Saturday, October 29, 2011

ทางน้ำหลากของแม่น้ำแดง (The Red River Floodway)

ทางน้ำหลากของแม่น้ำแดง (The Red River Floodway)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: cw092, flood, น้ำท่วม, water management, การจัดการน้ำ, reservoir, แก้มลิง, คณะกรรมการน้ำ, การอนุรักษ์ป่า, การเกษตรที่ลุ่ม. นิคมอุตสาหกรรม

ความนำ

ในประเทศไทย เรามีศัพท์ที่เกี่ยวกับการจัดการน้ำ (Water Management) อยู่หลายคำ ที่มักจะก่อให้เกิดความสับสน เช่น คลองชลประทาน คลองระบายน้ำ ทางน้ำหลาก (Floodway) หรือทุ่งน้ำหลาก (Flood fields) ซึ่งแต่ละคำมีความหมายและวัตถุประสงค์ที่ใช้แตกต่างกัน ผู้ศึกษาจึงขอนำมาเป็นประเด็นเพื่อการอภิปรายและเรียนรู้ร่วมกัน

ความหมายของคำว่า ทางน้ำหลาก (Floodway) ในภาษาอังกฤษเขียนติดกัน แสดงถึงการเป็นคำที่ใช้กันจนคุ้น ส่วนอีกคำหนึ่ง คือ Flood fields อาจมีความหมายที่แตกต่างกัน ก่อนอื่นจึงขอกล่าวถึงทางน้ำหลาก ที่มีตัวอย่างในประเทศแคนาดา คือ “ทางน้ำหลากแม่น้ำแดง”

ทางน้ำหลากแม่น้ำแดง (The Red River Floodway) เป็นทางน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อควบคุมทางน้ำในแคนาดาตะวันตก ที่ได้เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1969 มีความยาว 49 กิโลเมตร เป็นช่องทางน้ำซึ่งเมื่อมีฤดูน้ำท่วม จะทำให้น้ำไหลอ้อมเมือง Winnipeg, ในรัฐ Manitoba ไปทางตะวันออก แล้วไหลกลับสู่แม่น้ำแดงในบริเวณใต้เขื่อนที่ Lockport

ทางน้ำหลากนี้สามารถรองรับน้ำได้ 2550 ต่อวินาที เป็นการสร้างเพื่อตอบสนองต่ออุทกภัยครั้งใหญ่ในบริเวณแม่น้ำแดงในปี ค.ศ. 1950 (1950 Red River flood)

ทางน้ำหลากนี้มีชื่อเล่นเรียกว่า “Duff's Ditch” โดยฝ่ายต่อต้านการสร้าง ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยที่นายกรัฐมนตรี Duff Roblin จากพรรคอนุรักษ์ก้าวหน้า (Progressive Conservative) ได้ริเริ่มขึ้น โครงการนี้สำเร็จได้ก่อนเวลาและใช้งบประมาณน้อยกว่าที่กำหนด ในช่วงเวลา 37 ปี จนถึงปี ค.ศ. 2006 ทางน้ำหลากนี้ได้ใช้เกิดประโยชน์ 20 ครั้ง สามารถลดค่าใช้จ่ายความสูญเสียจากอุทกภัยได้คิดเป็นมูลค่า $10,000 ล้าน หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 300,000 ล้านบาท

ภาพ แผนที่ทางน้ำหลากของแม่น้ำแดง (The Red River Floodway)

ภาพ ทางน้ำหลากแม่น้ำแดงที่ถ่ายทางอากาศ ซึ่งมีสภาพเป็นทุ่งทั่วไป เมื่อยังไม่มีน้ำหลาก

เมือง Winnipeg เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของรัฐ Manitoba ในประเทศแคนาดา (Canada) มีประชากร 633,451 คน มีความหนาแน่นที่ 1,365 คน/ตร.กม. เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเขตแม่น้ำสองสายหลักมาบรรจบ คือ แม่น้ำแดง (Red River) และแม่น้ำแอสซินิบอยน์ (Assiniboine River) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในท้องที่ว่า “ส้อม” หรือ The Forks

Friday, October 21, 2011

แผนสู้น้ำท่วมภาคประชาชนแบบพึ่งตนเอง

แผนสู้น้ำท่วมภาคประชาชนแบบพึ่งตนเอง

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: cw092, flood, น้ำท่วม, water management, การจัดการน้ำ, reservoir, แก้มลิง, คณะกรรมการน้ำ, การอนุรักษ์ป่า, การเกษตรที่ลุ่ม. นิคมอุตสาหกรรม

ความนำ

น้ำท่วมคราวนี้มองทั่วประเทศในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา มันหนักหนาสาหัสนับเป็นประวัติศาสตร์อุบัติภัยครั้งใหญ่ของประเทศ ผมไม่อยากโทษใครในวันนี้ เสร็จน้ำท่วมแล้วเราค่อยมาเรียนรู้ร่วมกันศึกษาว่า
สาเหตุมันมาจากอะไร และเราจะแก้ปัญหาอย่างไร

ข้อแนะนำ

แต่น้ำท่วมนี้กำลังจะเข้ากรุงเทพฯหรือไม่ มากน้อยเพียงใด จะรู้ภายใน 2-3 วันนี้ ผมขอร่วมเขียนบันทึก และเสนอแนวทางการป้องกันภัยน้ำท่วมภาคประชาชนที่ร่วมกันใช้ประโยชน์ได้ โดยจะนำเสนอสั้นๆดังนี้

1. กันไว้ดีกว่าแก้ จงทำตนไม่อยู่ในความประมาท ภาษาอังกฤษเขาบอกว่า “You may hope for the best, but also prepare for the worst.” กล่าวคือ เราตั้งความหวังไว้สูงได้ แต่ต้องเตรียมตัวสำหรับสิ่งเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นด้วย” สำหรับน้ำท่วม มีอะไรที่จะเตรียมการณ์ไว้ได้ในช่วงนี้ ก็ให้รีบทำ รีบตัดสินใจ เช่น มีเพื่อนคนหนึ่งมีสมาชิกในบ้าน 4-5 คน เขาลังเลที่จะอยู่ต่อที่บ้านที่เสี่ยงสูงมากที่น้ำจะท่วม แล้วเผชิญกับน้ำท่วม หรือเขาจะไปอยู่ร่วมกับญาติที่จังหวัดใกล้เคียง และน้ำไม่ท่วม

เขาต้องรีบตัดสินใจ เพราะหากน้ำท่วมมาจริงๆ การเดินทางด้วยรถยนต์ฝ่าน้ำท่วมออกไป จะกลายเป็นเรื่องยุ่งยากมาก ก็คงจะต้องทนอยู่บ้านในชั้นที่สอง รอไปจนกว่าน้ำจะลดลง

