Tuesday, May 19, 2015

ทิศทางการอุดมศึกษาในยุคปฏิรูป (Reform in Higher Education)

ทิศทางการอุดมศึกษาในยุคปฏิรูป
(
Reform in Higher Education)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การศึกษา, การปฏิรูปการศึกษา, education reform, การอุดมศึกษา, higher education, tertiary education, การศึกษาสภาพแวดล้อมระบบ, PESTEL, อนาคตศึกษา, Futurology, Pareto Principle, Iceberg Theory, การวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง, planned change, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, Human Resources Management, HRD, การพัฒนาคณาจารย์, staff development

ความนำ

บทความเรื่อง “ทิศทางการอุดมศึกษาในยุคปฏิรูป” เพื่อเป็นเอกสารประกอบการบรรยาย ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2558 เวลา 10:00-12:00 น. สำหรับภาควิชาศึกษาศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

เอกสารยังไม่มีความสมบูรณ์ แต่จะปรับปรุงอีกครั้งหลังการบรรยาย หากท่านผู้อ่านพบข้อความใดที่ไม่สมบูรณ์ หรือไม่กระจ่างพอ  ช่วยเขียนแนะนำ หรือตั้งคำถามทิ้งไว้ด้วยจะขอยคุณอย่างสูง

ประกอบ คุปรัตน์
---------------

ปัญหาของระบบการศึกษาที่จะทำให้ไม่สอดคล้องและล้าหลังสำหรับอนาคตของสังคมโลกในอีก 10 ปีข้างหน้า คือ การไม่ตอบสนองต่อกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลาย ตอบสนองเพียงเฉพาะบางกลุ่มเหล่า หรือตอบสนองมากไป จนไม่สามารถทำอะไรได้ หรือติดขัดด้วยประเพณี มีข้อจำกัดมากมายที่ทำให้ขาดความยืดหยุ่น หรือเพราะขาดความมุ่งมั่นทางการเมือง หรือขาดยุทธศาสตร์ที่จะดำเนินการ มองไม่ออกว่าจะเริ่มต้นที่ไหน อย่างไร และจะไปจบลงอย่างไร และในเงื่อนไขเวลา สถานที่ และอื่นๆอย่างไร

ในประเทศไทย ระบบการศึกษาของไทยไม่เหมือนเขาอื่น ระบบการอุดมศึกษาของไทยก็ต่างจากระบบของประเทศเพื่อนบ้าน ดังเช่น มาเลเซีย สิงค์โปร์ เวียตนาม ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม ระบบอุดมศึกษาที่ปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม (Context) ทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้มากเท่าใด ก็ทำให้การศึกษาและการอุดมศึกษาเดินไปในเส้นทางปฏิรูปแล้วในตัว

หลัก PESTLE Analysis


การสำรวจ 360 องศา ว่าในช่วง 10 ข้างหน้า จะมีอะไรบ้างในสภาพแวดล้อมที่จะมากระทบถึงการอุดมศึกษาของไทย โดยใช้หลักที่จะวิเคราะห์ 6 ด้าน คือ PESTLE

·       Politicsการเมือง, การปกครอง ของประเทศไทย ภูมิภาค โลก แนวโน้มจะเป็นเช่นไร? – และผลกระทบต่อการจัดการศึกษา, การบริหารสถาบันอุดมศึกษา ใครเป็นเจ้าของมหาวิทยาลัย (Governance of Education, Governance of Higher Education)?

·      Economicsเศรษฐกิจ, การครองชีพ, การงาน, ความสามารถในการแช่งขันของไทยในเวทีภูมิภาค และเวทีโลก

·       Societyสภาพทางสังคม ลักษณะประชากร (Demographic) อัตราการเกิด, อายุเฉลี่ยของประชากร, การเพิ่มประชากร, สัดส่วนผู้สูงวัย, การเคลื่อนย้ายประชากร เหล่านี้มีผลกระทบอย่างไรต่อการศึกษา?

