Saturday, April 30, 2011

นโยบายของพรรคเพื่อไทย 1 นักเรียน 1 แท็บเล็ต

นโยบายของพรรคเพื่อไทย 1 นักเรียน 1 แท็บเล็ต

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

นโยบายด้านการศึกษาที่ฮือฮากันมากประการหนึ่งของพรรคเพื่อไทย (Pheu Thai Party) คือการแจกเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Tablet ให้กับเด็กทุกคน หรือที่เรียกว่า “นโยบายหนึ่งนักเรียนหนึ่งแท็บเล็ต

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรมช.คลัง ในฐานะคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย กล่าว ว่า

นโยบายใหม่ที่น่าจับตามองคือ นโยบายหนึ่งนักเรียนหนึ่งแท็บเล็ต พร้อมเอดีเอสแอลและไวไฟ เพราะจะเปลี่ยนประเทศนี้ให้มีความสามารถแข่งขันเพิ่มขึ้น ปรับปรุงคุณภาพของประชาชนในอนาคต โดยรัฐบาลนี้พยายามพูดถึงนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ คำพูดดูดี แต่จับต้องไม่ได้ไม่เหมือนเพื่อไทย พรรคจะให้คอมพิวเตอร์แบบแท็บเล็ตกับนักเรียนทุกคนตั้งแต่ประถมฯหนึ่ง จัดให้มีระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงพร้อมไวไฟไปยังโรงเรียนทุกแห่งทั่ว ประเทศ รวมถึงสถานที่ราชการ และสถานที่สาธารณะอื่นๆ โดยไม่คิดค่าบริการ

นอกจากนี้ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ยังอธิบายเพิ่มเติมอีกว่า

ส่วนที่เกรงว่าราคาแท็บเล็ตจะแพง ไม่เป็นความจริง ราคาแทบเล็ตในจีนและอินเดียแค่100-200 ดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นกับความสามารถในการใช้สอย ซึ่งต้องถูกกว่านี้ถ้าซื้อจำนวนมาก

ผมเห็นด้วยที่จะให้เด็กๆได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์ราคาถูกไว้ใช้งาน แต่จำเป็นแล้วหรือยังที่จะมีแจกให้กับเด็กทุกคนนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันอย่างลึกๆ

หากเครื่องราคาที่ 100-200 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเมื่อเราเข้าไปศึกษาราคาคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็พบว่ามีขายในราคาเครื่องละ 120-250 ดอลลาร์สหรัฐ

มีคำถามอยู่หลายข้อที่จะต้องหาคำตอบ ก่อนที่นโยบายใดๆจะกลายเป็นแนวทางปฏิบัติ

ใครเป็นผู้รับผิดชอบ

ความจริงจะเป็น Laptop, tablets, หรือ netbooks อันใดอันหนึ่งก็ได้หากราคาถูก สามารถทำงานได้อย่างดีเพียงพอ ใช้สื่อกับอินเตอร์เน็ตได้ มีความทนมือทนไม้เด็กๆ และมีซอฟต์แวร์ใช้ได้อย่างถูกต้อง

แต่หากจะต้องให้เด็กแต่ละคนมีใช้ฟรี ก็ต้องถามว่าจะเอาเงินจากที่ไหน

ใครเป็นคนจ่าย รัฐบาลกลาง ในที่นี้คือกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะดำเนินการ

รัฐบาลท้องถิ่น ดังเช่นองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลนคร เทศบาลเมือง ฯลฯ

แล้วเวลาเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบที่เกี่ยวข้องมีปัญหา ใครจะเป็นคนดูแล คำถามที่ละเอียดมากขึ้นไปเรื่อยๆ จะยิ่งทำให้คำตอบยากขึ้นไปเรื่อยๆ และแน่นอนว่าการให้รัฐบาลกลาง โดยกระทรวงศึกษาธิการเข้าไปดูแลนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก

รัฐบาลกลาง โดยกระทรวงศึกษาธิการในส่วนกลางนั้น อาจเหมาะที่จะกำหนดเป็นนโยบาย แต่ไม่เหมาะที่จะต้องดำเนินการในเชิงปฏิบัติ โดยเฉพาะในการที่จะต้องดำเนินการแบบรวมศูนย์ (Centralization)

โรงเรียนที่มีอยู่ทั่วประเทศ กว่า 30,000 แห่ง สำหรับการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในโรงเรียนนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ยาก และเพียงให้โรงเรียน และเขตพื้นที่การศึกษา (Local Education Service Areas – LESAs) รับเป็นเจ้าภาพดูแล กำหนดให้ชัดเจนว่าให้มีเครื่องเพียงพอในระดับใด เช่น 1 เครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อ 10 นักเรียน และพยายามทำให้ได้ ก็นับว่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษาที่ดีพอแล้ว โดยรัฐบาลกลางไม่ต้องไปดำเนินการในรายละเอียด

องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หากจะให้เด็กๆและเยาวชนได้ใช้เพื่อการศึกษา แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย ก็ยังพอจะทำได้ โดยให้ในระดับหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมเป็นเจ้าภาพ เรามีตำบลอยู่ประมาณ 7,000-8,000 ตำบล บางตำบลที่มีฐานะ ก็อาจเป็นเจ้าภาพได้มากกว่า 1 แห่ง รวมๆแล้ว อาจให้บริการเพิ่มขึ้นได้อีกสัก 10,000-12,000 จุดอย่างไม่ยากนัก และยังมีเจ้าภาพที่ชัดเจน

ความจริงมีหน่วยงานระดับท้องถิ่นอื่นๆ เช่น

เทศบาลเมือง ซึ่งในปัจจุบ้นยังไม่ได้เข้ามามีบทบาทด้านการศึกษามากนัก แต่มีโอกาสดำเนินการได้

องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จัดเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบได้

ใครได้ประโยชน์คนนั้นจ่าย

มีใครบ้างที่ได้ประโยชน์จากการใช้และการดูแลระบบคอมพิวเตอร์?

พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นผู้รับผิดชอบ มีหลักอยู่ประการหนึ่งคือ Who benefits who pays. ใครเป็นคนได้ประโยชน์ คนนั้นเป็นคนจ่าย รัฐบาลไม่ว่าจะเป็นในระดับชาติหรือท้องถิ่น ไม่จำเป็นต้องไปจ่ายเงินซื้อและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง เพราะไม่ว่าจะเป็น Laptop, tablets, หรือ netbooks ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบให้ใช้เป็นส่วนตัว ต้องใช้อย่างดูแล ไม่ควรให้ตกกระแทก เปียกน้ำหรือน้ำฝน เมื่อมีปัญหาด้านโปรแกรม ก็ต้องดูแลจัดการกันเอง แต่ระบบบำรุงรักษาหลังการขาย โดยทั่วไป เขามีบริการดังกล่าวรองรับอยู่แล้ว เสียค่าใช้จ่ายบ้างไปตามสถานะ

ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองนั้นแหละคือผู้ที่จะรับผิดชอบ ซื้อหาเครื่องคอมพิวเตอร์เอาไว้ใช้งาน พ่อแม่อาจตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องแบบต่างๆไว้ใช้งาน โดยอาจให้มีในครอบครัวแบบใช้ร่วมกันได้ หากมีลูกหลายคน พ่อแม่เองก็ต้องมีไว้ใช้งานด้วย

พ่อแม่ผู้ปกครองอาจตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องว่าจะเป็นแบบใด และจะซื้อหาได้ง่ายขึ้น เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง รัฐบาลอาจช่วยได้ โดยเริ่มจากทำให้คอมพิวเตอร์ในตลาดราคาถูกลง และมีกลไกการขายและให้บริการที่สะดวก ส่วนพ่อแม่ที่พอมีปัญญาซื้อหาได้ ก็ให้ซื้อไปก่อน มีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ที่บ้านเพียง 1 เครื่อง ยังดีกว่าไม่มีใช้เลย

สำหรับเด็กที่พ่อแม่ไม่มีฐานะ ก็ให้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน ชุมชน หรือตามร้านเน็ตต่างๆ

ร้านเน็ตและชุมชนใกล้บ้าน หากเป็นการใช้ในชุมชนใกล้บ้าน ระบบทั่วๆไป เขามีร้านอินเตอร์เน็ตบริการอยู่แล้ว โดยมีการเรียกเก็บค่าเช่าใช้ ซึ่งเมื่อมีการแข่งขันกันพอเหมาะสม ราคาก็จะไม่แพง ขณะนี้หากไปใช้ตามร้านเน็ตทั่วไป ราคาชั่วโมงละ 10-15 บาท แล้วเจ้าของยังอยู่ได้ มีให้เห็นทั่วไปในต่างจังหวัด

นโยบายให้มีหลายฝ่ายร่วมกันเป็นเจ้าภาพ

แนวคิดคือ ให้มีเจ้าภาพหลายฝ่าย แบ่งกันรับผิดชอบ และมีวิธีการติดตามผลได้

ในอดีต เราเคยมีนโยบายที่รัฐบาลเข้าไปสำรวจขุดเจาะน้ำบาดาลให้กับชาวบ้าน ทำระบบสำเร็จให้อย่างดี แต่เมื่อเวลาผ่านไป ระบบต้องมีคนคอยดูแลจัดการ ก็ไม่มีคนสามารถดูแลซ่อมบำรุงได้ ปล่อยให้เครื่องมีสนิมเกาะ และชำรุดจนพังไปในที่สุด

ระบบบ้านและที่พักของข้าราชการ มีเงินสร้าง แต่ไม่ได้วางระบบดูแลจัดการ เมื่อบ้านเก่า คนอยู่ก็ไม่ซ่อมแซม ระบบราชการเองไม่มีงบประมาณที่จะดำเนินการได้ หรือมันเป็นความยุ่งยากไม่เหมือนการสร้างสิ่งใหม่ จึงไม่ได้ทำการซ่อมบำรุง บ้านและที่พักของข้าราชการที่ใช้ไปสักระยะหนึ่ง ก็กลายเป็นบ้านที่เก่าทรุดโทรม และมองเห็นได้อย่างชัดเจน

นโยบายให้ใช้เครือข่าย Wifi และ ADSL เพื่อเอื้อประโยชน์ทางการศึกษา นั้นเป็นสิ้งที่ดี

การมีเครือข่าย (Network) รองรับระบบการศึกษาทั่วประเทศนั้นเป็นความจำเป็น แต่ในสภาพที่เป็นจริง มันต้องมีระบบจัดการพัฒนา (Development) และดูแลรักษา (Maintenance) อยู่แล้ว และระบบดูแลรักษานี้ต้องฉับไว ไม่ปล่อยให้ระบบติดขัดเป็นเวลายาวนาน เมื่อมีความต้องการใช้มาก ก็สามารถปรับขยายได้ตามความจำเป็น เพราะหากความต้องการมากกว่าระบบจะรองรับ ระบบจะล่ม หรือช้ามากจนไม่เกิดประโยชน์

การให้มีสายโทรศัพท์ขั้นพื้นฐานรองรับ ที่มีโครงข่ายอยู่เดิมอยู่แล้วทั่วประเทศนั้น ก็สามารถกระทำได้ แต่เช่นเดียวกัน คือรัฐบาลกลางไม่ต้องไปรับผิดชอบในรายละเอียด รัฐบาลสามารถใช้กลไกตลาดเท่าที่มีเพื่อเป็นเครือข่ายผู้ให้บริการ แต่ขณะเดียวกัน

การบริหารผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Providers – ISP)

เมื่อมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเจ้าของเครือข่ายขนาดใหญ่ๆ ซึ่งมีไม่กี่บริษัท ก็ให้รวมเงื่อนไขการให้บริการสถานศึกษาอย่างทั่วถึงเข้าไปด้วย ต้องไม่ปล่อยให้โรงเรียนใด ไม่ว่าจะห่างไกลเพียงใด ต้องหลุดออกจากระบบบริการ เพียงเพราะไม่คุ้มที่จะให้บริการ

ขณะเดียวกัน ระบบอินเตอร์เน็ตเป็นแบบเปิด (Open Market) ทำให้มีผู้ให้บริการหลายรายเสนอให้บริการได้ จึงควรใช้กลไกให้สถานศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษาเป็นฝ่ายมีสิทธิเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) เพื่อทำให้เกิดบริการที่ต้องแข่งกันทำให้ได้ดี