2. มีรถให้เก็บในที่ปลอดภัย ใช้ระบบขนส่งสาธารณะหรือเดิน ไม่ควรที่สุดที่จะนำรถส่วนตัวไปจอดไว้บนทางหลวง หรือทางด่วน เพราะเจ้าหน้าที่เขาต้องใช้เพื่อการขนส่งสิ่งของที่จำเป็นกว่า หากจำเป็น มีรถรุ่นใหม่ ตัวอย่าง ดังญาติบางคนที่มีรถคันละหลายล้านบาท เขาก็รีบไปหาที่จอด ยอมจ่ายค่าจอดรถไปวันละ 500 บาท หากต้องจอด 10 วันก็เสียเงิน 5,000 บาท บางคนอาจเลือกไปพักร้อนในจังหวัดใกล้เคียงที่ไม่มีปัญหาน้ำท่วม ใช้เวลาสัก 5-10 วัน หรือไปแล้วฝากรถกับโรงแรม แล้วมารับรถในสัปดาห์ต่อไป หากเป็นลูกค้าคนที่มาพักอยู่แล้ว เขาจะเกรงใจสักหน่อย ถือเป็นการฝากรถควบคู่กับการพักผ่อน
ส่วนตัวผมเอง เลือกไม่ทำอะไรมากนัก ผมมีรถ Opel Corsa รุ่นเก่า ไม่มีระบบอิเลคโทรนิกส์ซับซ้อนมาก คิดเป็นราคาไม่เกิน 100,000 บาท ผมเก็บไว้ที่บ้าน เผื่อเอาไว้ขับยามฉุกเฉิน หากน้ำท่วมจริง ก็ถอดแบตเตอรี่เก็บไว้ หลังน้ำท่วมแล้วก็เรียกช่างมาซ่อมถึงที่บ้าน หรือให้เขามาลากรถไปซ่อมที่อู่เลย ไม่ต้องคิดมาก ส่วนรถอีกสองคันเป็นรถใหม่กว่า ก็นำไปฝากไว้กับคนอื่นในที่ๆปลอดภัย

3. อยู่อาศัยกันเป็นกลุ่ม คิดและตัดสินใจร่วมกัน และเนิ่นๆ ก่อนที่ปัญหาจะเกิด ผมอยู่ในกรุงเทพส่วนใน อยู่ในบ้านตีกสองชั้นขนาดใหญ่ มีสมาชิกในบ้านและเด็กรับใช้ (Maids) รวม 10 คน หากน้ำท่วมก็จะยังอยู่ที่บ้าน เพราะอยู่ในชุมชนที่มีคนหนาแน่น มีญาติพี่น้องคนใกล้ชิดอยู่รวมในบริเวณเดียวกันกว่า 10 คน ในบ้านใกล้เคียงกัน หากมีอะไรเกิดขึ้น ผมคงเป็นที่พึ่งให้กับคนอื่นๆได้ในหลายเรื่อง

ผมเป็นคนเรียนรู้วิธีการเอาชีวิตรอดในยามคับขัน และรู้เรื่องสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยดี ก็จะได้คอยช่วยคนอื่นๆ ผมพอรู้วิธีการตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจร เจาะตรวจน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้เป็นเบาหวาน ผมจะเป็นประโยชน์ที่จะอยู่ที่บ้าน จะหลบไปพักร้อนโรงแรมในต่างจังหวัด ก็รู้สึกจะอายสักหน่อย เหมือนกับเอาตัวรอด

4. สำรองอาหารพอให้มีชีวิตอยู่ได้สัก 5-10 วัน ไม่เก็บหรือกักตุนมากกว่านั้น ทั้งนี้คิดถึงคนรอบข้างด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะมีชีวิตรอดไปได้โดยไม่ต้องไปพึ่งรัฐบาลหรือหน่วยงานภาครัฐมากไปกว่านี้ เพราะหากเกิดวิกฤติจริงๆ ทุกฝ่ายก็จะประสบปัญหาคล้ายๆกัน ต้องหาทางช่วยตัวเองแบบเป็นกลุ่ม พยายามสงบนิ่ง ไม่ไปสร้างภาระให้กับคนอื่นๆมากจนเกินไป

5. ใช้น้ำอย่างประหยัด น้ำเป็นสิ่งสำคัญ ขาดน้ำ 3 วันคนเสียชีวิตได้ เพราะไตจะวาย ดังนั้น เราต้องเก็บน้ำดื่มที่สะอาดเชื่อถือได้ วันหนึ่งเราดื่มน้ำประมาณ 6 แก้วหรือประมาณ 1.5 ลิตร สำหรับคน 10 คน เป็นเวลา 10 วัน จึงรวมใช้น้ำประมาณ 150-200 ลิตร ที่บ้านเป็นบ้านขนาดใหญ่ มีถึงคอนกรีตเก็บน้ำได้สัก 5-6 พันลิตร เป็นน้ำประปา แต่เพราะจัดเก็บใต้ดิน หากน้ำมาท่วมปากถัง น้ำก็จะเสียหายใช้ไม่ได้เหมือนกัน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ผมให้เขาใช้เครื่องกรองน้ำ เก็บน้ำไว้ในถังพลาสติกขนาด 200 ลิตร น่าจะเพียงพอสำหรับการใช้ดื่มในช่วง 8-10 วันสบายๆ

6. การอาบน้ำให้เปลี่ยนเป็นเช็ดตัว การใช้น้ำแปรงฟัน ทำความสะอาดร่างกายวันละครั้งๆละ 1 ลิตรพอทำความสะอาดร่างกายได้แล้ว แต่ผมวางแผนว่าจะไม่ใช้น้ำประปาที่อาจะไม่บริสุทธิสำหรับดื่ม แต่จะใช้เพื่ออาบน้ำได้ ส่วนที่บริเวณขา หากต้องลุยน้ำ ระวังการเปียกน้ำสกปรกที่มากับน้ำ ใช้วาสลินเคลือบผิวก่อนลุยน้ำ

สิ่งที่เตรียมตัวเตรียมใจไว้แล้ว คือเมื่อน้ำท่วม ส้วมแม้มีอยู่ที่ชั้นบน แต่เวลาชักโครก ก็คงจะไม่สะดวก คงต้องทนๆไป

