สุภาษิตอัฟริกัน - ปัญญาเป็นเหมือนต้นเบาบาบ
ไม่มีใครคนเดียวโอบรอบต้นได้
Keywords:
สุภาษิตอัฟริกัน, African
proverb, ต้นเบาบาบ, Baobab,
ไม้แดงยักษ์,
Red Wood,
เซโคย่า, Sequoia, กระบวนการกลุ่ม, Group process,
สหวิทยาการ, Inter-disciplinary,
Wisdom is like a baobab tree; no
one individual can embrace it. ~ Akan proverb
มีสุภาษิตชาวอากันในอัฟริกาบทหนึ่งกล่าวว่า “Wisdom
is like a baobab tree; no one individual can embrace it. ~ Akan proverb แปลเป็นไทยได้ว่า “ปัญญาเป็นเหมือนต้นเบาบาบ ไม่มีใครคนเดียวโอบรอบต้นได้”
อากัน (Akan
people),
เป็นชนเผ่าที่มีอยู่ในประเทศกานา (Ghana)
และไอวอรี โคสต์ (Côte d'Ivoire)
ในทวีปอัฟริกา
ภาพ ต้นเบาบาบ (Baobab tree)
ภาพ ต้นเบาบาบ ที่นำมาปลูกข้างถนนในอัฟริกา
เบาบาบ (Baobab) เป็นชื่อสามัญของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่แบ่งออกได้เป็น
9 สปีชีส์ (Species) ของ Genus
Adansonia เป็นชื่อทางวิชาการที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติต่อ Michel
Adanson นักธรรมชาติวิทยาและนักสำรวจที่พรรณนาถึง Adansonia
digitata
ใน 9 สปีซีส์นี้ มี 6
ที่เป็นพืชพื้นเมืองของ Madagascar, 2 เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอัฟริกาและแหลมอาหรับ
และมี 1 สปีซีส์ที่เป็นพืชพื้นเมืองของออสเตรเลีย
ต้นเบาบาบ หรือ Adansonias
มีความสูงตั้งแต่ 5
ถึง 30
เมตร
มีเส้นผ่าศูนย์กลาง (Diameter)
ลำต้นใหญ่ขนาด 7
ถึง 11
เมตร ซึ่งจัดว่าเป็นต้นไม้ที่ใหญ่มาก เหมือนกับทางทวีปอเมริกาเหนือทางฝั่งทะเลตะวันตกมีต้นไม้แดงยักษ์
(Red Wood)
หรือเซโคย่า (Sequoia)
เพราะความใหญ่ของต้นเบาบาบ
จึงทำให้มีการเปรียบเทียบอะไรที่เป็นเรื่องใหญ่โต ก็มักจะพูดเปรียบถึงต้นเบาบาบ
ดังสุภาษิตอัฟริกันที่ว่า ““ปัญญาเป็นเหมือนต้นเบาบาบ ไม่มีใครคนเดียวโอบรอบต้นได้”
ซึ่งขยายความได้ว่า การจะคิดจะทำอะไรที่เป็นเรื่องใหญ่ อย่าคิดและทำตามลำพัง
อย่าทะนงตัวเองว่าเก่งที่สุด แต่ให้แสวงหาปัญญาจากผู้คนที่หลากหลาย แล้วเมื่อได้ปัญญา
ความรู้ และประสบการณแล้ว จึงรวบรวมสรรค์สร้างสิ่งใหม่ที่ดีที่สุด
ในกระบวนการบริหารเขามีกระบวนการหนึ่งที่เรียกว่ากระบวนการกลุ่ม
(Group process) ดังเช่นการระดมสมอง (Brainstorming)
เมื่อต้องมีการทำงานเป็นกลุ่ม อาจเป็น 3 คนหรือ 9 คน เขาจะจัดสรรเวลาให้สมาชิกแต่ละคนได้แสดงออก
ปล่อยให้สมาชิกแต่ละคนได้นำเสนอ โดยไม่มีการขัดจังหวะ
หรือวิพากษ์วิจารณ์เห็นดีหรือไม่ดีเสียในแต่ระยะเริ่มแรก การที่หัวหน้ากลุ่มปล่อยให้แต่ละคนได้แสดงออก
และเป็นกระบวนการใช้เวลา และแม้ความคิดแต่ละคนยังไม่ใช่ทางออกที่สุดที่สุด แต่เขาจะใช้ความอดทน
ให้เวลาในกระบวนการพัฒนาของกลุ่ม และให้เวลาให้เกิดการสร้างความมั่นใจให้กับแต่ละคน
การที่แต่ละคนได้แสดงออก และคนอื่นๆได้ร่วมรับฟัง ก็จะเท่ากับเป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้ร่วมกัน
เข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งของแต่ละคนร่วมกัน แล้วทั้งหมดนี้จึงค่อยหาทางวางเป้าหมายของสิ่งที่จะดำเนินการต่อไป
