ประกอบ คุปรัตน์
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
Updated: Thursday, August 20, 2009
Keywords: cw805, สุขภาพ อนามัย เบาหวาน
Diabetes: Blood Tests to Help You Manage Your Diabetes
ความนำ
ข้อแนะนำจากแพทย์สำหรับผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ในการตรวจน้ำตาลในเลือด
โรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่สามารถใช้การควบคุมตนเองที่จะทำให้ใช้ชีวิตได้เหมือนปกติ มีชีวิตที่ยืนยาวได้ไม่ต่างจากคนทั่วไป หากรู้จักตนเอง และวิธีการดูแลตนเอง การดูแลรักษาโรคเบาหวานที่ผู้ป่วยกระทำได้ด้วยตนเอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ คือร้อยละ 90 เป็นผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2) ตับอ่อนยังทำหน้าที่ในการผลิตอินซูลิน (Insulin) ที่เป็นฮาร์โมนในเก็บน้ำตาลในร่างกาย และการควบคุมน้ำตาลในเลือด แต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากอินซูลินได้เต็มที่ หรือตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ แคในปริมาณไม่มากพอ ทางควบคุมน้ำตาลในเลือดให้มีในระดับปกติ หรือใกล้ปกติ จะกระทำได้ดีเมื่อรู้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระดับใด สูงหรือต่ำเกินไป และสิ่งที่ต้องกระทำ คือ
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในระดับที่เหมาะสม เช่นเดินวันละ 3-5 กิโลเมตร หรือเทียบเท่า
การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มอย่างเหมาะสม ทั้งปริมาณและประเภทของอาหาร รับประทานได้หลายครั้งทุกมื้อต่อวัน แต่จำกัดจำนวน อาหารคิดได้เป็นแคลอรี่ (Calories)
การใช้ยาควบคุมที่ทำให้ร่างกายใช้ประโยชน์จากอินซูลินอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องกินยาตามปริมาณที่แพทย์กำหนด ซึ่งควรจะเป็นไปแบบใช้ยาน้อยที่สุด หรือไม่ต้องใช้เลย หากมีการควบคุมอาหาร หรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม และสมดุลกัน ไม่มีพลังงานเหลือเกินในแต่ละวัน น้ำหนักตัวเป็นปกติ ไม่ขึ้น ไม่ลง
ในกิจกรรม 3 ส่วนนี้มีผลสัมพันธ์กัน เช่น
1. หากมีการออกกำลังกายมาก ก็บริโภคอาหารได้มาก หรือต้องมากขึ้น
2. หากลดการบริโภคอาหาร ก็ลดการออกกำลังกายลง หรือหากจะต้องออกกำลังกายมากขึ้นด้วยความจำเป็น ก็ต้องปรัยเรื่องอาหารเพิ่มให้ได้สมดุลย์
3. การรักษาโรคเบาหวานประการหนึ่งคือการเฝ้าระวังโรค (Monitoring) ด้วยการตรวจน้ำตาลเลือด ซึ่งมีหลายแบบ
เอกสารนี้ได้จากคู่มือของ AAFP สำหรับแพทย์ที่จะให้คำแนะนำแก่คนไข้ โดยมีอยู่ในเอกสารที่ชื่อว่า "Self-control: A Physician's Guide to Blood Glucose Monitoring in the Management of Diabetes,"
การตรวจน้ำตาลในเลือดมี 2 แบบ
A1c and self-monitoring of blood glucose (SMBG)
การตรวจน้ำตาลในเลือดมี 2 แบบ
การตรวจแบบ A1c
การตรวจน้ำตาลในเลือดแบบ A1c มักระทำที่โรงพยาบาล หรือคลินิกที่ห้องแลบ เป็นการตรวจที่หาค่าสะสมของน้ำตาลในเลือดในช่วง 3 เดือน แทนที่จะเป็นการหาเฉพาะในช่วงวันหรือเวลาที่ตรวจ เพราะคนไข้ส่วนใหญ่เวลาจะไปหาหมอ มักจะอดอาหาร แต่บางครั้งหลังจากไปหาแล้ว กลับมามักกลับไปสู่นิสัยการกินตามใจ ออกกำลังน้อยแบบขี้เกียจ นิสัยแบบนี้เรียกว่า “หลอกหมอ” แบบไม่ตั้งใจ