7. เตรียมตัวเมื่อต้องมีการตัดไฟ เมื่อมีน้ำท่วมขึ้นสูง ทางผู้รับผิดชอบเขาต้องตัดไฟ ชีวิตที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ หากคุ้นเคยกับระบบเครื่องปรับอากาศ ก็ต้องเปลี่ยนนิสัยอย่างน้อยชั่วคราว โดยอาจใช้เปิดหน้าต่างที่มีมุ้งลวดแทน อีกส่วนหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง คือการไม่มีไฟฟ้าที่จะใช้ประกอบอาหารอย่างง่ายๆ ดังเช่นเตาไมโครเวฟ ซึ่งอาจเกิดขึ้นนานเป็นสัปดาห์ ก็จะใช้เตาแก๊สที่ยังมีอยู่ ใช้ทำอาหารที่ไม่ต้องใช้พลังงานมากนัก กะว่าจะใช้ต้มเป็นหลัก เช่นต้มข้าว ต้มไข่ ใช้การผัดให้น้อยลง หากมีของในตู้เย็นจะเสีย เช่นมีหมูหรือไก่ ก็นำมาผัดเค็ม ทำให้เก็บไว้กินได้นานหลายวัน หรือจะนำมาต้มเค็ม หรือทำเป็นพะโล้ หากต้องการจะฆ่าเชื้อ ก็นำมาผัดใหม่ หรือต้มใหม่ ยิ่งเค็มสักหน่อย และยิ่งแห้งยิ่งเก็บไว้ได้นาน

ผมกะว่า เราอาจเตรียมตัวช่วยตัวเองให้ได้สัก 5-10 วัน ขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่ได้รับผลกระทบ หากมีคนประสบน้ำท่วมหลายล้านคน ก็จะใช้เวลานานหน่อย แต่หากท่วมไม่มาก ก็จะเป็นเพียงความไม่สะดวก จะไปซื้อข้าวของตามร้านที่เขาเปิดบริการได้ ผมมีเงินสำรองจากตู้ ATM กดมาไว้สำรองสัก 10,000 บาท คิดว่าเพียงพอแล้ว เงินมีประโยชน์ แม้ว่าน้ำจะท่วม มีเงินก็หาซื้อกินเอง ไม่ต้องไปรอบริจาค เพราะหากคนประสบอุบัติภัยกันเป็นล้านๆคน ก็ต้องช่วยตัวเองเป็นหลักแหละครับ “ตนต้องเป็นที่พึ่งแห่งตน”

Sunday, October 16, 2011

สุภาษิตเดนมาร์ก: การตัดผมที่แย่เป็นความน่าอายของสองคน

สุภาษิตเดนมาร์ก: การตัดผมที่แย่เป็นความน่าอายของสองคน

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: proverb, Danish, Denmark, เดนมาร์ก, การปกครอง, การบริหาร, การตัดสินใจ, การเลือกผู้นำ, 

มีสุภาษิตหนึ่งในภาษาเดนมาร์กที่ปรากฏเป็นภาษาอังกฤษ กล่าวว่า “A bad hair cut is two people's shame.” ซึ่งแปลเป็นไทยได้ความว่า “การตัดผมที่แย่เป็นความน่าอายของสองคน”

เมื่อเด็กๆ ผู้เขียนเคยให้พี่ที่ตัดผมไม่เป็นตัดผม เขาจับกรรไกรได้ ก็มาตัดผมเรา เป็นขั้นเต็มหัว เขาหัวเราะสนุกชอบใจ แต่เราเสียความรู้สึกที่สุด และท้ายสุดแม่ต้องพาเรา นำศีรษะเราไปหาช่างตัดผมที่เขาทำเป็นอาชีพ แล้วให้เขาตกแต่ง ซึ่งก็ต้องตัดสั้นลงไปอีก จนจะเกือบหมดศีรษะ ตั้งแต่นั้นมา ทำให้เรียนรู้บทเรียนว่า หากจะตัดผม ไปหาช่างตัดผมที่เขาทำเป็นอาชีพจะดีกว่ามาตัดผมเอง

แต่ในสุภาษิตที่ว่า “การตัดผมที่แย่เป็นความน่าอายของสองคน” นั้น คนหนึ่งที่น่าอายคือคนที่ให้เขามาตัดผม ที่ไม่รู้จักเลือกคนที่เหมาะสมให้มาทำหน้าที่ อีกคนหนึ่งที่น่าอายคือ คนตัดผมที่ตัดผมไม่เป็น ตัดไม่ได้อย่างมืออาชีพ ทำให้เขาเสียหัว เสียความรู้สึก เพราะตัดผมออกไปแล้ว จะไปหาผมมาเติมไม่ได้ ต้องรอจนผมยาวออกมาใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลา

ในศาสตร์และศิลป์การบริหาร มีหลักสำคัญประการหนึ่ง คือ Put the right man to the right place. คือ การบริหารที่ดีคือการสรรหาคนที่ดีมีความเหมาะสมกับตำแหน่งงาน แล้วแต่งตั้งเขาให้ไปทำหน้าที่นั้นๆ และสนับสนุนคนดีมีความสามารถนั้น ให้สามารถทำงานไปสู่ความสำเร็จของทั้งเองค์การและตัวเขาเองได้

ในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนทุกคนมีบทบาทหน้าที่ในการเลือกคนที่จะมาปกครองเรา

การตีความที่มองในภาพกว้าง คนโบราณต้องการสอนว่า จะทำอะไร ก็ต้องรู้จักเลือกคนทำงานให้เหมาะสม เหมือนกับการเลือกคนที่จะมาเป็นผู้นำของเรา ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล นายกรัฐมนตรี ผู้แทนราษฎร ผู้บริหารท้องถิ่น นายกเทศมนตรี อบจ. อบต. ฯลฯ หากเราเลือกคนที่ไม่เหมาะสมให้มาทำงาน ผลที่เราได้รับจะรุนแรงมาก และบางครั้งไม่ใช่เป็นเพียงเป็นไปตามวาระ คือ 4-5 ปี แต่เมื่อคนที่ไม่ดีไม่เหมาะสมเข้าสู่ตำแหน่งแล้ว เขามีกลไกที่จะสืบอำนาจ ปล่อยเชื้อร้ายให้แพร่ขยายต่อไปได้ กลายเป็นโรคเรื้อรัง รักษาให้หายขาดได้ยาก เราเองเสียโอกาส และสังคมชาติบ้านเมืองก็เสียโอกาส

ดังนั้น เมื่อเราเป็นประชาชน เป็นผู้ตามก็จริง แต่หากเราไม่ใช้สิทธิในการเลือกผู้บริหาร และคนทำงานเพื่อส่วนรวมอย่างเหมาะสมจริงจัง ก็ต้องเตรียมตัวได้เลยว่า สิ่งเลวร้ายต่างๆ กำลังจะตามมา

Saturday, October 15, 2011

ประวัติหน่วยงานจัดการน้ำ Rijkswaterstaat ของประเทศเนเธอร์แลนด์

ประวัติหน่วยงานจัดการน้ำ Rijkswaterstaat ของประเทศเนเธอร์แลนด์

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: cw092, flood, น้ำท่วม, water management, การจัดการน้ำ, reservoir, แก้มลิง, คณะกรรมการน้ำ, การอนุรักษ์ป่า, การเกษตรที่ลุ่ม, Rijkswaterstaat

In lieu of an abstract, here is a preview of the article.