ชีวิตกับการออกกำล้งกาย

ชีวิตกับการออกกำล้งกาย

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail:
pracob@sb4af.org

Keywords: Health, exercise, สุขภาพ, การออกกำล้งกาย

คนเราต้องรู้จักร่างกายของตนเองอย่างเป็นจริง ไม่ปิดบัง ไม่หลอกตนเอง และถ้าเรารู้จักตนเอง ตรวจสอบตนเองอยู่เป็นระยะๆ มีปัญหาก็แก้ไข ปรับปรุงให้ตนเองมีสุขภาพดี แข็งแรงอย่างพอเหมาะแก่วัย แล้วเราก็จะใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขยาวนาน

หากจะจำหลักง่ายๆ 3 ประการ คือ การกิน การพักผ่อน และการออกกำลังกาย อย่างเหมาะสม

หนึ่ง การกินอย่างเหมาะสม คือกินอาหารให้ครบหมวดหมู่ กินให้ปริมาณพอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยเกินไป กินทุกมื้อ แต่ปริมาณไม่มาก โดยเฉพาะมื้อเย็นที่เราไม่ได้มีกิจกรรมอะไรมาก ผมเป็นเบาหวานประเภทที่สอง จึงต้องควบคุมน้ำตาลในเลือด ลดน้ำตาล หัดดื่มกาแฟที่ไม่ใส่น้ำตาล หากกินขนมบ้าง ก็เลือกที่ใช้น้ำตาลต่ำ ส่วนอาหารที่สมบูรณ์มากๆที่เคยชอบ เช่น Cheese cake, Cookies, Donuts เคยเป็นของชอบ ก็ต้องกินให้น้อยที่สุด เครื่องดื่มพวกมีน้ำตาล ก็เปลี่ยนเป็นประเภท Zero Calories ชาเขียว หรือไม่ก็เป็นน้ำเปล่า ส่วนอาหารจานหลัก ก็จะเป็นพวกสเต๊ก (Steak) คือพวกเนื้อ เวียนกันไป เป็น หมู เนื้อ ปลา ไก่ แกะ ไข่ พยายามกินผักให้มากพอ กินโปรตีนจากถั่วบ้างประสมกันไป อาหารจานหลักอย่างน้อยวันละครั้ง ส่วนมื้อเย็นจะเป็นแบบครึ่งขนาด และพยายามไม่กินของหวาน ส่วนน้ำจะดื่มให้มากพอ คือประมาณ 1.5-2.0 ลิตร แต่ช่วงสัก 2-3 ชั่วโมงก่อนนอน จะไม่ดื่มมาก จะได้ไม่ต้องเข้าห้องน้ำบ่อย

สอง การพักผ่อนอย่างเหมาะสม คือ ต้องมีเวลานอนให้พอ นอนให้เป็นเวลา นอนให้หลับสนิท นอนในห้องที่มีอากาศถ่ายเท อุณหภูมิพอเหมาะ และอย่าให้มีเสียงหรือแสงรบกวน ยกเว้นว่าเราได้อยู่ในสภาพนั้นๆจนชิน และไม่รบกวนการนอนอีกต่อไป การนอนหากได้หลับสนิทสัก 5 ชั่วโมงถือว่าพอแล้ว แต่โดยทั่วไป หากผมจะอยากงีบสัก 15-30 นาทีในยามบ่าย นอนแล้วสดชื่นขึ้น ก็ไม่เกรงใจตัวเองแล้วครับ อยากนอนก็นอน แต่งีบไม่นาน เดี๋ยวตอนกลางคืนจะนอนไม่หลับอีก

สาม การออกกำลังกายที่เหมาะสม ที่ว่าให้เหมาะสมนั้น คือให้เหมาะแก่วัย และสภาพความแข็งแรงของร่ายกาย การออกกำล้งกายที่มากเกินไป เกินวัยที่เราอายุมากขึ้น ร่างกายไม่แข็งแรงเท่าเดิม ก็ต้องปรับการออกกำลังกายที่ลดความหนักหน่วงลงไป

เพื่อนผม คุณพิสิษฐ จุฑาสมิตเขาเป็นคนทำงานสมาคมรักบี้แห่งประเทศไทย และให้สโมสรรักบี้ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีอยู่คราวหนึ่งเขามาชวนให้เป็นร่วมทีมจุฬาโรย โดยเอาทีมรักบี้จุฬารุ่นพวกผมนี้แหละ ไปเล่นรักบี้แบบแตะ คือไม่ต้องมีการปะทะ ผมนึกในใจ จะบ้าหรือ คนวัย 60 ปีขึ้นไปแล้ว เอาว่าเดินออกกำลังกายโดยไม่ปวดเข่า เดินแล้วไม่หอบก็พอแล้ว การเล่นเกมรักบี้ในวัยเลย 60 ปีขึ้นไปนั้น นับว่าหนักหนาเกินไป หากจะเป็นกอล์ฟ ว่ายน้ำ เดินเล่นในสวนสาธารณะหรือศูนย์การค้าก็ดูจะเหมาะกว่า

เมื่อต้นเดือนเมษายน 2554 นี้เอง ลูกชายผมเขาต้องเข้าโปรแกรมลดน้ำหนัก เลยมาชวนผมไปเป็นสมาชิก Atrium Athletic Club อยู่ที่ชั้น 5 ของอาคาร TIPCO ถนนพระราม 6 ห่างจากบ้านไปสัก 800 เมตร ผมดูค่าใช้จ่ายแล้ว ไม่แพง สถานที่สะอาด กว้างขวาง และเวลาไปด้วยกันกับลูกชาย เขาเป็นคนขับรถให้ ส่วนผมมีเพียงต้องตื่นแต่เช้า แล้วไปออกกำลังกายทุกวันทำงาน ช่วงเวลา 6:20-7:40 น. ผมวางแผนแล้วว่า หากได้ไปออกกำลังกายสม่ำเสมอสักเฉลี่ย 3 วันต่อสัปดาห์ และทำได้ตลอดปี ก็นับว่าคุ้มเกินแล้ว ส่วนการออกกำลังของผมในขณะนี้คือใช้เวลาระหว่าง 60-90 นาที คำนวณการผลาญพลังงานแล้วประมาณ 360-420 แคลอรี่

ผมมีเป้าหมายอยากจะควบคุมน้ำหนักตัวให้ลดลงสัก 8-10 กก. จากประมาณ 104 ให้เหลือสัก 95 กก. และให้น้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติ โดยใช้ยาควบคุมให้น้อยที่สุด ตามตำราผมสูง 183 ซม. เขาแนะนำให้น้ำหนักตัวพอเหมาะที่ 80-85 กก. คิดดูแล้ว คงต้องปรับตัวมากเกินไป ขอพบกันสักครึ่งทางครับ

