Friday, April 29, 2011

เก็บข่าวจาก Twitter มาพูดคุยภาษาอังกฤษ – การประท้วงใหญ๋ที่ไคโร

เก็บข่าวจาก Twitter มาพูดคุยภาษาอังกฤษ การประท้วงใหญ๋ที่ไคโร

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail:
pracob@sb4af.org

ข่าวจากวันที่ 01 Feb 2011 จากที่ส่งขึ้นไปใน Twitter

การประท้วงในประเทศอียิปต์

ผมใช้ Twitter เป็นที่เรียนและฝึกฝนภาษาอังกฤษ เพื่อให้อย่างน้อยในแต่ละวันได้ใช้ภาษาอังกฤษอันเป็นภาษาที่สอง จะได้ไม่ลืม ผมเก็บข่าวจากต่างประเทศในแต่ละวันที่พอมีโอกาส ถ้าเป็นภาษาอังกฤษอย่างเดียว ใช้ iPhone เพื่อสื่อสารได้ไม่ยาก แต่ถ้าเป็นภาษาไทย ผมต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ PC อาจเป็นเครื่องแบบกระเป๋าหิ้ว หรือ Laptop มี Keyboard ที่พอใช้งานได้สะดวก เพราะผมพิมพ์สัมผัสได้ ส่วน iPhone นั้น ผมใช้ได้แบบ 1 หรืออย่างเก่งก็ 2 ห้วแม่มือ

ต่อไปนี้เป็นรายงานข่าวที่จะนำมาพูดคุยเพื่อใช้เรียนและสอนภาษาอังกฤษครับ

Aljazeera: "march of millions" on Tuesday is to force President Mubarak to quit and the army vows not to use force.

Aljazeera: วันที่ 1 กุมภาฯ "มหาชนนับล้าน" ชุมนุมประท้วงประธานาธิบดีมูบารัคให้ออกจากตำแหน่ง และกองทัพบกประกาศไม่ใช้อาวุธ

ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลภายใต้ประธานาธิบดี Mubarak ได้เรียกวันเดินขบวนใหญ่ของเขาว่า March of Millions หรือ “การเดินขบวนของมหาชนนับล้าน” เพื่อขับไล่ประธานาธิบดีฮอสนี่ มูบารัค โดยฝ่ายกองทัพบกตกปากรับคำว่าจะไม่ใช้กำลังกับประชาชน

คำว่า vow เป็นได้ทั้งคำนามและกริยา แปลว่า สาบาน, ปฏิญญา, คำมั่นสัญญา, บนบาน, บนบานศาลกล่าว

ในการติดตามข่าวที่มีความขัดแย้ง และมักจะติดตามมาด้วยการเสียชีวิตเลือดเนื้อ ผมจึงมักหาทางนำคำกล่าว (Quotes) หรือสุภาษิต (Proverbs) ที่ผู้รู้ได้กล่าวหรือเตือนเอาไว้

It isn't enough to talk about peace. One must believe in it. And it isn't enough to believe in it. One must work at it. - Eleanor Roosevelt

ไม่พอที่จะพูดถึงสันติภาพ เราต้องเชื่อในมัน ไม่พอที่จะเชื่อในมัน เราต้องทำให้สันติภาพต้องเกิดขึ้นจริง - Eleanor Roosevelt

Eleanor Roosevelt เป็นภริยาของประธานาธิบดี Franklin Delano Roosevelt ของสหรัฐอเมริกา ผู้ต้องตัดสินใจนำสหรัฐเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่สอง และตัวท่านเองเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่

เรื่องของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในโลกนั้น แท้ที่จริงมันเป็นเรื่องที่มีรากเหง้าที่อยู่ในสังคม ดังคำกล่าวของ Silvia Cartwright

The quest for peace begins in the home, in the school and in the workplace. - Silvia Cartwright

การไฝ่หาสันติภาพเริ่มตั้งแต่ที่บ้าน ที่โรงเรียน และที่ทำงาน - Silvia Cartwright

ผมถือโอกาสนำข้อมูลเกี่ยวกับ Silvia Cartwright มานำเสนอควบคู่ไปด้วย

Dame Silvia Rose Cartwright, PCNZM, DBE, QSO, DStJ (née Poulter) (born 7 November 1943) was the 18th Governor-General of New Zealand.