หน่วยงานจัดการน้ำในประเทศเนเธอร์แลนด์ ชื่อ Rijkswaterstaat ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1798 เป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลาง ปัจจุบันมีคนทำงานประมาณ 12,000 คน จัดเป็นหน่วยงานสำคัญของประเทศที่มีผลงานสำคัญหลายประการ ได้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ใหม่

ปรับแนวชายฝั่งใหม่ทำให้แนวชายฝั่งลดลง 2,800 กิโลเมตรจากเดิม 3,400 เหลือ 650 กิโลเมตร สามารถเคลมแผ่นดินจากทะเลเพิ่มขึ้นเป็น 350,000 เฮคเตอร์ Rijkswaterstaat ได้มีส่วนในการพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภค

ในปัจจุบันมีทางรถไฟเพิ่มขึ้น 3,000 กิโลเมตร มีทางเดินเรือ 4,000 กิโลเมตร ทางขี่รถจักรยานที่ราดยาง 18,000 กิโลเมตร มีทางถนนลาดยางแอสฟัลต์มากกว่า 100,000 กิโลเมตร

มีงานวิศวกรรมโครงสร้างหลายประการที่ได้เกิดขึ้น เช่น ฝาย (weirs) ประตูน้ำ (locks) เขื่อนป้องกันคลื่นทะเลขึ้นสูง (storm surge barriers) สะพาน (bridges) โครงสร้างสะพาน (viaducts) ทางขึ้นลงของระบบทางหลวงแบบ cloverleafs อุโมงค์ (tunnels) และสะพานข้ามถนน (overpasses)

ปริญญาโททางการจัดการน้ำ MSc in Water Management

ปริญญาโททางการจัดการน้ำ

MSc in Water Management

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: cw092, flood, น้ำท่วม, water management, การจัดการน้ำ, reservoir, แก้มลิง, คณะกรรมการน้ำ, การอนุรักษ์ป่า, การเกษตรที่ลุ่ม

ความนำ

น้ำท่วมใหญ่ในที่ลุ่มภาคกลางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ก่อให้เกิดผลเสียหายหนัก หนักที่สุดคืออุตสาหกรรมในเขตรอบๆกรุงเทพมหานคร อยุธยา ปทุมธานี ฯลฯ และที่ดินเพื่อการเกษตรอย่างกว้างขวาง

ดร.สมิทธ ธรรมสโรช อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ในฐานะผู้คร่ำหวอดในแวดวงอุตุนิยมวิทยา มายาวนาน ฟันธงว่าวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ไม่ใช่เป็นผลพวงจาก "ภัยพิบัติ" แต่เป็นเรื่องการบริหารจัดการน้ำไม่เป็น!!! (โพสต์ทูเดย์, 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554)

ผู้เขียนเห็นด้วยว่าเราไม่ได้จัดการน้ำ (Water Management) อย่างมืออาชีพ ไม่ได้ใช้หลักวิชาการอย่างถูกต้อง แต่หากเราได้มีคนที่มีความรู้ในภาคส่วนต่างๆของสังคมอย่างเพียงพอ ปัญหาความเสียหายทางธุรกิจคงไม่มากมายเท่าที่ประสบอยู่ ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้เขียนจึงขอนำข้อมูลเหล่านี้มานำเสนอ

ข้อความที่นำมานี้ไม่ได้แปลทั้งหมด แต่กระทำเป็นบางส่วน คาดว่าพอจะทำให้เข้าใจได้

UNESCO-IHE

สถาบัน UNESCO-IHE Institute for Water Education ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2003 มีหน้าที่ในการวิจัย ให้การศึกษา และจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับน้ำ ธรรมชาติ และโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง UNESCO-IHE งานด้านนี้ของ UNESCO ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1957 เมื่อ IHE ได้เปิดสอนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ด้านน้ำ (Hydraulic engineering) สำหรับผู้ที่ทำงานเป็นนักวิชาชีพด้านน้ำนี้ในประเทศกำลังพัฒนา

The UNESCO-IHE Institute for Water Education is established in 2003. It carries out research, education and capacity building activities in the fields of water, environment and infrastructure. UNESCO-IHE continues the work that began in 1957 when IHE first offered a postgraduate diploma course in hydraulic engineering to practising professionals from developing countries.

สถาบันมีวิทยาเขตที่เมือง Delft ในประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยมีประเทศสมาชิกของ UNESCO ซึ่งรวมถึงประเทศไทยเป็นเจ้าของ เป็นสถาบันในประเภทที่ 1 โดยมี UNESCO และรัฐบาลประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นผู้ดำเนินการร่วมกัน

The Institute is based in Delft, the Netherlands, and is owned by all UNESCO member states. It is established as a UNESCO ‘category I’ institute jointly by UNESCO and the Government of the Netherlands.

สถาบัน IHE จัดว่าเป็นสถาบันที่ให้การศึกษาด้านน้ำที่มีวัสดุอุปกรณ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสถาบันเดียวในระบบของสหประชาชาติ (UN system) ที่ได้รับอำนาจให้ผลิตบุคลากรในระดับปริญญาโทที่ได้รับการรับรอง

The Institute is the largest water education facility in the world, and the only institution in the UN system authorised to confer accredited MSc degrees.

UNESCO-IHE เป็นกลไกอันสำคัญที่จะเสริมสร้างความพยายามของมหาวิทยาลัยต่างๆ และสถาบันวิจัยที่เกี่ยวข้องกับน้ำในการเพิ่มความรู้และทักษะของนักวิชาชีพที่ทำงานเกี่ยวกับน้ำ

UNESCO-IHE is instrumental in strengthening the efforts of other universities and research centres to increase the knowledge and skills of professionals working in the water sector.

Streaming Videos

Watch the video Story of IHE (19 min./WMV)

The member states of UNESCO have access to the knowledge and services of UNESCO-IHE in human and institutional capacity building, which is vital in their efforts to achieve the Millennium Development Goals, the Johannesburg Plan of Implementation (Agenda 21) and other global water objectives.

ภาพ ที่ดินการเกษตร เมือง และน้ำมากมาย เขาจัดการกันอย่างไร คงต้องไปศึกษาและดูงานกันในประเทศเนเธอร์แลนด์

ภาพ ไปเรียนในเนเธอร์แลนด์ ก็ควรทำความเข้าใจกับบริเวณที่เขาต้องจัดการน้ำ (Water Management ) เกือบครึ่งประเทศเป็นเขตต่ำสูงไม่เกิน 1 เมตรจากน้ำทะเล เขาจัดการกันอย่างไร ก็ไปศึกษาดูงานเอา

วิสัยทัศน์และพันธกิจ
Vision and mission

UNESCO-IHE envisages a world in which people manage their water and environmental resources in a sustainable manner, and in which all sectors of society, particularly the poor, can enjoy the benefits of basic services.

The mandate given by UNESCO to IHE is to:

  • strengthen and mobilise the global educational and knowledge base for integrated water resources management; and
  • contribute to meeting the water-related capacity building needs of developing countries and countries in transition.