การตรวจ SMBG
การตรวจด้วยตนเองได้
SMBG เป็นคำย่อมาจาก Self-Monitoring of Blood Glucose ซึ่งสามารถตรวจได้บ่อยครั้งทำได้ด้วยตนเอง โดยมีเครื่องมือที่พกติดตัวไปได้ แม้ช่วงการเดินทาง เพราะเครื่องมือมีขนาดเล็กและเบา ตลอดจนการตรวจด้วยการเจาะเลือด ก็ใช้เข็มที่มีการกำหนดว่าจะเจาะลึกมากน้อยเพียงใด ก็มีการตั้งความลึกให้เหมาะกับผิวหนังของเรา บริเวณที่จะเจาะ ส่วนใหญ่เลือกเจาะที่ปลายนิ้ว
การตรวจแบบนี้ไม่สามารถให้รายละเอียดได้เหมือนกับ A1c ซึ่งต้องไปหาแพทย์ หรือไปตรวจที่สถานพยาบาล แต่ต้องเป็นการตรวจบ่อยๆ หลายครั้งใน 1 เดือน เหมาะสำหรับการดูแลรักษาโรคเบาหวานด้วยตนเอง โดยถือหลักอยู่ว่า ไม่มีใครจะเป็นแพทย์ที่ดีไปกว่าตนเอง หรือ “ตนต้องรู้จักเป็นที่พึ่งแห่งตน”
นอกจากนี้ เครื่องยังช่วยบันทีกข้อมูลเอาไว้ในระบบได้ หรือบางที่ก็ใช้การจดไว้ในกระดาษ โดยจดว่า ได้เจาะตรวจเลือดในวัน เดือน และปีอะไร เวลาอะไร ได้ค่าการตรวจเป็นอย่างไร (MG/DL)
ควรจะตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองถี่มากน้อยเพียงใด
How often should I do SMBG testing?
ควรจะตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองถี่มากน้อยเพียงใด
แพทย์ประจำครอบครัวสามารถแนะนำได้ว่าควรจะตรวจบ่อยมากน้อยเพียงใด เวลาในการตรวจจะขึ้นอยู่กับลักษณะของยาที่รับประทาน และระดับการควบคุมน้ำตาลในเลือดของเราว่าดีเพียงพอแค่ไหน แพทย์จะแนะนำว่าควรตรวจบ่อยเพียงใด
หากเป็นเบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1) ซึ่งต้องมีการฉีดอินซ๔ลินเข้าร่างกาย ต้องตรวจวันละ 3-4 ครั้ง
หากเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2) และต้องใช้การฉีดอินซูลินช่วยร่วมกับกินยาควบคุมเบาหวาน ควรตรวจวันละ 3 หรือ 4 ครั้ง
หากเราต้องการใช้ยาควบคุมเบาหวาน และยังไม่มีระดับน้ำตาลที่ตรวจแบบ A1c ที่ตั้งเป้าหมายไว้ ก็ใช้ตรวจ 2 ถึงบ 4 ครั้งต่อวัน
หรือในกรณีที่เราใช้ยาควบคุมน้ำตาลในเลือด หรือควบคุมเบาหวานด้วยการจัดโภชนาการ และการออกกำลังกายโดยไม่ใช้ยา ก็ให้ปรึกษาแพทย์ว่าควรตรวจเลือดบ่อยครั้งเพียงใด
ควรตรวจในเวลาใดของวัน
What time of day should I test?
ควรตรวจเวลาใดของวัน
คำแนะนำว่าเวลาใดควรจะตรวจน้ำตาลในเลือดในแต่ละวัน ขึ้นอยู่กับการใช้ยา มื้ออาหาร กินกี่มื้อ มื้อละกี่แค
ลอรี่ และการควบคุมน้ำตาลด้วยตนเอง ในตารางข้างล่าง แพทย์จะแนะนำให้เราตรวจในช่วงเวลาต่างๆ โดยเน้นวัตถุประสงค์และสถานะของแต่ละคน เช่นคนทำงานในแบบสำนักงานปกติ หรือคนที่ต้องทำงานออกกำลังกายมาก ก็ย่อมจะมีสถานะและระดับน้ำตาลที่แตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 8 ช่วง
1. อดอาหาร ก่อนอาหารเช้า
2. 1-2 ชั่วโมงหลังอาหารเช้า
3. ก่อนอาหารกลางวัน
4. 1-2 ชั่วโมงหลังอาหารกลางวัน
5. ก่อนอาหารเย็น
6. 1-2 ชั่วโมงหลังอาหารเย็น
7. ก่อนนอน
8. ตอนตี 3
เวลาในการตรวจ
Time to Test:
ช่วงของเป้าหมายค่าน้ำตาลในเลือด (Target Goal Ranges) ซึ่งหากตรวจแล้ว เรากระทำได้ตามเป้าหมาย ก็จะถือว่าเป็นที่น่าพอใจ
ควรตรวจน้ำตาลในเลือดแบบ SMBG ถี่เพียงใด
What does SMBG at the recommended times tell me?
