New Zealand national rugby union team
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: Pracob@sb4af.org
ศึกษาและเรียบเรียงจาก From Wikipedia, the free encyclopedia
Keywords: sports, กีฬา, rugby, รักบี้
New Zealand | |
Union | |
สัญลักษณ์ | |
ผู้ฝึกสอน | |
หัวหน้าทีม | |
หัวน้าทีมนานที่สุด | Richie McCaw (100) |
ผู้ทำคะแนนมากที่สุด | Dan Carter (1250) |
ผู้วางทรัยมากที่สุด | Doug Howlett (49) |
Australia 3 – 22 New Zealand | |
ทำคะแนนมากที่สุด | |
New Zealand 145 – 17 Japan | |
แพ้มากที่สุด | |
Australia 28 – 7 New Zealand | |
การแข่งขันระดับโลก | |
จำนวนครั้งที่เข้าร่วม | 6 (ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1987) |
ผลที่ดีที่สุด | ชนะเลิศในปี ค.ศ. |
· การแข่งขันนานาชาติครั้งแรก (First international) กับ Australia 3 – 22 New Zealand (15 August 1903)
· ทำคะแนนมากที่สุด (Largest win) New Zealand 145 – 17 Japan (4 June 1995)
· แพ้มากที่สุด (Largest defeat) Australia 28 – 7 New Zealand (28 August 1999)
· การแข่งขันระดับโลก (World Cup)
· จำนวนครั้งที่เข้าร่วม (Appearances) 6 (ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1987)
· ผลที่ดีที่สุด (Best result) ชนะเลิศในปี ค.ศ. (Champions) ค.ศ. 1987
ทีม All Blacks
รักบี้ทีมชาติชายของประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand men's national rugby union team) หรือที่เรียกกันว่า All Blacks อันเป็นทีมรักบี้ตัวแทนประเทศนิวซีแลนด์ในการแข่งขันระดับนานาชาติในลีกที่เรียกว่า Rugby Union ซึ่งการแข่งขันกีฬารักบี้ใน Rugby Union จัดเป็นกีฬาประจำชาติของนิวซีแลนด์ ซึ่งทีม All Blacks จัดเป็นที่ประสบชัยชนะมากที่สุดของ และเป็นทีมชนะเลิศในการแข่งขันชิงชนะเลิศระดับโลกในการแข่งขัน Rugby World Cup ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1997 ทีมนิวซีแลนด์จัดเป็นทีมที่ทำคะแนนมากที่สุดตลอดการ และเป็นทีมที่มีสถิติชนะมากกว่าทุกทีมที่เข้าร่วมแข่งขันในระดับนานาชาติ เป็นทีมที่ได้รับการจัดอันดับเป็นที่หนึ่งรวมเวลายาวนานกว่าทุกทีม และนานกว่าทีมอื่นๆรวมกัน ในช่วงเวลา 100 ปี มีเพียง 5 จาก 20 ทีมที่ดีที่สุดได้เคยชนะทีมชาตินิวซีแลนด์
ในการแข่งขันแบบพบกัน 3 ทีมประจำปี (Tri Nations competition) คือ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย (Australia) และอัฟริกาใต้ (South Africa) ทีมนิวซีแลนด์ชนะ 10 ครั้งจาก 16 ครั้ง
ทีม All Blacks ชนะร้อยละ 75 ของการแข่งขันระดับนานาชาติ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1903 จัดเป็นทีมรักบี้ที่ได้รับการบันทึกชื่อใน International Rugby Board (IRB) ในปี ค.ศ. 2005, 2006, 2008 และ 2010 ส่วนระดับผู้เล่น กัปตันทีม Richie McCaw ได้รับการบันทึกใน International Rugby board เป็นผู้เล่นแห่งปีเป็นครั้งที่ 3 และมีผู้เล่นของทีม 15 คนที่ได้รับบันทึกชื่อใน International Rugby Hall of Fame และมี 3 คนที่ได้รับการบันทึกชื่อใน IRB Hall of Fame
การแข่งขันระดับนานาชาติครั้งแรกเริ่มในปี ค.ศ. 1884 กับทีม Cumberland County, ในเขต New South Wales ของประเทศออสเตรเลีย ในปี ค.ศ. 1903 นับเป็นชัยชนะครั้งแรกต่อทีมของออสเตรเลีย และหลังจากนั้นในการออกแข่งขันในซีกโลกเหนือในปี ค.ศ. 1905