Within this mandate, the mission of the Institute is to:

  • contribute to the education and training of professionals and to build the capacity of sector organisations, knowledge centres and other institutions active in the fields of water, the environment and infrastructure in developing countries and countries in transition.

The functions of the Institute include:

  • Serving as an international standard-setting body for postgraduate water education programmes and continuing professional training;
  • Building human and institutional capacities through education, training and research;
  • Setting up and managing networks of educational and water sector institutions and organisations worldwide;
  • Functioning as a ‘policy forum’ for UNESCO member states and other stakeholders; and
  • Providing advice on water education to partner organisations and other members of the UN water family.

ประโยชนและลูกค้า
Beneficiaries and clients

UNESCO-IHE provides a wide range of services to a variety of target groups in developing countries and countries in transition:

การศึกษา การฝึกอบรม และการวิจัย (Education, training and research) – for water sector professionals, engineers, scientists, consultants and decision-makers working in the water, environment and infrastructure sectors.

การพัฒนาขีดความสามารถภาคน้ำ (Water sector capacity building) – for water sector ministries and departments, municipalities, water boards and water utilities, universities, training and research institutes, industries, non-governmental and private sector organisations.

การสร้างหุ้นส่วนและเครือข่าย (Partnership building and networking) – among knowledge centres, public and private sector organisations.

การกำหนดมาตรฐานการศึกษาและการฝึกอบรม (Standard setting for education and training) – for water-related institutions, universities and other education and training agencies in the water sector.

การกำหนดนโยบายผ่านที่ประชุมเรื่องน้ำ (Policy forum on water) – for UNESCO member states and other stakeholders.

โปรแกรมปริญญาโท
MSc Programmes

MSc in Environmental Science MSc in Municipal Water and Infrastructure MSc in Water Management

· การจัดการความขัดแย้งเกี่ยวกับน้ำ (Water Conflict Management)

· การจัดการคุณภาพน้ำ (Water Quality Management)

· การจัดการทรัพยากรน้ำ (Water Resources Management)

· การจัดการบริการด้านน้ำ (Water Services Management)

MSc in Water Science and Engineering Up one level

ข้อมูลสำหรับ
Information for

ผู้ที่จะเข้ามาเป็นนักศึกษา Prospective students

ศิษย์เก่า Alumni

Downloads

Download Brochures

หลักสูตรการจัดการน้ำ หรือ Water Management เป็นหลักสูตรหนึ่งที่น่าสนใจ ที่มีการจัดการเรียนการสอนที่ Delft ในประเทศเนเธอร์แลนด์

Many regions of the world are increasingly facing challenges when it comes to managing water, and the nature of these challenges differs from one location to the next.

It may relate to having too little water while water demands are growing explosively (water scarcity), too much water (flooding), and water of poor quality rendering them unfit to sustain the ecosystem or challenges related to providing water for people, industry and agriculture.

Addressing these challenges requires that water managers apply an integrated and interdisciplinary approach, involving hydrological, biophysical, chemical, economic, institutional, legal, policymaking and planning aspects.

The Water Management Programme provides such an integrated and interdisciplinary approach. The programme brings together the scientific study of water resources with practical planning and management skills. Participants are encouraged to study water management from a multi-disciplinary perspective and to seek integrated solutions.

Twelve months of blended and innovative learning methods, including lectures, laboratory and field work, case studies, group work, role-plays and self-study, are complemented by six months of applied research in the field of water management theory and practice.

จุดมุ่งหมายของโปรแกรม
Aim of the Programme

The Water Management Masters Programme aims to develop knowledge, insight and skills required to design, implement and evaluate water management policies and strategies to achieve effective governance of water resources. Once they have successfully completed this programme, graduates will be able to:

  • describe the rational for an integrated and interdisciplinary approach for managing the water system;
  • identify and critically assess the different functions of the water resources system and the – often competing – interests of the various water users;
  • design, apply and evaluate models for institutional arrangements with emphasis on institutional reforms, policy development and good governance;
  • conduct, independently or in a multidisciplinary team, research.

ผู้ต้องการมีส่วนร่วม
Participant profile

Young and mid-career professionals, in technical or management positions, with responsibilities for, or interests in, water and environmental resources, quality issues or provision of water and sanitation. The programme is open to participants from a range of academic backgrounds, as long as they have a Bachelors degree in an area that contributes to water management, including engineering, economics, law, social sciences and natural sciences.

ปริญญาโทแบบวิจัย
MSc Research

ภาพ ผู้จบการศึกษาจากทั่วโลกที่ไปเรียนที่สถาบ้นฯ

The Water Management programme culminates in an MSc dissertation. This starts with a six-week period to develop an individual research proposal. During the proposal development a number of short courses are offered on special topics covering the latest developments in Water Management, e.g. Water & Climate.

หากมีความสนใจ
Interested?

For information about admission requirements, fees, fellowships and more, visit the prospective students section.

The actual research takes place over a period of about six months. The participants undertake applied research in a field directly pertaining to their professional experience, interest and conditions.

รายละเอียดของโปรแกรมปริญญาโท

Specialisations within the MSc Programme are:

การจัดการความขัดแย้งเกี่ยวกับน้ำ
Water Conflict Management

ท่านจะศึกษาการจัดการทรัพยากรน้ำในส่วนที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง การเน้นที่การเจรจาต่อรอง การประสานงานที่นำไปสู่กระบวนการตัดสินใจ ทั้งนี้เพื่อป้องกัน จัดการ และแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องน้ำ

You will study the management of water resources conflicts, focusing on negotiation, mediation and decision-making processes, in order to prevent, manage and resolve water conflicts.

การจัดการคุณภาพน้ำ
Water Quality Management

ท่านจะศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ กิจกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับระบบนิเวศที่เกี่ยวกับน้ำ และในขณะเดียวกันแสวงหาทางแก้ไข ทั้งนี้โดยเน้นในส่วนที่เกิดความตึงเครียดด้านสิ่งแวดล้อมในระดับที่ต่างกัน ในสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่หลากหลาย

You will study the water quality impacts of human activities on aquatic ecosystems, as well as possible remedial actions, considering different levels of environmental stress and in various socio-economic contexts.

การบริหารแหล่งน้ำ
Water Resources Management

ท่านจะศึกษาถึงวิธีการที่ทำให้มีน้ำที่เพียงพอสอดคล้องกับความต้องการ และแสวงหาทางเลือกด้านนโยบายการพัฒนาที่ดินและน้ำ รวมถึงมิติทางกฎหมาย การจัดการสถาบันจากท้องถิ่นที่มีน้ำท่วมถึง (Watershed) และไกลไปกว่านั้น

You will study the ways in which water availability and use are matched, and seek to develop alternative land use and water allocation policies, including legal and institutional arrangements from the local watershed to the basin scale and beyond.