ช่วงเวลาการตรวจ (Time of Test) มีประโยชน์สำหรับต่อไปนี้
การตรวจในช่วงอดอาหารในตอนกลางคืน (ตี 3 – 4) Fasting blood sugar (FBG) nighttime (3-4 a.m.) เพื่อการปรับการใช้ยาหรืออินซูลินที่มีผลในระยะยาว (Adjust medication or long-acting insulin)
ก่อนอาหาร (Before a meal) เพื่อปรับมื้ออาหาร หรือการใช้ยา (Modify meal or medication)
1-2 ชั่วโมงก่อนอาหาร (1-2 hours after a meal) เพื่อเรียนรู้ว่าอาหารที่รับประทานไปนั้นมีผลต่อน้ำตาลในเลือดมากน้อยเพียงใด ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวมักจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงที่สุดในแต่ละวัน (Learn how food affects sugar values ... often the highest blood sugars of the day*)
ช่วงเวลานอน (ตอนกลางคืน - At bedtime) เพื่อปรับการควบคุมอาหารและยา (เป็นช่วงสุดท้ายก่อนนอนไปอีก 8 ชั่วโมง) Adjust diet or medication (last chance for the next 8 hours)
*Depends on the size of the meal and the amount of medicine you take.
เหตุผลอื่นๆที่ทำให้ต้องตรวจน้ำตาลในเลือด
Other reasons to check your blood sugar
ทำไมจึงต้องมีการตรวจน้ำตาลในเลือดกันบ่อย หรือต้องบ่อยๆในช่วงใด
- เมื่อเรารู้ว่าเรามีอาการของน้ำตาลในเลือดต่ำ (Low blood sugar) หรือเรียกในทางการแพทย์ว่า hypoglycemia ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวจะมีอาการหน้ามืด มือไม้สั่น เหงื่อออก และมีสภาพจิตสับสน
- เมื่อเรามีอาการน้ำตาลในเลือดสูง (High blood sugar) หรือในทางการแพทย์เรียกว่า hyperglycemia ซึ่งจะทำให้มีอาการง่วงนอน สายตาพร่า ปัสสาวะบ่อย และหิวน้ำ
- เมื่อเราต้องการเรียนรู้ว่า อาหาร (meals), การออกกำลังกาย (physical activity) และยาที่ใช้ (medicine) มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดอย่างไร
- เพื่อบันทึกไว้เป็นข้อมูลว่าเราได้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ในระดับใด และหากเรามีงานที่หากไม่มีการควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ดีพอ จะมีผลต่อความปลอดภัยของตนเอง และคนอื่นๆ
- เพื่อให้เราได้ตัดสินใจว่า จะปลอดภัยที่จะขับรถ หรือทำงานที่ต้องใช้สมาธิมากน้อยเพียงใด หรือในอดีต เรามีปัญหาด้านน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
Reasons to check your blood sugar more frequently
โดยปกติ หากเราได้ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ มีการออกกำลังกายที่อยู่ในระดับปกติ เรากินอาหารอย่างควบคุม ไม่มีงานเลี้ยงงานสังสรรค์พิเศษอะไรในช่วงนั้น และสภาพร่างกายรับรู้ด้วยอาการที่เราสังเกตได้ว่าเป็นปกติ ชั่งน้ำหนักตัวทุกเช้าเป็นปกติ ดังนี้เราก็ไม่ต้องไปตรวจกันบ่อยๆ แต่เราจำเป็นต้องมีการตรวจน้ำตาลในเลือดบ่อยด้วยเหตุต่อไปนี้
- เมื่อมีการเปลี่ยนยาควบคุมน้ำตาลในเลือด ยาแต่ละชนิดมีการควบคุมน้ำตาลในเลือด และมีฤทธิที่ต่างกัน
- เมื่อเราต้องมีการใช้ย่าชนิดใหม่ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อน้ำตาลในเลือด
- เมื่อเรามีการเปลี่ยนการควบคุมอาหาร (Diet)
- เมื่อระดับการออกกำลั้งกายของเราในแต่ละวันเปลี่ยนแปลงไป เช่น มากขึ้น เพราะออกกำลังกายมากขึ้น หรือน้อยลง ด้วยเหตุผลบางประการ
- เมื่อเรามีระดับความเครียดเพิ่มขึ้น
- เมื่อเรามีอาการป่วย (Sick) เช่น เป็นไข้ ปวดหัว ตัวร้อน หรือกินอาหารไม่ได้ ระดับน้ำตาลในเลือดอาจสูง ดังนี้การต้องตรวจน้ำตาลในเลือดบ่อย ก็เป็นสิ่งจำเป็น
จาก American Academy of Family Physicians
ได้รับความรู้ ความชัดเจน ครอบคลุมการเฝ้าระวังการรักษาเบาหวานของตัวเองเป็นอย่างมาก
ReplyDelete