Thursday, April 28, 2011

มารู้จักผู้นำฝ่ายค้านของกัมพูชา สม รังสี (Sam Rainsy)

มารู้จักผู้นำฝ่ายค้านของกัมพูชา สม รังสี (Sam Rainsy)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ภาพ สม รังสี (Sam Rainsy)

ประวัติบุคคล

สม รังสี (อังกฤษ: Sam Rainsy; เขมร: សម រង្ស៊ី สม รงฺสี); เป็นนักการเมือง กัมพูชา

สม รังสี เกิด 10 มีนาคม ค.ศ. 1949 เป็นนักการเมืองกัมพูชา อดีตผู้นำฝ่ายค้านของกัมพูชา เขาเกิดที่กรุงพนมเปญ (Phnom Penh) เป็นบุตรชายของ สม สารี (Sam Sary) ทำงานในคณะรัฐบาลในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1950s เมื่อฝ่ายเขมรแดงครองอำนาจ เขาได้ย้ายไปอยู่ฝรั่งเศสในช่วงปี ค.ศ. 1965 เขาศึกษาและทำงานหลายๆด้านไปพร้อมๆกัน โดยทำงานด้านบริษัทการเงิน เขาแต่งงานกับสตรีชาวกัมพูชาชื่อ เสามุระ ตุยลอง (Saumura Tioulong) ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเช่นกัน ทั้งสองมีบุตรและธิดา 3 คน ได้แก่ แพทริส สม (Patrice Sam), มิวเรียล สม (Muriel Sam) และ ราเชล สม (Rachel Sam)

ภาพ ภรรยาของสม รังสี เสามุระ ตุยลอง (Saumura Tioulong)

การศึกษา

จบการศึกษาจากประเทศฝรั่งเศส และเคยทำงานกับบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินในฝรั่งเศส

สม รังสีได้รับการศึกษาขั้นสูงของเขาในประเทศฝรั่งเศส โดยได้รับปริญญาและใบวุฒิบัตรการศึกษาดังต่อไปนี้

· ปริญญาโททางการบริหารธุรกิจ จากฝรั่งเศส
Business Administration (Master of Business Administration from INSEAD - Fontainebleau - France) - 1980.

· ประกาศนียบัตรด้านการบัญชี จากฝรั่งเศส
Accounting (Diplôme d'Etudes Comptables Supérieures issued by the French Ministry of Education) - 1979.

· ประกาศนียบัตรด้านเศรษฐศาสตร์ จากฝรั่งเศส
Economics (Maîtrise + Diplôme d'Etudes Supérieures de Sciences Economiques de la Faculté de Droit et des Sciences Economiques de Paris) - 1973.

· ประกาศนียบัตรด้านเศรษฐศาสตร์ จากฝรั่งเศส
Political Science (Diplôme de l'Institut d'Etudes Politiques de Paris) - 1971.

การเมือง

ในปี ค.ศ. 1992 สม รังสีเข้าสู่วงการเมือง โดยเป็นสมาชิกพรรคฟุนซินเป็ก (Funcinpec Party) ของสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเสียมเรียบ (Siem Reap) และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่ถูกขับออกจากตำแหน่งในปี ค.ศ. 1994 หลังจากพ่ายแพ้การลงมติไม่ไว้วางใจ

มารู้จักเมืองเสียมเรียบ (Siem Reap) ที่เคยเป็นฐานเสียงของเขาในช่วงการเลือกตั้งแรก เสียมเรียบ มีความหมายว่า “การรบชนะสยาม” (Defeat of Siam) ซึ่ง “สยาม” ในปัจจุบันคือประเทศไทย ในอดีตนับเป็นเวลาร้อยปีที่มีการปะทะก้นระหว่างสองประเทศ จนมีศิลาจารึกที่บอกประวัติความเป็นมาหลายแห่ง ในอีกด้านหนึ่ง เสียมเรียบ (Siem Reap) หมายถึง “แสงสว่างสู่สยาม” (Brilliance of Siam) นับเป็นเวลากว่า 500 ปีก่อนที่จะมีการสังหารหมู่ บริเวณดังกล่าวเป็นเส้นทางข้ามจากอาณาจักรกัมพูชาสู่ประเทศสยาม

การก่อตั้งพรรค

สม รังสี ก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นในปี ค.ศ. 1995 ชื่อพรรคชาติขแมร์ (Khmer Nation Party - KNP) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรคสม รังสี (Sam Rainsy Party - SRP) ก่อนการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1998 และได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนในจังหวัดกัมปงจาม

ในการเลือกตั้งปี ค.ศ.1995 พรรคฝ่ายของสม รังสีได้คะแนนร้อยละ 14 ในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 2003 พรรคของเขาได้รับคะแนนกระเตื้องขึ้นเป็นร้อยละ 22 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเขาได้รับคะแนนนิยมที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ผู้สันทัดการเมืองในกัมพูชากล่าวว่าเสียงของสม รังสีมักจะมาจากคนในเมือง คนมีเงิน และคนมีการศึกษา ซึ่งยังมีจำนวนไม่มากนัก ส่วนคนในชนบทซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ยังเป็นเสียงของรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีฮุน เซน

ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 สม รังสีต้องลี้ภัยในต่างประเทศ ด้วยเกรงว่าจะถูกจับหลังการออกเสียงโดยรัฐสภาได้มีมติถอดถอนหลักประกันคุ้มครองสมาชิกรัฐสภา (Parliamentary immunity) จากการฟ้องร้องและจับกุมคุมขัง และในวันเดียวกันนั้น สมาชิกรัฐสภา ฉิม จันนี (Cheam Channy) ได้ถูกจับและควบคุมตัวในคุกทหารของฝ่ายรัฐบาล

สม รังสีถูกข้อหาเป็นความอาญาหลายข้อ รวมทั้งการกล่าวหาให้ร้ายทางการเมือง (criminal defamation) หลังกล่าวหาพรรครัฐบาล Cambodian People's Party และพรรค Funcinpec อันเป็นพรรคร่วมรัฐบาลในปัจจุบันว่ามีการคอรัปชั่น เขาเองกล่าวหานายกรัฐมนตรีฮุน เซน (Hun Sen) ว่ามีส่วนในการสังหารผู้นำสหภาพแรงงาน ชี วิหาร (Chea Vichea) เมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2004

ในขณะนั้น สถานทูตสหรัฐในพนมเปญได้แสดงความกังวลในการที่รัฐบาลพยายามปิดปากฝ่ายตรงกันข้าม สถานทูตอื่นๆ รวมทั้งองค์กรนานาชาติและของท้องถิ่นต่างก็ออกความเห็นในลักษณะเดียวกัน

ในช่วงที่ฮุน เซน (Hun Sen) ก่อการรัฐประหารในปี ค.ศ. 2005 สม รังสี ได้เดินทางหลบหนีออกจากกัมพูชา และถูกศาลกัมพูชาตัดสินลับหลัง ลงโทษจำคุก 18 เดือน พร้อมต้องจ่ายเงินชดเชยประมาณ 14,000 เหรียญสหรัฐ สม รังสีเดินทางกลับกัมพูชาในปี ค.ศ. 2006 หลังได้รับพระราชทานอภัยโทษจากพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี ตามคำกราบทูลของฮุน เซน

สม รังสีกลับมาทำงานด้านการเมืองอีกครั้ง โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำพรรคฝ่ายค้าน

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2009 สม รังสีได้นำชาวบ้านบริเวณชายแดนกัมพูชา-เวียดนามประท้วงการลุกคืบของฝ่ายเวียดนาม ซึ่งเขาถูกกล่าวหาว่าได้ถอนหลักเขตที่เขากล่าวว่าได้ปักอย่างผิดกฎหมายโดยฝ่ายเวียดนาม ในวันที่ 25 ตุลาคม 2009 สม รังสีถูกกล่าวหาได้ก่อการทำให้เกิดความเกลียดชังระหว่างชาติ ทำลายทรัพย์สิน และรัฐสภาได้มีมติถอดถอนสิทธิคุ้มครองสมาชิกรัฐสภาของเขาในเดือนพฤศจิกายน

สม รังสีได้ถูกเรียกให้ขึ้นศาล ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2010 ศาลจังหวัดสเว เรียงได้ออกหมายจับสม รังสี ที่ไม่ได้มาศาลตามคำเรียก

สม รังสีในปัจจุบันพำนักอยู่ในออสเตรเลีย และกล่าวว่าให้ศาลตัดสินเขาแบบลับลัง (In absentia) เพราะการตัดสินเขาเป็นเรื่องการเมืองและไม่ถูกต้อง

อิทธิพลและความนิยมต่อนายสม รังสี

เขตที่นายสม รังสีได้เลือกคือกัมปง จาม (Kampong Cham (Khmer: ក្រុងកំពង់ចាម) ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของกัมพูชา มีประชากร 63,771 คน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง (Mekong River) ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงพนมเปญ 124 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ใกล้ไปทางเวียดนามมากกว่าทางไทย แต่สามารถเดินทางติดต่อกับทางเมืองหลวงได้ด้วยถนนลาดยางและทางเรือ ซึ่งใช้เวลาเดินทางประมาณ 2.5 ชั่วโมง

กัมปง (Kampong) มีความหมายว่าเป็นส่วนที่ติดกับแม่น้ำ หรือมีส่วนที่เป็นน้ำ ส่วนจาม (Cham) เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่ง หรือเรียกว่า “จัมปา”

ข่าวที่เกี่ยวกับสม รังสี

จากผู้จัดการออนไลน์ -

ซินหัว - ศาลแขวงกรุงพนมเปญวันนี้ (25 เม.ย. ) พิพากษาให้นายสมรังสี ผู้นำฝ่ายค้านกัมพูชา ซึ่งลี้ภัยในต่างประเทศ ต้องโทษจำคุก 2 ปี และปรับเงินจำนวน 2,000 ดอลลาร์ ในความผิดฐานหมิ่นประมาทและทำให้บุคคลเสื่อมเสียชื่อเสียง