คุณหญิง ซิลเวีย โรส คาร์ทไรท์ ผู้ได้บรรดาศักด์ PCNZM, DBE, QSO, DStJ เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งนิวซีแลนด์คนที่ 18

She is a graduate of the University of Otago, where she gained her LL.B degree in 1967, and a former student at Otago Girls' High School.

เธอจบการศึกษาจากมหาวทิยาลัยชื่อ University of Otago ได้รับปริญญาทางกฎหมายที่เรียกว่า LL.B degree ในปี ค.ศ. 1967 เคยศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนมัธยมศึกษาสำหรับสตรี ชื่อ Otago Girls' High School.

ความขัดแย้งในโลกอาหรับและอัฟริกาเหนือดังที่ได้เกิดต่อเนื่องกันมาหลายเดือน (เมษายน 2011) ในหลายๆประเทศนั้น แท้ที่จริงมันไม่ได้เริ่มที่ถนน และจะจบลงที่ถนน ณ ที่คนเขาไปเดินขบวน เราต้องเข้าไปดูในวัฒนธรรมเก่า ที่มีมานาน ดูว่าที่บ้านและชุมชนนั้นเขาสอนกันมาอย่างไร ที่โรงเรียนเขาสอนกันอย่างไร และที่ทำงานแต่ละแห่ง และโดยรวมๆนั้น เขามีวิถีชีวิตการทำงานกันอย่างไร

Time: Bread Is Life: Food and Protest in Egypt

1977 Egyptian Bread Riots

Time: การประท้วงในอียิปต์ ขนมปังคือหัวใจ

Bread Is Life = ขนมปังคือชีวิต และนั่นคือส่วนหนึ่งที่เมื่อประเทศขาดแคลนอาหารอันเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานแล้ว ความขัดแย้งรุนแรงอาจเกิดขึ้นได้

จาก Wikipedia: อียิปต์เคยมีการประท้วงด้วยเรื่องอาหารขาดแคลนและมีราคาแพงมาแล้วในปี ค.ศ. 1977 ในที่สุด ต้องมีระบบอุดหนุนคุมราคาอาหารสำหรับคนจน

Time: อียิปต์เป็นชาตินำเข้าข้าวสาลีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนใหญ่จากสหรัฐ แคนาดา และออสเตรเลีย การขาดแคลนอาหารจะเป็นเชื้อเพลิงการปฏิวัติที่สำคัญ ดังนั้นในด้านอาหาร ผู้ปกครองประเทศจะต้องคอยดูแลไม่ให้มีการขาดแคลนอาหาร อาหารต้องมีราคาที่ควบคุม แม้จะต้องมีเงินอุดหนุนเรื่องอาหาร เขาก็เคยทำ และหากสังคมมีผู้ยากจน มีคนตกงานรอรับสวัสดิการจากสังคมมากอย่างในอียิปต์ เรื่องอาหารอาจกลายเป็นประเด็นประทุของปัญหาสังคมอื่นๆที่จะพ่วงตามกันมา

ในช่วงของความขัดแย้ง รัฐบาลมีการตัดขาดระบบสื่อสาร

Aljazeera รายงานว่า การใช้โทรศัพท์มือถือออกนอกประเทศถูกตัดขาดหมด แต่โทรศัพท์ภายในประเทศยังใช้ได้อยู่ แต่มีสะดุดเป็นบางเขต

ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อเหตุการณ์สงบพอสมควรแล้ว ตำรวจที่เป็นคู่กรณีว่าได้ทำร้ายประชาชนจนเป็นที่เกลียดชัง ทำให้ต้องหลบไปอยู่ในที่ๆไม่แสดงตัวว่าเป็นตำรวจ แต่แล้วก็ได้รับการร้องขอให้ต้องออกมาปฏิบัติหน้าที่ดูแลการจราจร และรักษาความสงบโดยทั่วไป

Aljazeera: ตำรวจกลับสู่ท้องถนน แต่ทำหน้าที่ดูแลด้านการจราจรเป็นหลัก #Egypt

ในช่วงความขัดแย้ง การชุมนุมก็ยังมีอย่างต่อเนื่อง Aljazeera: การเดินทางสู่จัตุรัสทาเฮียร์ (Tahrir Square) แม้มีขวากหนาม แต่หยุดคนไม่ได้ เพราะคนมากันเป็นสายๆ