การต้องออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักตัว การทำงานหนักและท้าทาย ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ต้องดิ้นรน เหมือน “ปลามีชีวิตที่ต้องว่ายทวนน้ำ” ในแต่ละวันที่จะต้องออกกำลังกายนั้น บางทีเราจะรู้สึกขี้เกียจ อยากนอนต่อ อยากดูทีวีสบายๆ หรือนั่งหน้าคอมพิวเตอร์เขียนหนังสือ แต่การออกกำล้งกายนั้น มันเป็นเหมือนกับที่เราต้องการอาหารแหละครับ มันจำเป็นสำหรับเราในแต่ละวัน หวังว่าเพื่อนๆ น้องๆ คงจะมาร่วมกันออกำล้งกายตามแต่ที่เราจะชอบหรือพอเหมาะแต่ตนเองนะครับ

Friday, April 29, 2011

อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมาที่ 1

อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมาที่ 1

Fukushima I nuclear accidents

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

จาก Fukushima I nuclear accidents รวบรวมไว้ใน Wikipedia

Keywords: การสอนภาษาอังกฤษ, ภัยพิบัติ, นิวเคลียร์

ผมไม่ใช่ครูสอนภาษาอังกฤษ แม้ผมใช้ชีวิตในต่างประเทศที่ต้องเรียน และทำงานอยู่หลายปี แต่กระนั้นภาษาอังกฤษของผมก็ยังไม่แข็งแรง แต่อย่างน้อยก็พอจะสื่อสารกับผู้คนได้ โดยไม่เป็นปัญหามากมาย ผมจึงยังต้องฝึกใช้ภาษาอยู่เสมอ ทั้งอ่าน เขียน ฟัง และพูด

ผมจึงถือโอกาสเป็นระยะๆ ที่จะเขียนบทความ ร่วมสอนและเรียนรู้ภาษาอังกฤษไปด้วยกันกับผู้เรียน หากท่านอ่านพบว่า มีอะไรที่ไม่สมบูรณ์ ผิดพลาด หรือคลาดเคลื่อน ก็ช่วยกันเข้ามาแก้ไข หรือแสดงความคิดเห็นได้นะครับ

Telegraph, 6:30AM GMT 11 Mar 2011 - Tsunami hits Japan after 8.8 magnitude earthquake

ข่าวจากเทเลกราฟ ของอังกฤษ – สีนามิได้ซัดเข้าประเทศญี่ปุ่นหลังจากเกิดแผ่นดินไหวในระดับ 8.8

An earthquake measuring 8.9 struck off the northeast coast of Japan on Friday, shaking buildings in the capital Tokyo, causing "many injuries", major tsunami damage and at least one fire.

ข่าว ณ วันที่ 11 มีนาคม 2011 - แผ่นดินไหวขนาด 8.9 ได้เกิดขึ้น ณ บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นในวันศุกร์ ทำให้อาคารต่างๆในกรุงโตเกียวสั่นไหว และมีหลายคนได้รับบาดเจ็บ สึนามิขนาดใหญ่ได้ทำให้เกิดเพลิงไหม้อย่างน้อยหนึ่งแห่ง

ศัพท์ที่ควรรู้

Tsunami = สึนามิ คือคลื่นยักษ์ใต้น้ำที่เป็นผลจากแผ่นดินไหว การขยับเคลื่อนตัวของเปลือกโลก

Earthquake = แผ่นดินไหว

Injury = การได้รับบาดเจ็บ

In the aftermath of the March 11, 2011 earthquake, the outer housings of two of the six reactors at the Fukushima I Nuclear Power Plant in Ōkuma exploded followed by a partial meltdown and fires at three of the other units.

หลังจากแผ่นดินไหวในวันที่ 11 มีนาคม 2011 จากทั้งกลุ่มที่มี 6 แห่ง ณ บริเวณโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima I Nuclear Power Plant ที่ Ōkuma โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 แห่งได้ระเบิดขึ้น และเกิดการหลอมละลายและมีไฟไหม้เกิดขึ้นอีก 3 แห่ง

ศัพท์ที่ควรรู้

Aftermath = ควันหลง, ผลพวง, ผลตามหลัง

Nuclear power plant = โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์, โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

Partial = เป็นบางส่วน, ลำเอียง, อคติ, ไม่ยุติธรรม

Meltdown = การหลอมละลาย, แม้เหล็กที่แข็งแกร่ง หากอยู่ในความร้อนสูงจัดเป็นเวลายาวนาน ก็เกิดการหลอมละลายได้

Many residents were evacuated to nearby localities, including Fukushima City due to the development of a large evacuation zone around the plant. Radiation levels near the plant peaked at 400 mSv/h (millisieverts per hour) after the earthquake and tsunami, due to damage sustained. This resulted in increased recorded radiation levels across Japan.[5]

ผู้พักอาศัยจำนวนมากต้องถูกอพยพออกไปยังที่ใกล้เคียง รวมทั้งที่เมืองฟูกุชิมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดเขตต้องเคลื่อนย้ายคนรอบๆโรงงาน ระดับของรังสีใกล้ๆกับโรงงานที่เป็นปัญหาได้เพิ่มขึ้นเป็น 400 mSv/h (millisieverts per hour) หลังจากแผ่นดินไหวและซีนามิที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย ผลพบระดับกัมมันภาพรังสีเพิ่มขึ้นกระจายไปทั่วประเทศญี่ปุ่น

ศัพท์ที่ควรรู้

Resident = กินนอน, อยู่ประจำ, อยู่เป็นหลักแหล่ง, ประจำอยู่: ในทางกฎหมาย Resident มีผลในทางกฎหมายที่ต้องเสียภาษี และได้สิทธิจากการเสียภาษีนั้นๆด้วย ส่วนคนที่ไปพักอยู่ในที่นั้นๆชั่วคราว เช่นพักในโรงแรมสัก 2-3 สัปดาห์ ไม่เรียกว่า Residents

Evacuate = อพยพ, โยกย้าย, ถอนไป, ขับออก, ขจัด, ทำให้ว่างเปล่า

Plant = พืช, ต้นไม้,ไม้ล้มลุก, ต้นหมากรากไม้, เครื่องมือเครื่องไม้, พฤกษา, รุกขชาติ: ในอีกความหมาย = โรงงาน; Power plant = โรงไฟฟ้า

