Saturday, May 30, 2015

ว่าด้วยเรื่องการพูด ของนักการทูต, นักวิชาการ, ผู้นำและนักบริหาร

ว่าด้วยเรื่องการพูด ของนักการทูต, นักวิชาการ, ผู้นำและนักบริหาร

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: สุภาษิต, ชาวไอริช, การพูด, expression, การแสดงออก, เสรีภาพทางวิชาการ, academic freedom, freedom of expression, นักวิชาการ, academics, นักการทูต, diplomats, ผู้นำ, leader, นักบริหาร, administrator, manager

ขอนำสู่บทเรียนสำหรับเพื่อนๆ อันเกี่ยวกับวัฒนธรรมการพูดครับ

A diplomat must always think twice before he says nothing. ~ Irish Proverb
นักการทูตต้องคิดสองครั้ง ก่อนจะไม่พูดอะไรออกไป ~ สุภาษิตไอริช

ส่วนในสังคมไทย พ่อแม่ ปูย่าตายาย มักจะสอนและเตือนเราเสมอด้วยสุภาษิตที่ว่า “พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งไว้เสียตำลึงทอง


ภาพ เจ้าพระยาโกษาปาน ฑูตไทยที่ไปประเทศฝรั่งเศส ในสมัยพระนารายมหาราช

 

ภาพ เบนจามัน แฟรงคลิน ฑูตสหรัฐในประเทศฝรั่งเศส ในยุคอเมริกาประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ


ภาพ ตัวแทนของประเทศสหรัฐอเมริกาในพิธีลงนาม สนธิสัญญาเกนท์ ในปี ค.ศ. 1814Uniformed American representatives (left) signing the Treaty of Ghent in 1814


นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ

ผมใช้ชีวิตแบบนักวิชาการมายาวนาน และอย่างมีความสุข ประการหนึ่งเกี่ยวกับนิสัยการแสดงออก ไม่ว่าจะพูด คิด และเขียน คือการได้แสดงออกอย่างตรงไปตรงมา ผมมักใช้สิทธิการเป็นนักวิชาการ คือ การต้องมีเสรีภาพในการนำเสนอและการแสดงออก อย่างที่เขาเรียกว่า Academic freedom ซึ่งเป็นความจำเป็นในสังคมที่พัฒนาแล้ว

ผมตั้งข้อสังเกตว่า นักวิชาการ (Academics) จะมีนิสัยที่ไม่เหมือนกับนักการทูต (Diplomats) อยู่อย่างหนึ่ง คือ นักการทูตจะพูดไม่น้อย แต่ไม่หลงพูดอะไรออกไปที่ก่อให้เกิดความบาดหมางไม่พอใจ โดยเฉพาะกับแขกที่เป็นเจ้าบ้านที่ตนเองต้องไปทำหน้าที่ นักการทูตที่ดีจึงต้องเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมนานับปการ ทั้งของชาติตนเองและโลกนานาชาติ ส่วนหนึ่งเพื่อให้ไม่เกิดบรรยากาศหยุดนิ่งและเครียด แต่อีกส่วนหนึ่งโดยเฉพาะให้สามารถมีเรื่องหรือประเด็นที่จะเลี่ยง ไม่พูดในสิ่งที่จะก่อให้เกิดความบาดหมางโดยไม่จำเป็น และเมื่อหน้าที่ต้องให้สื่อสาร ก็สื่อสารอย่างนุ่มนวลตรงไปตรงมา แบบไม่ยั่วยุให้เกิดอารมณ์ไม่พอใจโดยไม่จำเป็น

ส่วนนักวิชาการจะมีลักษณะต่างออกไป นักวิชาการที่ดีพึงต้องศึกษาสภาพแวดล้อมที่กว้างขวางเช่นกัน แต่เขามักจะถูกฝึกให้คิด พูด และเขียนอย่างตรงไปตรงมา เพียงแต่ว่าอาจไม่สอดใส่ความรู้สึกของตนเองลงไปในสิ่งที่แสดงออกเหล่านั้น ไม่แสดงความเห็นถูกผิด ดีหรือเลว เขาจะพรรณนาในสภาพที่เป็นไป เพราะโดยหลักแล้ว เราเกือบจะยังบอกอะไรแบบฟันธงไม่ได้ หากไม่ได้มองเห็นอย่างรอบด้านเพียงพอ นักวิชาการคือคนที่ทำให้ภาพที่มืดมัวได้กระจ่างชัดขึ้น แต่จะยังไม่ใช่คนชี้ทิศทาง จนกว่าเขาจะถามว่า “แล้วอาจารย์มีความเห็นอย่างไร”

ส่วนผู้นำและนักบริหารการศึกษา อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา อธิการบดี และผู้บริหารในระดับรองๆลงมา มักจะต้องมีบุคลิกสองอย่าง คือ พูดได้เหมือนนักการทูต เมื่อต้องการพูดอย่างหามิตรและคนสนับสนุน แต่ในอีกด้านหนึ่ง คือพูดได้เหมือนอย่างนักวิชาการพูดและสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาเมื่อสถานการณ์เรียกร้อง และด้วยความเป็นผู้นำ ต้องสามารถแสดงวิสัยทัศน์ของทั้งตนเองและสถาบัน/มหาวิทยาลัยได้อย่างชัดเจน สื่อสารได้อย่างไม่เหลือความคลางแคลงใจ และศิลปะของการเป็นผู้นำและนักบริหารที่ดี คือ รู้ว่าเมื่อใดและที่ใด ควรพูดเรื่องอะไร


แต่ไม่ว่าจะอย่างไร เขาต้องแสดงออกอย่างมีสติและปัญญาเสมอ ซึ่งในบางครั้ง อาจหมายถึงไม่ได้แสดงอะไรออกมาเลย

Monday, May 25, 2015

เครื่องบินไฟฟ้าลูกประสม ใช้น้ำมันลดลง 30%

เครื่องบินไฟฟ้าลูกประสม ใช้น้ำมันลดลง 30%

ประกอบ คุปรัตน์ 
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com


Keywords: การขนส่ง, transportation, การเดินทาง, commuting, สิ่งแวดล้อม, environment, ecology, พลังงาน, energy, พลังงานไฟฟ้า, เครื่องบินไฟฟ้า, hybrid electric plane, Boeing, Cambridge University,

พิมพ์ครั้งแรกใน Sustainnovate.


