Wednesday, August 12, 2009

ประวัตินางอองซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi)

ประวัตินางอองซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi)
ประกอบ คุปรัตน์
ศึกษาและเรียบเรียง
จาก Wikipedia, the free encyclopedia
Updated: Thursday, August 13, 2009

ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย วิถีทางที่จะได้มาซึ่งความสำเร็จไม่ใช่ด้วยกระบอกปืน แต่จะต้องได้ด้วยวิถีทางแห่งสันติ อหิงสา โดยหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงทั้งปวง แม้วิธีการนั้นจะต้องใช้เวลายาวนาน และผู้เกี่ยวข้องต้องใช้ความอดทน
การจะสร้างและรักษาประชาธิปไตยไว้อย่างยาวนาน ก็ต้องด้วยความเชื่อมั่นของคนส่วนใหญ่ของประเทศ และเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ในแผ่นดิน และขณะเดียวกัน ด้วยการยึดหลักของสิทธิมนุษยชน การฟังเสียงและเคารพในความคิดเห็นและผลกระทบอันอาจมีต่อคนกลุ่มน้อย ในประเทศพม่า

ประเทศพม่ายังอยู่ในวังวนของความขัดแย้ง การครองอำนาจของฝ่ายทหาร อย่างไม่ยอมปลดปล่อย
ประเทศพม่า (Burma) หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลทหารว่า The Union of Myanmar จัดเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มอินโดจีน มีพื้นที่ติดกับจีนทางตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับลาวทางตะวันออก กับไทยทางตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับบังคลาเทศทางตะวันตก อินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และกับทะเลทางอ่าวเบงกัลทางตะวันตกเฉียงใต้ และทะเลอันดามัน
พม่ามีประชากรทั้งสิ้นจากการสำรวจในปี ค.ศ. 2005-2006 ที่ 55,390,000 คนจัดเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 24 มีความหนาแน่นของประชากรที่ 75 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งนับว่าเบาบางเมื่อเทียบกับประเทศไทย พม่ามีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก เป็นที่ต้องการของทั้งประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทย หรือจีน และจากประเทศตะวันตก แต่พม่าในปัจจุบันก็ยังจัดเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายปิดประเทศ และการปกครองภายใต้เผด็จการทหาร อย่างต่อเนื่องยาวนาน มีปัญหาเรื่องความขัดแย้งของชนกลุ่มน้อย (Minority) ในประเทศ

พม่าไม่เคยได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ยาวนานนัก ช่วงที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยสั้นๆหลังการประกาศอิสรภาพปี ค.ศ. 1948 จนถึงปี ค.ศ. 1962 หลังจากนั้นจนถึงปัจจุบัน ประเทศพม่าอยู่ในระบอบการปกครองเผด็จการทหาร แม้จะได้รับเสียงเรียกร้องจากสังคมโลกให้ปรับเปลี่ยน

พม่าเรียกร้องเพื่อประชาธิปไตยเป็นระยะ แต่ก็ไม่สามารถทัดทานเผด็จการทหาร แต่มีคนหนึ่งที่ยืนหยัดนำและเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ในพม่า เธอคือ นางอองซาน ซูจี

นางอองซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi) เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1945 ในกรุงย่างกุ้ง (Rangoon) ประเทศพม่า เป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของพม่าจากการเลือกตั้งทั่วประเทศในปี ค.ศ. 1990 เป็นนักการเมืองผู้นำพรรคฝ่ายค้านของพม่าที่ชื่อว่า National League for Democracy ในพม่า อองซาน ซูจี เป็นบุตรคนที่สามของครอบครัว ชื่อของเธอมาจากญาติสามฝ่าย Aung San มาจากบิดา Kyi มาจากมารดา และ Suu มาจากย่า

อองซาน ซูจีได้รับรางวัลจากการทำงานและการต่อสู้ของเธอ ดังเช่น Rafto Prize และรางวัล Sakharov Prize for Freedom of Thought ในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพในปี ค.ศ. 1990 และรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี ค.ศ. 1991 (Nobel Peace Prize) ในปี ค.ศ. 1992 เธอได้รับรางวัล Jawaharlal Nehru Award for International Understanding โดยรัฐบาลของประเทศอินเดีย (Government of India) ในขณะนั้นเธอยังถูกควบคุมตัวในประเทศพม่า และยังถุกควบคุมตัวเป็นเวลาเกือบ 14 ปีของ 20 ปีที่ผ่านมา

ในปี ค.ศ. 1990 ในการเลือกตั้งใหญ่ในพม่า เธอได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นกว่าร้อยละ 59 ของคะแนนเลือกตั้ง และได้ที่นั่งในสภา 394 จากจำนวน 492 ที่นั่ง และนั่นเป็นผลที่รัฐบาลทหารไม่ต้องการให้เธอได้ครองอำนาจ
อองซาน ซูจี มักได้รับการเรียกขานว่า Daw Aung San Suu Kyi ซึ่งคำว่า Daw ไม่ใช่คำเรียกชื่อของเธอ แต่เป็นการเรียกที่คล้ายคำว่า Madam สำหรับสตรีสูงอายุที่ได้รับการเคารพ มีความหมายใกล้กับคำว่า “ป้า อา หรือน้าผู้หญิง” แต่ขณะเดียวกันจะเรียกว่า คุณซูจี หรือ ดร. ซูจีก็ไม่ผิด ส่วนคำว่า Aung San เป็นชื่อของนายพลอองซาน General Aung San บิดาของเธอ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของพม่าในยุคใหม่หลังประกาศอิสรภาพ

ในด้านชีวิตส่วนตัว ปี ค.ศ. 1972, เธอแต่งงานกับ Dr. Michael Aris, นักวิชาการผู้ศึกษาเรื่อง “วัฒนธรรทิเบต (Tibetan culture), ผู้ซึ่งพักอาศัยอยู่ในประเทศพูฐาน (Bhutan) .ในช่วงต่อมาเธอได้ให้กำเนิดบุตรชายคนแรกชื่อ Alexander Aris ในกรุงลอนดอน และในขณะเดียวกันเธอได้ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ในคณะวิชาที่ศึกษาเรื่องเอเชียและอัฟริกา (School of Oriental and African Studies, University of London) จบปริญญาเอก และในปี ค.ศ. 1985 ได้รับเลือกให้รับตำแหน่งทางวิชาการ Honourary Fellow ในปี ค.ศ. 1990 และได้ทำงานให้กับประเทศพม่าในระยะนั้นที่เรียกว่า government of the Union of Burma

ในพม่า อองซาน ซูจี ถูกกล่าวหาว่าเป็น “มือเพชฌฆาตของพวกล่าอาณานิคมใหม่” (Neo Colonialists) เป็นพวกขายชาติที่สมควรแก่การส่งออกนอกประเทศ บางคนประณามเธอเป็นพวกตัวแทนผลประโยชน์จากวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เปิดประเทศเพื่อการลงทุนและผลประโยชน์ของต่างชาติ

No comments:

Post a Comment