International authorities have expressed concern that the ongoing crisis at the plant threatens a nuclear catastrophe on a par with the Chernobyl accident affecting a geographical area of up to 200 miles according to the last estimate. At least five employees have died and rescue attempts have been hampered by rising levels of radiation at the site.[6]

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนานาชาติได้แสดงความกังวลต่อวิกฤติการณ์ที่เป็นไป ณ โรงไฟฟ้า ซึ่งอาจทำให้เกิดวินาศภัยร้ายแรงในระดับเดียวกับที่ได้เคยเกิดขึ้นที่เชอร์โนบิล (Chernobyl accident) ซึ่งทำให้เกิดผลเสียหายไปไกลกว่า 200 ไมล์ หรือ 320 กิโลเมตรจากการประเมินล่าสุด สำหรับที่ญี่ปุ่นมีคนงาน 5 คนเสียชีวิตในความพยายามที่จะกู้สถานการณ์ที่กัมมันตรังสีได้มีระดับสูงขึ้นในบริเวณดังกล่าว

ศัพท์ที่ควรรู้

Authority = อำนาจ, ผู้มีอำนาจ, เจ้าหน้าที่

Rescue = ช่วยเหลือ, กู้ภัย, ช่วยชีวิต

Attempt = พยายาม, ความพยายาม, ทดลอง, ตะเกียกตะกาย

Hamper = ขัดขวาง, เกะกะ, กีดกั้น, ทำให้ชะงัก

Radiation = การแผ่รังสี, กัมมันตภาพรังสี, การฉายแสง, การส่งแสง

Detect = ตรวจจับ, ตรวจพบ, สืบหา, ค้นพบ, ล่วงรู้, แกะรอย: ดังคำว่า detectives = นักสืบ

The US and Chinese authorities have expressed their growing concern at the fallout from the stricken plant with raised radiation levels already detected at least 30 km from the site[7]

ผู้รู้ที่เกี่ยวข้องในประเทศสหรัฐและจีนได้แสดงความกังวลต่อผลกระทบจากรังสีที่มาจากโรงงานที่ประสบปัญหาที่สามารถตรวจวัดได้เป็นรัศมี 30 กิโลเมตรจากบริเวณโรงงาน

ศัพท์ที่ควรรู้

Stricken = ป่วย, เป็นโรค

On March 17, 2011, UN experts claimed that the nuclear plume from the devastated reactors could reach US airspace the next day and Europe within a fortnight, less than a week after the first explosion.[8] The next day, Japanese officials designated the magnitude of the danger at the site at level 5, an emergency with "wider consequences", only two points behind the Chernobyl disaster, on the international 7 point scale.[9]

ในวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2011 ผู้เชี่ยวชาญองค์การสหประชาชาติ (UN) คาดการณ์ว่าผลจากกัมมันตภาพที่ได้ฟุ้งกระจายจากการระเบิดของเตาปฏิกรณ์สามารถไปได้ไกลถึงเขตน่านอากาศของสหรัฐอเมริกาในวันรุ่งขึ้น และไปสู่ยุโรปในอีก 2 สัปดาห์ หรือภายในน้อยกว่า 1 สัปดาห์หลังจากการระเบิดครั้งแรก ในวันต่อมา เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นกล่าวว่าระดับอันตรายของกัมมันตภาพ ณ บริเวณโรงงานเป็นระดับที่ 5 ซึ่งจำเป็นต้องมีแผนฉุกเฉินในวงกว้างขึ้น ระดับอันตรายนี้เทียบน้อยกว่าเหตการณ์ที่เชอร์โนบิลซึ่งเท่ากับระดับที่ 7 เพียง 2 ระดับ ตามระดับความรุนแรงที่กำหนดเป็นสากล

ศัพท์ที่ควรรู้

Claim = อ้าง, อ้างสิทธิ, เรียกร้องสิทธิ์, ยืนยัน, หาว่า, เอ่ยอ้าง

Plume =ภูมิใจ, แต่งตัว, ถอนขน, ขยับปีก

Designated = กำหนด, ระบุ, ตั้ง, ตั้งชื่อ, บ่งชี้, ตั้งแต่ง, เรียกขาน

Devastate = ทำลายล้าง, สังหาร, ส่ำเสีย, ล้างผลาญ, แหลกลาญ, ทำให้ฉิบหาย, ปู้ยี่ปู้ย

Airspace = บริเวณชั้นอากาศ,

Magnitude = ขนาด, ความสำคัญ, ความใหญ่โต, จำนวน, มิติ

Disaster = ภัยพิบัติ, ความหายนะ, มหันตภัย

The accident is officially deemed as serious as the Three Mile Island accident of 1979 and Japanese officials have now admitted it poses a serious danger to life. On April 11, 2011, officials upgraded the disaster to a level 7, the same as that of the Chernobyl incident.[10] Options to contain the overheating reactors such as a concrete sarcophagus as used to encase the Ukrainian Chernobyl reactor are being considered.[11]

เหตการณ์ที่เกิดขึ้นเทียบความรุนแรงกัมมันตภาพรั่วไหลที่สหรัฐอเมริกา ดังในกรณีที่ได้เกิดขึ้นที่เกาะทรีไมล์ (Three Mile Island accident) ในปี ค.ศ. 1979 และทางญี่ปุ่นได้ยอมรับแล้วว่าได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 2011 เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นได้ปรับระดับหายนะไปสู่ระดับที่ 7 ซึ่งเป็นระดับที่ได้เกิดขึ้นที่เชอร์โนบิล และญี่ปุ่นต้องคิดที่จะใช้การเทคอนกรีตปิดทับ ดังได้กระทำที่เตาปฏิกรณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิล

ศัพท์ที่ควรรู้

Deem = ถือว่า, รู้สึกว่า, คิดเห็น, ลงความเห็นว่า, รู้จักคิด

Admit = ยอมรับ, รับ, ตอบรับ, อนุญาตให้เข้า

Upgrade = ยกระดับ

Incident = อุบัติการณ์, สิ่งที่เกิดขึ้น

Sarcophagus = โลงหิน

Consider = พิจารณา, คำนึงถึง, นึกถึง, พิจาร

On March 19, it was reported that radioactive contamination from the stricken plant had been found in milk and food crops in the Fukushima district and beyond. It exceeded the Japanese government safe limits but was not thought to pose an immediate threat to consumer health.[12][13]

ในวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2011 มีรายงานว่าได้ตรวจพบการปนเปื้อนกัมมันตภาพในนมและพืชอาหารอื่นๆในเขตฟูกุชิมาและที่ไกลออกไป และเกินกว่าที่รัฐบาลญี่ปุ่นเห็นว่าปลอดภัย แต่ไม่คิดว่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคในทันที

ศัพท์ที่ควรรู้

Contamination = การปนเปื้อน

Crop = พืชผล, เก็บเกี่ยว, เก็บ

As of March 25, radiation levels at the plant were reported to have risen to dangerously high levels. Workers have been hospitalized due to massive doses of radiation.

ในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2011 ระดับกัมมันตภาพที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้เพิ่มขึ้นในระดับอันตราย มีคนงานหลายคนถูกส่งเข้าโรงพยาบาล เนื่องจากได้รับกัมมันตภาพเข้าไปเกินขนาด

ศัพท์ที่ควรรู้

Hospitalized = รับการรักษาพยาบาล, เข้าโรงพยาบาล

Massive = มาก, ปึก, เทอะทะ, ใหญ่โต

Dose, doses = ปริมาณ, ขนาดยา, โด๊ส, การให้ครั้งหนึ่ง

By 29 March 2011, radioactive iodine-131 isotopes were detected in trace amounts as far as Iceland, Switzerland, and the UK.[14]

ในวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2011 ได้มีการพบระดับกัมมันตภาพที่เรียกว่า iodine-131 isotopes ในระดับที่ตรวจจับได้ในที่ไกลออกไปอย่างไอซ์แลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร

ศัพท์ที่ควรรู้

Trace = ติดตาม, แกะรอย

เก็บข่าวจาก Twitter มาพูดคุยภาษาอังกฤษ – การประท้วงใหญ๋ที่ไคโร

เก็บข่าวจาก Twitter มาพูดคุยภาษาอังกฤษ การประท้วงใหญ๋ที่ไคโร

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail:
pracob@sb4af.org

ข่าวจากวันที่ 01 Feb 2011 จากที่ส่งขึ้นไปใน Twitter

การประท้วงในประเทศอียิปต์

ผมใช้ Twitter เป็นที่เรียนและฝึกฝนภาษาอังกฤษ เพื่อให้อย่างน้อยในแต่ละวันได้ใช้ภาษาอังกฤษอันเป็นภาษาที่สอง จะได้ไม่ลืม ผมเก็บข่าวจากต่างประเทศในแต่ละวันที่พอมีโอกาส ถ้าเป็นภาษาอังกฤษอย่างเดียว ใช้ iPhone เพื่อสื่อสารได้ไม่ยาก แต่ถ้าเป็นภาษาไทย ผมต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ PC อาจเป็นเครื่องแบบกระเป๋าหิ้ว หรือ Laptop มี Keyboard ที่พอใช้งานได้สะดวก เพราะผมพิมพ์สัมผัสได้ ส่วน iPhone นั้น ผมใช้ได้แบบ 1 หรืออย่างเก่งก็ 2 ห้วแม่มือ

ต่อไปนี้เป็นรายงานข่าวที่จะนำมาพูดคุยเพื่อใช้เรียนและสอนภาษาอังกฤษครับ

Aljazeera: "march of millions" on Tuesday is to force President Mubarak to quit and the army vows not to use force.

Aljazeera: วันที่ 1 กุมภาฯ "มหาชนนับล้าน" ชุมนุมประท้วงประธานาธิบดีมูบารัคให้ออกจากตำแหน่ง และกองทัพบกประกาศไม่ใช้อาวุธ

ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลภายใต้ประธานาธิบดี Mubarak ได้เรียกวันเดินขบวนใหญ่ของเขาว่า March of Millions หรือ “การเดินขบวนของมหาชนนับล้าน” เพื่อขับไล่ประธานาธิบดีฮอสนี่ มูบารัค โดยฝ่ายกองทัพบกตกปากรับคำว่าจะไม่ใช้กำลังกับประชาชน

คำว่า vow เป็นได้ทั้งคำนามและกริยา แปลว่า สาบาน, ปฏิญญา, คำมั่นสัญญา, บนบาน, บนบานศาลกล่าว

ในการติดตามข่าวที่มีความขัดแย้ง และมักจะติดตามมาด้วยการเสียชีวิตเลือดเนื้อ ผมจึงมักหาทางนำคำกล่าว (Quotes) หรือสุภาษิต (Proverbs) ที่ผู้รู้ได้กล่าวหรือเตือนเอาไว้

It isn't enough to talk about peace. One must believe in it. And it isn't enough to believe in it. One must work at it. - Eleanor Roosevelt

ไม่พอที่จะพูดถึงสันติภาพ เราต้องเชื่อในมัน ไม่พอที่จะเชื่อในมัน เราต้องทำให้สันติภาพต้องเกิดขึ้นจริง - Eleanor Roosevelt

Eleanor Roosevelt เป็นภริยาของประธานาธิบดี Franklin Delano Roosevelt ของสหรัฐอเมริกา ผู้ต้องตัดสินใจนำสหรัฐเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่สอง และตัวท่านเองเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่

เรื่องของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในโลกนั้น แท้ที่จริงมันเป็นเรื่องที่มีรากเหง้าที่อยู่ในสังคม ดังคำกล่าวของ Silvia Cartwright

The quest for peace begins in the home, in the school and in the workplace. - Silvia Cartwright

การไฝ่หาสันติภาพเริ่มตั้งแต่ที่บ้าน ที่โรงเรียน และที่ทำงาน - Silvia Cartwright

ผมถือโอกาสนำข้อมูลเกี่ยวกับ Silvia Cartwright มานำเสนอควบคู่ไปด้วย

Dame Silvia Rose Cartwright, PCNZM, DBE, QSO, DStJ (née Poulter) (born 7 November 1943) was the 18th Governor-General of New Zealand.

คุณหญิง ซิลเวีย โรส คาร์ทไรท์ ผู้ได้บรรดาศักด์ PCNZM, DBE, QSO, DStJ เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งนิวซีแลนด์คนที่ 18

She is a graduate of the University of Otago, where she gained her LL.B degree in 1967, and a former student at Otago Girls' High School.