ภาพ เครื่องบินไฟฟ้าลูกประสม (Hybrid electric plane) เครื่องต้นแบบขนาดเล็กเพื่อการทดสอบของมหาวิทยาลัย Cambridge University และ Boeing

นักวิจัยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) ในประเทศอังกฤษ และด้วยความร่วมมือของบริษัทยักษ์ใหญ่อากาศยาน Boeing ของสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาต้นแบบเครื่องบินไฟฟ้าลูกประสม ที่สามารถประหยัดพลังงานน้ำมันได้ร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับเครื่องบินขนาดเดียวกันที่ใช้น้ำมัน 100%

เครื่องบินใช้น้ำมันเชื้อเพลิงร่วมกับพลังจากแบตเตอรี่ในช่วงทะยานตัวจากลานบินและบินไต่ระดับ ซึ่งเป็นช่วงต้องใช้พลังงานสูง แต่การมีปุ่มที่ปรับมาใช้พลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ช่วยทำให้ใช้เครื่องยนต์เผาไหม้น้อยลง และใช้เป็นระบบพลังสมทบสองระบบ ระบบลูกประสม (Hybrid) ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องยนต์เผาไหม้ขนาดใหญ่มาก แนวคิดคล้ายๆกับรถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมอย่าง Toyota Prius เครื่องยนต์ใช้น้ำมันเหมาะสำหรับเมื่อไต่ระดับขึ้นไปบินที่เพดานบินสูง แต่เมื่อได้บินในระดับเพดานบินสูงแล้ว ช่วงนี้ไม่ต้องใช้พลังงานมาก สามารถใช้พลังงานจากเครื่องยนต์เผาไหม้ขนาดปานกลาง จึงประหยัดพลังงานได้ถึงร้อยละ 30

แต่การจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ทั้งหมด (All electric) เหมือนกับรถยนต์ไฟฟ้า ที่ไม่ต้องใช้เครื่องยนต์เผาไหม้เลย ดังนี้ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ท้าทายเพิ่มขึ้นไปอีก แต่สำหรับเครื่องบินที่ใช้ระบบไฟฟ้าลูกประสมในปัจจุบัน แบตเตอรี่รุ่นใหม่ที่ใช้ Lithium-ion มีน้ำหนักเบา ให้พลังงานที่หนาแน่นพอ แต่หากจะต้องมีพลังไฟฟ้าใช้บินระยะไกลได้เลยนั้น ก็ต้องใช้แบตเตอรีขนาดใหญ่มากขึ้นไป ซึ่งยังเป็นข้อจำกัดอยู่

เมืองแคนซัสซิตี (Kansas City) จะเป็นเมกกะของรถยนต์ไฟฟ้า

เมืองแคนซัสซิตี (Kansas City) จะเป็นเมกกะของรถยนต์ไฟฟ้า

ประกอบ คุปรัตน์ 
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การขนส่ง, transportation, การเดินทาง, commuting, สิ่งแวดล้อม, environment, ecology, พลังงาน, energy, รถยนต์ไฟฟ้า, electric cars, EVs, สถานีชาร์จไฟ, Charging stations, แคนซัสซีตี, Kansas City, รัฐมิสซูรี, Missouri State, รัฐแคนซัส, Kansas State, Kansas City Power & Light (KCP&L)

ข่าวจาก Automotive News May 25, 2015 - 12:01 am ET

KANSAS CITY, Mo. – เมืองแคนซัสซีตีมีชื่อเสียงในหลายๆด้าน ตั้งแต่การเป็นศูนย์กลางการค้าปศุสัตว์ เนื้อย่างแบบบาบีคิว ดนตรีแจ๊ส แต่คนยังไม่รู้จักเมืองในฐานะเป็นศูนย์กลางของรถยนต์ไฟฟ้า (EV Mecca)

แต่ชื่อเสียงของเมืองในฐานะการส่งเสริมพลังงานสีเขียวกำลังเปลี่ยนไป บริษัทพลังงาน Kansas City Power & Light (KCP&L) ของเมืองแคนซัส ประกาศแผนที่จะติดตั้งสถานีชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าขึ้น 1000 แห่งทั่วทั้งเมือง ซึ่งมีทั้งฟากที่อยู่ในรัฐมิสซูรี และรัฐแคนซัส และยังรวมถึงย่านชนบททางตะวันตกของมิสซูรี และแคนซัสตะวันออก


ภาพ เมืองแคนซัสซีตี (Kansas City)

การลงทุนนี้จะใช้เงินประมาณ USD20 ล้าน หรือประมาณ 660 ล้านบาทไทย โดยใช้เงินของ Clean Charge Network ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาเฉพาะในกำกับของ KCP&L

KCP&L เหมาะที่สุดที่จะทำเรื่องนี้ เพราะมีเครือข่ายสายไฟแรงสูงครอบคลุมเมืองอยู่แล้ว และทางเมืองมีความพยายามที่จะแข่งกับรัฐแคลิฟอร์เนีย (California) ในด้านการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า นับเป็นความกล้าของเมืองที่จะจัดการกับปัญหา “ไข่กับไก่ อะไรจะเกิดก่อนกัน” คนใช้รถยนต์ไฟฟ้ามักกังวลเรื่องไม่มีจุดบริการไฟฟ้าให้รถ การส่งเสริมเครือข่ายสถานีชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้านี้จะกระตุ้นการขายและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Nissan เองก็จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของผู้สนับสนุนเครือข่ายนี้

Chuck Caisley รองประธานบริษัทฝ่ายการตลาดและกิจการมวลชนของ KCP&L กล่าวว่า “ถ้าคุณสร้างมัน เขา (คนใช้รถยนต์ไฟฟ้า) ก็จะมา”

Clean Charge Network ประกาศว่า ในเดือนมกราคม (2016) เมืองจะมีสถานีชาร์จไฟ 1,001 แห่งที่ใช้ไฟฟ้าขนาด 240 โวลต์ และมีสถานีชาร์จไฟเร็ว (Fast-charging stations) 15 แห่งในความร่วมมือและร่วมลงทุนของ Nissan แต่ละสถานีจะชาร์จไฟให้รถได้ 2 คันในเวลาเดียวกัน KCP&L ได้ดำเนินการติดตั้งแล้ว 150 สถานี และคาดว่าจะดำเนินการเสร็จภายในปีนี้ แต่คำขอให้ติดตั้งระบบสถานีชาร์จไฟได้เกินจำนวนที่ KCP&L จะดำเนินการให้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในช่วงต่อๆไป ก็คงจะมีการขยายตัวติดตั้งสถานีชาร์จไฟเพิ่มขึ้น

