Tuesday, June 30, 2009

ปัญหาการใช้ ICT ของครูมัธยมศึกษาในประเทศไทย

HTML clipboard

ปัญหาการใช้ ICT ของครูมัธยมศึกษาในประเทศไทย

Keywords: 126, ICT, master teachers

Title: การ ศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 10

Other Titles: A study of state and problems concerning the use of information and communication technology in science instruction of teachers in secondary schools participating in SchoolNet Thailand Project under the Department of General Education, educational region ten

Authors: กรรณิการ์ พิมพ์รส
Advisor: อลิศรา ชูชาติ
Subjects: โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย
เทคโนโลยีสารสนเทศ, คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน, วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
(มัธยมศึกษา)
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Abstract:

ศึกษา สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 10 ตัวอย่างประชากรคือ ครูวิทยาศาสตร์ฯช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 ในโรงเรียนดังกล่าว จำนวน 411 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเรื่อง สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศฯ ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ พบว่า มีครูวิทยาศาสตร์ 55.96% ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศฯ ในการเรียนการสอน สำหรับครูวิทยาศาสตร์ที่ใช้ฯ นั้นพบว่า 93.09% ใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด เพื่อสร้างสื่อการเรียนการสอนและพบว่า 64.06% ใช้เวลาในเรื่องดังกล่าวน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ชม./เดือน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนพบว่า ครูวิทยาศาสตร์ฯ 77.43% ใช้เพื่อนำเสนอเนื้อหาบทเรียนรองลงมา 60.00% ใช้ในการบันทึกผลการทดลองในบทเรียน โปรแกรมที่ใช้คือ ไมโครซอฟต์เวิร์ด และคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

สำหรับบทเรียนที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศฯ พบว่า ครูวิทยาศาสตร์ฯ ในช่วงชั้นที่ 338.64% ใช้ในการเรียนการสอน สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต และช่วงชั้นที่ 4

ครูวิทยาศาสตร์ฯ 24.65% ใช้ในสาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร นอกจากนี้มีครูวิทยาศาสตร์ฯ 77.16% ใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกเซลล์ เพื่อจัดเก็บหรือประมวลผลการเรียนของนักเรียน และใช้เวลาในเรื่องนี้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ชม./เดือน

2. ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศฯ ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์พบว่า ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศฯ ครูวิทยาศาสตร์ฯ 83.91% รองลงมา 78.23% และ 77.39% มีความคิดเห็นว่า จำนวนห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานในเวลาเดียวกัน จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอกับความต้องการของครูและนักเรียน และจำนวนอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ ตามลำดับ ด้านงบประมาณพบว่า ครูวิทยาศาสตร์ฯ 82.17%มีความคิดเห็นว่า งบประมาณการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ ด้านการบริหารจัดการพบว่า ครูวิทยาศาสตร์ฯ 67.83% รองลงมา63.04% มีความเห็นว่า โรงเรียนขาดการฝึกอบรมครูแกนนำเพื่อช่วยเหลือครูคนอื่น และขาดการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศฯ ในการเรียนการสอนของแต่ละรายวิชาตามลำดับ

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับครู ด้านความรู้ความเข้าใจ พบว่า ครูวิทยาศาสตร์ฯ 71.30% มีปัญหาเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นในการประเมินโปรแกรมที่เหมาะสม 69.13% มีปัญหาในการสร้างสื่อการสอนบนเว็บในช่วงชั้นที่ 3 ครูวิทยาศาสตร์ฯ 72.73% มีปัญหาเกี่ยวกับภาษาอังกฤษเพื่อใช้สื่อสารและสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต ส่วนช่วงชั้นที่ 4 ครูวิทยาศาสตร์ฯ69.72% มีปัญหาเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นในการทำงานของอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับ คอมพิวเตอร์ด้านทักษะ ครูวิทยาศาสตร์ 79.13% มีความคิดเห็นว่าตนเองมีปัญหาด้านการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ด้านเจตคติ พบว่า ครูวิทยาศาสตร์ฯ มีเจตคติทางบวกต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศฯ มาใช้ในการเรียนการสอนทุกด้าน แต่ขณะเดียวกันพบว่า ครูวิทยาศาสตร์ฯ ยังมีความวิตกกังวลในการใช้ และขาดความมั่นใจในแก้ปัญหาขณะใช้ รวมทั้งครูวิทยาศาสตร์ฯ มีความรู้สึกกลัวและอายที่จะใช้คอมพิวเตอร์ต่อหน้านักเรียน ในระดับมากเช่นกัน

ได้รับเงินบริจาคจากผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
อาคาร 2, ห้อง 2-106, เลขที่ 2/1 ถ.พญาไท
ทุ่งพญาไท, ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: info@sb4af.org
Website: www.sb4af.org

เรื่อง ได้รับเงินบริจาคจากผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์
วันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2552

ตามที่ท่าน ชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้บริจาคเงินจำนวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ในนาม “ตระกูลฤทธิประศาสน์” เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของ มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย (SpringBoard For Asia Foundation – SB4AF)

ในโครงการ “การแข่งขันทดสอบความสามารถด้านคอมพิวเตอร์สากล ICDL ปี พ.ศ. 2552 สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ” โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดสอบนักเรียนจากจังหวัดร้อยเอ็ด และใกล้เคียง จำนวน 42 คน

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซียได้รับเงินบริจาคของท่านแล้วด้วยความขอบพระคุณยิ่ง และจะได้จัดดำเนินการทดสอบนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ดและใกล้เคียงในการแข่งขันในโครงการ “ICDL Contest 2009” ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ต่อไป

โดยความนับถือ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat, Ph.D.
ประธานกรรมการฯและผู้ร่วมก่อตั้ง
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย

Sunday, June 28, 2009

จากโรงเรียนสารพัดช่าง สู่การเป็นช่างสารพัด (Handyman)

จากโรงเรียนสารพัดช่าง สู่การเป็นช่างสารพัด (Handyman)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia

Updated: May 16, 2012

Keywords: การศึกษา, การช่าง, การอาชีวศึกษา, vocational education, handyman




มาศึกษากันเรื่องความหมายของคำก่อน จาก โรงเรียนสารพัดช่าง สู่ การมีช่างสารพัด

ในภาษาอังกฤษมีเรียกกันหลายคำ เช่น Institute of technology ซึ่งในภาษาไทยจะแปลได้ตรงตัวว่า "สถาบันเทคโนโลยี" ซึ่งจะเป็นสถาบันการศึกษาขั้นอุดมศึกษาชั้นสูงที่เน้นวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และเทคโนโลยีก้าวหน้า เป็นสถาบันการศึกษาเฉพาะทาง อาจมีการวิจัยระดับสูง มีการเรียนการสอนจนถึงในระดับปริญญาเอก

ในอีกความหมายหนึ่ง คำว่าวิทยาลัย/โรงเรียนสารพัดช่าง มีความหมายเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เน้นการฝึกอบรมด้านการอาชีพ (Vocational training) ในประเทศไทยโดยกรมอาชีวศึกษา มีการสอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่สอนเพื่อให้มีคนจบไปทำงานที่ต้องใช้ความรู้เรื่องช่างขั้นพื้นฐาน ไปเป็นช่างในสายต่างๆในชุมชน เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างเครื่องยนต์ ช่างก่อสร้าง ฯลฯ โรงเรียนเหล่านี้ก็มีประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ และพัฒนาชนบท

คำว่า Polytechnic ในภาษากรีกต้นศัพท์ คำว่า πολύ (polú or polý) มีความหมายว่า Many หรือ หลาย ส่วนคำว่า τεχνικός (tekhnikós) ตรงกับในภาษาอังกฤษว่า Arts โรงเรียนแบบ Polytechnic คือโรงเรียนที่นักเรียนมาเรียนรู้ในวิชาการที่มีให้เลือกในหลายๆด้าน ในประเทศไทย โรงเรียนประเภทนี้ไม่ใช้เป็นการศึกษาเตรียมคนในขั้นสูง เป็นเพื่อให้มีความรู้พื้นฐานทางช่าง เรียนตามถนัด แล้วไปหาประสบการณ์ในการทำงานเองเพิ่มเติมขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม Polytechnic schools/collegesในแต่ละประเทศมีการเอาคำนี้ไปใช้ในความหมายที่แตกต่างกัน ในประเทศไทยมีการนำคำว่า โรงเรียนสารพัดช่างมาใช้ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นคำที่ดี และอยากจะนำมาพูดคุยในที่นี้