การจัดการบริการเกี่ยวกับน้ำ
Water Services Management

ท่านจะเน้นไปที่การให้บริการด้านน้ำและระบบบริการสุขอนามัย และการจัดการสาธารณูปโภคในส่วนที่เกี่ยวข้อง และรูปแบบธุรกิจสำหรับสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน

You will focus on the provision of water and sanitation services and the management of related infrastructure, and design new institutional and financial instruments and business models for different socio-economic contexts.

โปรแกรมความร่วมมือ

UNESCO-IHE is making efforts to make water education more accessible and affordable to increasing numbers of students. One way of doing this is the development of joint programmes with partner institutions.

โปรแกรมความร่วมมือที่ UNESCO-IHE ที่ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ
UNESCO-IHE currently offers and develops the following joint programmes:

ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศอียิปต์
In collaboration with: Ain Shams University, Cairo, Egypt:

  • Hydroinformatics and Natural Resources Management

ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศในประเทศไทย
In collaboration with: Asian Institute of Technology (AIT) Bangkok, Thailand:

  • Agricultural Water Management for Enhanced Land and Water Productivity
  • Environmental Technology for Sustainable Development
  • Urban Water Engineering and Management

ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศเคนย่า ในทวีปอัฟริกา
In collaboration with:
Egerton University, Njoro, Kenya / International Training Programmes In Limnology (IPGL), Mondsee, Austria:

  • Limnology and Wetlands Ecosystems

ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศจีน
In collaboration with:
Hohai University, Nanjing, China:

  • Coastal Engineering and Port Development
  • Hydroinformatics
  • Hydrology and Water Resources

ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศกาน่า ในทวีปอัฟริกา
In collaboration with: Kwame Nkrumah University of Science and Technology (KNUST), Kumasi, Ghana:

  • Sanitary Engineering
  • Water Supply Engineering

ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซีย ในกลุ่มอาเซียน
In collaboration with: Sriwijaya University (UNSRI), Palembang, Indonesia:

  • Integrated Lowland Development and Management Planning

ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศสหราชอาณาจักร
In collaboration with: Dundee University, Dundee, United Kingdom:

  • Water Conflict Management

ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศโคลอมเบีย ในทวีปอเมริกาใต้
In collaboration with: Universidad del Valle, Cali, Colombia:

  • Hydroinformatics
  • Sanitary Engineering
  • Water Supply Engineering

More information about the programmes can be found in the MSc programme section

การแก้ปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯฝั่งตะวันออกและสมุทรปราการ

การแก้ปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯฝั่งตะวันออกและสมุทรปราการ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: cw092, flood, น้ำท่วม, water management, การจัดการน้ำ, reservoir, แก้มลิง, คณะกรรมการน้ำ, การอนุรักษ์ป่า, การเกษตรที่ลุ่ม

คำถาม –

จาก @PuTToE

@pracob พี่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของนักวิชาการคนหนึ่ง ที่ออกมาพูดว่าให้เจาะถนนฝั่งตะวันออกเพื่อทำทางน้ำหรือเปล่าครับ?

คำตอบ

การเจาะถนน เป็นการแก้ปัญหาในช่วงสั้นๆ แต่ต้องมีแผนแก้ไขในระยะยาวด้วย

ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้เพียงบางส่วน คงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญศึกษาสภาพแวดล้อม แล้วทำแผนแก้ไขน้ำท่วมโดยเร็ว

ผมมีที่ดินอยู่แถวบางพลี บางนา-ตราด กม. 21-22 ในคราวน้ำท่วมใหญ่ปี 2526 ทำให้เกิดการพัฒนาคลองและประตูระบายน้ำ+การสูบน้ำออกเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ไม่มีน้ำท่วมใหญ่ เมื่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ก็ทำให้มีแถบสนามบินตามยาวขวางทางน้ำยาวนับ 10 กิโลเมตร กระทบเขตกรุงเทพฯฝั่งตะวันออก รวมลาดกระบังและสมุทรปราการบางส่วน

ก่อนอื่น ควรรู้จักจังหวัดสมุทรปราการ

จังหวัดสมุทรปราการ หรือที่เรียกกันว่าเมืองปากน้ำ ซึ่งเคยเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลที่สำคัญในอดีต จังหวัดสมุทรปราการตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทยสองฟากฝั่งตอนปลายสุดของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากอ่าวไทย ระหว่างเส้นละติจูดที่ 13-14 องศาเหนือ และเส้นลองจิจูดที่ 100-101 องศาตะวันออก ห่างจากใจกลางกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 29 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 1,004 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 627,557 ไร่

ทางแก้ไข

ทางแก้ไขน้ำท่วมกรุงเทพฯฝั่งตะวันออก ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถการผันน้ำอย่างละเอียด คงต้องมีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมาคิดออกแบบ และใช้การพัฒนาในช่วงสัก 10 ปี เพิ่มขีดความสามารถด้านการระบายน้ำ ซึ่งคงจะต้องทำแบบประสม เช่น

1. การขุดคลองเพิ่มเติม ซึ่งคงทำไม่ได้มาก เพราะเจ้าของที่ดินคงไม่ยอมยกที่ดินให้ง่ายๆ ยกเว้นต้องใช้กฎหมายบังคับ และมีการจ่ายค่าตอบแทนที่สมควร แต่การพัฒนาคลองและคูที่มีอยู่ให้มีความลึก ผันน้ได้มาก ซึ่งทำได้ง่ายและเร็ว แม้ต้องใช้งบประมาณบ้าง

2. การกำหนดเขตทุ่งน้ำหลาก ซึ่งต้องมีกฎหมายรองรับ การทำช่องระบายน้ำข้ามถนนเพิ่ม ทำให้ระบายน้ำออกทางฝั่งตะวันออกได้มากและรวดเร็วขึ้น สิ่งนี้ทำได้ โดยต้องไม่ให้เจ้าของที่ดินเขาต้องเสียประโยชน์มาก โดยไม่มีสิ่งตอบแทน ที่สำคัญต้องมีกฎหมายปฏิรูปที่ดินรองรับ มีการจ่ายค่าทดแทน และมีการเก็บภาษีท้องที่เพิ่ม เพื่อใช้เป็นงบประมาณพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

3. เสริมความสูงของถนนในบางส่วน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าว แต่ถนนจะต้องมีช่องว่าง ทำเป็นสะพานข้ามเป็นระยะเพิ่มขึ้น ทำให้น้ำระบายออกได้สะดวก ไม่ใช่เป็นท่อขนาดเล็กๆ ส่วนถนน ไม่ว่าจะสร้างโดยกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ หรือเอกชน จะต้องยึดหลักให้มีทางระบายน้ำผ่านอย่างเคร่งครัด และต้องเป็นมาตรฐานสูงสุด เผื่อช่วงการบริหารน้ำยามวิกฤติด้วย