เธอจบการศึกษาจากมหาวทิยาลัยชื่อ University of Otago ได้รับปริญญาทางกฎหมายที่เรียกว่า LL.B degree ในปี ค.ศ. 1967 เคยศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนมัธยมศึกษาสำหรับสตรี ชื่อ Otago Girls' High School.

ความขัดแย้งในโลกอาหรับและอัฟริกาเหนือดังที่ได้เกิดต่อเนื่องกันมาหลายเดือน (เมษายน 2011) ในหลายๆประเทศนั้น แท้ที่จริงมันไม่ได้เริ่มที่ถนน และจะจบลงที่ถนน ณ ที่คนเขาไปเดินขบวน เราต้องเข้าไปดูในวัฒนธรรมเก่า ที่มีมานาน ดูว่าที่บ้านและชุมชนนั้นเขาสอนกันมาอย่างไร ที่โรงเรียนเขาสอนกันอย่างไร และที่ทำงานแต่ละแห่ง และโดยรวมๆนั้น เขามีวิถีชีวิตการทำงานกันอย่างไร

Time: Bread Is Life: Food and Protest in Egypt

1977 Egyptian Bread Riots

Time: การประท้วงในอียิปต์ ขนมปังคือหัวใจ

Bread Is Life = ขนมปังคือชีวิต และนั่นคือส่วนหนึ่งที่เมื่อประเทศขาดแคลนอาหารอันเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานแล้ว ความขัดแย้งรุนแรงอาจเกิดขึ้นได้

จาก Wikipedia: อียิปต์เคยมีการประท้วงด้วยเรื่องอาหารขาดแคลนและมีราคาแพงมาแล้วในปี ค.ศ. 1977 ในที่สุด ต้องมีระบบอุดหนุนคุมราคาอาหารสำหรับคนจน

Time: อียิปต์เป็นชาตินำเข้าข้าวสาลีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนใหญ่จากสหรัฐ แคนาดา และออสเตรเลีย การขาดแคลนอาหารจะเป็นเชื้อเพลิงการปฏิวัติที่สำคัญ ดังนั้นในด้านอาหาร ผู้ปกครองประเทศจะต้องคอยดูแลไม่ให้มีการขาดแคลนอาหาร อาหารต้องมีราคาที่ควบคุม แม้จะต้องมีเงินอุดหนุนเรื่องอาหาร เขาก็เคยทำ และหากสังคมมีผู้ยากจน มีคนตกงานรอรับสวัสดิการจากสังคมมากอย่างในอียิปต์ เรื่องอาหารอาจกลายเป็นประเด็นประทุของปัญหาสังคมอื่นๆที่จะพ่วงตามกันมา

ในช่วงของความขัดแย้ง รัฐบาลมีการตัดขาดระบบสื่อสาร

Aljazeera รายงานว่า การใช้โทรศัพท์มือถือออกนอกประเทศถูกตัดขาดหมด แต่โทรศัพท์ภายในประเทศยังใช้ได้อยู่ แต่มีสะดุดเป็นบางเขต

ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อเหตุการณ์สงบพอสมควรแล้ว ตำรวจที่เป็นคู่กรณีว่าได้ทำร้ายประชาชนจนเป็นที่เกลียดชัง ทำให้ต้องหลบไปอยู่ในที่ๆไม่แสดงตัวว่าเป็นตำรวจ แต่แล้วก็ได้รับการร้องขอให้ต้องออกมาปฏิบัติหน้าที่ดูแลการจราจร และรักษาความสงบโดยทั่วไป

Aljazeera: ตำรวจกลับสู่ท้องถนน แต่ทำหน้าที่ดูแลด้านการจราจรเป็นหลัก #Egypt

ในช่วงความขัดแย้ง การชุมนุมก็ยังมีอย่างต่อเนื่อง Aljazeera: การเดินทางสู่จัตุรัสทาเฮียร์ (Tahrir Square) แม้มีขวากหนาม แต่หยุดคนไม่ได้ เพราะคนมากันเป็นสายๆ

Aljazeera: กองทัพบกอียิปต์ประกาศ "เสรีภาพในการแสดงด้วยวิถีทางสันติของชาวอียิปต์ทุกคน จะได้รับการปกป้อง"

ส่วนหนึ่งเพราะความอึดอัดที่ต้องอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการของมูบารัคมานานนับ 40 ปี และอีกส่วนหนึ่งคือ มีความมั่นใจว่าฝ่ายกองทัพบกจะไม่ทำร้ายประชาชน คนเป็นอันมากจึงเข้าร่วมในการเดินขบวนใหญ่ ที่เรียกว่า "march of millions"

Up to 250,000 people are continuing to demonstrate in Cairo's Tahrir Square after hundreds remained camped out overnight, defying a curfew that has been extended by the army.

มีคนถึง 250,000 คนที่ยังรวมตัวประท้วงที่จัตุรัสทาเฮียร์ในกรุงไคโร แต่มีบางส่วนยึดที่ปักเต๊นท์พักอาศัยค้างคืนกันที่นั้น เป็นการท้าทายกฎอัยการศึกที่ได้ประกาสขยายเวลาไปโดยกองทัพบกของอียิปต์

ศัพท์ที่ควรรู้

Camp out = ออกค่าย, ปักเต้นท์นอนนอกบ้าน

Defy = แข็งขืน, ต่อต้าน

Curfew = กฎอัยการศึก, สถานการณ์ฉุกเฉิน

Extend = ต่ออายุ, ขยายออก, ยืดอายุ

Tahrir Square = จัตุรัสทาเฮียร์ ตั้งอยู่ในกรุงไคโร มีลักษณะคล้ายสนามหลวงในกรุงเทพฯ

ความขัดแย้งในอียิปต์สร้างความสับสนด้านนโยบายแก่สหรัฐอเมริกา เพราะในอดีตที่ผ่านมา สหรัฐจะหนุนหลังรัฐบาลทหารของอียิปต์ โดยหลับตาเสียข้างหนึ่งว่า แม้รัฐบาลอียิปต์จะเป็นเผด็จการณ์ แต่ทัศนะของอเมริกันจำต้องเปลี่ยนไปแล้ว

Reuters - Egypt's explosion of political unrest poses a policy dilemma for President Barack Obama's administration, which is struggling to balance U.S. strategic interests against calls for a more assertive stance in a crisis that Washington cannot control.