·       Technologiesเทคโนโลยี – ชีวภาพ – การแพทย์ – สาธารณสุข, พลังงาน- ลม, แสงอาทิตย์, น้ำ, ชีวมวล (Biomass), สารสนเทศและการสื่อสาร, หุ่นยนต์, วัสดุศาสตร์, การขนส่งและการเดินทาง, การจัดการน้ำ ฯลฯ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นตัวอย่าง
o   ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกในปัจจุบัน 3,125 ล้านคน; ร้อยละ 48.4 อยู่ในเอเชีย
o   ประเทศที่ใช้อินเตอร์เน็ตเกินกว่าร้อยละ 90 ของประชากรเรียงลำดับ ได้แก่ Falkland Islands, Iceland, Norway, Sweden, Netherlands, Denmark, Luxembourg, South Korea, Bermuda, และ Finland; ส่วนสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 85.75
o   ประเทศไทยมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ต 17.78 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 26.5 ของประชากร จัดเป็นอันดับที่ 132 ของโลก; ประเทศมาเลเซียมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ต 19.20 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 65.8 ของประชากร จัดเป็นอันดับที่ 51 ของโลก

·       Laws/Legalกฎหมายที่เป็นกรอบของสังคมและการศึกษา ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และการเปลี่ยนแปลง, กฎหมายที่กำกับการศึกษาในปัจจุบัน มีอะไรบ้างที่จะเปลี่ยนแปลง?

·       Ecologyสภาพแวดล้อม, โลกร้อน, พลังงานที่ไม่ยั่งยืน, ป่าและแหล่งต้นนำถูกทำลาย, การเกิดและขยายตัวของชุมชนเมือง (Urbanization) น้ำทะเลขึ้นสูง, น้ำท่วมในฤดูฝน, น้ำแล้งจัดยาวนาน ฯลฯ

การจะปฏิรูประบบอุดมศึกษา ต้องมีความเข้าใจสภาพแวดล้อมของระบบในทุกด้าน เพราะไม่มีสูตรสำเร็จในการดำเนินการ

ขอบเขตของการอุดมศึกษา

เรามีความเข้าใจระบบอุดมศึกษาของไทยอย่างไร สถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง แต่ละประเภทมีสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวโน้มอย่างไร?

การจัดอย่างคร่าวๆ ของ Carnegie Classification of Institutions of Higher Education เริ่มจากในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจำแนกตามประเด็นต่อไปนี้

·       กิจกรรมวิจัย - Research activity: multiple measures – มหาวิทยาลัยวิจัย
·       สถาบันเปิดสอนระดับปริญญาโท - Master’s level institutions: differentiate มีความหลากหลาย
·       สถาบันเปิดสอนระดับปริญญาตรี - Undergraduate colleges: better language
·       สถาบันเปิดสอน 2 ปี - Two-year colleges: unpack ดังวิทยาลัยชุมชน และวิทยาลัย 2 ปีที่เรียกว่า Junior colleges
·       สถาบันเน้นวิชาชีพ/วิชาการเฉพาะ - Specialized institutions: identification

การจัดอย่างคร่าวๆในประเทศไทย

·       มหาวิทยาลัยของรัฐ - วิจัย/ มหาวิทยาลัยหลัก มหาวิทยาลัยไทยที่ก่อตั้งในยุคแรกๆ – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ม. ธรรมศาสตร์, ม. มหิดล, ม, เกษตรศาสตร์, ม. ศิลปากร ฯลฯ; มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (รวม ม. รามคำแห่ง, ม. สุโขทัยธรรมาธิราช; มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล 14 แห่ง)
·       สถาบันอุดมศึกษาเอกชน (Private higher education) มหาวิทยาลัย 43 แห่ง; สถาบัน 10 แห่ง; วิทยาลัย 20 แห่ง
·       สถาบันอุดมศึกษาเน้นสอนเฉพาะทาง (Specialized institutions of higher learning) ดังเช่น โรงเรียนทางการทหาร การสำรวจที่ดิน ป่าไม้ รถไฟ ฯลฯ
·       มหาวิทยาลัยสำหรับคนหมู่มาก (Institutions of mass higher education) อันได้แก่ – มหาวิทยาลัยราชภัฏ (40 แห่ง), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (9 แห่ง), สถาบันเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา (17-18 กลุ่ม 420 สถาบัน), มหาวิทยาลัยเปิด (2 แห่ง)