ข้อมูลเพิ่มเติม

เมืองแคนซัสซีตี้ หรือ Kansas City หรือเรียกย่อๆว่า K.C. เป็นเมืองใหญ่สุดในรัฐมิสซูรี (Missouri) และเป็นเมืองใหญ่สุดอันดับที่ 37 ของสหรัฐอเมริกา และเป็นเมืองที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 23 เมืองมีบริเวณกินพื้นที่ของ 2 รัฐ คือแคนซัส และมิสซูรี เมืองตั้งอยู่ตรงแม่น้ำมิสซูรี ฟากตะวันออกเป็นมิสซูรี ฟากตะวันตกเป็นรัฐแคนซัส

หากดูในแผนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมืองแคนซัสจะอยู่ราวๆกลางประเทศ ห่างจากเหนือสุดพอๆกับไปใต้สุด ห่างจากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันออกพอๆกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางฝั่งตะวันตก เมืองจึงดูเหมือนเป็นจุดศูนย์กลางของการเดินทาง

เมืองมีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคน แต่หากนับปริมณฑลที่มีคนหนาแน่นจะมีประชากร 2.0-2.4 ล้านคน เมืองในลักษณะของแคนซัสซีตีนี้จะพบอยู่โดยทั่วไปในสหรัฐอเมริกา มีประชากรอยู่ปนกันระหว่างคนอาศัยในตึกสูง อาคารอพาร์ทเมนท์หรือคอนโดมีเนียม และมีคนอยู่กระจายกันไปตามชานเมือง (Suburban areas) ซึ่งชาวสหรัฐจะนิยมเป็นเจ้าของบ้านขนาดใหญ่ที่มีรั้ว  มีรถยนต์ที่จะขับไปทำงาน หรือนักศึกษาขับรถไปเรียนหนังสือ แต่ในยุคต่อไปที่น้ำมันมีน้อยลง ราคาสูงขึ้น คนจะเริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิตในการเดินทางและเป็นเจ้าของรถ

Population (2010)
 ประขากร
City
459,787 คน
ประมาณการ
Estimate (2014)[2]
470,800 คน
อันดับในสหรัฐอเมริกา
 Rank
US: 37th
ความหนาแน่น
Density
1,474.2/sq mi (569.2/km2)
เขตเมือง
Urban
1,519,417 (US: 31st) คน
ปริมณฑล
Metro
2,071,133 (US: 29th) คน
2,393,623 (US: 23rd) คน



ภาพ แผนที่ของสหรัฐอเมริกา ส่วนสีแดงคือรัฐมิซูรี ถัดมาฝั่งตะวันตก คือรัฐแคนซัส


ภาพ สถานีชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ของ KCP&L 



ภาพ สถานีชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ของ KCP&L แบบที่ตั้งอยู่ในตัวอาคาร


Saturday, May 23, 2015

มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi) มหาบุรุษของโลก

มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi) มหาบุรุษของโลก

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: ประเทศอินเดีย, ประเทศปากีสถาน, การเมือง, การปกครอง, ความเป็นผู้นำ, มหาตมะ คานธี, Mahatma Gandhi, ความเป็นผู้นำ, Leadership, การเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพของอินเดีย, Indian independence movement, ปรัชญา, philosophy of Satyagraha, อหิงสา, Ahimsa, nonviolence, pacifism

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Happiness is when what you think, what you say, and what you do are in harmony. - Mahatma Gandhi
ความสุขคือเมื่อใดที่ท่านคิดอะไร พูดอะไร และทำอะไรสอดคล้องไปด้วยกัน - มหาตมะ คานธี

มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi)


ภาพ มหาตมะ คานธี

เกิด
Born
Mohandas Karamchand Gandhi
2 October 1869
PorbandarKathiawar Agency,British India[1]
ตาย
Died
30 January 1948 (aged 78)
New Delhi, Delhi, India
สาเหตุการตาย
Cause of death
สุสาน
Resting place
ชื่ออื่นๆ
Other names
Mahatma Gandhi, Bapu, Gandhiji
ชนเผ่า
Ethnicity
การศึกษา
Education
ศิษย์เก่า
Alma mater
มีชื่อเสียงด้าน
Known for
Leadership of Indian independence movement,
philosophy of Satyagraha,Ahimsa or nonviolence,
pacifism
การเคลื่อนไหว
Movement
ศาสนา
Religion
Hinduism, with Jain influences
คู่ครอง
Spouse(s)
บุตร/ธิดา
Children
พ่อแม่
Parent(s)
Putlibai Gandhi (Mother)
Karamchand Gandhi (Father)
ลายเซ็นSignature
Description: Mohandas K. Gandhi signature.svg

โมฮันดาซ คารัมจัน คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi) เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1869 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1948 ท่านเป็นผู้นำประเทศอินเดียในการเคลื่อนไหวเพื่อประกาศอิสรภาพจากประเทศอังกฤษ คานธีใช้การต่อสู้อย่างอหิงสา ไม่ใช้ความรุนแรง (Nonviolent) และใช้หลักอารยะขัดขืน (Civil disobedience) คานธีนำอินเดียสู่อิสรภาพและดลใจการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน (Civil rights) และการต่อสู้เพื่อเสรีภาพให้แก่คนทั้งโลก

คำว่า “มหาตมะ” (Mahatma) เป็นคำในภาษาสันสกฤต แปลว่าจิตฝ่ายสูง (High-souled) ได้มีคนเรียกคานธีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1914 เมื่อท่านเคลื่อนไหวในอัฟริกาใต้ และในปัจจุบันมีการใช้ขยายไปทั่วโลก มีอีกคำหนึ่งที่ใช้เรียกคานธี คือ “บาปู” (Bapu) เป็นคำในภาษาท้องถิ่นของกุจารัชต์ (Gujarati) แปลว่า “ผู้เป็นที่รัก” บิดา หรือปาปาในประเทศอินเดีย