โดยเห็นว่า นอกจากเราจะมีโรงเรียนหรือวิทยาลัยสารพัดช่างแล้ว เราควรคิดถึงการฝึกอบรมคนให้มีความรู้ความสามารถแบบ “ช่างสารพัด” ด้วย ซึ่งในที่นี้ ผมเรียกตามฝรั่งว่า Handyman

ช่างสารพัด ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Handyperson หรือ Handyman หรือ Handywoman หมายถึงคนที่มีความสามารถรอบด้านในทางการค้า การซ่อม หรือการบำรุงรักษา คำนี้เมื่อแรกมักจะเป็น Handyman แต่เมื่อเราเข้าสู่ยุคสิทธิและความเท่าเทียมกันของสตรี จึงมีคำว่า Handywoman ในกรณีที่เป็นผู้หญิง หรือใช้เป็นกลางๆว่า Handyperson ซึ่งไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง

คำนี้หากแปลเป็นไทย จะเรียกว่า ช่างสารพัดก็พอจะใกล้เคียงในเวลานี้ มักจะเป็นการทำงานที่เรียกคนที่ทำงานสารพัดที่มีค่าตอบแทน หรือเป็นคนที่มีทักษะความสามารถในการช่างทำอะไรเองที่บ้านได้ โดยจ้างคนอื่นมาทำน้อยที่สุด งานที่มีการจ้างกันสำหรับคนที่จะเป็นช่างสารพัด อาจเป็นงานเล็กๆน้อยๆหรือเป็นงานใหญ่ เช่นงานทาสี (Painting), งานซ่อมผนังห้อง (Drywall repair), งานออกแบบตกแต่งเล็กน้อย (Remodeling), ‘งานซ่อมท่อน้ำ ห้องน้ำ ก๊อกน้ำ (Minor plumbing work), งานซ่อมและปรับปรุงเกี่ยวกับไฟฟ้า (Minor electrical work), และงานประกอบหรือจัดทำเฟอร์นิเจอร์ (Furniture assembly) ซึ่งในปัจจุบันมีประเภทซื้อมาประกอบเอง ทำได้ไม่อยาก

บางฝ่ายมองว่างานแบบนี้น่าจะมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้ใบประกอบวิชาชีพ (Licensed) เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้รับบริการ (Insured) เพราะช่างบางคนเที่ยวไปขันอาสาหรือรับจ้างทำ แต่แล้วทำไม่ได้ งานทิ้งครึ่งๆกลางๆ ทำให้เสียเวลา เสียของ เสียเงิน และในบางสังคมหรือประเทศ ไม่อนุญาตให้ช่างแบบ Handy people ทำงานเกี่ยวกับ งานท่อน้ำ (plumbing), งานเดินสายไฟของอาคาร (electrical wiring), หรืองานวางท่อแก๊สอาคาร (gas-fitting) ด้วยเหตุของความปลอดภัย งานที่ช่างสารพัดจะทำได้ คือเป็นงานท่อน้ำ (Plumbing) เล็กๆน้อยๆ เช่น การติดตั้งหรือเปลี่ยนก๊อกน้ำ งานติดตั้งอ่างน้ำใหม่ งานซ่อมท่อน้ำรั่ว หรือการติดตั้งเครื่องซักฝ้า ที่ต้องมีความรู้เรื่องงานท่อน้ำ

ในหลายส่วนของโลก มีงานสารพัดช่างแบบอาชีพ ที่รับทำงานซ่อมและปรับปรุงในบ้านแบบเล็กๆน้อยๆ บางบริษัทให้หลักประกันด้านผลงาน และแสดงใบอนุญาตในการดำเนินการ และสามารถทำงานให้เสร็จในตามกำหนดเวลา บริษัทที่ทำหน้าที่เหล่านี้ มีทั้งจ้างคนทำงานเต็มเวลา (Full-time), รับทำงานเอง (Direct employees), หรือมีคนหรือทีมงานมารับช่วงงานต่อไป (Sub-contractors) ยกตัวอย่างการใช้งานช่างในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่าง

เมื่อรถคันใหม่ของผมเสีย หรือถึงเวลาต้องตรวจซ่อม ผมก็จะไปใช้บริการที่ศูนย์ของเขา ซึ่งมักจะเป็นที่ๆผมไปซื้อรถของเขา ซึ่งทำหน้าที่เป็น Showroom และเป็นศูนย์ซ่อมบริการไปด้วยในตัว
หากเป็นรถคันเก่าของผม รถอายุ 10-20 ปีขึ้นไป ผมก็จะขับรถไปหาร้านซ่อมรถแบบอิสระที่รู้จักกัน เขาก็จะดูแลซ่อมรถเก่าของผมให้แบบรถเก่า บางส่วนที่ต้องเปลี่ยนอะไหล่ด้วยของใหม่ เขาตรวจดูแล้วเขาก็เปลี่ยนให้ บางอย่างเสียแต่อะไหล่ของใหม่จะแพง เขาก็หาของดัดแปลง หรือของเก่าอย่างที่เราเรียกว่า “เชียงกง” แล้วจัดหามาเปลี่ยนให้

หากมีสิ่งของในบ้านชำรุด ผมก็เรียกใช้บริการตามลักษณะของมัน เช่น เครื่องไฟฟ้าเสีย เช่นพวกเตาไมโครเวฟ ตู้เย็น พัดลม เหล่านี้ก็จะมีร้านซ่อมพวกเครื่องไฟฟ้า หากเครื่องซักผ้าเสีย ก็ต้องใช้บริการช่างเฉพาะด้านมาซ่อม เขามาตรวจเครื่องก่อน แล้วเสนอราคาซ่อม แล้วมักจะซ่อม ณ ที่บ้านเราเลย เพราะการยกหรือเคลื่อนย้ายต้องมีค่าใช้จ่ายมาเกี่ยวข้อง ช่างพวกนี้ใช้ขี่จักรยานยนต์ คล่องตัวในการให้บริการ หากเครื่องปรับอากาศเสีย ก็เรียกช่างซ่อมเครื่องปรับอากาศโดยเฉพาะมา และเขาต้องมีทีมงาน ทำคนเดียวไม่ได้ ส่วนใหญ่มีเครื่องปรับอากาศหลายเครื่อง ก็ใช้การซ่อมบำรุงตามอายุของมัน จ่ายค่าบริการเขาทั้งล้างเครื่อง เปลี่ยนอะไหล่ที่ชำรุด หรือเติมน้ำยา ฯลฯ

แต่มีงานบางอย่างที่เกี่ยวกับบ้านชำรุด เช่น หลังคารั่ว โถส้วมในห้องน้ำแตก ท่อประปารั่ว ต้องการเปลี่ยนสายไฟเก่าในบางบริเวณ งานเหล่านี้เป็นงานเล็กๆน้อยๆที่เกี่ยวกับงานช่างปูน งานช่างไม้ ช่างไฟฟ้า ช่างประปา ฯลฯ เป็นงานเล็กๆน้อยๆที่เราไม่ได้ใช้ผู้รับเหมาก่อสร้าง

งานซ่อมบำรุงหลายๆอย่างนี้ จะมีความต้องการสูงขึ้นมากเรื่อยๆ


 ภาพ งานซ่อมกรอบประตู หน้าต่าง ส่วนใหญ่ยากเกินกว่าคนทั่วไปที่ไม่ได้สนใจงานช่างจะทำได้ ก็ต้องอาศัยบริการจากช่างสารพัด (Handyman)


