู่มนุษย์ โรคนี้ก็สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ผู้ชายที่มีชีวิตรอดจากโรคสามารถแพร่โรคต่อด้วยเชื่ออสุจิ (Semen) ภายในเกือบสองเดือน และการจะวิเคราะห์ EVD หรือโรคอื่นๆที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ดังเช่นมาลาเรีย (Malaria), อหิวา (Cholera) และโรคไข้เลือดออก (Viral hemorrhagic fevers)

การจะตรวจเลือดก็ตรวจว่ามีภูมิต้านทานไวรัส (viral antibodies) นี้หรือ RNA หรือตัวเชื้อไวรัสนี้เอง จึงจะสามารถยืนยันได้

การจะควบคุมการแพร่ระบาดของโรคนี้ต้องเป็นการบริการทางการแพทย์ที่ทำอย่างต่อเนื่อง และการที่ต้องมีความร่วมมือจากชุมชนด้วย บริการทางการแพทย์ที่จำเป็น รวมทั้งการตรวจหาการติดโรค การค้นหาเส้นทางการแพร่กระจาย การต้องมีบริการห้องทดลองที่เหมาะสม การจัดการจำแนกผู้ป่วยจากคนทั่วไป การกำจัดศพของผู้ตายจะด้วยการเผา (Cremation) หรือการฝัง (Burial) ก็ต้องทำอย่างถูกต้องเหมาะสม การป้องกันต้องรวมถึงการลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากคนและสัตว์ที่ได้รับเชื้อโรคมา วิธีการทำได้นี้ ก็ต้องด้วยการควบคุมการแล่เนื้อจากสัตว์ ซึ่งคนแล่เนื้อต้องสวมเครื่องป้องกันตั้งแต่ถุงมือยาง เสื้อผ้า และการหุงหาอาหารที่ต้องทำให้สุกก่อนบริโภค

คนประกอบอาหารต้องสรวมเสื้อผ้าป้องกัน ต้องล้างมือ เมื่ออยู่ใกล้กับคนที่ติดโรค การจะหยิบจับเครื่องมือที่เกี่ยวกับการเก็บตัวอย่างของเหลวคัดหลั่ง (Body fluids) เนื้อเยื่อ (Tissues) จากคนที่ป่วยเป็นโรคต้องดูแลด้วยความระมัดระวัง

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคอิโบลา การรักษาด้วยการพยายามช่วยผู้ป่วยที่ติดเชื้อด้วยการให้น้ำเกลือทางปาก (Oral rehydration) หรือการให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด การดูแลในลักษณะนี้ช่วยทำให้ผู้ป่วยกระเตื้อง โรคนี้มีอัตราการเสี่ยงเสียชีวิตสูง ผู้ป่วยมีโอกาสตายร้อยละ 25 ถึง 90 แต่โดยเฉลี่ยผู้ป่วยรับโรคนี้จะเสี่ยงเสียชีวิตร้อยละ 50 โรค EVD เริ่มพบเป็นครั้งแรกในบริเวณประเทศซูดาน ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของซูดานใต้ และในประเทศซาเอียร์ (Zaire) ซึ่งในปัจจุบันคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (Democratic Republic of the Congo) โรคมักแพร่ระบาดในเขตร้อน (Tropical regions) ของเขตซาฮาราในอัฟริกา (Sub-Saharan Africa) จากค.ศ.1976 จนถึงค.ศ. 2013 องค์การอนามัยได้ประมาณว่าพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ 1,716 ราย


แต่การแพร่ระบาดที่รุนแรงได้เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 2014 ในอัฟริกาตะวันตก ซึ่งกระทบต่อประเทศกีนี (Guinea) เซียรา เลโอน (Sierra Leone) และไลบีเรีย (Liberia) ในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2014 พบมีผู้ป่วยหรือต้องสงสัยว่าป่วย 9,216 คน เสียชีวิตแล้ว 4,555 คน ระหว่างนี้มีความพยายามพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันและรักษาโรคอีโบลานี้ แต่ยังไม่มีผลที่ประกาศได้แน่ชัด

No comments:

Post a Comment