ภาพ มหาตมะ คานธี ในวัยหนุ่ม เมื่อใช้ชีวิตศึกษาเล่าเรียนในประเทศอังกฤษ และเมื่อทำงานด้านกฏหมายในอัฟริกาใต้

คานธีเกิดและเติบโตมา เป็นชาวฮินดูในชนชั้นพ่อค้า (Merchant caste) ในบริเวณชายฝั่งของรัฐกุจารัต ทางอินเดียตะวันตกของอินเดีย (Gujarat, western India) และได้รับการฝึกอบรมทางด้านกฎหมายที่ Inner Temple ในกรุงลอนดอน คานธีเริ่มใช้วิธีการต่อสู้แบบอหิงสา คือไม่ใช้ความรุนแรง และใช้อารยะขัดขืน (Civil disobedience) ต่อกฏหมายที่ไม่ชอบธรรม เริ่มตั้งแต่เมื่อเขาทำงานเป็นฝ่ายกฎหมายที่เป็นชาวต่างด้าวในอัฟริกาใต้ เมื่อเขากลับมายังประเทศอินเดียในปี ค.ศ. 1915 เขาเคลื่อนไหวในหมู่ชาวนายากจน เกษตรกร และคนงานในเมือง โดยเป็นผู้นำในสภาแห่งชาติอินเดีย (Indian National Congress) ในปี ค.ศ. 1921 คานธีนำชาวอินเดียทั่วประเทศ เพื่อรณรงค์ลดความยากจน ประท้วงการเก็บภาษีที่เกินความจำเป็น และการขยายสิทธิของสตรี สร้างความสมานฉันท์ด้านศาสนาและชนเผ่าที่หลากหลาย ขจัดการดูถูกเดียดฉันท์คนชั้นล่าง (Untouchability) แต่ที่สำคัญที่สุดคือการต่อสู้เพื่อการปกครองตนเองของชาวอินเดีย (Swaraj)


ภาพ คานธีนำเดินขบวนต่อต้านการเก็บภาษีเกลือของอังกฤษ

ในปี ค.ศ. 1930 การรณรงค์โดยการนำของคานธีที่มีชื่อเสียง คือการท้าทายการเก็บภาษีเกลือ (Salt tax) ของอังกฤษ โดยเป็นการเดินทางไกลระยะทาง 400 กิโลเมตร เรียกว่า Dandi Salt March และในปี ค.ศ. 1942 เขารณรงค์ให้อังกฤษถอนออกจากอินเดีย คานธีถูกจำคุกหลายครั้งและหลายปีทั้งในอัฟริกาใต้และในอินเดีย


ภาพ คานธกับการปั่นฝ้ายและทอผ้าใช้เองในอินเดีย แทนที่จะเห่อเหิมใช้สินค้าผ้านำเข้าจากต่างประเทศ จุดประสงค์ของคานธีคือ "การพึ่งตนเอง" ของประเทศอินเดีย

คานธีพยายามใช้การต่อสู้ด้วยวิธีการอหิงสา ไม่ใช้ความรุนแรง และใช้หลักความเป็นจริงในทุกสถานการณ์ และเขายืนหยัดให้ทุกคนทำตามในลักษณะดังกล่าว คานธีดำรงชีวิตอย่างสมถะ พักอาศัยอยู่ในบ้านในชุมชนกินอยู่อย่างพอเพียง เขากินอาหารมังสะวิรัติ และบ่อยครั้งที่ใช้การอดอาหาร (Long fasts) ทั้งเพื่อการฝึกทำตนเองให้บริสุทธิและเป็นการประท้วงทางสังคม

วิสัยทัศน์ของคานธี คือต้องการให้อินเดียเป็นประเทศเสรี มีความเท่าเทียมกันทางศาสนา ในต้นทศวรรษที่ 1940s เขาถูกท้าทายโดยกลุ่มมุสลิมรักชาติ (Muslim nationalism) ที่ต้องการแบ่งแยกมุสลิมออกจากประเทศอินเดีย ในที่สุดเมื่ออังกฤษให้อิสรภาพแก่อินเดีย ก็มีการแบ่งอินเดียเป็นสองส่วน คือส่วนที่มีคนส่วนใหญ่เป็นฮินดูคือประเทศอินเดีย และส่วนที่มีคนมุสลิมเป็นส่วนมากคือปากีสถาน แต่ในการประกาศแบ่งแยกประเทศนี้ ทำให้เกิดปัญหาชนกลุ่มน้อยทั้งฮินดู มุสลิม และซิกส์ ที่ยังหลงเหลืออยู่ในแต่ละประเทศ ทำให้เกิดความขัดแย้งทางศาสนาและชนชาติ เกิดการประทะกันด้วยความรุนแรงในรัฐปันจาบ (Punjab) และรัฐเบงกัล (Bengal) และตามมาด้วยการย้ายถิ่น อันเต็มไปด้วยความยากลำบาก


ภาพ อินเดียในวิสัยทัศน์ของคานธี คือประเทศใหญ่ที่คนมีความอดทนในความแตกต่างทางศาสนาและวัฒนธรรม การไปเยี่ยมและปราศรับที่ Peshawar ปัจจุบันอยู่ในเขตของปากีสถาน

ในระหว่างความขัดแย้งนี้บดบังความยินดีที่ได้ประกาศให้ประเทศเป็นอิสรภาพ คานธีเองได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนพื้นที่ๆได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง ได้ให้การปลอบใจ และหลายครั้งที่ได้อดอาหารจนกว่าจะเสียชีวิต (Fasts unto death) เพื่อผลักดันให้คนในชาติหันมาสร้างความสมานฉันท์ลดความขัดแย้งทางเชื้อชาติและทางศาสนาลง

การอดอาหารครั้งสุดท้ายนี้กระทำในวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1948 เมื่ออายุได้ 78 ปี โดยกดดันอย่างอ้อมๆให้อินเดียยอมจ่ายเงินทดแทนแก่ปากีสถาน ชาวอินเดียบางส่วนมองเห็นว่าคานธีเกื้อหนุนให้ปากีสถานมากไป ในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1948 นาธูรัม กอดซี (Nathuram Godse) จากกลุ่มฮินดูรักชาติ ได้ลอบสังหารคานธี โดยยิง 3 นัดไปที่บริเวณหน้าอกของคานธี