ภาพ งานซ่อม หรือติดตั้งตู้หรือโต๊ะในห้องครัว หรือบางทีหูบานพับหย่อนหรือหัก ต้องมีการเปลี่ยน งานบางอย่างทำได้เอง งานบางอย่าง เรียกใช้บริการที่คล่องตัว ราคาไม่แพง จะสะดวกกว่า


ภาพ งานต่อเติมระเบียงบ้าน สำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีฝีมือช่างไม้ คงจะเป็นการยากที่จะทำได้ แต่สำหรับคนที่เป็นงานช่างระดับ Handyman เขาจะไปหาซื้อของกึ่งสำเร็จรูปที่มีอยู่ในศูนย์อุปกรณ์ อย่าง HomePro หรือบุญถาวร ดังที่มีอยู่ในบ้านเรา แล้วนำมาใช้ในงานสร้าง งานระดับนี้ไม่ต้องถึงกับใช้ผู้รับเหมา

ในสังคมไทยเองกำลังเปลี่ยนไป บางบ้านมีคนพักอาศัยที่มีแต่คนชรา สตรีทำงาน หรือเด็กๆ ที่ไม่สามารถทำงานซ่อมแซมเล็กๆน้อยๆเองได้ บางแห่งเป็นอพาร์เมนท์ให้เช่า ที่ผู้เช่าต้องการบริการเล็กๆน้อยๆ เช่น ก๊อกน้ำรั่ว ต้องเปลี่ยนยาง หรือเปลี่ยนทั้งก๊อกน้ำ เครื่องปรับอากาศเสีย บานพับประตูหรือหน้าต่างหย่อนหรือหัก ปลั๊กไฟเก่าต้องเปลี่ยนใหม่ ฯลฯ เหล่านี้ทำให้ต้องมีคนมารับทำงานแบบมีค่าตอบแทนได้ และทำให้มีอาขีพที่มีรายได้ดีทีเดียว เรื่องนี้วิทยาลัยเทคนิค หรือโรงเรียนสารพัดช่างที่อยู่มากมายในทุกจังหวัด น่าจะมีการจัดฝึกอบรมระยะสั้น (Short courses) ที่ผลิตคนที่มีความสามารถด้านช่างสารพัดที่มักจะขาดแคลนในสังคมนี้

งานซ่อมแซมบ้านที่พักอาศัยแบบเล็กๆน้อยๆนั้น หากเราต้องไปจ้างช่างโดยทั่วไป ก็จะคิดราคาหนึ่ง ซึ่งแพงขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นซ่อมเล็กๆไม่ได้ ต้องรอให้เสียหายมาก แล้วจึงตามช่างมาซ่อมจึงจะคุ้ม การมี Handyman หรือช่างสารพัดใกล้ๆบ้าน จะช่วยปัญหานี้ได้ หรือไม่อีกทางเลือกหนึ่ง คือทำตนแบบคนตะวันตกที่ค่าแรงแพงมากขึ้น เขาต้องเรียนรู้ที่จะทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆได้เอง เช่น เปลี่ยนก๊อกน้ำ หลอดไฟฟ้า ซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์น๊อตหลุด หรือหลวม ก็หาทางขันเองให้แน่นขึ้น เดี๋ยวนี้มีออุปกรณ์ช่างที่ทำให้งานซ่อมสบายขึ้นกว่าแต่ก่อน ซึ่งไปเดินดูและเลือกซื้อได้แถวๆ Home Pro, Homework, บุญถาวร อะไรในลักษณะนี้ แล้วไปหาหนังสือช่างมาอ่าน หรือไปฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นๆ เรียนรู้ไปกับงาน และเมื่อทำซ้ำๆ มีความขำนาญขึ้น ก็อาจจะยึดเป็นอาชีพเสริมไปได้ด้วย
ศึกษาเพิ่มเติม

การที่โรงเรียนช่าง หรือวิทยาลัยเทคนิค จะจัดบริการฝึกอบรมด้านช่างในงานง่ายๆ ที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวันของบ้านและชุมชนต่างๆ เป็นหลักสูตรระยะสั้น หรือระยะกลางให้กับคนที่เขามีความจำเป็นและสนใจแล้ว เก็บค่าเล่าเรียนได้พอประมาณ เขาเรียนไปเล็กๆน้อยๆแล้วเอาไปใช้ประโยชน์ จะดีกว่าไปสอนเป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรแบบ ปวช. หรือ ปวส. ซี่งในประเภทหลังนี้ คนจบหลักสูตรไป ก็ต้องไปเป็นลูกจ้างองค์กรขนาดกลางหรือใหญ่ เพื่อให้ได้ประสบการณ์มาสักระยะหนึ่งก่อน แต่ช่างสารพัดนี้มันจะเกิดจากความจำเป็น มีปัญหาแล้วไม่รู้จะทำอย่างไร การฝึกอบรมจึงเป็นความต้องการ ซึ่งต้องฝึกอบรมให้ตรงจุด ใช้เวลาไม่นาน

การเรียนรู้ทำงานได้เอง (Do It Yourself - DIY)
งานซ่อมบ้าน (Home repair)
งานปรับปรุงบ้าน (Home improvement)

Saturday, June 27, 2009

ระบบทดสอบภาษาอังกฤษ PASSWORD เปิดบริการแล้ว

ระบบทดสอบภาษาอังกฤษ PASSWORD เปิดบริการแล้ว

ระบบทดสอบความสามารถด้านภาษาอังกฤษ PASSWORD จากประเทศสหราชอาณาจักร อันเป็นระบบทดสอบในแบบใช้อินเตอร์เน็ตช่วย (Internet-Based Test – IBT) ซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ต้องการรับการทดสอบ ที่ยืดหยุ่นในด้านสถานที่และเวลาในการจัดสอบ ซึ่งได้เปิดให้มีบริการทดสอบในหลายประเทศทั่วโลก และรวมถึงใน 5 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย

สำหรับในการจัดทดสอบที่จะมีขึ้นนี้ จัดโดยมูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย (SpringBoard For Asia Foundation – SB4AF) ให้มีขึ้นใน 2 จุด คือที่ มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย ที่กรุงเทพฯ และที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (Surindra Rajabhat University - SRRU) อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์โดยในแต่ละสถานที่จะให้บริการทดสอบเดือนละ 1 ครั้ง ติดต่อกันจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2552 โดยคิดค่าบริการทดสอบท่านละ 1,500 บาท
สำหรับช่วงเปิดบริการนี้ จะได้มีบริการพิเศษที่ผู้รับการทดสอบแต่ละท่านสามารถนำผู้เข้ารับการทดสอบอีก 1 ท่านเข้าร่วมรับบริการได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม

สนใจติดต่อได้ที่

กรุงเทพฯ มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย ติดต่อคุณ วิไลลักษณ์ โทร 02-3548254
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ติดต่อคุณธัญญเทพ สิทธิเสือ โทร 084-0305190

กำหนดสอบ

ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (SRRU)

ครั้งที่ 1 วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เวลา 13:00 น.
ครั้งที่ 2 วันเสาร์ที่ 22 สิ่งหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 13:00 น.
ครั้งที่ 3 วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2552 เวลา 13:00 น.
ครั้งที่ 4 วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 13:00 น.
ครั้งที่ 5 วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เวลา 13:00 น.
ครั้งที่ 6 วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เวลา 13:00 น.

ณ มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย
อาคาร 2 ห้อง 2-106 เลขที่ 2/1 (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพฯ)
ถนนพญาไท, ทุ่งพญาไท, ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ครั้งที่ 1 วันศุกร์ที่ 14 สิ่งหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 13:00 น.
ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552 เวลา 13:00 น.
ครั้งที่ 3 วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 13:00 น.
ครั้งที่ 4 วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เวลา 13:00 น.
ครั้งที่ 5 วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เวลา 13:00 น.

