กษัตริย์บอริสที่สาม ซาร์แห่งบัลแกเรีย
(Boris III, Tsar of
Bulgaria)
Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, government, governance, บัลแกเรีย, Bulgaria,
ระบอบกษัตริย์, monarchy, บอริสที่ 3, Boris
III, Tsar of Bulgaria
ภาพ กษัตริย์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย
กษัตริย์บอริสที่สาม ซาร์แห่งบัลแกเรีย
(Boris III, Tsar of
Bulgaria) เกิดเมื่อวันที่ 30
มกราคม หรืออาจเป็น 18 มกราคม ค.ศ. 1894
และสวรรคตวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1943 เป็นโอรสของกษัตริย์เฟอร์ดินานที่หนึ่ง (Ferdinand I) ขึ้นครองราชย์ด้วยการสละตำแหน่งของพระบิดา
เมื่อบัลแกเรียต้องพ่ายสงครามในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ซึ่งนับเป็นความพ่ายแพ้ของประเทศเป็นครั้งที่สองในรอบ 5 ปี
หลังจากพ่ายครั้งแรกในสงครามบัลข่าน (Second Balkan War – 1913)
จากความพ่ายแพ้
บัลแกเรียภายใต้สนธิสัญญานูวิลลี (Treaty of Neuilly) บัลแกเรียถูกบังคับให้ต้องสละดินแดนที่ยืดครองมาได้
และต้องจ่ายค่าชดใช้สงคราม
ทำให้เกิดความอ่อนแอไม่มั่นคงทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ
การพบกับฮิตเลอร์
Meetings with Hitler
กษัตริย์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกฮิตเลอร์
ผู้นำของเยอรมันนาซีเชิญไปรับนโยบายส่งชาวบัลแกเรียเชื้อสายยิวไปเข้าค่ายแห่งความตายในโปแลนด์และเยอรมัน
แต่กษัตริย์บอริสกลับส่งให้ชาวยิวเหล่านั้นไปเข้าค่ายใช้แรงงานในบัลแกเรียแทน
เพื่อหลีกหนีการส่งไปถูกสังหารล้างเผ่าพันธุ์นอกประเทศ
ในช่วงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943 Dannecker
และมนตรีกิจการยิว (Commissar for Jewish Affairs) ชื่อ Belev เป็นหัวหน้าวางแผนส่งชาวบัลแกเรียเชื้อสายยิว
ด้วยเรือกลไฟล่องไปตามแม่น้ำดานูบ ไปเข้าค่ายแรงงาน ซึ่งหมายถึงส่งไปถูกสังหารหมู่
ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่กษัตริย์บอริสที่ 3 ก็เล่นเกมส์หนูกับแมว
โดยบอกว่าพระองค์ต้องการชาวยิวเหล่านั้นเพื่อใช้แรงงานในบัลแกเรียเพื่อสร้างถนนและทางรถไฟภายในราชอาณาจักร
แต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายนาซีเยอรมันยืนยัน แจ้งให้ส่งเขาเหล่านั้นไปโปแลนด์ที่เยอรมันยึดครอง
คำสั่งจากฝ่ายเยอรมันสร้างความไม่พอใจในประชาชนของบัลแกเรีย
ผู้นำผู้รณรงค์คัดค้านคือรองประธานรัฐสภา Dimitar
Peshev และพระผู้นำศาสนาคริสต์นิกายบัลแกเรียออธอดอกซ์ Archbishop
Stefan และเสียงจากประชาชนที่รณรงค์นี้ทำให้กษัตริย์บอริสที่ 3
ปฏิเสธที่จะส่งตัวชาวบัลแกเรียเชื้อสายยิว 50,000 คนไปยังโปแลนด์
ในวันที่ 30 มิถุนายน
ค.ศ. 1943 ผู้แทนศาสนา Angelo
Roncalli ซึ่งต่อมาคือ Pope