ผลกระทบหลักๆที่เกิดขึ้น สถาบันอุดมศึกษามีความหลากหลาย (Diversity) ไม่สามารถกำหนดแนวทางปฏิรูปเป็นแบบเดียวสำหรับทั้งหมด แต่หากมีการศึกษาลึกๆอย่างกว้างขวาง พอจะบอกได้ถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง แต่ละประเภท

แนวโน้มทางการศึกษา

ปัญหา ข้อจำกัด และโอกาส ที่มีส่วนสัมพันธ์กับระบบอุดมศึกษาบางประการที่จะกล่าวถึง

·       ค่าใช้จ่ายทางการศึกษา (Cost and cost effectiveness) – อนุบาล, ประถมศึกษา, มัธยมศึกษา, อุดมศึกษา
o   ความไม่ยืดหยุ่นในการใช้กำลังคน และทรัพยากรเงิน เช่นกำหนดอัตราเงินเดือนครูที่เป็น Uniform ทั่วประเทศ จบป.ตรี เริ่มต้นที่ 15,000 บาท/เดือน ผลกระทบที่ได้จะออกมาเป็นลบ ไม่เกิดผลดีต่อการศึกษาทั้งในระยะสั้นและยาว
o   แนวโน้มคือการมีสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณค่า (Value-Added Universities) และมีค่าใช้จ่ายต่อรัฐ ผู้ปกครอง และผู้เรียนต่ำ

·       การศึกษาเชิงพาณิชย์ (Commercialization of Education) การพาณิชย์ในวงการศึกษา การมองอย่างรอบคอบ
o   การทำให้ต้นทุนทางการศึกษาสูงเกิน แต่คุณภาพการศึกษาต่ำ
o   การเกิดโปรแกรมการศึกษาแบบ Diploma Mills Colleges เหมือนโรงงานผลิตปริญญาทั้งในภาครัฐและเอกชน
o   แนวโน้ม คือการขจัดการศึกษาที่ไม่เกิดคุณค่าแก่สังคม และเน้นการเพิ่มคุณค่าของการศึกษา ลดค่าใช้จ่าย

·       ปริมาณ vs. คุณภาพทางการศึกษา (Quantity vs. Quality)
o   ปัจจุบันใกล้จะเลยยุคของการมีโรงเรียนมัธยมศึกษาไม่เพียงพอ แต่ไปอยู่ที่ประเด็น “คุณภาพการศึกษา”
o   การศึกษาที่ไม่ตอบสนองต่อสังคม ปริญญามากไป แต่บัณฑิตไม่สามารถทำงานได้อย่างที่สังคมคาดหวัง

·       การศึกษาด้านการอาชีพ (Vocational education) vs. การศึกษาด้านวิชาการ (Academic education) การให้ความสำคัญต่อปริญญามากกว่าคุณค่าของการศึกษาแท้จริง แนวโน้มได้แก่
o   Result-Based Education การศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ ใช้เวลาน้อย ใช้ทุนน้อย ได้ผลตอบแทนคุ้มค่า – Business and university partnership – Honda University, Toyota Initiative, CP All กับปัญญาภิวัฒน์

·       Globalization และผลกระทบต่อการศึกษา – การอุดมศึกษา การศึกษานานาชาติ, ความร่วมมือระหว่างสถาบัน
o   การจะมีหลักสูตรนานาชาติเปิดมากขึ้น – ทั้งในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ตัวอย่าง Twinning programs ในมาเลเซีย, การเปิดวิทยาเขตของต่างประเทศในประเทศไทยมากขึ้น – การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
o   การแลกเปลี่ยนคณาจารย์ และนักศึกษา – อเมริกาเหนือ ยุโรป จีน อินเดีย ASEAN

·       ประเด็น “การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management – HRM, Human Resource Development – HRD) ความต่างจากการศึกษาและการฝึกอบรม (Education, training)

·       การศึกษาตลอดชีพ (Lifelong learning) คนไทยมีอายุยืนยาวมากขึ้น แต่แนวคิดการเกษียณอายุ และการมีสวัสดิการสังคมยังไม่สามารถจัดการได้อย่างสอดคล้อง

