คูริทิบา ประเทศบราซิล
เมืองเป็นมิตรกับจักรยานอันดับที่ 4
Keywords: การขนส่ง, transportation, การเดินทาง, commuting, สิ่งแวดล้อม, environment,
ecology, energy, รถจักรยาน, bicycles, bikes, เมืองเป็นมิตรกับจักรยาน, Bicycle-Friendly Cities, คูริทิบา
ประเทศบราซิล, Curitiba, Brazil
ภาพ ชุมชนที่ร่วมใช้จักรยาน ไม่ใช่เพียงเพื่อสันทนาการ แต่เพื่อใช้ในการเดินทางในแต่ละวัน
คูริทิบา ประเทศบราซิล (Curitiba,
Brazil) อาจได้ชื่อว่าเป็นเมืองจัดวางผังเมืองที่ดีที่สุดในโลก
และเขาใช้แนวคิดการใช้จักรยานประสมประสานเข้ากับการออกแบบเมือง
เมืองคูริทิบาผลักดันให้การขี่จักรยานเป็นยานพาหนะหลักของเมืองมานานกว่า 40
ปีแล้ว ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดช่องทางรถจักรยาน (Bike lanes)
ก่อนอื่น ลองมองภาพกว้างรวมๆของประเทศบราซิล (Brazil)
ซึ่งเป็นประเทศกว้างใหญ่ มีพื้นที่กว้าง 8,515,767 ตารางกิโลเมตร จัดเป็นประเทศมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก มีประชากร 201 ล้านคน
จัดเป็นประเทศมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก ประเทศบราซิลเองจัดได้ว่ามีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง
ประขากรมีรายได้เฉลี่ย USD 12,526 หากคิดจากผลผลิตมวลรวมของชาติ
บราซิลมีผลผลิตอ้อยมากที่สุดในโลก และส่วนหนึ่งได้ใช้ในการผลิต Ethernol เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันจากปิโตรเลียม
ในด้านการเตรียมตัวต่อปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ชาวบราซิลเองได้มีความมุ่งมั่นที่จะให้มีทางเลือกของการขนส่งและเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้โดยทำให้โครงสร้างพื้นฐานของเมือง
รองรับและส่งเสริมการใช้รถจักรยานเป็นทางเลือกการเดินทางทดแทนการใช้รถยนต์นั่งส่วนตัว
ซึ่งนับวันจะมีแต่สร้างการจราจรติดขัดบนถนนหลวง
และเผาผลาญพลังงานปิโตรเลียมที่นับวันมีแต่จะหมดไป
เมืองคูริทิบา
เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของรัฐพารานา (Paraná)
ของประเทศบราซิล เมืองมีประชากรประมาณ 1,760,500 คน (2010) และเป็นเมืองใหญ่ที่สุดอันดับ 8 ของประเทศ และเป็นเมืองใหญ่สุดในเขตใต้ และหากนับเขตเทศบาลที่เรียกว่า Curitiba
Metropolitan Area ซึ่งมีเทศบาลรวม 26 แห่ง
มีประชากรรวม 3.2 ล้านคน
นับเป็นเขตมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 7 ของประเทศ
คูริทิบานับเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญอันดับที่ 7 ของประเทศบราซิล
ตามแผนแม่บท Cicloviário Master Plan ซึ่งเตรียมโดยสถาบันคูริทิบาวิจัยและพัฒนาชุมชนเมือง (Curitiba
Institute for Urban Research and Planning) เมืองคูริทิบาจะสร้างเครือข่ายช่องทางรถจักรยานเพิ่มขึ้นอีก
120 กิโลเมตร ซึ่งเติมให้เมืองมีทางรถจักรยานเพิ่มเป็น 400
กิโลเมตร
นับว่าเป็นทางจักรยานของเมืองที่ยาวที่สุดอันดับสองของประเทศ
การส่งเสริมการใช้จักรยานนี้
ไม่ใช่เพื่อการขี่แบบพักผ่อนหย่อนใจหรือเป็นการกีฬา แต่เขาต้องการให้เป็นทางเลือกในการเดินทาง
นับเป็นการให้ความสำคัญในด้านการเดินทางที่เป็นทางเลือกใหม่ ที่เรียกว่า Mobility
and Accessibility Program การสร้างทางจักรยานนี้
เป็นการขยายสิ่งที่มีอยู่แล้วในเมือง ให้ไปเชื่อมโยงกับชุมชนเขตเมืองเพื่อนบ้าน
ภาพ ส่งเสริมรถประจำทาง มากกว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคล
ภาพ ถนนบางสายปิดเพื่อให้กลายเป็นถนนคนเดิน
ภาพ ส่งเสริมพื้นที่สาธารณะ และคุณภาพชีวิต ลดพื้นที่การใช้รถยนต์
ภาพ ป้ายจอดรถประจำทาง ที่ได้สิทธิในการวิ่งได้อย่างด่วน รวดเร็ว
No comments:
Post a Comment