John XXIII ได้เขียนจดหมายถึงกษัตริย์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย ขอความเมตตาของพระองค์ต่อลูกหลานชาวยิว
กษัตริย์บอริสได้ทรงเขียนตอบไปว่า
พระองค์ไม่มีทางที่จะกระทำการที่ไร้เกียรติเช่นนั้น และได้ทรงเล่าถึงสถานการณ์ยากลำบากของสถาบันกษัตริย์ในบัลแกเรีย
แต่ก็ทรงตอบไปว่าพระองค์จะไม่ส่งชาวบัลแกเรียเชื้อสายยิวไปโปแลนด์
การปฏิเสธของกษัตริย์บอริสที่ 3 นี้สร้างความระคายเคืองให้กับฮิตเลอร์อย่างมาก และยิ่งกว่านั้น
พระองค์ปฏิเสธที่จะประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต ฮิตเลอร์เรียกตัวกษัตริย์เข้าพบ
และเป็นการประชุมที่เคร่งเครียดที่ Rastenburg ในปรัสเซีย (เยอรมนี) ตะวันออก
ที่เมือง Rastenburg กษัตริย์บอริสที่ 3 ได้ยืนยันที่จะไม่ส่งชาวยิวเข้าค่ายแห่งความตายในโปแลนด์และเยอรมนี
ในขณะที่บัลแกเรียประกาศสงครามอย่างพอเป็นพิธีกับสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา
ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป ในการพบกันกับฮิตเลอร์ กษัตริย์บอริสที่ 3 ได้ทรงปฏิเสธอีกครั้งที่จะประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต
โดยให้เหตุผลว่าสถานการณ์ทางการเมืองและทหารในตุรกีไม่ชัดเจน บัลแกเรียต้องสงวนกำลังเอาไว้
การประกาศสงครามแม้จะเป็นแบบพอเป็นพิธีกับสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาก็ก่อให้เกิดภัยอย่างมหาศาลกับบัลแกเรีย
ทำให้ถูกฝูงบินของสหรัฐ USAAF และกำลังทางอากาศของสหราชอาณาจักรทิ้งระเบิดถล่มเมืองโซเฟีย
เมืองหลวงของบัลแกเรียอย่างหนัก แต่การทิ้งระเบิดนี้เกิดขึ้นเมื่อพระองค์สวรรคตแล้ว
กษัตริย์บอริสที่ 3 แสดงความกล้าหาญที่ช่วยชีวิตชาวบัลแกเรียเชื้อสายยิว
50,000 คน อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้พระองค์ต้องเสียชีวิตลงหลังจากนั้น
2 สัปดาห์
สวรรคต
Death
ภาพ การเคลื่อนพระศพของกษตริย์บอริสที่ 3
หลังจากกลับมายังเมืองโซเฟียได้ 2 สัปดาห์ พระองค์ก็ทรงเสียชีวิตด้วยหัวใจล้มเหลว ตามบันทึกประจำวันของ Sajitz
และ Hans Eppinger
แพทย์ชาวเยอรมันผู้ดูแลกษัตริย์บอริส ทั้งสองเชื่อว่ากษัตริย์เสียชีวิตจากยาพิษ
โดยนายแพทย์ Eppinger ได้พบสภาพคล้ายกันนี้กับ Ioannis
Metaxas นายกรัฐมนตรีของกรีก ผู้เสียชีวิต 2 ปีก่อนหน้านี้ ที่จากการชันสูตรพลิกศพพบรอยจ้ำๆคล้ายกัน โดยทางแพทย์ได้ให้ความเห็นว่าอาจเกิดจากยาพิษที่ออกฤทธิ์อย่างช้าๆ
ที่ให้ผลในหลายสัปดาห์ก่อนที่จะถึงแก่ความตาย
เมื่อกษัตริย์บอริสที่ 3 สิ้นพระชนม์ พระโอรสของพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา
มีพระนามว่าไซเมียนที่ 2 (Simeon II) เนื่องด้วยกษัตริย์องค์ใหม่มีพระชนมายุเพียง
6 พรรษา จึงต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยมีพระอนุชาของบอริสที่
3 นั่งอยู่ในคณะบุคคลดังกล่าวด้วย
กษัตริย์ไซเมียนที่สอง (King Simeon II) แห่งบัลแกเรีย
กษัตริย์ไซเมียน โบริซอฟ แซกซิ โคเบิร์ก โกธา
(Simeon Borisov Saxe-Coburg-Gotha (หรือ Sakskoburggotski – ซักสโกเบิร์กโกทสกี)
ประสูติเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 เป็นบุคคลสำคัญในทางการเมืองของบัลแกเรีย
(Bulgaria) ในการครองราชย์ของกษัตริย์ไซเมียนที่สองของบัลแกเรีย
ในช่วงปี ค.ศ. 1943 ถึง 1946 พระองค์ยังเป็นเด็กที่ไม่บรรลุนิติภาวะ
ต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (Regency) ซึ่งประกอบด้วย
พระญาติผู้เป็นอา ชื่อเจ้าชายคิริล (Prince Kiril) นายพลนิโคลา
มิฮอฟ (General Nikola Mihov) และนายกรัฐมนตรีบอกดัน ฟิลอฟ (Bogdan
Filov) ในปี ค.ศ. 1946 ได้มีการยืดอำนาจ
และมีการจัดให้ลงประชามติ (Referendum) กษัตริย์ไซเมียนถูกบังคับให้ต้องลี้ภัยในต่างแดน
ภาพ อดีตกษัตริย์ ไซเมียนที่ 2 เมื่อรับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี หลังระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปล่มสลาย
ในปี ค.ศ. 1996 เมื่อระบอบคอมมิวนิสต์ล่มสลายในยุโรป
พรรคเพื่อความมั่นคงและก้าวหน้าแห่งชาติ (National Movement for Stability and
Progress)
ได้เชิญพระองค์ให้กลับมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในยุคหลังคอมมิวนิสต์ล่มสลาย
ในฐานะผู้นำพรรค NDSV ได้เข้าร่วมเป็นรัฐบาลประสม
โดยมีอดีตพรรคคอมมิวนิสต์ร่วมด้วย
พระองค์ได้ทำหน้าที่สร้างความสมานฉันท์ในฐานะนายกรัฐมนตรีในช่วงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2001
ถึง ค.ศ. 2005 ในช่วงปี ค.ศ. 2008 เมื่อพรรค NDSV ไม่ได้เป็นเข้ามาและเป็นรัฐบาล
พระองค์จึงสละบทบาททางการเมือง
ในปี ค.ศ. 2014 กษัตริย์ไซเมียนเป็นหนึ่งในสามประมุของประเทศตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
ส่วนที่เหลืออีกสองคือ กษัตริย์ไมเคิลแห่งรูเมเนีย (King Michael of Romania) และเทนซินเกียตโซที่
14 ลามะแห่งธิเบต (Tenzin
Gyatso, 14th Dalai Lama of Tibet) กษัตริย์ไซเมียนเป็นหนึ่งในสองที่กลับเข้ามาเป็นประมุขด้วยวิธีการเลือกตั้ง
อีกหนึ่งพระองค์คือกษัตริย์นโรดม สีหนุแห่งกัมพูชา(Narodom Sinahouk of
Cambodia)
สิ่งที่ผู้คนยังจำพระองค์และสถาบันกษัตริย์ได้ไม่ลืม
คือในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อพระบิดา คือกษัตริย์บอริสที่ 3 บัลแกเรียอยู่ภายใต้อิทธิพลของเยอรมันนาซี
ฮิตเลอร์ได้ขอให้บัลแกเรียส่งชาวยิว 50,000 คน
แต่พระองค์ได้ปฏิเสธด้วยมีเมตตาต่อพสกนิกรชาวบัลแกเรียที่เป็นชาวยิวทั้งหลายโดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ
โดยไม่ได้คิดถึงภัยพิบัติที่จะมีต่อพระองค์เอง
No comments:
Post a Comment