จะเริ่มอย่างไร

ผมอยากให้มองหาทฤษฎี หรือแนวคิดที่จะช่วยให้ความเข้าใจสภาพความเป็นไป และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น

ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง - The Iceberg Theory

การเข้าใจสภาพปัจจุบันและปัญหาของสรรพสิ่งอย่างครบถ้วนแล้วหรือยัง หรือเห็นเป็นเพียงบางส่วน?
Ernest Hemingway ในฐานะผู้สื่อข่าวและนักเขียนเรื่องสั้น เขามุ่งเขียนรายงานเฉพาะส่วนที่เห็น (Immediate events) โดยไม่มีส่วนของสภาพแวดล้อมและการตีความ เหมือนกับภูเขาน้ำแข็ง ส่วนที่คนเห็นเป็นเพียงร้อยละ 10 ส่วนที่อยู่ใต้น้ำ และเป็นอันตราย คืออีกร้อยละ 90

·       ปัญหาการศึกษาที่เราพบเห็น คือส่วนที่เป็นร้อยละ 10 แต่มีอีกมากมาย หรือร้อยละ 90 ที่เราต้องไปทำความเข้าใจส่วนที่เป็นสภาพแวดล้อม และส่วนที่เป็นสาเหตุ (Causes vs. symptoms) ไม่ใช่เห็นแต่เพียงอาการ แล้วแก้ตามอาการ

สถิติการศึกษา

เราเข้าใจสภาพประชากร สังคม และการศึกษาของไทยอย่างครบถ้วน รอบด้านหรือยัง?

ประชากรไทย 61.7 ล้านคน อันดับที่ 20 ของโลก รายได้ต่อหัว/ต่อปีเฉลี่ยที่ US$5,771 มีการสะดุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านใน ASEAN
สถานศึกษา 38,010 แห่ง; ครูอาจารย์ 692,843 คน, ร้อยละ 92 อยู่ในระบบราชการ
จำนวนนักเรียน นิสิตนักศึกษา 13.6 ล้านคน; อยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษา 12.4 ล้านคน, อุดมศึกษา 2,015,124 คน

ประเทศไทยใหญ่เกินกว่าที่จะบริหารแบบรวมศูนย์อำนาจ แต่อะไรที่ทำให้ติดยึด ไม่มีการกระจายอำนาจ และให้อำนาจแก่ท้องถิ่นดำเนินการ?

กฎ 80 - 20

กฎของพารีโต (Pareto’s Principle) Vilfredo Pareto นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาลี ในปี ค.ศ. 1896 เขียน Cours d'économie politique.

·       แผ่นดินร้อยละ 80 ในอิตาลี ถือครองโดยคนเพียงร้อยละ 20 ของประชากร
·       จากกระถางปลูกถั่วทั้งหมด ร้อยละ 80 มาจากกระถางส่วนที่มีประสิทธิผลเพียงร้อยละ 20
·       การแก้ปัญหาทางการศึกษา ต้องไปแก้ส่วนที่เป็น Vital fews ส่วนสำคัญที่จะมีผลอย่างมากต่อการศึกษา – อะไรคือ Vital fews ในทางการศึกษา?

ตัวอย่าง - การศาสนา

·       วัดรวมทั่วประเทศ 39,473 วัด; เป็นพระอารามหลวง 310 วัดวัดราษฎร์ 39,163 วัด; วิสุงคามสีมา 23,014 วัด, ไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา 16,149 วัดวัดร้าง 5,924 วัด
·       พระภิกษุ 289,131 รูป; มหานิกาย 256,590 รูป, ธรรมยุต 32,541 รูป,
·       สามเณร 60,528 รูป; มหานิกาย 53,627 รูป, ธรรมยุต 6,901 รูป
·       มัสยิดและโบสถ์ 5,361 แห่ง; มัสยิด 3,722 แห่ง, โบสถ์คริสต์ 1,615 แห่ง, คาทอลิก 472 แห่ง, โปรแตสแตนท์ 1,143 แห่ง, โบสถ์พราหมณ์-ฮินดู (ไม่มีข้อมูล) แห่ง, โบสถ์ซิกข์ 24 แห่ง
·       อิสลาม; บุคลากรด้านศาสนา 14,610 คน; อิหม่าม/ คอเต็บ/ บิหลั่น 11,166 คน
·       คริสต์ 3,444 คน, พราหมณ์-ฮินดู (ไม่มีข้อมูล) คน,
·       การศาสนศึกษา - โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ 405 โรง, ครู 4,513 รูป/คน นักเรียน 51,173 คน; โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-บาลี 10,572 - นักเรียน
·       ครู 5,000 รูป/คน, นักเรียน 2,071,719 คน
·       ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 4,059 แห่งครู 27,562 รูป/คน นักเรียน 1,118,680 คน
·       ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด 801 แห่ง; ครู 2,174 คน นักเรียน 86,912 คน