4. กำหนดเขตนิคมอุตสาหกรรมให้เป็นขนาดปานกลาง ตลอดจนการสร้างหมู่บ้านจัดสรร ต้องไม่ไปขวางทางน้ำ หากที่ดินพัฒนาขนาดกว้าง 1X1 กิโลเมตร เท่ากับ 625 ไร่ และไม่เกิน 1,000 ไร่ ก็พอยอมรับได้ อย่าให้กว้างหรือยาวขวางน้ำต่อเนื่องกันเกิน 1,000 เมตร ต้องมี “ช่องไฟ” เกิดคลอง และทุ่งน้ำหลาก ส่วนบ้านเรือนและที่พักอาศัย ให้เปลี่ยนบ้านในบางพื้นที่ให้เป็นแบบยกเสาสูง (Stilt houses) ทำบ้านแบบลอยน้ำ (Floating houses) ในส่วนที่ตั้งบนทุ่งน้ำหลาก

Friday, October 14, 2011

การควบคุมน้ำท่วมในเนเธอร์แลนด์

การควบคุมน้ำท่วมในเนเธอร์แลนด์

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: cw092, flood, น้ำท่วม, water management, การจัดการน้ำ, reservoir, แก้มลิง, คณะกรรมการน้ำ, การอนุรักษ์ป่า, การเกษตรที่ลุ่ม

ความนำ

ในเดือนกันยายน - ตุลาคม พ.ศ. 2554 มีน้ำท่วมใหญ่ในที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แบบตลอดเส้นทางสายน้ำ ตั้งแต่จังหวัดเชียงใหม่ตามสายน้ำ ลงมาจนถึงบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ผมเองก็มีความกังวลและไม่สบายใจไม่ต่างจากคนไทยทั้งหลาย และยิ่งอึดอัดหนักไปอีกกับธรรมชาติของคนไทยที่ลืมง่าย เพราะสภาพปัญหาของ “น้ำ” คือ น้ำท่วม 4 เดือน สลับกับน้ำแล้ง 8 เดือน และปัญหาทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้งก็กลับรุนแรงยิ่งขึ้น จากน้ำท่วมทุก 10 ปี เป็นท่วมปีเว้นปี และท่วมทุกปี

ผมจึงใช้พลังงานในการจัดแปลบทความโดยอาศัยเนื้อหาผ่านทาง Wikipedia เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับ “การจัดการน้ำ” (Water Management) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ผมขอเป็นจุดเริ่มต้น แล้วหวังให้เด็กๆของเรา เริ่มตั้งแต่มัธยมศึกษา ได้ศึกษาสภาพความเป็นไปของบ้านเมือง ได้เรียนรู้ปัญหาที่มีมาในโลก และวิธีการที่เขาแก้ปัญหา แล้วมาร่วมกันช่วยคิดช่วยทำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำของประเทศไทยต่อไป

ภูมิศาสตร์ประเทศ

ลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands)

ประชากร (Population) ของประเทศเนเธอร์แลนด์ สำรวจในปี ค.ศ. 2011 มีประชากร 16,702,800 คน จัดว่าเป็นใหญ่เป็นอันดับที่ 61 ของโลก เปรียบเทียบแล้วมีประชากรใกล้เคียงกับประเทศกัมพูชาเพื่อนบ้านของไทย เนเธอร์แลนด์มีความหนาแน่นของประชากร (Density) ที่ 402.2 คน/ตร.กิโลเมตร จัดว่าหนาแน่นมากเป็นอันดับที่ 30 ของโลก

ประเทศเนเธอร์แลนด์ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบต่ำ ร้อยละ 25 ของพื้นที่อยู่ระดับต่ำกว่าน้ำทะเล และร้อยละ 21 ของประชากรอาศัยอยู่ในระดับต่ำกว่าน้ำทะเล และร้อยละ 50 ของพื้นที่อยู่ระดับสูงกว่าน้ำทะเลไม่เกิน 1 เมตร ด้วยลักษณะของประเทศดังนี้ ในยุโรป จึงเรียกชื่อประเทศนี้ว่า “ประเทศที่อยู่ต่ำ” หรือ The Low Country (e.g. German: Niederlande, French: Les Pays-Bas and Spanish: Países Bajos) พื้นที่ๆมีอยู่ของประเทศในปัจจุบันเกิดจากการพัฒนาที่ดินเข้าไปในทะเล (land reclamation) และการดูแลรักษาระบบโดยมีการดูแลที่ลุ่ม (Polders) และกำแพง/เขื่อนกั้นน้ำ (Dikes) ที่ดินเป็นอันมากของประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นบริเวณปากอ่าว (Estuary) ของแม่น้ำสำคัญ 3 สายของยุโรป ทำให้เกิดสันดอนสามเหลี่ยมที่เรียกว่า Rhine-Meuse-Scheldt delta บริเวณส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบลุ่ม โดยมีเชิงเขาเตี้ยๆไม่มากนักทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ และในบริเวณตอนกลาง

การควบคุมน้ำท่วม

Flood control in the Netherlands

ประเทศเนเธอร์แลนด์ดำรงอยู่ได้ด้วยการจัดการน้ำและควบคุมน้ำ เพราะพื้นที่สองในสามของประเทศเสี่ยงต่อการมีน้ำท่วม (Flooding) และในขณะเดียวกัน ประเทศนี้ก็มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศดำรงอยู่ได้ด้วยการอาศัยแนวสันทราย (Natural sand dunes) และผนังกั้นน้ำ (Dikes) เขื่อน (Dams) และประตูควบคุมน้ำท่วม (Floodgates) เพื่อป้องกันคลื่นสูงจากทะเล ขณะเดียวกันบริเวณแม่น้ำที่ไหลผ่านประเทศ ก็ต้องมีผนังกั้นน้ำไม่ให้น้ำจากแม่น้ำ Rhine และ Meuseไหลเข้ามาในแผ่นดิน นอกจากนี้ประเทศยังมีระบบคูคลองและการสูบน้ำออกโดยผ่านสถานีสูบน้ำ ในอดีตใช้ระบบสูบน้ำด้วยพลังลม (windmills) เพื่อทำให้พื้นที่ของประเทศสามารถทำการเพาะปลูกได้ และเพราะความซับซ้อนของการจัดการน้ำทั้งประเทศเช่นนี้ จึงต้องมีคณะกรรมการน้ำ (Water control boards) ซึ่งจัดเป็นหน่วยงานรัฐบาลที่เป็นอิสระทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น เพื่อรับผิดชอบต่อระบบดูแลรักษาและจัดการน้ำของประเทศนี้ ระบบการเมืองปกติเป็นการชิงอำนาจและมักมีความขัดแย้งตามมา อาจมีความชะงักงันในบางครั้ง แต่การจัดการน้ำต้องมีความต่อเนื่อง มีความขัดแย้งก็ต้องหาทางแก้ปัญหานั้นๆใหได้โดยเร็ว

