ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
Keywords: ประเทศอินเดีย, รัฐมณีปุระ (Manipur State, India), สถานที่ท่องเที่ยว, Loktak Lake, Imphal
ภาพ ร้านกาแฟที่ตั้งอยู่บนเกาะลอยน้ำ ที่เกิดจากหญ้าหนาที่เกาะตัวกันมากจนสามารถสร้างร้านกาแฟ บนสิ่งก่อสร้างบนแผงใบไม้และวัจจพืชที่หนาและแน่นที่ลอยน้ำนี้ได้ ภาพมองจากเบื้องบน ถ่ายจากเกาะเซนดร้า (Sendra Island)
ทะเลสาบลอกตัก (Loktak Lake) ห่างจากเมืองอิมฟาล (Imphal) เมืองหลวงของรัฐมณีปุระ 48 กิโลเมตร ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐพี่น้องทั้งเจ็ดที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ทะเลสาบจะมีเกาะที่เป็นวัจจพืชหนาที่เกาะตัวกันลอยเป็นเกาะไปทั่ว บริเวณทะเลสาบเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอาหารโปรตีนสำคัญของเมือง บริเวณนี้ เมื่อรัฐมณีปุระที่เคยมีการต่อสู้เพื่อความเป็นอิสระ ได้เข้าสู่ความสงบ ก็จะกลายเป็นแหล่งที่จะพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศและสถานที่พักผ่อนตากอากาศ จุดเด่นของทะเลสาบคือมีอากาศเย็นสบาย มีลมพัดแรง ทำให้แม้แต่ฤดูร้อน อากาศก็ยังเย็นสบาย มีช่วงที่ฤดูร้อน อากาศร้อนเกิน 30 C เพียงไม่ถึง 3 ชั่วโมงต่อวัน
ลักษณะของ “เกาะลอยน้ำ” (Floating islands) นี้ ยังคุยกันอยู่ว่า ควรจะรักษาหรือไม่อย่างไร บางส่วนมองว่า เห็นควรกำจัดออกเสียทั้งหมด เพราะหากปล่อยไป มันก็จะยิ่งเติบโตขยายจนเต็มทะเลสาบ บดบังทัศนียภาพอันสวยงาม และพื้นน้ำไม่เปิดช่องให้มีช่องลมให้อากาศเติมออกซิเจนให้กับน้ำ ทำให้ไม่เป็นผลดีต่อสัตว์น้ำ ทำให้เกิดน้ำนิ่งและน้ำเน่า แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีความแปลกและสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง ทางออกอาจเป็นให้มีการสงวนเกาะลอยน้ำไว้บางส่วน แต่ส่วนใหญ่จะต้องเก็บกวาดออกจากท้องน้ำในทะเลสาบ ทำให้สะดวกต่อการท่องเที่ยวไปตามน้ำด้วยเรือขนาดเล็กและกลาง
ข้อมูลเกี่ยวกับทะเลสาบ
ทะเลสาบมีสถานที่ตั้ง (Location) อยู่ในรัฐมณีปุระ (Manipur) หรือในบริเวณ (Coordinates) ค้นหาได้ในระบบ GPS ที่ 24°33′N 93°47′E Coordinates: 24°33′N 93°47′E เป็นทะเลสาบน้ำจืด (Fresh water หรือ lentic) มีแหล่งน้ำที่ไหลมาจาก แม้นำมณีปุระ (Manipur river) และสายน้ำย่อยอื่นๆ (small rivulets) ส่วนน้ำที่ไหลออกไปจากทะเลสาบ จะใช้ในการผลิตไฟฟ้า ส่งเข้าสู่ระบบชลประทาน และเป็นน้ำกินน้ำใช้ให้กับชาวเมือง
ทะเลสาบลอกตัก มีพื้นที่รับน้ำ (Catchment area) 980 ตารางกิโลเมตร (km2) ในยามน้ำหลาก มีความยาวของทะเลสาบสูงสุด (Max. length) ที่ 35 กิโลเมตร (km) มีความกว้างสูงสุดเมื่อน้ำหลากในฤดูฝน (Max. width) 13 กิโลเมตร (km) มีความลึกเฉลี่ย (Average depth) 2.7 เมตร หรือ 8.9 ฟุต มีความลึกสูงสุด (Max. depth) 4.6 เมตร บริเวณทะเลสาบ (Surface elevation) อยู่เหนือระดับน้ำทะเลที่ 768.5 เมตร
มีเกาะในบริเวณทะเลสาบ (Islands) คือ เกาะทังกา ( Thanga), อิทิง (Ithing), เซนดร้า (Sendra) และเกาะ ภูบา (Phuba islands) นอกจากนี้ยังมีเกาะที่เกิดจากวัจจพืชลอยน้ำที่ทั้งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ และคนทำ รวบกันทำเป็นเกาะหญ้าลอยน้ำ (floating islands) ที่เขาเรียกว่า ภุมดิส (Phumdis) หรือภุมชอง (Phumshongs)
ภาพ กวางชังไก (Sangai) เป็นกวางในตระกูล Eld's Deer ที่พบในบริเวณทะเลสาบ ชาวบ้านเรียกกันว่า “กวางเต้นรำ” (Dancing deer) เพราะเมื่อมันเคลื่อนตัวไปตามเกาะหญ้าลอยน้ำมันจะกระโดดลอยตัวไปเป็นจังหวะๆ จัดเป็นสัตว์หายากและใกล้สูญพันธุ์
ภาพ ภาพชะนีฮูลอค (Hoolock Gibbon) พบในบริเวณทะเลสาบ ในบริเวณอุทธยานแห่งชาติไคบุล แลมโจ (Keibul Lamjo National Park)
No comments:
Post a Comment