PASSWORD – Pathway to academic success

Thursday, June 11, 2009

โคลนในบ้านเกิดฉ้น ก็ยังหวานกว่าน้ำผึ้งในที่อื่นๆ

โคลนในบ้านเกิดฉ้น ก็ยังหวานกว่าน้ำผึ้งในที่อื่นๆ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com และ www.itie.org/eqi/

Updated: Friday, June 12, 2009
Keywords: สุภาษิต, patriotism

กลับบ้านแล้ว

ผมได้กลับมาบ้านในกรุงเทพฯแล้ว จากสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 ในการเดินทางกลับ ได้ออกเดินทางจากสนามบิน John F. Kennedy International Airport, New York City โดยสารการบิน British Airway (BA) มาลงยังสนามบิน Heathrow Airport กรุงลอนดอน ใช้เวลาบินไม่นาน ประมาณ 6-7 ชั่วโมง แต่ต้องมารอเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินประมาณ 12 ชั่วโมง

หลังจากนั้นได้เดินทางด้วยสายการบิน ETIHAD ของ United Arab Emirates เดินทางกลับกรุงเทพฯ เพื่อมาลงที่สนามบินสุวรรณภูมิกลับบ้าน โดยระหว่างนั้นได้แวะพักสั้นๆที่เมือง Abu Dhabi เมืองหลวงของประเทศเจ้าของสายการบิน มองออกไปนอกหน้าต่างเครื่องบินระหว่างจะลงจอด มองเห็นแต่ทะเลทราย ดูสว่างขาวโพลนไปหมด มีสีเขียวจากหญ้าและต้นไม้น้อยมาก พักรอเครื่องที่สนามบินของเขาสัก 2-3 ชั่วโมง
สายการบิน ETiHAD ของเขานั้นมีบริการที่เทียบแล้วดีกว่าสายการบิน BA ตรงเครื่องที่ใหม่กว่า อาการการกินเครื่องดื่มที่บริการบนเครื่องก็ดีมาก และค่าโดยสารที่ไม่แพง เห็นสายการบินของเขาแล้ว ก็มาเป็นห่วงสายการบินไทยเรา คือ Thai International Airline ที่ดูจะมีอาการเพียบหนัก ทั้งๆที่มีคนที่มีคนทำงานที่เป็นคนไทย มีอัธยาศัยดี มีชื่อที่คนทั่วไปให้การยอมรับ แต่เห็นทีต้องไปปรับระบบบริหารกันอย่างยกเครื่อง ไม่ใช่ศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า

บ้านของเรา

เมื่อมองเขาแล้ว ก็ต้องมามองตนเอง มีสุภาษิตอัลเบเนียหนึ่งว่า

Balta -- m'ë ëmbël se mjalta. --Vlorë ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า The mud [in Albania] is sweeter than honey [elsewhere] หรือแปลเป็นไทยได้ว่า “โคลนในบ้านเกิดฉ้น ก็ยังหวานกว่าน้ำผึ้งในที่อื่นๆ” ซึ่งเป็นความหมายที่ต่างจากสุภาษิตที่ว่า “สนามหญ้าของเพื่อนบ้าน มักจะเขียวกว่าของตน”
โคลนในบ้านเกิดฉัน ก็ยังหวานกว่าน้ำผึ้งในที่อื่นๆ มีความหมายง่ายๆว่า อันบ้านเกิดของเรานั้น แม้จะดีๆชั่วๆ ก็ยังเป็นที่ๆเรามีความสุขที่จะอยู่อาศัย

ระหว่างเวลาเกือบสองเดือนครึ่งที่อยู่ในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ผมได้เดินทางไปทัศนศึกษา ติดต่อธุระ พบเพื่อนฝูงญาติพี่น้อง และหามุมสงบและหาเวลาเขียนงานที่อยากจะเล่าสิ่งต่างๆที่เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่บรรดาเพื่อนฝูง ศิษย์ และเพื่อนร่วมวิชาการ

ความขัดแย้งเดือนเมษา 2552

ระหว่างนั้น ได้ติดต่อรับข้อมูลจากทางบ้าน ผ่านทาง Internet Radio และข่าวออนไลน์ทั้งหลาย ได้รับทราบเรื่องความขัดแย้งในช่วงเดือนเมษายน เดือนที่แสนร้อนของไทยนั้น ก็ยิ่งร้อนหนักขึ้นไปอีก ด้วยคนเสื้อแดง แต่หลังจากนั้น ก็ได้ติดตามข่าวเรื่อยมา ที่ดูว่าเหตุการณ์จะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น โอกาสจะมีปฏิวัติรัฐประหารคงจะไม่มี โอกาสที่คุณ ทักษิณ ชินวัตรจะกลับมามีอำนาจ ก็คงจะห่างไกลยิ่งขึ้นไปอีก ผมติดตามดูตลาดหลักทรัพย์ ก็เห็นว่าได้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว และก็ดีขึ้นเป็นลำดับ ข่าวจากประเทศไทยดูจะไม่มีอะไร ดูเหมือนข่าวน่าเบื่อ แต่นั่นแหละ เขาบอกว่า No news is good news. คือไม่มีข่าว (ร้าย) ก็ถือเป็นข่าวดี’
มองโลกในแง่ดี

ผมมองไม่เหมือนกับหลายๆคนที่หลังจากความรุนแรงแล้ว ทำให้เขามีความไม่มั่นใจ เกรงกลัว ระแวง จะทำงานทำการก็ดูไม่ค่อยเต็มที่ แต่สำหรับผมมองอย่างนี้ครับ ผมมองว่า ประเทศไทยนั้นได้ผ่านพัฒนาการทางการเมืองมาดีแล้ว มีเจ็บมีตายก็จริง แต่โดยภาพรวมแล้ว ยังไม่รุนแรง เราควรใช้เวลาในอนาคตที่จะมองและทำให้สิ่งที่ดีๆกันต่อไป โอกาสยังมีอีกมาก ผมไม่มองโลกในแง่ร้าย

ตาบอดสี

ในบรรยากาศที่คนแบ่งออกเป็นขั้ว เป็นสีแดง สีเหลือง สีฟ้า สีเขียว หรือสีขาว ผมเป็นคนตาบอดสี หากจะใส่เสื้อก็ไม่อยากให้มองเป็นสัญลักษณ์ของการเข้ากับฝ่ายใด คนไทยเรานั้น เรามาแบ่งกันที่สีเสื้อ ถ้าถอดออกแล้วไม่ใส่ คนไทยเราก็มีลักษณะไม่แตกต่างกัน ผมอยู่ในนิวยอร์ค คนเขามีสี (ผิว) โดยไม่ว่าจะใส่อะไร สีผิวก็เป็นเช่นนั้น แต่การแบ่งแยกคนด้วยสีผิวนี้ ก็ได้เปลี่ยนไปมาก คนผิวสีลูกครึ่งอัฟริกันอเมริกัน อย่าง Barack Obama ก็ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนผิวสีเป็นครั้งแรกของประเทศสหรัฐอเมริกา และเขามีโอกาสเป็นผู้นำที่ดีด้วย ปัญหาในเรื่องสีผิวในอเมริกานั้นยังไม่หมดไป แต่มองในแง่ดี มันก็ดีขึ้นไปเรื่อยๆ

ในแง่เศรษฐกิจที่ตกต่ำ ผมกลับมาได้มีโอกาสไปเดินในร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับงานก่อสร้าง เห็นคนทำงานมากกว่าคนไปซื้อสินค้า ส่วนหนึ่งมองอย่างเน้นประสิทธิภาพการใช้คน เหมือนกับว่าบริษัทฯเขาใช้คนงานมากเกินเหตุ แต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องชื่นชมเขา ที่แม้ในช่วงตกต่ำ เขาก็ยังพยายามรักษาคนของเขาไว้ ไม่ปลดออกไล่ออก เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น คนก็จะได้มีงานเต็มตามสมควร

Welcome Home

ประเทศไทยไม่ใช่เป็นประเทศที่สมบูรณ์ เรายังยากจน เรายังมีอวิชชา ความไม่ใส่ใจที่จะพัฒนาตนเอง แต่เมืองไทยก็ยังเป็นบ้านเรา เราเกิดที่นี่และก็คิดว่าจะตายที่นี่