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า อียิปต์กำลังเผชิญกับระเบิดทางการเมือง ที่จะเป็นปัญหาด้านนโยบายของรัฐบาลโอบาม่าของสหรัฐอเมริกา ที่จะต้องถ่วงดุลผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ ต่อการเรียกร้องต่างๆ ที่มีผลที่อาจกลายเป็นวิกฤติที่ฝ่ายรัฐบาลสหรัฐ (Washington) ไม่สามารถควบคุมได้

ศัพท์ที่ควรรู้

Unrest = ความไม่สงบ, อาการกระสับกระส่าย

Dilemma = ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

Struggle = ฟันฝ่า, ต้องผ่านไปด้วยความยากลำบาก

Strategy = กลยุทธ์, ยุทธศาสตร์, ยุทธวิธี, แผนการณ์, อุบาย, กุศโลบาย แต่โดยทั่วไป ผมอยากใช้คำว่า “ยุทธศาสตร์” มากกว่าคำว่า “กลยุทธ”

Strategic interest = ผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์

Washington = หมายถึง Washington DC อันเป็นเมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา หรือมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “รัฐบาลสหรัฐ”

ในช่วงเวลาดังกล่าว สื่อมวลชนยักษ์ใหญ่ในสหรัฐเอง ต่างก็ออกมาแสดงความคิดเห็นที่ได้ยินไปถึงประธานาธิบดี

Washington Post: บทบรรณาธิการอย่างฟันธง กล่าวว่า "อเมริกาจะต้องแยกจากมูบารัคเดี๋ยวนี้"

ส่วนรอยเตอร์เองได้ให้ทัศนะวิจารณ์ว่า “อียิปต์แม้พึ่งสหรัฐ แต่ก็ในอัตราที่ลดลงจากเมื่อหลายสิบปีก่อน

Reuters: กล่าวว่า การช่วยเหลือทางการทหารของสหรัฐต่ออียิปต์ ปัจจุบัน (2011) ที่ 1,300 ล้านเหรียญ คิดเป็นร้อยละ 1 ของ GDP ของอียิปต์ ซึ่งในปีค.ศ. 1980 เคยสูงถึงร้อยละ 20

สำหรับผมเองได้ให้ข้อคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า (Analysis) -

อเมริกาอาจไม่ต้องคาดหวังอะไรเลย โดยปล่อยให้อียิปต์และชาติอาหรับแสวงหาทางเลือกประชาธิปไตยที่สอดคล้องกับความต้องการของเขาเอง

ครับในสังคมอาหรับในยุคใหม่ ในยุคที่การสื่อสารเปลี่ยนแปลงไป เด็กหนุ่มสาวรุ่นใหม่ต่างมีความคิดที่แตกต่างไปจากเดิม เขาไม่ได้ต้องการเพียงอาหารและสิ่งประทังชีวิต เขาต้องการประเทศชาติที่เขามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง

Reuters - If Egypt's President Hosni Mubarak is toppled, Israel will lose one of its very few friends in a hostile neighborhood and President Barack Obama will bear a large share of the blame, Israeli pundits said on Monday.

รอยเตอร์ – หากประธานาธิบดีฮอสนี่ มูบารัคต้องถูกโค่นล้ม อิสราเอลจะเสียเพื่อนไปอีกหนึ่ง ในบรรดาเพื่อนบ้านที่ดูจะไม่เป็นมิตรต่ออิสราเอลนัก และประธานาธิบดีโอบาม่าของสหรัฐก็จะไม่สามารถหลึกหนี ปัญญาชนชาวอิสราเอลคนหนึ่งกล่าว

Reuters - หากมูบารัคต้องลงจากเก้าอี้ อิสราเอลจะไม่เหลือเพื่อนมากนักในตะวันออกกลาง และประธานาธิบดีโอบาม่าจะต้องรับผิดชอบ - เนทันยาฮู นายกฯอิสราเอล ได้ให้ความเห็นแสดงความกังวลต่อเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และอิสราเอลเองก็ตามไม่ทัน และทำใจไม่ได้

ศัพท์ที่ควรรู้

Topple = โค่นล้ม

Hostile = โหดร้าย

Blame = กล่าวโทษ

Pundits = บัณฑิต หรือปัญญาชน

ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2011

Aljazeera: An Egypt activitst, "But all groups, young, old, rich, poor, Christians, Muslims they are all heading [to Tahrir Square].

จากสำนักงานข่าว Aljazeera: ผู้รณรงค์ชาวอียิปต์คนหนึ่งได้รายงาน “คนทุกกลุ่มเหล่า เยาวน คนสูงอายุ มั่งมี ยากจน คริสเตียน มุสลิม ทุกคนมุ่งหน้าไปสู่จัตุรัสทาเฮียร์ในกรุงไคโร

เป็นคำบรรยายที่สั้น แต่ได้ใจความและสะท้อนถึงบรรยากาศของอียิปต์ใหม่ ที่ไม่ใช่ผลักดันสังคมให้กลับไปสู่ความเป็นมุสลิมหัวรุนแรง ปิดกั้นความคิด แต่คนรุ่นใหม่ เขาต้องการประเทศใหม่ ประเทศที่เขามีเสรีภาพ เหมือนอย่างที่โลกตะวันตกมีประชาธิปไตยนั่นเอง

ทุกฝ่ายในอียิปต์ต่างหวั่นใจว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรง

Egyptian state TV presenters: fears that today’s protest could lead to violence, insecurity, and looting

ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลแสดงทัศนะว่า รู้สึกกลัวว่าวันนี้การประท้วงจะนำไปสู่ความรุนแรง ความไม่มั่นคง และจะมีการปล้นสะดม

ลักษณะบรรยากาศในช่วงเวลาดังกล่าว เปรียบเสมือนรถไฟสองขบวนกำลังเร่งแรงเข้าหากัน แล้วจะต้องปะทะเกิดความเสียหายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้คนทั่วไป ก็ยังกังวลใจ และสำหรับสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาล ยิ่งอยากสะท้อนบรรยากาศ เหมือนจะบอกแก่ผู้คนว่า อย่าออกไปเลย มันอันตราย คงอยากบอกต่อไปด้วยว่า “อยู่บ้านเฉยๆดีกว่า”

ศัพท์ที่ควรรู้

Loot = ปล้นสะดม, ยกเค้า

Protest = ประท้วง