ในสภาพที่เป็นไปของยุคปัจจุบัน ความเสี่ยงจากอุทกภัย ทำให้ประเทศต้องมีการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมอันเป็นงานสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ เพื่อลดความเสี่ยงของพายุคลื่นแรงจากทะเล (Storm surge) และป้องกันภัยจากน้ำท่วม

การควบคุมน้ำท่วมจากแม่น้ำ

Control of river floods

ในบทนี้ ผู้เขียนหวังว่าจะมีผู้ไปศึกษาประวัติศาสตร์การจัดการน้ำในประเทศเนเธอร์แลนด์ แล้วช่วยเขียนอย่างละเอียดพร้อม ทำหนังสือภาพออนไลน์ เพื่อให้การศึกษาแก่เยาวชนและประชาชนในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อจะได้เรียนรู้ และหาทางจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเข้าใจธรรมชาติของน้ำ ดังที่ได้มีประวัติศาสตร์และพัฒนาการมาแล้วในประเทศเนเธอร์แลนด์

ประเทศเนเธอร์แลนด์มีแม่น้ำสำคัญ 3 สายของยุโรปไหลผ่าน คือ Rhine, Meuse และ Scheldt จากทางตะวันออกไปยังด้านตะวันตก

การก่อสร้างที่สำคัญในการจัดการกับแม่น้ำครั้งแรก เริ่มในสมัยอาณาจักรโรมันในยุค Nero Claudius Drusus โดยมีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ Rhine โดยผันน้ำจากกิ่งสาขาของ Waal ไปยัง Nederrijn และต่อเชื่อมกับแม่น้ำ Ijssel ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นเพียงลำธารเล็กๆที่ไหลไปยังแม่น้ำ Rhine ส่วนวัตถุประสงค์จะเพื่อการควบคุมน้ำท่วม หรือเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหารและการลำเลียงสัมภาระนั้นไม่ทราบแน่ชัด

แนวผนังกั้นน้ำในบริเวณปากแม่น้ำ เริ่มในศตวรรษที่ 11 เพื่อลดความเสี่ยงจากพายุคลื่นจากทะเลบวกกับน้ำจากแม่น้ำ ผู้ปกครองแผ่นดินในระยะนั้นจึงสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมเข้ามาในแผ่นดินของตน (Graaf van Holland, +-1160, Kromme Rijn; Floris V, 1285, Hollandse IJssel) ซึ่งกลับทำให้คนอาศัยอยู่เหนือน้ำขึ้นไปเกิดปัญหา ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่ากันขนานใหญ่ ในบริเวณเหนือน้ำขึ้นไป ทำให้ต้องมีการปกป้องแผ่นดินด้วยการสร้างเขื่อนกั้นหนักขึ้นไปอีก ระดับน้ำในแม่น้ำก็ยิ่งกลับสูงขึ้นไปอีก จึงต้องมีการออกกฎหมายห้ามสร้างเขื่อน เพราะก่อนมีเขื่อน น้ำท่วมเป็นเพียงความยุ่งยากน่ารำคาญ แต่เมื่อมีเขื่อนแล้วเขื่อนแตก กลับเป็นหายนะที่รุนแรงยิ่งกว่า


ภาพ Nederrijn ในปี ค.ศ. 1995 ภาพ ผนังกั้นน้ำจากแม่น้ำ ที่เป็นแนวแคบๆไปตามแม่น้ำ โดยมีฟาร์อยู่ทางขวามือ

ในช่วงศตวรรษที่ 17 และ 18 ได้เกิดอุทกภัยจากแม่น้ำ (River floods) ทำให้ผู้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก มันเกิดน้ำในแม่น้ำแข็งตัว และกั้นน้ำในแม่น้ำ แต่เมื่อน้ำแข็งแตก ก็จะมีน้ำทะลักทำลายบ้านเมืองและการเกษตร การเข้าไปสร้างเขื่อนกั้นทะเลเพื่อเคลมแผ่นดินยิ่งมากออกไป ปัญหาน้ำท่วมจากภายในประเทศก็ยิ่งหนักยิ่งขึ้น

ในระยะต่อมามีการสร้างผนังกั้นน้ำในระดับต่ำเพื่อจัดการกับสายน้ำของแม่น้ำมากขั้น เพื่อทำให้น้ำในแม่น้ำไหลไปปลายน้ำ มีการรักษาร่องน้ำไม่ให้ตื้นเขิน ซึ่งเขาเรียกลักษณะดังกล่าวว่า “แม่น้ำเขียว” (Green river) พื้นที่ๆจัดการน้ำได้ ก็ใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ ซึ่งยังถือว่าเป็นการใช้พื้นที่ไม่คุ้มค่า ในระยะต่อมาจึงมีการสร้างผนังกั้นน้ำอย่างแข็งแรง เพื่อควบคุมการใช้น้ำให้ได้มากขึ้นไปตลอดสายแม่น้ำ และการจะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ จึงมีการสร้าง คลองเป็นระบบจัดการน้ำ ดังเช่น Pannerdens Kanaal และ Nieuwe Merwede

คลอง Pannerden

คลอง Pannerden (Pannerdens Kanaal) เป็นคลองที่คนขุด (Canal) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่พัฒนาในปี ค.ศ. 1701-1709 โดยตัดความคดเคี้ยวของแม่น้ำ Rhine และทำให้แม่น้ำมีประสิทธิภาพการระบายน้ำ และการสัญจรได้มากขึ้น

ภาพ คลอง Pannerden (Pannerdens Kanaal)

คลอง Nieuwe Merwede หรือ New Merwede เป็นคลองที่สร้างขึ้นปี ค.ศ. 1870 เพื่อให้เป็นกิ่งสาขาของแม่น้ำในบริเวณ Rhine-Meuse delta เป็นการขุดในแนวโค้ง (trajectories) ไปในแนวของ Biesbosch creeks เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วม โดยผันน้ำไปจาก Beneden Merwede และเพื่อช่วยการเดินทางทางเรือของแม่น้ำ ที่มีตะกอนตกหนาในบริเวณสันดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

ล่าสุดในปี ค.ศ. 1977 ได้มีรายงานเกี่ยวกับจุดอ่อนของผนังกั้นน้ำในแม่น้ำ แต่ได้รับการต่อต้านจากประชาชนในท้องที่ ที่แนวปฏิรูปใหม่จะต้องทำลายบ้านเรือนบางส่วน เพื่อทำให้สายน้ำไหลตรงมากขึ้น ในปี ค.ศ. 1993 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1995 ที่เกิดน้ำท่วมหนักซ้อนๆ ทำให้ต้องอพยพคนจำนวนมากถึง 200,000 คน เพื่อสร้างแนวผนังกั้นน้ำใหม่ และจากการปรับปรุงนี้น้ำท่วมจากแม่น้ำจะลดความเสี่ยงจากระดับน้ำท่วมทุก 100 ปี ไปเป็นทุก 1,250 ปี