ชาวอินเดียเคารพคานธีในฐานะบิดาของชาติ (The father of the nation) วันเกิดของคานธีในวันที่ 2 ตุลาคม ได้กลายเป็นวันชาติ เพื่อแสดงความคารวะต่อคานธี และเป็นวันแห่งการไม่ใช้ความรุนแรงสากล (The International Day of Nonviolence)

Tuesday, May 19, 2015

ทิศทางการอุดมศึกษาในยุคปฏิรูป (Reform in Higher Education)

ทิศทางการอุดมศึกษาในยุคปฏิรูป
(
Reform in Higher Education)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การศึกษา, การปฏิรูปการศึกษา, education reform, การอุดมศึกษา, higher education, tertiary education, การศึกษาสภาพแวดล้อมระบบ, PESTEL, อนาคตศึกษา, Futurology, Pareto Principle, Iceberg Theory, การวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง, planned change, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, Human Resources Management, HRD, การพัฒนาคณาจารย์, staff development

ความนำ

บทความเรื่อง “ทิศทางการอุดมศึกษาในยุคปฏิรูป” เพื่อเป็นเอกสารประกอบการบรรยาย ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2558 เวลา 10:00-12:00 น. สำหรับภาควิชาศึกษาศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

เอกสารยังไม่มีความสมบูรณ์ แต่จะปรับปรุงอีกครั้งหลังการบรรยาย หากท่านผู้อ่านพบข้อความใดที่ไม่สมบูรณ์ หรือไม่กระจ่างพอ  ช่วยเขียนแนะนำ หรือตั้งคำถามทิ้งไว้ด้วยจะขอยคุณอย่างสูง

ประกอบ คุปรัตน์
---------------

ปัญหาของระบบการศึกษาที่จะทำให้ไม่สอดคล้องและล้าหลังสำหรับอนาคตของสังคมโลกในอีก 10 ปีข้างหน้า คือ การไม่ตอบสนองต่อกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลาย ตอบสนองเพียงเฉพาะบางกลุ่มเหล่า หรือตอบสนองมากไป จนไม่สามารถทำอะไรได้ หรือติดขัดด้วยประเพณี มีข้อจำกัดมากมายที่ทำให้ขาดความยืดหยุ่น หรือเพราะขาดความมุ่งมั่นทางการเมือง หรือขาดยุทธศาสตร์ที่จะดำเนินการ มองไม่ออกว่าจะเริ่มต้นที่ไหน อย่างไร และจะไปจบลงอย่างไร และในเงื่อนไขเวลา สถานที่ และอื่นๆอย่างไร

ในประเทศไทย ระบบการศึกษาของไทยไม่เหมือนเขาอื่น ระบบการอุดมศึกษาของไทยก็ต่างจากระบบของประเทศเพื่อนบ้าน ดังเช่น มาเลเซีย สิงค์โปร์ เวียตนาม ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม ระบบอุดมศึกษาที่ปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม (Context) ทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้มากเท่าใด ก็ทำให้การศึกษาและการอุดมศึกษาเดินไปในเส้นทางปฏิรูปแล้วในตัว

หลัก PESTLE Analysis


การสำรวจ 360 องศา ว่าในช่วง 10 ข้างหน้า จะมีอะไรบ้างในสภาพแวดล้อมที่จะมากระทบถึงการอุดมศึกษาของไทย โดยใช้หลักที่จะวิเคราะห์ 6 ด้าน คือ PESTLE

·       Politicsการเมือง, การปกครอง ของประเทศไทย ภูมิภาค โลก แนวโน้มจะเป็นเช่นไร? – และผลกระทบต่อการจัดการศึกษา, การบริหารสถาบันอุดมศึกษา ใครเป็นเจ้าของมหาวิทยาลัย (Governance of Education, Governance of Higher Education)?

·      Economicsเศรษฐกิจ, การครองชีพ, การงาน, ความสามารถในการแช่งขันของไทยในเวทีภูมิภาค และเวทีโลก

·       Societyสภาพทางสังคม ลักษณะประชากร (Demographic) อัตราการเกิด, อายุเฉลี่ยของประชากร, การเพิ่มประชากร, สัดส่วนผู้สูงวัย, การเคลื่อนย้ายประชากร เหล่านี้มีผลกระทบอย่างไรต่อการศึกษา?

·       Technologiesเทคโนโลยี – ชีวภาพ – การแพทย์ – สาธารณสุข, พลังงาน- ลม, แสงอาทิตย์, น้ำ, ชีวมวล (Biomass), สารสนเทศและการสื่อสาร, หุ่นยนต์, วัสดุศาสตร์, การขนส่งและการเดินทาง, การจัดการน้ำ ฯลฯ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นตัวอย่าง
o   ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกในปัจจุบัน 3,125 ล้านคน; ร้อยละ 48.4 อยู่ในเอเชีย
o   ประเทศที่ใช้อินเตอร์เน็ตเกินกว่าร้อยละ 90 ของประชากรเรียงลำดับ ได้แก่ Falkland Islands, Iceland, Norway, Sweden, Netherlands, Denmark, Luxembourg, South Korea, Bermuda, และ Finland; ส่วนสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 85.75
o   ประเทศไทยมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ต 17.78 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 26.5 ของประชากร จัดเป็นอันดับที่ 132 ของโลก; ประเทศมาเลเซียมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ต 19.20 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 65.8 ของประชากร จัดเป็นอันดับที่ 51 ของโลก

·       Laws/Legalกฎหมายที่เป็นกรอบของสังคมและการศึกษา ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และการเปลี่ยนแปลง, กฎหมายที่กำกับการศึกษาในปัจจุบัน มีอะไรบ้างที่จะเปลี่ยนแปลง?

·       Ecologyสภาพแวดล้อม, โลกร้อน, พลังงานที่ไม่ยั่งยืน, ป่าและแหล่งต้นนำถูกทำลาย, การเกิดและขยายตัวของชุมชนเมือง (Urbanization) น้ำทะเลขึ้นสูง, น้ำท่วมในฤดูฝน, น้ำแล้งจัดยาวนาน ฯลฯ

การจะปฏิรูประบบอุดมศึกษา ต้องมีความเข้าใจสภาพแวดล้อมของระบบในทุกด้าน เพราะไม่มีสูตรสำเร็จในการดำเนินการ

ขอบเขตของการอุดมศึกษา

เรามีความเข้าใจระบบอุดมศึกษาของไทยอย่างไร สถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง แต่ละประเภทมีสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวโน้มอย่างไร?