ในชุดแต่งกายของทีมเป็นเสื้อยืดสีดำมีสัญลักษณ์ มีต้นเฟิร์นสีเงินและ Knickerbockers ขาว ในปี ค.ศ. 1905 เป็นต้นมา ชุดแต่งกายจะเป็นสีดำหมดยกเว้นต้นเฟิร์น ส่วนการแสดงปลุกใจฮักก้า haka ก่อนการแข่งขันแต่ละครั้ง เป็นพิธีปลุกใจของชาวเมารี ก่อนออกศึก (Māori challenge) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1924 เป็นต้นมา ได้เลือกบทที่ว่าด้วย Te Rauparaha's Ka Mate แต่หลังจากปี ค.ศ. 2005 เป็นต้นมาได้เปลี่ยนไปแสดงพิธี Kia Whaka-ngawari เป็นครั้งคราว เพื่อลดการสื่อสัญลักษณ์ความรุนแรงลงไป และลีลาการแสดงยังคงเป็นลักษณะปลุกใจสร้างความฮึกเหิมให้กับผู้เล่น และเร้าใจสำหรับคนดูที่เชียร์เช่นกัน
ประเทศนิวซีแลนด์
ประเทศนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่มีประชากรไม่มาก - มี.ค. 2549 (ประมาณ) มีประชากร 4,134,200 คน จัดเป็นอันดับที่ 124 ของโลก (2548) มีความหนาแน่นของประชากรที่ 15 คน/ตร.กม. จัดเป็นอันดับที่ 193 ของโลก แต่สามารถเอาดีทางกีฬารักบี้ อันเป็นกีฬาของคนตัวใหญ่ แข็งแรง อดทน และต้องรวดเร็ว ซึ่งต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาเกี่ยวกับชนชาวหมู่เกาะในทะเลใต้นี้
นิวซีแลนด์ (อังกฤษ: New Zealand; มาวรี: Aotearoa หมายถึง "ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว" หรือ Niu Tirenio ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ - นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน
นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด[ต้องการอ้างอิง] ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุดคือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มี ทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนีย (New Calidonia) ฟิจิ (Fiji) และตองกา (Tonga)
นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวทังกิ (Treaty of Waitangi) เมื่อปี พ.ศ. 2383 ซึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะให้ "complete chieftainship" (tino rangatiratanga) แก่ชาวมาวรีพื้น เมืองของนิวซีแลนด์ ในปัจจุบัน ความหมายที่แน่นอนของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และยังคงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจ[ต้องการอ้างอิง] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2383 นิวซีแลนด์ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นประเทศอิสระที่มีรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตย และอยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์ของกษัตริย์แห่งนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกับประเทศอื่นในเครือจักรภพ นิวซีแลนด์รับผิดชอบการต่างประเทศของหมู่เกาะคุกและนีอูเอ ซึ่งปกครองตนเอง[ต้องการอ้างอิง] และปกครองโตเกเลาเป็นเมืองขึ้น[ต้องการอ้างอิง]
พื้นที่ส่วนใหญ่ของนิวซีแลนด์มีภูมิอากาศเขตอบอุ่น และภูมิประเทศที่มีความหลากหลายและสวยงาม เศรษฐกิจของนิวซีแลนด์เน้นการค้าโดยมีฐานจากการเกษตร ชาวนิวซีแลนด์โดยทั่วไปเดินทางมาก และสนับสนุนการร่วมมือกันระหว่างประเทศและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมภายนอกเป็นกิจกรรมที่นิยมกันโดยเฉพาะกีฬาต่าง ๆ คือ รักบี้ คริกเกต และ เนตบอล รวมถึง กีฬาเอกซ์ตรีมสปอร์ตและการเดินไกล
No comments:
Post a Comment