กระบวนการทำงานเป็นกลุ่มอาจไม่ใช่คำตอบสำหรับปัญหาบางอย่างที่ต้องใช้ความรวดเร็ว
ปัญหาเป็นเรื่องชัดเจนไม่ซับซ้อน กระบวนการแก้ปัญหามีขั้นตอนและวิธีการที่ปฏิบัติกันมาอยู่แล้ว
แต่เมื่อใดที่ปัญหาเป็นของใหม่ มีความซับซ้อน มีผลกระทบมากและรุนแรงได้
ดังนี้ต้องใช้กระบวนการกลุ่ม บางทีต้องหาคนที่เก่งที่สุดในแต่ละด้านที่จำเป็นทั้งในและนอกองค์การ
แล้วนำมาทำงานร่วมกัน ดึงเอาวิทยาการหลายๆด้านมาเพื่อแสวงหาองค์ความรู้ใหม่
ทีจะตอบปัญหานั้นๆ
ตัวอย่างการพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information
Technology) ต้องการทั้งคนที่รู้เรื่องอิเลคโทรนิกส์, ไฟฟ้า, วัสดุศาสตร์,
ฟิสิกส์, คณิตศาสตร์ ที่นำมาใช้ในการออกแบบซอฟต์แวร์
ทั้งนี้ยังต้องได้ฝ่ายปฏิบัติการที่มีประสบการณ์ภาคสนาม นำความต้องการของคนใช้เทคโนโลยีที่มีหลากหลาย
เพื่อนำมาออกแบบสิ่งประดิษฐ์ให้ใช้ได้สะดวก ฝ่ายศิลปกรรม
นักออกแบบที่ทำให้วิทยาการต่างๆ ได้นำมาใช้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ได้ สวยงาม น่าใช้
ในทางธุรกิจ แม้ความคิดที่ดีๆ
แต่บางครั้งก็พัฒนาไปไม่ได้ไกล เพราะต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก
ที่คนเริ่มต้นทางธุรกิจ (Business star-up) ทั้งหลายจะมีกำลังเงินที่จะพัฒนาได้
ก็ต้องมีการระดมทุน มีการหาบริษัทที่มีขนาดใหญ่กว่า บางทีต้องยอมยุบรวมกิจการ หรือขายกิจการไป
เพื่อให้องค์กรที่ใหญ่กว่า ได้หาทางส่งเสริมระบบวิจัยและพัฒนาให้เดินหน้าต่อไป
จนทำให้เกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนทางการเงินคุ้มแก่การลงทุนในที่สุด
ภาพ นวตกรรมของ Smarphone ที่ทำให้เครื่องมีขนาดพอเหมาะแก่ารใช้ประโยชน์ เล็กพอที่จะพกพา และมีหน้าปัดกว้างพอ เพื่อการใช้สายตา
ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า และไฟฟ้าลูกประสมของ BMW ใช้เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ วัสดุที่แข็งแรงและมีน้ำหนักเบา ทำให้น้ำหนักรถลดลงคันละ 400 กก. เพื่อรงอรับแบตเตอรี่ที่มีน้ำหนักมาก
ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 เป็นรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบที่จะออกสู่ตลาดในราวปี 2017-1918 ราครคันละ USD 35000 หรือราคาประมาณ 1.2 ล้านบาทไทย วิ่งได้ 320 กม. ด้วยการชาร์จไฟครั้งเดียว
ภาพ โรงงานยักษ์ Gigafactory ของบริษัทรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Motors ซึ่งระบบผลิตแบตเตอรี่รถยนต์นี้ จะทำให้ราคาแบตเตอรี่รถยนต์ถูกลงร้อยละ 50 ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า แข่งกับรถยนต์ธรรมดาได้ แต่ค่าไฟฟ้าจะเป็นเพียงร้อยละ 20-30 ของรถยนต์ใช้น้ำมันปิโตรเลียม
ภาพ รถโดยสารไฟฟ้า (Electric bus) ที่ใช้แบตเตอรี่แทนสายไฟฟ้าที่ต้องโยงไปตามถนนยุ่งยาก แต่เขาจะใช้สถานีชาร์จไฟที่ชาร์จไฟได้เป็นระยะๆ และใช้เวลาเพียง 10 วินาที
นวตกรรมทั้งหมดนี้ จะกระทำได้ ด้วยต้องใช้ปัญญาทั้งในปัจจุบันและที่สะสมกันมาในอดีต และต้องใช้ความรู้ความสามารถในแบบสหวิทยาการ (Multi-disciplinary) ข้ามสายวิชาการ เพื่อทำให้สิ่งสร้างสรรค์มีประโยชน์เหล่านี้เกิดขึ้นได้