การจัดอย่างคร่าวๆ ของ Carnegie Classification of Institutions of Higher Education เริ่มจากในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจำแนกตามประเด็นต่อไปนี้

·       กิจกรรมวิจัย - Research activity: multiple measures – มหาวิทยาลัยวิจัย
·       สถาบันเปิดสอนระดับปริญญาโท - Master’s level institutions: differentiate มีความหลากหลาย
·       สถาบันเปิดสอนระดับปริญญาตรี - Undergraduate colleges: better language
·       สถาบันเปิดสอน 2 ปี - Two-year colleges: unpack ดังวิทยาลัยชุมชน และวิทยาลัย 2 ปีที่เรียกว่า Junior colleges
·       สถาบันเน้นวิชาชีพ/วิชาการเฉพาะ - Specialized institutions: identification

การจัดอย่างคร่าวๆในประเทศไทย

·       มหาวิทยาลัยของรัฐ - วิจัย/ มหาวิทยาลัยหลัก มหาวิทยาลัยไทยที่ก่อตั้งในยุคแรกๆ – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ม. ธรรมศาสตร์, ม. มหิดล, ม, เกษตรศาสตร์, ม. ศิลปากร ฯลฯ; มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (รวม ม. รามคำแห่ง, ม. สุโขทัยธรรมาธิราช; มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล 14 แห่ง)
·       สถาบันอุดมศึกษาเอกชน (Private higher education) มหาวิทยาลัย 43 แห่ง; สถาบัน 10 แห่ง; วิทยาลัย 20 แห่ง
·       สถาบันอุดมศึกษาเน้นสอนเฉพาะทาง (Specialized institutions of higher learning) ดังเช่น โรงเรียนทางการทหาร การสำรวจที่ดิน ป่าไม้ รถไฟ ฯลฯ
·       มหาวิทยาลัยสำหรับคนหมู่มาก (Institutions of mass higher education) อันได้แก่ – มหาวิทยาลัยราชภัฏ (40 แห่ง), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (9 แห่ง), สถาบันเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา (17-18 กลุ่ม 420 สถาบัน), มหาวิทยาลัยเปิด (2 แห่ง)

ผลกระทบหลักๆที่เกิดขึ้น สถาบันอุดมศึกษามีความหลากหลาย (Diversity) ไม่สามารถกำหนดแนวทางปฏิรูปเป็นแบบเดียวสำหรับทั้งหมด แต่หากมีการศึกษาลึกๆอย่างกว้างขวาง พอจะบอกได้ถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง แต่ละประเภท

แนวโน้มทางการศึกษา

ปัญหา ข้อจำกัด และโอกาส ที่มีส่วนสัมพันธ์กับระบบอุดมศึกษาบางประการที่จะกล่าวถึง

·       ค่าใช้จ่ายทางการศึกษา (Cost and cost effectiveness) – อนุบาล, ประถมศึกษา, มัธยมศึกษา, อุดมศึกษา
o   ความไม่ยืดหยุ่นในการใช้กำลังคน และทรัพยากรเงิน เช่นกำหนดอัตราเงินเดือนครูที่เป็น Uniform ทั่วประเทศ จบป.ตรี เริ่มต้นที่ 15,000 บาท/เดือน ผลกระทบที่ได้จะออกมาเป็นลบ ไม่เกิดผลดีต่อการศึกษาทั้งในระยะสั้นและยาว
o   แนวโน้มคือการมีสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณค่า (Value-Added Universities) และมีค่าใช้จ่ายต่อรัฐ ผู้ปกครอง และผู้เรียนต่ำ

·       การศึกษาเชิงพาณิชย์ (Commercialization of Education) การพาณิชย์ในวงการศึกษา การมองอย่างรอบคอบ
o   การทำให้ต้นทุนทางการศึกษาสูงเกิน แต่คุณภาพการศึกษาต่ำ
o   การเกิดโปรแกรมการศึกษาแบบ Diploma Mills Colleges เหมือนโรงงานผลิตปริญญาทั้งในภาครัฐและเอกชน
o   แนวโน้ม คือการขจัดการศึกษาที่ไม่เกิดคุณค่าแก่สังคม และเน้นการเพิ่มคุณค่าของการศึกษา ลดค่าใช้จ่าย

·       ปริมาณ vs. คุณภาพทางการศึกษา (Quantity vs. Quality)
o   ปัจจุบันใกล้จะเลยยุคของการมีโรงเรียนมัธยมศึกษาไม่เพียงพอ แต่ไปอยู่ที่ประเด็น “คุณภาพการศึกษา”
o   การศึกษาที่ไม่ตอบสนองต่อสังคม ปริญญามากไป แต่บัณฑิตไม่สามารถทำงานได้อย่างที่สังคมคาดหวัง

·       การศึกษาด้านการอาชีพ (Vocational education) vs. การศึกษาด้านวิชาการ (Academic education) การให้ความสำคัญต่อปริญญามากกว่าคุณค่าของการศึกษาแท้จริง แนวโน้มได้แก่
o   Result-Based Education การศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ ใช้เวลาน้อย ใช้ทุนน้อย ได้ผลตอบแทนคุ้มค่า – Business and university partnership – Honda University, Toyota Initiative, CP All กับปัญญาภิวัฒน์

·       Globalization และผลกระทบต่อการศึกษา – การอุดมศึกษา การศึกษานานาชาติ, ความร่วมมือระหว่างสถาบัน
o   การจะมีหลักสูตรนานาชาติเปิดมากขึ้น – ทั้งในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ตัวอย่าง Twinning programs ในมาเลเซีย, การเปิดวิทยาเขตของต่างประเทศในประเทศไทยมากขึ้น – การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
o   การแลกเปลี่ยนคณาจารย์ และนักศึกษา – อเมริกาเหนือ ยุโรป จีน อินเดีย ASEAN

·       ประเด็น “การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management – HRM, Human Resource Development – HRD) ความต่างจากการศึกษาและการฝึกอบรม (Education, training)

