Friday, October 14, 2011

แนวทางบริหารจัดการน้ำบนพื้นฐานของ Supply Chain Management

แนวทางบริหารจัดการน้ำบนพื้นฐานของ Supply Chain Management

โดย Kamron Gabby Sivapornpan เมื่อ 5 ตุลาคม 2011 เวลา 8:09 น.

ผมได้อ่านแล้ว นับเป็นความคิดที่ดี น่าสนใจ คงมีคนหลายๆคนคิดในลักษณะดังกล่าว รวมทั้งผมเองด้วย ผมเองได้อ่านแล้วเติมความคิดเห็น เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน และนำเสนอไว้ที่ http://pracob.blogspot.com
ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
Twitter: @pracob
----------------------------

การแก้ปัญหาน้ำท่วมนักการเมืองชอบพูดว่า "ต้องทำแบบบูรณาการ" แต่ไม่ชอบทำ..นักการเมืองทุกยุคทุกสมัยนั่นแหละครับ (1) #THFlood
@pracob: คำว่าบูรณาการ ฟังดูแล้วเก๋ดี แต่ชาวบ้านมักไม่เข้าใจ และนักการเมืองจริงๆก็ไม่ได้กระทำอย่างนั้น

การแก้ปัญหาน้ำท่วมไม่ใช่การลุยไปแจกของ..เดินลุยน้ำไปหาชาวบ้าน นั่นมันสร้างภาพ ไม่ใช่การแก้ปัญหาของนักการเมืองที่ดี (2) #THFlood
@pracob: เห็นด้วย

แบบบูรณาการ ในมุมมองของผมคือการมองแบบซัพพลายเชน..น้ำเป็น “supply พื้นที่รับน้ำเป็นdemand ต้องสอดสัมพันธ์ 2 ตัวนี้ให้ได้ (3) #THFlood
@pracob: เห็นด้วยในแนวคิดการอธิบายนี้ แต่มีอีก 2 มิติที่ต้องนำมาพูดด้วย คือ หนึ่ง มิติเวลา (Time Dimension) คือ ช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคมของทุกปี 4 เดือน น้ำจะมีเกินความต้องการ ทำอย่างไรจึงจะเก็บเอาไว้ หน่วงเอาไว้ แล้วนำมาใช้ในช่วง 8 เดือนที่น้ำจะแล้ง สอง มิติสถานที่ (Place Dimension) การเก็บน้ำแถบกรุงเทพฯและปริมณฑล ต้องกระทำ ดังเช่น “แก้มลิง” แต่กระทำไม่ได้มาก ต้องมองหาสถานที่เก็บน้ำในที่ๆเขาไม่เดือดร้อนนักที่จะเก็บน้ำ เช่นในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาก่อนถึงอยุธยา ซึ่งมีสัก 5-6 จังหวัด แต่เมื่อเขาเก็บน้ำ ก็ต้องมีการจัดการผลประโยชน์ให้เกิดความยุติธรรมด้วย

มี คนบอกว่า เราพยากรณ์น้ำไม่ได้ว่ามาเท่าไหร่..ในทางธุรกิจเราก็ประเมิน demand ไม่ได้ เแบบเป๊ะๆเหมือนกัน ก็ไอ้ครือกันนั่นแหละ(4) #THFlood
@pracob: การทำนายหรือพยากรณ์เป็นสิ่งจำเป็น แม้จะไม่สมบูรณ์ ฝรั่งเขาเรียกว่า intelligent estimation คือประมาณการอย่างฉลาด ใช้หลักวิชาต่างๆมาช่วย ผมคิดว่าเราน่าจะบริหาน้ำให้ได้แม่นยำกว่านี้ ไม่ใช่ต่างเก็บน้ำ แล้วพอเกินความต้องการแล้ว ก็ผลักน้ำออกกันมาสู่แม่น้ำและลำคลองพร้อมๆกัน ดังนี้ น้ำก็จะท่วมอย่างรุนแรง

เรา ต้องประเมินก่อนว่า demand เรารับได้เท่าไหร่..พื้นที่ไหนมีเขื่อน อ่างรับน้ำได้เท่าไหร่ เพื่อประเมินว่าเรารับได้เท่าไหร่ (5) #THFlood
@pracob: เห็นด้วย

นั่น รวมถึงที่นาเกษตรกรที่ต้องการน้ำในฤดูนี้เพื่อเก็บไปทำนาในฤดูทำนา และรวมที่รกร้างต่างๆ ให้ส่วนท้องถิ่นช่วยประสานงาน (6) #THFlood

หลัง จากรู้แล้วว่า demand รับได้เท่าไหร่..ก็มาดูซัพพลาย..พยากรณ์จะแกว่งบ้างไม่ เป็นไร..จากนั้นทำ logistics พา supply ไปหาdemand (7) #THFlood

ทำทางน้ำให้ชัดเจน..ทุกจังหวัดต้องช่วยกันเพราะพื้นที่ทั่วประเทศต้องช่วยกัน รับน้ำ..ต้องประเมินระดับประเทศ..ไม่ใช่จังหวัด (8) #THFlood

ซึ่ง นั่นรวมถึงกรุงเทพด้วย เช่นพวกแอ่งน้ำในหมู่บ้านจัดสรรพวกนี้ก็นับนะครับ เพราะต้องช่วยกัน เอาตรงไหนก็ได้ที่เก็บน้ำได้ (9) #THFlood

ทำ แบบบูรณาการทำได้หลายวิธี แต่สำคัญคือรัฐต้องเป็นผู้ประสานงาน ทั้งนักการเมืองประเทศ ท้องถิ่น ต้องประสานกันแบบทั้งประเทศ (10) #THFlood
@pracob: เห็นด้วย มีส่วนหนึ่งที่เราต้องจัดการ คือ การใช้กฎหมาย (Legal aspect) เข้าช่วย และต้องมีการบังคับใช้ และต้องมีระบบจัดการให้เป็นไปตามกฏหมายอย่างจริงจัง

นั่นแหละบูรณาการและประยุกต์เอาความรู้ด้านบริหารจัดการมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้นั่นเอง (จบครับ) #THFlood

No comments:

Post a Comment