ความผิดดังกล่าวมีขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญาฉบับใหม่ จากการแสดงความเห็นของนายสมรังสี ประธานพรรคสมรังสี ที่กล่าวปราศรัยเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2551 ว่า นายฮอนัมฮอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของกัมพูชาในปัจจุบัน เคยเป็นหัวหน้าผู้คุมเรือนจำบึงตระเบก (Boeung Trabek) ในระบอบเขมรแดง

"คำกล่าวอ้างของนายสมรังสีไม่มีมูลและเป็นการหมิ่นประมาทเจ้าหน้าที่ ของรัฐบาลให้เสียชี่อเสียง" นายเส็ง เนียง ประธานผู้พิพากษา กล่าว

"คำตัดสินมีความยุติธรรมและนำความบริสุทธิ์มาให้กับลูกความของผม" นายกา สาวุธ ทนายความของนายฮอนัมฮอง กล่าวกับผู้สื่อข่าวหลังการประกาศคำตัดสิน

นายฮอนัมฮองเคยชนะคดีในลักษณะคล้ายกันนี้ที่ฝรั่งเศสเมื่อปี 2551 ที่เรียกค่าปรับนายสมรงสี เป็นพิธีแค่ 1 ยูโร สำหรับการแสดงความคิดเห็นของนายสัม รังสี ต่ออัตชีวประวัติของเขา ขณะนี้ นายสมรังสี ที่มีอายุ 60 ปี ซึ่งกำลังลี้ภัยอยู่ในฝรั่งเศส ได้ถูกพิพากษาทั้งที่ไม่ปรากฎตัวต่อศาลให้จำคุกนาน 12 ปี ในความผิดฐานทำลายทรัพย์สินของรัฐ หลังนายสมรังสี รื้อถอนหลักหมายปักปันเขตแดนกัมพูชา-เวียดนาม เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2552 และจากการปลอมแปลงเอกสารและเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จเกี่ยวกับแผนที่พรมแดน ระหว่างกัมพูชาและเวียดนาม นอกจากนั้นนายสมรังสี ยังถูกยึดที่นั่งในรัฐสภาเมื่อเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา.

ฮุน เซน คู่ปรับตลอดกาล

ด้วยเส้นทางการเมืองของสม รังสี เขาจะเป็นคู่ปรับตลอดกาลของฮุน เซน และด้วยสไตล์การทำงานการเมืองแล้ว ทั้งสองฝ่ายคงจะร่วมมือกัน เป็นฝ่ายเดียวกันได้ยาก

ฮุนเซ็น (Hun Sen) นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของกัมพูชา (2011) รับอำนาจถ่ายทอดจากเฮง สัมริน ตั้งแต่หนุ่มๆ ใครได้ฟังฮุน เซ็น พูดจาปราศรัยและได้สังเกตวิธีทำงานของนายกฯคนนี้แล้ว จะรู้ว่าฉลาดเฉลียวพราวแพรวมีแววผู้นำประเทศมาตั้งแต่ไหนแต่ไร

ฮุน เซ็น เคยกลัวใครซะที่ไหน ไม่ว่าชาติใหญ่ประเทศเล็ก ถ้าแหลมกับกัมพูชา คุณเอ๋ย ฮุน เซ็นเจรจาโต้เถียง ลุยได้ถึงลูกถึงคนไม่เคยหงอ สังเกตไหมครับว่า ประเทศใหญ่ๆ ที่โดนฮุน เซ็นตอกกลับ จะนิ่งงันกันไปเองทั้งนั้น

ความมีจุดยืนของฮุน เซ็น ที่ไม่เคลียเลียแข้งคลอขามหาอำนาจ ทำให้มีคนเกรงใจฮุน เซ็น เพิ่มขึ้น

นักวิเคราะห์หลายคนที่เมื่อก่อนเคยด่าฮุน เซ็น ตอนนี้ก็กลับมาเขียนยกย่องว่า เป็นนายกฯที่มีภาวะผู้นำ

ไม่รู้ว่า พวกที่เขียนจะแอบกัดคนที่เป็นนายกฯประเทศทางเหนือของเขมรหรือเปล่า ว่ามีบารมีเป็นได้แค่นายกฯ แต่ไม่ใช่ผู้นำของชาติ

ปัจจุบันสถานะของฮุน เซ็น ค่อนข้างมั่นคงในสายตาของต่างประเทศ แม้แต่ น.ส.ฮุน มานา ลูกสาวคนสวยของฮุน เซ็น แต่งงานกับนายเมือง คมเพียก เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (มีนาคม 2542) ก็ได้รับความสนใจ ได้รับการแพร่ข่าวไปทั่วโลก

การอ้างอิง
References

1. ^ http://news.bbc.co.uk/2/hii/asia-pacific/8436851.stm

แหล่งอ้างอิงภายนอก
External links

No comments:

Post a Comment