กรณีศึกษา –นักศึกษาถูกคัดชื่อออก
Keywords: การอุดมศึกษา, higher
education, การอาชีพ, vocation, การศึกษาต่อ, contiueing
education, การแนะแนว, guidance and counseling
กรณีศึกษา
ภาพ การศึกษาในโลกของงานยุคใหม่
นักศึกษาคนหนึ่ง เรียนจบปกศ. (ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง)
แล้วจึงโอนย้ายเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเอกชนใกล้บ้านแห่งหนึ่ง
มหาวิทยาลัยแนะนำให้เรียนสายวิชาหนึ่งที่ดูแล้วสูงเกินไป
มีความเป็นนามธรรมเกินไปสำหรับปริญญาตรี เรียนไปได้ 1 ปี
ปรากฏว่าได้คะแนนเฉลี่ย 1.1 และถูกคัดชื่อออก (Retired) พ่อแม่เขาทราบเรื่องมีปัญหาร้อนใจจึงขอคำปรึกษาจากผม
ผมได้พูดคุยกับทั้งผู้เรียนและกับพ่อแม่ ทราบว่า
นักศึกษาใช้เวลา 1 ปีในการเรียน คิดค่าใช้จ่าย ค่าเล่าเรียน
ค่าเดินทาง ค่าอาหารการกินและรายจ่ายพิเศษ รวมแล้วต้องจ่ายประมาณ 120,000-130,000
บาท/ปี พ่อแม่ขอคำปรึกษาจากผมว่าเขาควรทำอย่างไร
พ่อแม่อยู่ในวัย 40 ปีต้นๆ
การศึกษาระดับ ประถมศึกษา 4 เขามีลูก 2 คน มีอาชีพประกอบการร้านอาหารขนาดเล็ก มีบ้าน มีรถบรรทุกเล็ก มีรายได้และเงินเก็บพอจะส่งเสียให้ลูกเรียนได้จนจบการศึกษา
หากลูกเขาเรียนได้จนจบตามเวลาอันควร แต่หากเรียนไปอย่างไม่มีอนาคต
เขาก็หมดแรงส่งเสียเหมือนกัน
คำตอบ
วิธีการคิดค่าคะแนนเฉลี่ย(Grade Point
Average) A= 4; B =
3; C = 2; D = 1; F หรือสอบตก = 0
ผลการเรียนได้คะแนนเฉลี่ยที่ 1.1 แสดงว่าได้คะแนนส่วนใหญ่ที่สอบไม่ผ่าน และได้เฉลี่ย D ซึ่งวิชาที่จะเทียบโอนได้ต้องได้ C ขึ้นไป
ถ้าจะศึกษาต่อ ควรได้คะแนนที่ 1.8 ขึ้นไป ซึ่งมหาวิทยาลัยทั่วๆไป
คิดคะแนนจบการศึกษาที่ 2.0-2.5
ในกรณีได้คะแนน 1.1 นั้นแสดงว่าไม่ควรเรียนต่อทันที
อาจใช้การลาออก แล้วโอนย้ายหน่วยกิตสู่สถานศึกษาเดิม หรือสถานศึกษาใหม่
ซึ่งจะต้องเป็นวิชาที่ได้คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ C ขึ้นไป
แต่ทางเลือกที่ดี คือให้นักศึกษาเขาหยุดการศึกษา
แล้วไปหางานทำตามอาชีพที่พอจะทำได้ ให้เขาเลือกหางานเองก็ได้
ให้เขาได้มีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้น เรียนรู้พึ่งตนเองให้มากขึ้น รู้ค่าของเงินมากขึ้น
ในทางวิชาการ อะไรที่ยังอ่อนอยู่และเป็นพื้นฐานของการศึกษาต่อ
ก็ให้หาทางเรียนพิเศษหรือศึกษาด้วยตนเอง หรือฝึกฝน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนศึกษาเล่าเรียนใหม่
เมื่อเขามีประสบการณ์การทำงาน
การได้มีเวลาคิดใหม่ว่าอยากจะเรียนอะไร เพื่อไปทำงานอะไร
เขาได้เห็นความสำคัญของการศึกษานั้นๆแล้ว จึงค่อยสมัครไปเรียนต่อ
ซึ่งมีสถาบันอุดมศึกษาในแบบต่างๆให้เลือกเรียนมากมาย ซึ่งหากต้องการคำปรึกษา
ก็ยินดีจะให้คำแนะนำให้
No comments:
Post a Comment