เมื่อกลับมาทำงาน ก็ได้ไปเยี่ยมคุยกับเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิ (ก้าวไกลในเอเชีย) เป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยน เพื่อเสริมขวัญ และให้กำลังใจแก่กัน ผมรับปากที่จะทำหน้าที่เดินทางไปเยี่ยมโครงการต่างๆ โดยเฉพาะในกิจการของมูลนิธิฯ ที่ต้องการส่งเสริมการเรียนการสอนยุคใหม่ที่ใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสนับสนุน วางแผนจะเดินทางอีกแล้ว ผมจะไปเยี่ยมตามโรงเรียนและสถานศึกษาในส่วนภูมภาค

ผมกลับมาแล้ว มาพักทีบ้าน ร้อนก็เปิดเครื่องปรับอากาศเอาบ้าง อาบน้ำบ่อยหน่อย หิวก็กลับมากินข้าวแกง อาหารที่คุ้นๆ ขอต้อนรับตนเองเข้าสู่เมืองไทยอีกครั้งครับ

มารู้จักประเทศกัมพูชา (Cambodia)

มารู้จักประเทศกัมพูชา (Cambodia)

ประกอบ คุปรัตน์

Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: cs119, กัมพูชา, Cambodia, ภูมิศาสตร์, geography, เศรษฐกิจ, economics, สันติภาพ ยุทธศาสตร์ การพัฒนา

Updated: February 22, 2013


ภาพ แผนที่ประเทศกัมพูชา

ภาพ ธงชาติประเทศกัมพูชา
ตราสัญญลักษณ์ประเทศกัมพูชา (Coat of Arms)

ประเทศกัมพูชา หรือราชอาณาจักรกัมพูชา ในภาษาอังกฤษ เรียกอย่างเป็นทางการว่า “The Kingdom of Cambodia” (pronounced /kæmˈboʊdiə/, ก่อนหน้านี้รู้จักกันในนาม กัมปูเจีย (Kampuchea - /kæmpuːˈtʃiːə/),

พระราชอาณาจักรกัมพูชา ( Preăh Réachéa Anachâk Kâmpŭchea) เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤต (Sanskrit Kambujadesa) กัมพูชาเป็นประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia) มีประชากร 14.8 ล้านคน มีเมืองหลวงอยู่ที่ พนมเปน (Phnom Penh) กัมพูชาเป็นประเทศที่ได้รับมรดกทางวัฒนธรรมจากฺอาณาจักรที่มีพื้นฐานอิทธิพลจากฮินดู (Hindu) และพุทธศาสนา (Buddhist Khmer Empire) ซึ่งเคยปกครองเกือบทั้งหมดของแหลมอินโดจีน Indochinese Peninsula) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11-14

ประชาชนชาวกัมพูชา เรียกในภาษาไทยที่คุ้นๆ คือ เขมร ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า "Cambodian" หรือ "Khmer," แต่ในคำหลังนี้มักจะหมายถึงชาติพันธุ์หนึ่ง ซึงไม่ใช่ชาวกัมพูชาทั้งหมดในปัจจุบัน ชาวกัมพูชาในปัจจุบันส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนาสาย Theravada Buddhists แต่กระนั้น ประเทศกัมพูชาก็มีชนเผ่าอื่นๆ เช่น พวกที่นับถือศาสนาอิสลาม (Muslim) พวกจาม (Cham), เช่นเดียวกับพวกเชื้อสายจีน ( Chinese), เวียตนาม (Vietnamese) และยังมีส่วนน้อยที่เป็นพวกชนเผ่าชาวเขา ( animist hill tribes)

ภาพ แผนที่ประเทศกัมพูชา ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับไทย ทางเหนือติดกับประเทศลาว ทางตะวันออกติดกับเวียตนาม


ภาพ ตนเลสาป (Tonle Sap) ทะเลสาปน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในกัมพูชา และในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งผลิตโปรตีนจากปลาและสัตว์น้ำสำคัญของประเทศ

ประเทศกัมพูชามีชายแดนทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือที่ติดกับประเทศไทย และทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศลาว และทางตะวันออกเฉียงใต้ติดกับประเทศเวียตนาม ส่วนทางตอนใต้ติดกับอ่าวไทย (Gulf of Thailand) ในทางภูมิศาสตร์แล้ว ประเทศมีภูมิศาสตร์ที่ผูกพันกับแม่น้ำโขง (the Mekong River) และมีทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่เขาเรียกว่า Tonlé Sap หรือแปลเป็นไทยได้ว่า “ทะเลสาบน้ำจืดที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งทำให้แหล่งน้ำเหล่านี้เป็นแหล่งอาหารจากปลาน้ำจืด

กัมพูชามีฐานอาชีพส่วนใหญ่เป็นการเกษตร ประชากรร้อยละกว่า 59 พึ่งชีวิตของเขากับการเกษตร มีการปลูกข้าวเป็นพืชหลัก และเป็นพวกข้าวเจ้า ในปัจจุบันอาชีพที่เข้ามาเสริมคือ อุตสาหกรรมสิ่งทอ การท่องเที่ยว งานก่อสร้างได้มีความสำคัญขึ้นอย่างมาก หลังจากประเทศได้ผ่านพ้นสงครามทั้งจากภายนอก และสงครามกลางเมืองที่ได้เกิดขึ้น ในด้านการท่องเที่ยวแต่ละปีมีคนไปเยี่ยมชม “นครวัด” (Angkor Wat) กว่า 4 ล้านคน ในช่วงปี ค.ศ. 2005 ได้มีการค้นพบแหล่งน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติบริเวณชายฝั่งทะเล ซึ่งคาดว่าจะมีผลิตผลได้ในปี ค.ศ. 2011 ซึ่งมีผู้สังเกตการณ์กลัวว่า หากไม่มีการจัดการทางการเมืองที่ดีแล้ว รายได้เหล่านี้อาจตกอยู่ในมือของกลุ่มอำนาจทางการเมืองต่างๆ แทนที่จะกระขายและเป็นประโยชน์กับประชาชน

ภาพ นครวัด (Angkor Wat) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลักแห่งหนึ่งของกัมพูชา

กัมพูชาจะยังเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยไปอีกนาน แต่สัมพันธภาพในระยะหลังมีความอ่อนไหว ที่ทั้งสองฝ่ายนำไปสู่ประเด็นขัดแย้งทางการเมือง เรื่องขัดแย้งเล็กๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องที่ควรเข้าใจกัน กลายเป็นความหวาดระแวงต่อกัน ทั้งๆที่ไทยและกัมพูชามีผลประโยชน์จากสันติภาพร่วมกัน คนในทางอีสานตอนใต้ของไทยตลอดสายถนนหลวงหมายเลข 24 ล้วนมีคนไทยที่มีเชื้อสายและใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง นโยบายความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ จึงควรมีการลงทุนร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ และลดความตึงเครียดจากความขัดแย้งนานาประการ ไปสู่การสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน


ภาพ พระเศียร กษัตริย์ชัยวรมันที่ 7 (Head of Jayavarman VII)



ภาพ บ้านเรือนริ่มตนเลสาป (Tonle Sap) ส่วนอยู่สูงก็สร้างบนเสาเรือนสูง ส่วนที่อยู่ล่าง ก็สร้างแบบลอยบนน้ำในทะเลสาป


ภาพ กระโหลกศีรษะของผู้เสียชีวิตในช่วงเขมรแดงครองอำนาจ


ภาพ บริเวณที่เคยเป็นหลุมฝังศพผู้ถูกสังหารที่เรียกว่า "ทุ่งสังหาร" (Killing Field) ซึ่งมีผู้เสียชีวิตในช่วงเขมรแดงครองอำนาจประมาณ 2-3 ล้านคน



ภาพ อีกส่วนหนึ่งที่เป็นอันตรายอันเกิดจากระเบิดที่ถูกทิ้้งในช่วงสงครามเวียตนาม และยังสะสมอยู่ในดินในกัมพูชา แล้วอาจระเบิดมีคนไปขุดหา หรือไปกระทบจนระเบิด


ภาพ การท่องเที่ยวทางรถยนต์ในกัมพูชา ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว


ภาพ นักท่องเที่ยวที่นครวัด (Angkor Wat, Siem Reap)