·       การศึกษาตลอดชีพ (Lifelong learning) คนไทยมีอายุยืนยาวมากขึ้น แต่แนวคิดการเกษียณอายุ และการมีสวัสดิการสังคมยังไม่สามารถจัดการได้อย่างสอดคล้อง

จะเริ่มอย่างไร

ผมอยากให้มองหาทฤษฎี หรือแนวคิดที่จะช่วยให้ความเข้าใจสภาพความเป็นไป และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น

ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง - The Iceberg Theory

การเข้าใจสภาพปัจจุบันและปัญหาของสรรพสิ่งอย่างครบถ้วนแล้วหรือยัง หรือเห็นเป็นเพียงบางส่วน?
Ernest Hemingway ในฐานะผู้สื่อข่าวและนักเขียนเรื่องสั้น เขามุ่งเขียนรายงานเฉพาะส่วนที่เห็น (Immediate events) โดยไม่มีส่วนของสภาพแวดล้อมและการตีความ เหมือนกับภูเขาน้ำแข็ง ส่วนที่คนเห็นเป็นเพียงร้อยละ 10 ส่วนที่อยู่ใต้น้ำ และเป็นอันตราย คืออีกร้อยละ 90

·       ปัญหาการศึกษาที่เราพบเห็น คือส่วนที่เป็นร้อยละ 10 แต่มีอีกมากมาย หรือร้อยละ 90 ที่เราต้องไปทำความเข้าใจส่วนที่เป็นสภาพแวดล้อม และส่วนที่เป็นสาเหตุ (Causes vs. symptoms) ไม่ใช่เห็นแต่เพียงอาการ แล้วแก้ตามอาการ

สถิติการศึกษา

เราเข้าใจสภาพประชากร สังคม และการศึกษาของไทยอย่างครบถ้วน รอบด้านหรือยัง?

ประชากรไทย 61.7 ล้านคน อันดับที่ 20 ของโลก รายได้ต่อหัว/ต่อปีเฉลี่ยที่ US$5,771 มีการสะดุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านใน ASEAN
สถานศึกษา 38,010 แห่ง; ครูอาจารย์ 692,843 คน, ร้อยละ 92 อยู่ในระบบราชการ
จำนวนนักเรียน นิสิตนักศึกษา 13.6 ล้านคน; อยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษา 12.4 ล้านคน, อุดมศึกษา 2,015,124 คน

ประเทศไทยใหญ่เกินกว่าที่จะบริหารแบบรวมศูนย์อำนาจ แต่อะไรที่ทำให้ติดยึด ไม่มีการกระจายอำนาจ และให้อำนาจแก่ท้องถิ่นดำเนินการ?

กฎ 80 - 20

กฎของพารีโต (Pareto’s Principle) Vilfredo Pareto นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาลี ในปี ค.ศ. 1896 เขียน Cours d'économie politique.

·       แผ่นดินร้อยละ 80 ในอิตาลี ถือครองโดยคนเพียงร้อยละ 20 ของประชากร
·       จากกระถางปลูกถั่วทั้งหมด ร้อยละ 80 มาจากกระถางส่วนที่มีประสิทธิผลเพียงร้อยละ 20
·       การแก้ปัญหาทางการศึกษา ต้องไปแก้ส่วนที่เป็น Vital fews ส่วนสำคัญที่จะมีผลอย่างมากต่อการศึกษา – อะไรคือ Vital fews ในทางการศึกษา?

ตัวอย่าง - การศาสนา

·       วัดรวมทั่วประเทศ 39,473 วัด; เป็นพระอารามหลวง 310 วัดวัดราษฎร์ 39,163 วัด; วิสุงคามสีมา 23,014 วัด, ไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา 16,149 วัดวัดร้าง 5,924 วัด
·       พระภิกษุ 289,131 รูป; มหานิกาย 256,590 รูป, ธรรมยุต 32,541 รูป,
·       สามเณร 60,528 รูป; มหานิกาย 53,627 รูป, ธรรมยุต 6,901 รูป
·       มัสยิดและโบสถ์ 5,361 แห่ง; มัสยิด 3,722 แห่ง, โบสถ์คริสต์ 1,615 แห่ง, คาทอลิก 472 แห่ง, โปรแตสแตนท์ 1,143 แห่ง, โบสถ์พราหมณ์-ฮินดู (ไม่มีข้อมูล) แห่ง, โบสถ์ซิกข์ 24 แห่ง
·       อิสลาม; บุคลากรด้านศาสนา 14,610 คน; อิหม่าม/ คอเต็บ/ บิหลั่น 11,166 คน
·       คริสต์ 3,444 คน, พราหมณ์-ฮินดู (ไม่มีข้อมูล) คน,
·       การศาสนศึกษา - โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ 405 โรง, ครู 4,513 รูป/คน นักเรียน 51,173 คน; โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-บาลี 10,572 - นักเรียน
·       ครู 5,000 รูป/คน, นักเรียน 2,071,719 คน
·       ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 4,059 แห่งครู 27,562 รูป/คน นักเรียน 1,118,680 คน
·       ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด 801 แห่ง; ครู 2,174 คน นักเรียน 86,912 คน

กฏเรื่องขี้ปะติ๋ว

“กฎเรื่องขี่ปะติ๋ว” ของพาร์คินสัน (Parkinson's law of triviality) หรือ Bike-shed effect C. โดย Northcote Parkinson ในปี ค.ศ. 1957 ให้ข้อสังเกตว่า องค์การมักให้ความสำคัญกับเรื่องที่ไม่สำคัญ ดังเช่น การอภิปรายกันมากมายในเรื่องเล็กน้อย ดังเช่น การจัดทำร่มหลังคาสำหรับที่จอดรถจักรยาน แทนที่จะสนใจเรื่องใหญ่ คือ การสร้างระบบโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ ที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและสำคัญมาก แต่คนส่วนใหญ่ไม่มีพื้นฐาน

อะไรที่สำคัญ และควรทำก่อน

ข้อสังเกตเพื่อการศึกษาและวางแผนการเปลี่ยนแปลงระบบอุดมศึกษาไทยในบางเรื่อง มีดังนี้