Aljazeera: กองทัพบกอียิปต์ประกาศ "เสรีภาพในการแสดงด้วยวิถีทางสันติของชาวอียิปต์ทุกคน จะได้รับการปกป้อง"

ส่วนหนึ่งเพราะความอึดอัดที่ต้องอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการของมูบารัคมานานนับ 40 ปี และอีกส่วนหนึ่งคือ มีความมั่นใจว่าฝ่ายกองทัพบกจะไม่ทำร้ายประชาชน คนเป็นอันมากจึงเข้าร่วมในการเดินขบวนใหญ่ ที่เรียกว่า "march of millions"

Up to 250,000 people are continuing to demonstrate in Cairo's Tahrir Square after hundreds remained camped out overnight, defying a curfew that has been extended by the army.

มีคนถึง 250,000 คนที่ยังรวมตัวประท้วงที่จัตุรัสทาเฮียร์ในกรุงไคโร แต่มีบางส่วนยึดที่ปักเต๊นท์พักอาศัยค้างคืนกันที่นั้น เป็นการท้าทายกฎอัยการศึกที่ได้ประกาสขยายเวลาไปโดยกองทัพบกของอียิปต์

ศัพท์ที่ควรรู้

Camp out = ออกค่าย, ปักเต้นท์นอนนอกบ้าน

Defy = แข็งขืน, ต่อต้าน

Curfew = กฎอัยการศึก, สถานการณ์ฉุกเฉิน

Extend = ต่ออายุ, ขยายออก, ยืดอายุ

Tahrir Square = จัตุรัสทาเฮียร์ ตั้งอยู่ในกรุงไคโร มีลักษณะคล้ายสนามหลวงในกรุงเทพฯ

ความขัดแย้งในอียิปต์สร้างความสับสนด้านนโยบายแก่สหรัฐอเมริกา เพราะในอดีตที่ผ่านมา สหรัฐจะหนุนหลังรัฐบาลทหารของอียิปต์ โดยหลับตาเสียข้างหนึ่งว่า แม้รัฐบาลอียิปต์จะเป็นเผด็จการณ์ แต่ทัศนะของอเมริกันจำต้องเปลี่ยนไปแล้ว

Reuters - Egypt's explosion of political unrest poses a policy dilemma for President Barack Obama's administration, which is struggling to balance U.S. strategic interests against calls for a more assertive stance in a crisis that Washington cannot control.

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า อียิปต์กำลังเผชิญกับระเบิดทางการเมือง ที่จะเป็นปัญหาด้านนโยบายของรัฐบาลโอบาม่าของสหรัฐอเมริกา ที่จะต้องถ่วงดุลผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ ต่อการเรียกร้องต่างๆ ที่มีผลที่อาจกลายเป็นวิกฤติที่ฝ่ายรัฐบาลสหรัฐ (Washington) ไม่สามารถควบคุมได้

ศัพท์ที่ควรรู้

Unrest = ความไม่สงบ, อาการกระสับกระส่าย

Dilemma = ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

Struggle = ฟันฝ่า, ต้องผ่านไปด้วยความยากลำบาก

Strategy = กลยุทธ์, ยุทธศาสตร์, ยุทธวิธี, แผนการณ์, อุบาย, กุศโลบาย แต่โดยทั่วไป ผมอยากใช้คำว่า “ยุทธศาสตร์” มากกว่าคำว่า “กลยุทธ”

Strategic interest = ผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์

Washington = หมายถึง Washington DC อันเป็นเมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา หรือมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “รัฐบาลสหรัฐ”

ในช่วงเวลาดังกล่าว สื่อมวลชนยักษ์ใหญ่ในสหรัฐเอง ต่างก็ออกมาแสดงความคิดเห็นที่ได้ยินไปถึงประธานาธิบดี

Washington Post: บทบรรณาธิการอย่างฟันธง กล่าวว่า "อเมริกาจะต้องแยกจากมูบารัคเดี๋ยวนี้"

ส่วนรอยเตอร์เองได้ให้ทัศนะวิจารณ์ว่า “อียิปต์แม้พึ่งสหรัฐ แต่ก็ในอัตราที่ลดลงจากเมื่อหลายสิบปีก่อน

Reuters: กล่าวว่า การช่วยเหลือทางการทหารของสหรัฐต่ออียิปต์ ปัจจุบัน (2011) ที่ 1,300 ล้านเหรียญ คิดเป็นร้อยละ 1 ของ GDP ของอียิปต์ ซึ่งในปีค.ศ. 1980 เคยสูงถึงร้อยละ 20