ภาพ นักท่องเที่ยวต้องรอขึ้นชมปราสาทสูงที่ Angkor Wat, Siem Reap


ภาพ การขึ้นเยี่ยมชมปราสาทสูง ได้มีการทำบรรไดไม้ที่แข็งแรง พร้อมราวเกาะ เพื่อให้สะดวก และปลอดภัยขึ้น สำหรับนักท่องเที่ยว


ภาพ ผู้คนที่ได้เข้าเยี่ยมชมโบราณสถานที่นครวัด ในกัมพูชามีปราสาทเก่าที่เป็นอารยธรรมของขอมโบราณ ตามศาสนาฮินดู หรือพรามณ์ และปรับเปลี่ยนสู่พุทธศาสนาในช่วงหลายศตวรรษต่อมา



Wednesday, June 10, 2009

จุดเด่นของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (PNU)

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขอแนะนำให้รุ้จักมหาวิทยาลัยที่ตั้งใหม่อีกแห่งหนึ่งในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า "Princess of Naradhiwas University" ใช้ชื่อย่อว่า มนร. / PNU หรือเรียกสั้นว่า “มหาวิทยาลัยนราธิวาส” มหาวิทยาลัยฯได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 จัดเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ (Pulbic university/State university) มีที่ตั้งอยู่ ณ ถนนระแระมรรคา อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐลำดับที่ 77 ตั้งอยู่ที่ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเปิดหลักสูตรในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของท้องถิ่นและประเทศ โดยรับนักศึกษาทั้งในระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และปริญญาตรี

จุด เด่นของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ คือ นอกจากคณะโดยทั่วไปแล้ว ยังประกอบด้วยสถาบันการศึกษาภายในจังหวัดที่เข้ามารวมอยู่ในมหาวิทยาลัย รวมทั้งมีสถาบันที่เป็นความต้องการของท้องถิ่นด้วย นั่นคือ สถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์มีคณะ/วิทยาลัย /สถาบัน ที่จะเปิดทำการสอนและให้บริการวิชาการดังนี้

คณะเกษตรศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์, โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์, คณะวิทยาการจัดการ, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, คณะวิศวกรรมศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, คณะศิลปะศาสตร์, nคณะสังคมศาสตร์และสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, คณะนิติศาสตร์, คณะประมงศาสตร์, วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส, วิทยาลัยการอาชีพตากใบ, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส, และ ถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา

Sunday, June 7, 2009

โครงการแข่งขันทักษะคอมพิวเตอร์สากล ICDL

โครงการแข่งขันทักษะคอมพิวเตอร์สากล ICDL สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ

Keywords: ICDL Contest 2009, ICT Education, Thailand, เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

เอกสารนี้ยังเป็นฉบับร่าง เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สำหรับประกาศอย่างเป็นทางการจะได้มีเอกสารที่สมบูรณ์แจก และให้ Download ได้จาก Website: www.sb4af.org หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
อาคาร 2, ห้อง 2-106, เลขที่ 2/1 ถ.พญาไท
ทุ่งพญาไท, ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Building2, Room 2-106, 2/1 Phayathai Rd.,
Thung Phayathai, Ratchathewi,
Bangkok 10400, Thailand

Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: info@sb4af.org
Website: www.sb4af.org

หลักการและเหตุผล

โลกเราในทุกวันนี้ เป็นโลกที่เทคโนโลยีได้เข้ามาเกี่ยวของในทุกๆด้านทั้งการทำงาน ความบันเทิง และการศึกษา เทคโนโลยีอย่างหนึ่งที่เข้ามามีส่วนร่วมแพร่หลายคือ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information & Communication Technology, ICT) หรืออาจกล่าวได้ว่าขณะนี้ คอมพิวเตอร์ถือเป็นปัจจัยหนึ่งในการใช้ชีวิตที่นอกเหนือไปจากปัจจัยสี่ที่เราเคยมีมาในอดีต

แต่ไม่ว่าเทคโนโลยีจะเจริญไปมากมายเพียงใด หากไม่มีผู้ที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนั้นได้ เทคโนโลยีนั้นก็ไร้ประโยชน์ หรือหากมีผู้ที่เข้าถึงได้เพียงกลุ่มน้อย ก็จะส่งผลให้เกิดช่องว่าง (Digital Divide) ของผู้มีโอกาสและผู้ด้อยโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลมากขี้น และจะส่งผลถึงคุณภาพประชากรโดยรวมไปจนถึงเป็นปัจจัยลบในการพัฒนาประชากรและประเทศชาติได้

จุดที่ควรจะพิจรณาต่อมาคือ เราจะสามารถตรวจสอบ ความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีของแต่ละบุคลอย่างไร จึงจะสามารถแสดงสิ่งที่เป็นนามธรรมนี้ให้เป็นรูปธรรม เปรียบเทียบกันได้

ในฐานะที่มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นสนับสนุน การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ได้เห็นถึงจุดที่ควรแก้ไขนี้ จึงได้จัดสร้างโครงการแข่งขันทักษะคอมพิวเตอร์สากล ICDL ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้น สำหรับนักเรียนที่กำลังศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลและเอกชนต่าง ๆ ในทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชนไทย ก้าวสู่การเป็นผู้ชำนาญการด้านคอมพิวเตอร์ในระดับมาตรฐานสากล และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมพร้อมในการเป็นพลเมืองและบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศในอนาคต

International Computer Driving License (ICDL) เป็นประกาศนียบัตรที่ออกให้แก่ผู้ที่สอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานการวัดความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับสากล รับรองโดยสถาบัน ECDL Foundation อันเป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ ปัจจุบันมีสำนักงานตัวแทนสถาบันอยู่มากกว่า 150 ประเทศทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตร ICDL ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีทักษะความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังเป็นโปรแกรมการทดสอบความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ที่หาโปรแกรมการทดสอบอื่นใดเทียบเท่าได้

การทดสอบวัดความรู้ ICDL จะครอบคลุมหลักการพื้นฐานความรู้ของคอมพิวเตอร์ และการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ที่ใช้ทั้งในการทำงานและชีวิตประจำวัน ซึ่งการทดสอบของ ICDL ประกอบด้วยเนื้อหาเป็นวิชาต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า โมดูล จำนวน 7 โมดูล ได้แก่

1. หลักการพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Basic concepts of IT)
2. การใช้คอมพิวเตอร์ และการจัดการไฟล์ต่าง ๆ บนคอมพิวเตอร์ (Using the computer and managing files)
3. โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing)
4. โปรแกรมตารางคำนวณ (Spreadsheets)
5. โปรแกรมฐานข้อมูล (Databases)
6. โปรแกรมการนำเสนอ (Presentation)
7. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication)

ซึ่งการทดสอบเพื่อที่จะได้รับใบประกาศนียบัตร ICDL นั้นจะมี 2 แบบ คือ แบบ Full Packs (สอบผ่านทั้งหมด 7 โมดูล) และแบบ Start Packs (สอบผ่าน จำนวน 4 โมดูล)

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้มีความรู้ความชำนาญทางด้านคอมพิวเตอร์ และ ICT
2. เพื่อกำหนดมาตรฐานการเรียนการสอนด้าน ICT โดยเน้นการมีทักษะแท้จริงตามมาตรฐานสากล
3. เพื่อพัฒนาครูต้นแบบด้านคอมพิวเตอร์ (ICT Master Teachers)
4. เพื่อเผยแพร่มาตรฐานการสอนใหม่ ที่เน้นผู้เรียนเป็นฐาน (Student-Centered Teaching and Learning) โดยใช้ระบบการเรียนรู้และฝึกฝนด้วยตนเอง โดยมีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตช่วย

เป้าหมาย

  • โรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งของรัฐบาลและเอกชน 500 โรงเรียน
  • นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนรัฐบาลและเอกชนต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย 1,000 คน
  • ครูคอมพิวเตอร์ต้นแบบ (ICT Master Teachers) 20-100 คน
ครูคอมพิวเตอร์ต้นแบบ (ICT Master Teachers) คือบุคคลผู้ทำหน้าสอนและฝึกอบรมด้าน ICT ให้กับนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนเผยแพร่วิธีการเรียนการสอนด้าน ICT แก่บุคคลทั่วไป