1.    Pareto Principle - การจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง อะไรเป็นส่วนน้อย (Vital fews) ที่มีผลกระทบต่อส่วนใหญ่ เลือกทำในส่วนที่สำคัญร้อยละ 20 แต่มีผลกระทบต่อ 80

2.    การปฏิรูปที่ต้องลงถึงฐานราก (Grass-rooted changes) การปรับเปลี่ยนการศึกษา และระบบจัดการศึกษา – กระบวนการทำให้การศึกษาเป็นของประชาชน และท้องถิ่น จากเบื้องล่างสู่เบื้องบน และการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว
a.    คิดแบบเจ๊ก คิดจากเล็กไปหาใหญ่ – คิดแบบไทย คิดจากใหญ่ไปหาเล็ก – ศ.นพ. ประเวศ วะสี
b.    การปล่อยให้เกิดโครงการเล็กๆ (Pilot projects) หรือโครงการต้นแบบ ที่คนจะได้มีอิสระในการคิดและดำเนินการ โดยไม่ปล่อยให้กฎเกณฑ์ของส่วนใหญ่ไปขัดโอกาสการเปลี่ยนแปลง

3.    จากเน้นการสอน สู่เน้นกระบวนการเรียนรู้ (Teaching focus to Learning focus)
a.    เน้นเสริมความสามารถและแรงจูงใจ (Motivation) ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่วนบทบาทผู้สอนเปลี่ยนเป็น Facilitators – ความรู้ผู้เรียนสามารถแสวงหาได้ง่ายและมีมากมาย
b.    เทคโนโลยีการประเมิน – การริเริ่ม เรื่อง Testing Technologies, Internet-Based Testing – IBT, การใช้กรอบการประเมินทักษะด้านภาษาของ EU The Common European Framework of Reference for Languages: Learning, Teaching, Assessment - CEFR or CEF, is a guideline used to describe achievements of learners of foreign languages across Europe and, increasingly, in other countries.
c.    การเรียนการสอนออนไลน์แบบประสม (Blended learning) การเรียนรู้ในระบบออนไลน์แบบประสมประสานกับการเรียนในชั้นเรียนและอื่นๆ สามารถเกิดขึ้นได้ในสถาบันอุดมศึกษา

4.    การปรับโครงสร้าง (Restructuring) ของหน่วยงานที่ทำให้ทำงานกับปัญหาได้ตรงตามวัตถุประสงค์

a.    ความสับสนที่ควบคู่กับความมีระเบียบ (Chaordic = Chaos + Order) การยอมรับความสับสนในบางช่วง แม้ยังอธิบายไม่ได้ เมื่อเข้าใจได้มากขึ้น เกิดการพัฒนาที่เป็นรูปเป็นร่างแล้ว ต่อยไปวางกฎเกณฑ์ขึ้นในภายหลัง
ความเป็นผู้นำ ไม่ใช่เพียงบริหารและควบคุมคนเบื้องล่าง แต่รวมไปถึงการบริหารคนระดับสูงขึ้นไป คนที่บังคับบัญชาตน หรือที่เรียกว่า Managing The Boss - MTB
b.    หลักความหลากหลาย และการแข่งขัน (Diversity and competition) ดูเหมือนสองสิ่งเป็นคนละขั้วกัน แต่ต้องทำให้สองสิ่งนี้เกิดขึ้นและคงอยู่
c.    การแข่งขันที่ควบคู่กับความร่วมมือ (Competition and Collaboration) ตัวอย่างในภาคธุรกิจ มีทั้งการแข่งขัน และความร่วมมือ
มีการซื้อและยุบรวมธุรกิจ (Merging) แต่แล้วจะให้เกิดความก้าวหน้า ก็ต้องมีความร่วมมือกัน ซึ่งส่วนนี้ ภาครัฐบาลอาจต้องเป็นส่วนเข้าแทรกแซงเพื่อให้เกิด
มีการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย (Networking) ดังเช่น ระบบการวัดผลทางการศึกษา ระบบ Certification ทางการศึกษา
d.    เรื่องของการจัดโครงสร้างทางวิชาการ ของสถาบันอุดมศึกษาจาก Disciplinary สู่ Interdisciplinary การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ต้องใช้สหวิทยาการ ต้องใช้คนจากหลากหลายความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ซึ่งมีวัฒนธรรมดั่งเดิมที่ต่างกัน

5.    การเปลี่ยนแปลงมักเกิดจากภายนอก - Change is from outside. - Obama: 'You can't change Washington from the inside' (2012)

a.    การได้มาซึ่งผู้บริหาร กรรมการมหาวิทยาลัย มักมาจากภายใน การคิดอย่างเป็นอย่างเป็นคนภายใน (Insiders) มีปัญหาเรื่อง Inbreeding ทำให้เป็นอุปสรรคเสื่อมถอยและการไม่เปลี่ยนแปลง
b.    ระบบการเมืองภายในมหาวิทยาลัย การเลือกตั้งในมหาวิทยาลัย มากที่สุดที่ม.รามคำแหง และที่อื่นๆ ลดหลั่นกันไป ทำให้เกิดความขัดแย้งภายใน นำไปสู่ความชะงักงันทางการบริหาร

อะไรสำคัญที่สุด

กิจกรรมสำคัญ 3 ประการที่อยากฝากไว้ในท้ายสุด

1.    การพัฒนาคณาจารย์ (Faculty Development) ในระบบอุดมศึกษา การทำให้มีบุคลากรที่มีความหลากหลาย กิจกรรมนี้ให้เกิดขึ้นได้ ทั้งในแต่ละสถาบัน กลุ่มสถาบัน หรือมหาวิทยาลัยหลัก กับสถาบันอุดมศึกษาระดับรองลงมา ทั้งในระดับภูมิภาค และในระดับชาติ

2.    การพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา (Leadership training) การสรรหา การคัดเลือก และการพัฒนา สร้างคนที่บริหารเป็น (Managing) และมีความเป็นผู้นำ (Leadership) ให้เกิดขึ้นในระบบอุดมศึกษา


3.    การพัฒนากระบวนการสรรหาและการได้มาของกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา (Board of Regents/Overseers) เน้นความเป็นคนภายนอกมากขึ้น มีกระบวนการสร้างองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในบรรดากรรมการสภาสถาบัน รู้บทบาทหน้าที่ของกรรมการสภาฯ