กฏเรื่องขี้ปะติ๋ว

“กฎเรื่องขี่ปะติ๋ว” ของพาร์คินสัน (Parkinson's law of triviality) หรือ Bike-shed effect C. โดย Northcote Parkinson ในปี ค.ศ. 1957 ให้ข้อสังเกตว่า องค์การมักให้ความสำคัญกับเรื่องที่ไม่สำคัญ ดังเช่น การอภิปรายกันมากมายในเรื่องเล็กน้อย ดังเช่น การจัดทำร่มหลังคาสำหรับที่จอดรถจักรยาน แทนที่จะสนใจเรื่องใหญ่ คือ การสร้างระบบโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ ที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและสำคัญมาก แต่คนส่วนใหญ่ไม่มีพื้นฐาน

อะไรที่สำคัญ และควรทำก่อน

ข้อสังเกตเพื่อการศึกษาและวางแผนการเปลี่ยนแปลงระบบอุดมศึกษาไทยในบางเรื่อง มีดังนี้

1.    Pareto Principle - การจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง อะไรเป็นส่วนน้อย (Vital fews) ที่มีผลกระทบต่อส่วนใหญ่ เลือกทำในส่วนที่สำคัญร้อยละ 20 แต่มีผลกระทบต่อ 80

2.    การปฏิรูปที่ต้องลงถึงฐานราก (Grass-rooted changes) การปรับเปลี่ยนการศึกษา และระบบจัดการศึกษา – กระบวนการทำให้การศึกษาเป็นของประชาชน และท้องถิ่น จากเบื้องล่างสู่เบื้องบน และการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว
a.    คิดแบบเจ๊ก คิดจากเล็กไปหาใหญ่ – คิดแบบไทย คิดจากใหญ่ไปหาเล็ก – ศ.นพ. ประเวศ วะสี
b.    การปล่อยให้เกิดโครงการเล็กๆ (Pilot projects) หรือโครงการต้นแบบ ที่คนจะได้มีอิสระในการคิดและดำเนินการ โดยไม่ปล่อยให้กฎเกณฑ์ของส่วนใหญ่ไปขัดโอกาสการเปลี่ยนแปลง

3.    จากเน้นการสอน สู่เน้นกระบวนการเรียนรู้ (Teaching focus to Learning focus)
a.    เน้นเสริมความสามารถและแรงจูงใจ (Motivation) ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่วนบทบาทผู้สอนเปลี่ยนเป็น Facilitators – ความรู้ผู้เรียนสามารถแสวงหาได้ง่ายและมีมากมาย
b.    เทคโนโลยีการประเมิน – การริเริ่ม เรื่อง Testing Technologies, Internet-Based Testing – IBT, การใช้กรอบการประเมินทักษะด้านภาษาของ EU The Common European Framework of Reference for Languages: Learning, Teaching, Assessment - CEFR or CEF, is a guideline used to describe achievements of learners of foreign languages across Europe and, increasingly, in other countries.
c.    การเรียนการสอนออนไลน์แบบประสม (Blended learning) การเรียนรู้ในระบบออนไลน์แบบประสมประสานกับการเรียนในชั้นเรียนและอื่นๆ สามารถเกิดขึ้นได้ในสถาบันอุดมศึกษา