* สอบผ่าน ICDL ในทั้ง 7 รายการ
* จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป
* มีประสบการณ์ด้านการสอนไม่น้อยกว่า 1 ปี
* สาธิตวิธีการสอนทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง

ระยะเวลาดำเนินการ

เริ่มจาก 1 มกราคม 2552 จนสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2552

Saturday, June 6, 2009

Password ระบบทดสอบภาษาอังกฤษมีแบบ “เปิด” และ “ปิด”

Password ระบบทดสอบภาษาอังกฤษมีแบบ “เปิด” และ “ปิด”

ผมได้รับเอกสารเผยแพร่ผ่านเครือข่ายของ Password ระบบทดสอบความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ที่ดำเนินการโดยบริษัท Language Testing Ltd และมหาวิทยาลัยในความร่วมมือ รายละเอียดของ Password ติดตามได้จาก http://pracob.blogspot.com/2009/05/password.html

ขอเชิญอ่านเอกสารที่ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทดสอบ Password ในระบบเปิด และในระบบปิดได้ดังต่อไปนี้

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com


การทดสอบ Password ระบบเปิด
(The Open Password Test)

ในการทดสอบภาษาอังกฤษด้วย Password ในระบบเปิด ผู้เรียนต้องไปที่ศูนย์ทดสอบที่ได้รับการรับรองจาก Password (Accredited Test Centres) รับการทดสอบในระบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีระบบการควบคุมการทดสอบตามมาตรฐาน และไดรับใบรับรอง (Certificate) ที่เป็นคะแนนในทันที ใบรับรองนี้จะเป็นลักษณะเป็นลายน้ำสารเคมี และ Password มีบริการสำหรับสถานศึกษาที่ต้องการตรวจสอบความถูกต้องของใบรับรอง ของบุคคลนั้นๆได้ ระบบการให้การรับรองการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ Password ในแบบเปิด (Opened Password Certificates) ผู้เรียนจะได้รับใบแสดงความสามารถด้านภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการ ประโยชน์ของการใช้นี้ รวมถึงการสมัครเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ การสมัครงาน และการขอรับใบอนุญาตรับคนเข้าเมือง (Visa)

นอกจาก Password จะเป็นระบบทดสอบความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่สะดวกที่จะใช้บริการ ราคาประหยัด ในระดับความสามารถก่อนเข้า และเมื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย หรือเทียบเป็นคะแนนของ IELTS จะประมาณ 3.0-6.0 ซึ่งจะเป็นระดับที่มีความแม่นยำ Password มีความคล้ายเคียงกับ IELTS และ TOEFL

ศูนย์ทดสอบฯ จะเป็นฝ่ายจัดซื้อ Password Tests จากบริษัท Language Testing Ltd และจัดให้บริการทดสอบตามอัตราค่าบริการตามกำหนด

การทดสอบ Password ในระบบปิด
(The Closed Password Test)

การทดสอบ Password ในระบบปิด (The Closed Password Test) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์ของสถาบันการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัย วิทยาลัยในระดับอุดมศึกษา โปรแกรมเตรียมความพร้อมเข้ามหาวิทยาลัย (University and college) ในประเทศสหราชอาณาจักร (Pathway Program) ศูนย์รับคนเพื่อเรียนและฝึกภาษา (Language School) หน่วยงานของรัฐบาล และหน่วยงานใดๆ ที่ต้องการทราบระดับความสามารถของบุคคล หน่วยงานขอซื้อบริการทดสอบได้จาก Password และรับผิดชอบต่อผลของคะแนนและการใช้เอง ทั้งนี้ด้วยหน่วยงานดำเนินการเอง โดยทั่วไปจะเป็นบริการฟรีสำหรับนักเรียน ณ หน่วยรับบริการ

ผลการทดสอบ Password สำหรับหน่วยงานมีได้มากและหลากหลาย เช่น การจัดระบบชั้นเรียนในการศึกษาตามระดับความสามารถชองผู้เรียน และสามารถติดตามความก้าวหน้าทางภาษาของผู้เรียน และรวมถึงการที่หน่วยงานนั้นๆ จะได้ใช้ระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษสำหรับเจ้าหน้าที่ของตนที่ต้องใช้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษในการทำงานตามหน้าที่ของตน

ผู้รับการทดสอบอาจได้หรือไม่ได้รับใบรับรอง ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของหน่วยงานนั้นๆ (Organisations) แต่โดยทั่วไปวิธีการนี้ไม่ถือว่าเป็นใบรับรอง Password อย่างเป็นทางการ ไม่มีการพิมพ์ใบรับรองลงในกระดาษลายน้ำ และจะไม่ปรากฎในระบบการให้การรับรองความเชื่อถือ ใบรับรองหากมี จะเป็นเรื่องการใช้ชื่อร่วมกันระหว่าง Password กับสถาบันนั้นๆ แต่จะไม่ได้รับการรับรองในวงกว้าง นอกเหนือจากหน่วยงานนั้นๆ

สนใจติดต่อได้ที่

สถานศึกษาที่สนใจเป็นศูนย์ทดสอบที่ได้รับการรับรองของ Password (Password Accredited Test Centers) ที่จะให้บริการทดสอบ Password ทั้งที่เป็นระบบเปิดและปิด

หรือหน่วยงานที่ต้องการระบบทดสอบ Password ที่จะใช้ในแบบปิด

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้จาก

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
อาคาร 2, ห้อง 2-106, เลขที่ 2/1 ถ.พญาไท
ทุ่งพญาไท, ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Building2, Room 2-106, 2/1 Phayathai Rd.,
Thung Phayathai, Ratchathewi,
Bangkok 10400, Thailand

Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: info@sb4af.org , Website: www.sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Thursday, June 4, 2009

กลับมาพร้อมกับการติดอาวุธทางปัญญา - การใช้ Aircard

กลับมาพร้อมกับการติดอาวุธทางปัญญา
ประกอบ คุปรัตน์
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com


Keywords: IT, ICT, wireless, sufficiency economy, เทคโนโลยีสารสนเทศ, เศรษฐกิจพอเพียง,

ผมได้เดินทางกลับมาจากสหรัฐอเมริกาในปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 แล้วมาพักที่บ้านได้สักระยะหนึ่งแล้ว หลังจากใช้เวลาอยู่ในประเทศสหราชอาณาจักร 10 วัน และที่สหรัฐอีก 2 เดือน

ระหว่างอยู่ที่เมือง Brooklyn, เมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เรียนรู้การใช้การนำเสนอผ่าน Blogger ผมได้เรียนรู้วิธีการสร้าง Blog นี้กับลูกชาย ลองดูงานของผมได้ที่ http://pracob.blogspot.com

ระหว่างอยู่ที่สหรัฐคันกระเป๋าสตางค์ อยากจะซื้อ iPhone ของ Apples เครื่องมือสื่อสารแบบพกพาที่เป็นทั้งโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ติดตัว เป็นระบบนำทาง ฯลฯ ราคาประมาณ USD 300 คิดเป็นเงินไทยหมื่นกว่าบาทต้นๆ แต่ทบทวนดูแล้ว ผมไม่เหมือนกับคนหนุ่มสาวที่ชอบเป็นนักสื่อสาร ผมเป็น “นักควบคุมการสื่อสาร” ใช้เครื่องมือแต่พอเหมาะ เอาเวลาที่เหลืออยู่ไปทำอย่างอื่นๆ เช่นเขียนติดต่อสื่อสาร และออกกำลังกาย ท่องเที่ยว จะสนุกกว่า เพราะถึงเครื่องมือสื่อสารที่จะซื้อจะมีราคาถูก แต่ผมคงใช้งานไม่ได้เต็ม Function เหมือนจะซื้อรถยนต์ราคาแพง แล้วไม่ค่อยได้ขับ ก็จะเป็นการเสียเงินเปล่า

การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใหม่กว่าเดิม แล้วยกเครื่องกระเป๋าหิ้ว (Laptop, Notebook) คอมพิวเตอร์เก่าที่เก่าที่ยังใช้ได้ดีอยู่ให้กับมูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย เพื่อใช้ฝึกอาสาสมัครที่จะมาช่วยงานของมูลนิธิฯ เครื่องเก่าของผมมีประวัติติดตัวผมไปทั้งทางรถโดยสาร รถไฟ เครื่องบิน รวมนับเป็นแสนๆกิโลเมตรแล้ว
พูดถึงทางเทคนิคบ้างเล็กน้อย เครื่องเก่าเป็น Laptop มีอายุการ้ใช้งานกว่า 5 ปีแล้ว มีฟขนาดความเร็ว 1.8 Gigahertz หน่วยความจุช่วยคราวหรือ RAM ขนาด 750 MB, Hard disk ความจุ 80 GB ซึ่งเครื่องเนื่องจากเป็นเครื่องเก่า ไม่สามารถปรับปรุงอะไรได้มากกว่านี้แล้ว

เครื่องที่ผมเอามาปรับปรุงใหม่เพื่อใช้ คือ Sony VAIO มีอายุการใช้งานมาสัก 2 ปีแล้ว เป็นแบบจอกว้าง ลูกสาวเขาให้มาใช้นานแล้ว แต่ขี้เกียจไปจัดการระบบซอฟต์แวร์และ Applications ต่างๆ เพราะของเก่าก็ยังใช้ได้ดี แต่มาวันนี้ ตัดใจไปแถว Fortune Town ให้ร้านซ่อมคอมพิวเตอร์เขาเปลี่ยน ใส่ Hard disk ใหม่ที่จุหน่วยความจำที่ 160 GB ราคา 2200 บาท Harddisk เดิมเอาไว้ใช้เป็นตัวสำรองข้อมูล และเพื่อให้ความมั่นใจว่า Hardisk จะไม่พังไปอย่างง่ายๆ เพราะหมดอายุ

เติมหน่วยความจำ RAM หรือ Random Access Memory จากเดิม 512 MB เป็น 1 GB เสียค่าเติม RAM ไป 1100 บาท

ใช้บริการรับส่ง SMS โดยเลือกบริการส่ง SMS ต่อเดือนที่ประมาณ 120 ครั้งต่อเดือน ราคา 100 บาท ราคาต่อข้อความละ .83 บาท ถ้ารับส่งปกติจะเสียครั้งละ 2.00 บาท

รวมค่า Upgrade ค่าอุปกรณ์และค่าแรงแล้วประมาณ 4300 บาท ถ้าจะซื้อของใหม่ ก็จะเสียเงินประมาณ 35000 บาท ผมกะว่าจะใช้งานไปอีกสัก 2-3 ปี

การใช้ Aircard หรือ Wireless เสริมในมือถือเก่า จ่ายเงินเท่าเดิม ใช้การพูดคุยไม่เกิน 400 นาทีต่อเดือน ตัว Aircard นี้ราคาประมาณ 2800 บาท ตัดใจซื้อ และจะลองใช้งานดู ทางร้านเขาบอกว่าทางที่ดีให้ไปขอบริษัทมือถือ ให้ทำ SIM Card ที่ใส่ในเครื่องโทรศัพท์มือถือเพิ่มอีก 1 อัน เขาไม่คิดค่าบริการเพิ่มเติม มิฉะนั้นต้องถอด SIM เข้าๆออกๆ จะพังไปเสียก่อน จะเสียเวลาและยุ่งยาก

ปัญหาการไปทำงานต่างจังหวัดประการหนึ่งคือ ไม่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้สะดวก เพราะโรงแรมที่พักบางแห่ง หรือบ้านพักอาจไม่มีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตใช้ จึงซื้อ Modem สำหรับใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ เขาเรียกว่า Wireless Card ใช้ร่วมกับระบบโทรศัพท์มือถือ

ขณะเดียวกัน ก็บอกปรับ Package การใช้งานใหม่ ซึ่งทุกปี เขาจะมีบริการที่ถูกลง ส่วนชั่วโมงการโทรศัพท์ดูสถิติย่อนหลังแล้วใช้ประมาณไม่เกิน 400 ชั่วโมงต่อเดือน

การบอกใช้บริการเพื่ม การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่าน Mobilephone ในราคา Package แบบ 20 ชั่วโมงต่อเดือน เอาไว้ใช้ในสถานที่ๆไม่สามารถใช้ Broadband Internet ได้

เขามีบริการแบบใช้ตลอด 24 ชั่วโมงทั้งเดือนราคา 999 บาท น่าสนใจ แต่ไม่จำเป็นสำหรับผม ที่บ้านผมรับบริการ ADSL ความเร็ว 2 Mbps เสียค่าบริการอยู่แล้ว เดือนละ 1000 บาท คำนวณแล้ว ลองทดลองอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือใช้แบบไม่เกิน 20 ชั่วโมงก็คงจะพอสมควรแล้ว

รวมค่าบริการใช้โทรศัพท์มือถือของผมคือไม่สูงไปกว่าเดิม แต่ใช้งานที่หลากหลาย ใช้โทรศัพท์มือถือโทรกันแบบทั่วไป ใช้เพื่อสื่อสารอินเตอร์เน็ตในสถานที่ๆไม่อาจใช้อินเตอร์เน็ตทั่วไปได้

การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือในแบบเป็น Package 20 ชั่วโมงต่อเดือน 100 บาท นาทีละ 9 สตางค์ หรือชั่วโมงละ 5 บาท หากไปเช่าใช้เครื่องที่อินเตอร์เน็ตคาเฟ่จะเสียชั่วโมงละ 15-20 บาท หากไปใช้ในโรงแรมบางแห่งจะเสียชั่วโมงละหลายสิบบาท หากเป็นในต่างประเทศ โรงแรมเขาให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

ในอีกด้านหนี่ง ผมอ่านหนังสือพิมพ์ผ่านอินเตอร์เน้ตแบบฟรีมากขึ้น จึงงดรับหนังสือพิมพ์ที่เคยรับมาตลอดหลายสิบปี จะซื้ออ่านเป็นครั้งคราว ซื้อได้หลายฉบับ แต่ขณะเดียวกัน ก็ยังคงบอกรับนิตยสาร Time ที่เป็นรายเดือน ซึ่งนอกจากดูข่าวผ่านโทรทัศน์บอกรับ (Subscribed TV) อย่าง True Vision และขณะเดียวกัน ก็ตติดจานรับโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เรียกว่า Dish TV หรือ Satellite TV ลองวิเคราะห์ตนเองแล้ว ก็เป็นห่วงสื่อหนังสือพิมพ์และนิตยสารในบ้านเรา ที่มีแนวโน้มจะต้องประสบปัญหาเหมือนหนังสือพิมพ์เก่าแก่ของหลายๆเมืองในสหรํฐอเมริกา ที่คนหันไปใช้สื่อโทรนิกส์มากขึ้น สื่อกระดาษก็พากันปิดตัวเองไป เรื่องนี้เห็นว่า คณะกรรมาธิการด้านการสื่อสารของรัฐสภาของไทย น่าจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการมาศึกษาปัญหาและแนวโน้มกันอย่างจริงจัง เพราะสื่อหนังสือพิมพ์เหล่านี้ ความจริงเป็นฝ่ายไปวิ่งหาข้อมูลมา แต่เมื่อมาเผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ต หรืออ่านข่าวตอนเช้าแทน สื่อกระดาษ ก็ตกที่นั่งลำบาก

สรุปรวม ผมปรับปรุงระบบสื่อสารเฉพาะตัวของผม ควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการสื่อสารและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น แต่คนอย่างผมที่มีอาชีพด้านวิชาการ และชอบเดินทาง ก็จะมีค่าใช้จ่ายบางประการสูงกว่าคนทั่วไป แต่ก็คงพอเหมาะแก่สถานะ ในยุคที่เราต้องกินใช้อย่างเศรษฐกิจพอเพียง