สำหรับผมเองได้ให้ข้อคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า (Analysis) -

อเมริกาอาจไม่ต้องคาดหวังอะไรเลย โดยปล่อยให้อียิปต์และชาติอาหรับแสวงหาทางเลือกประชาธิปไตยที่สอดคล้องกับความต้องการของเขาเอง

ครับในสังคมอาหรับในยุคใหม่ ในยุคที่การสื่อสารเปลี่ยนแปลงไป เด็กหนุ่มสาวรุ่นใหม่ต่างมีความคิดที่แตกต่างไปจากเดิม เขาไม่ได้ต้องการเพียงอาหารและสิ่งประทังชีวิต เขาต้องการประเทศชาติที่เขามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง

Reuters - If Egypt's President Hosni Mubarak is toppled, Israel will lose one of its very few friends in a hostile neighborhood and President Barack Obama will bear a large share of the blame, Israeli pundits said on Monday.

รอยเตอร์ – หากประธานาธิบดีฮอสนี่ มูบารัคต้องถูกโค่นล้ม อิสราเอลจะเสียเพื่อนไปอีกหนึ่ง ในบรรดาเพื่อนบ้านที่ดูจะไม่เป็นมิตรต่ออิสราเอลนัก และประธานาธิบดีโอบาม่าของสหรัฐก็จะไม่สามารถหลึกหนี ปัญญาชนชาวอิสราเอลคนหนึ่งกล่าว

Reuters - หากมูบารัคต้องลงจากเก้าอี้ อิสราเอลจะไม่เหลือเพื่อนมากนักในตะวันออกกลาง และประธานาธิบดีโอบาม่าจะต้องรับผิดชอบ - เนทันยาฮู นายกฯอิสราเอล ได้ให้ความเห็นแสดงความกังวลต่อเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และอิสราเอลเองก็ตามไม่ทัน และทำใจไม่ได้

ศัพท์ที่ควรรู้

Topple = โค่นล้ม

Hostile = โหดร้าย

Blame = กล่าวโทษ

Pundits = บัณฑิต หรือปัญญาชน

ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2011

Aljazeera: An Egypt activitst, "But all groups, young, old, rich, poor, Christians, Muslims they are all heading [to Tahrir Square].

จากสำนักงานข่าว Aljazeera: ผู้รณรงค์ชาวอียิปต์คนหนึ่งได้รายงาน “คนทุกกลุ่มเหล่า เยาวน คนสูงอายุ มั่งมี ยากจน คริสเตียน มุสลิม ทุกคนมุ่งหน้าไปสู่จัตุรัสทาเฮียร์ในกรุงไคโร

เป็นคำบรรยายที่สั้น แต่ได้ใจความและสะท้อนถึงบรรยากาศของอียิปต์ใหม่ ที่ไม่ใช่ผลักดันสังคมให้กลับไปสู่ความเป็นมุสลิมหัวรุนแรง ปิดกั้นความคิด แต่คนรุ่นใหม่ เขาต้องการประเทศใหม่ ประเทศที่เขามีเสรีภาพ เหมือนอย่างที่โลกตะวันตกมีประชาธิปไตยนั่นเอง

ทุกฝ่ายในอียิปต์ต่างหวั่นใจว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรง

Egyptian state TV presenters: fears that today’s protest could lead to violence, insecurity, and looting

ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลแสดงทัศนะว่า รู้สึกกลัวว่าวันนี้การประท้วงจะนำไปสู่ความรุนแรง ความไม่มั่นคง และจะมีการปล้นสะดม

ลักษณะบรรยากาศในช่วงเวลาดังกล่าว เปรียบเสมือนรถไฟสองขบวนกำลังเร่งแรงเข้าหากัน แล้วจะต้องปะทะเกิดความเสียหายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้คนทั่วไป ก็ยังกังวลใจ และสำหรับสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาล ยิ่งอยากสะท้อนบรรยากาศ เหมือนจะบอกแก่ผู้คนว่า อย่าออกไปเลย มันอันตราย คงอยากบอกต่อไปด้วยว่า “อยู่บ้านเฉยๆดีกว่า”

ศัพท์ที่ควรรู้

Loot = ปล้นสะดม, ยกเค้า

Protest = ประท้วง

No comments:

Post a Comment