4.    การปรับโครงสร้าง (Restructuring) ของหน่วยงานที่ทำให้ทำงานกับปัญหาได้ตรงตามวัตถุประสงค์

a.    ความสับสนที่ควบคู่กับความมีระเบียบ (Chaordic = Chaos + Order) การยอมรับความสับสนในบางช่วง แม้ยังอธิบายไม่ได้ เมื่อเข้าใจได้มากขึ้น เกิดการพัฒนาที่เป็นรูปเป็นร่างแล้ว ต่อยไปวางกฎเกณฑ์ขึ้นในภายหลัง
ความเป็นผู้นำ ไม่ใช่เพียงบริหารและควบคุมคนเบื้องล่าง แต่รวมไปถึงการบริหารคนระดับสูงขึ้นไป คนที่บังคับบัญชาตน หรือที่เรียกว่า Managing The Boss - MTB
b.    หลักความหลากหลาย และการแข่งขัน (Diversity and competition) ดูเหมือนสองสิ่งเป็นคนละขั้วกัน แต่ต้องทำให้สองสิ่งนี้เกิดขึ้นและคงอยู่
c.    การแข่งขันที่ควบคู่กับความร่วมมือ (Competition and Collaboration) ตัวอย่างในภาคธุรกิจ มีทั้งการแข่งขัน และความร่วมมือ
มีการซื้อและยุบรวมธุรกิจ (Merging) แต่แล้วจะให้เกิดความก้าวหน้า ก็ต้องมีความร่วมมือกัน ซึ่งส่วนนี้ ภาครัฐบาลอาจต้องเป็นส่วนเข้าแทรกแซงเพื่อให้เกิด
มีการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย (Networking) ดังเช่น ระบบการวัดผลทางการศึกษา ระบบ Certification ทางการศึกษา
d.    เรื่องของการจัดโครงสร้างทางวิชาการ ของสถาบันอุดมศึกษาจาก Disciplinary สู่ Interdisciplinary การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ต้องใช้สหวิทยาการ ต้องใช้คนจากหลากหลายความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ซึ่งมีวัฒนธรรมดั่งเดิมที่ต่างกัน

5.    การเปลี่ยนแปลงมักเกิดจากภายนอก - Change is from outside. - Obama: 'You can't change Washington from the inside' (2012)

a.    การได้มาซึ่งผู้บริหาร กรรมการมหาวิทยาลัย มักมาจากภายใน การคิดอย่างเป็นอย่างเป็นคนภายใน (Insiders) มีปัญหาเรื่อง Inbreeding ทำให้เป็นอุปสรรคเสื่อมถอยและการไม่เปลี่ยนแปลง
b.    ระบบการเมืองภายในมหาวิทยาลัย การเลือกตั้งในมหาวิทยาลัย มากที่สุดที่ม.รามคำแหง และที่อื่นๆ ลดหลั่นกันไป ทำให้เกิดความขัดแย้งภายใน นำไปสู่ความชะงักงันทางการบริหาร

อะไรสำคัญที่สุด

กิจกรรมสำคัญ 3 ประการที่อยากฝากไว้ในท้ายสุด

1.    การพัฒนาคณาจารย์ (Faculty Development) ในระบบอุดมศึกษา การทำให้มีบุคลากรที่มีความหลากหลาย กิจกรรมนี้ให้เกิดขึ้นได้ ทั้งในแต่ละสถาบัน กลุ่มสถาบัน หรือมหาวิทยาลัยหลัก กับสถาบันอุดมศึกษาระดับรองลงมา ทั้งในระดับภูมิภาค และในระดับชาติ

2.    การพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา (Leadership training) การสรรหา การคัดเลือก และการพัฒนา สร้างคนที่บริหารเป็น (Managing) และมีความเป็นผู้นำ (Leadership) ให้เกิดขึ้นในระบบอุดมศึกษา


3.    การพัฒนากระบวนการสรรหาและการได้มาของกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา (Board of Regents/Overseers) เน้นความเป็นคนภายนอกมากขึ้น มีกระบวนการสร้างองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในบรรดากรรมการสภาสถาบัน รู้บทบาทหน้าที่ของกรรมการสภาฯ

No comments:

Post a Comment