Sunday, July 20, 2014

ประเทศลาวเหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม

ประเทศลาวเหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม

ประกอบ คุปรัตน์ 
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance, government, ประชาธิปไตย, democracy, สปป ลาว, Lao PDR, เวียงจันทน์หลวงพระบางไกสอน พมวิหานปากเซซำเหนือโพนสุวรรณท่าแขกเมืองไชยวังเวียงปากซัน

ประเทศลาว (Lao PDR) มีประชากร 6,695,166 คน จัดมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 104 ของโลก หรือประมาณ ใน 10 ของประเทศไทย ประเทศลาวมีความหนาแน่นของประชากรที่ 26.7 คน/ตร.กม. หรือเพียงราว 1 ใน 5 ของประเทศไทย ลาวมีพื้นที่กว้างใหญ่ที่เป็นป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์ ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ หากรู้จักวิธีการจัดการที่ดินในลักษณะป่า หรือป่าชุมชน นักวิชาการหลายฝ่ายมองว่าพื้นที่ราบเท่านั้นที่จะทำการเพาะปลูกได้ แต่ความจริงพื้นที่ภูเขา

ด้วยลักษณะชาวลาวมีความสนุกสนาน ต้อนรับผู้คน กิจการด้านการท่องเที่ยวของลาวจึงสามารถส่งเสริมได้ง่ายที่สุด โดยสามารถส่งเสริมไปในลักษณะท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้วัฒนธรรม ด้วยมีชนเผ่าที่หลากหลาย

การท่องเที่ยวถือเป็นการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชน ร่วมไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดย่อยที่อาศัยวัตถุดิบจากท้องที่ ซึ่งได้มาด้วยพื้นฐานการเกษตร

ประเทศลาวมีเมืองสำคัญเรียงลำดับตามขนาดประชากรดังต่อไปนี้

ที่
เมือง
ประชากร
1
196 731
2
47 378
3
66 553
4
88 332
5
38 992
6
37 507
7
26 200
8
25 000
9
25 000
10
21 967

เมืองเหล่านี้มีเส้นทางถนนเชื่อมโยงอยู่บ้างแล้ว แต่ไม่มีทางรถไฟ หรือการขนส่งระบบราง (Rail system) ในปัจจุบัน แต่ด้วยความจำเป็นของประเทศเพื่อนบ้าน อันได้แก่ไทย พม่า จีน เวียดนาม และกัมพูชา ซึ่งต้องอาศัยประเทศลาวเป็นทางผ่านของการคมนาคมต่อกัน จึงทำให้ลาวแม้ไม่มีเงินทุนของตนเอง แต่ก็สามารถพัฒนาประเทศไปได้ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ และการอาศัยเป็นทางผ่านของประเทศเพื่อนบ้าน และร่วมมือในการพัฒนาภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกัน


การจะไปเที่ยวดูความเจริญของประเทศลาว ไปดูสิ่งก่อสร้างของเมืองต่างๆ เราคงได้เห็นงานก่อสร้างที่ได้เริ่มผลุดขึ้น แต่กระนั้นก็จะยังเทียบไม่ได้กับประเทศไทย มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ แต่หากมองในเชิงศักยภาพ (Potentiality) แล้ว ลาวจะยังเติบโตขยับขยายไปได้อีกไกล ซึ่งจะได้พึ่งพามีประโยชน์ต่อกันกับประเทศไทยในระยะอีกยาวนาน

สถานที่พัก


เมื่อต้องมีการส่งเสริมการท่องเที่ยว ก็ต้องมีที่พักที่เหมาะสมกับลักษณะผู้มาท่องเที่ยว


ภาพ เรือนพัก หรือ Guesthouse ที่พบตามเมืองต่างๆ ที่มีนักท่องเที่ยวมาพัก


ภาพ หนึ่งในสถานที่พักแบบ Resort ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาที่เสริมทำให้มีอากาศที่เย็นสบาย แทบไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ


ภาพ ที่พักอาศัยตามชุมชนหมู่บ้าน ของชาวลาวและชนกลุ่มน้อย สามารถนำมาดัดแปลเป็นที่พักของนักท่องเที่ยวได้


ภาพ บ้านไม้ที่สร้างมาอย่างดี และเมื่อต้องการปรับปรุง ขยายส่วนล่าง สามารถจัดทำเป็น Guesthouse สำหรับนักท่องเที่ยวได้


ภาพ เด็กๆของชนเผ่า ทำให้หมู่บ้านมีชีวิตชีวาสำหรับการท่องเที่ยว หากต้องรักษาเอกลักษณ์การแต่างกายแบบชนเผ่าเอาไว้ในระดับหนึ่ง

อาหารการกิน


การท่องเที่ยวต้องการลักษณะอาหารที่หลากหลาย ทั้งแบบพื้นบ้าน และแบบสากล หรือาหารทางเลือก อาหารเพื่อสุขภาพ


ภาพ ผัดผักบุุ้ง


ภาพ ผักสดที่ปลูกอยู่โดยทั่วไป ลาวยังไม่ได้ใช้สารเคมีในการเกษตรมากนัก เพราะมีต้นทุนสูง


ภาพ ข้าวเเหนียว ส้มตำ ผัดผัก ผักสด อาหารคล้ายกับในอีสาน


ภาพ ไก่ย่าง ที่เห็นมุมขวาของโต๊ะ


ภาพ ไข่เจียว ปลาทอด


ภาพ อาหารการกินแบบพื้นบ้านของลาว จะมีลักษณะคล้ายอาหารของชาวอีสาน

ลักษณะกลุ่มคนที่มาเที่ยว



ภาพ กลุ่มคนที่มาเที่ยวที่จะเหมาะคือขนาดเท่ากับรถโดยสาร เช่นชนาด 10 คน, 20 คน, หรือ 30 คน ที่เห็นในภาพคือกลุ่มขนาด 10 คน ไม่นับรวมคนขับและมักคุเทศ

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศลาว



ภาพ สถานที่ๆเป็นเขาในรูปลักษณ์ต่างๆกัน สลับกับผืนนาที่เป็นที่ราบ


ภาพ วัดในพุทธศาสนา ซึ่งโดยเปรียบเทียบแล้วมีน้อยกว่าในประเทศไทย

ลักษณะการคมนาคม


ถนน และทางรถไฟ


ภาพ ถนนมาตรฐาน ลาดยาง มักเป็นถนนเชื่อมระหว่างเมืองใหญ่ แต่ประเทศลาวยังไม่ได้พัฒนาทางรถไฟ

ลักษณะชุมชนเมือง



ภาพ เมืองโพนสุวรณร แขวงเชียงขวาง ในประเทศลาว มองลมาจากโรงแรที่พักที่ตั้งอยู่บนเขา


ภาพ ลักษณะตลาดที่ยังเป็นแบบพื้นบ้าน หรือตลาดสดในเมืองระดับหัวเมือง ส่วนเมืองเวียงจันท์ จะมีลักษณะที่เปลี่ยนไป คล้ายกับกรุงเทพฯ มากขึ้น


ภาพ อาขีพการเกษตรที่มีสินค้าซื้อขายกันเอง ดังเข่นการเลี้ยงเป็ดไก่ ก็จะขายเป็นตัวๆยังมีชีวิต แล้วคนซื้อต้องนำไปเชือดและถอนขนเอง


ภาพ พืชผลการเกษตร ที่มีวางขายนตลาด


ภาพ มะนาวที่มีขายในตลาด


ภาพ กล้วยและมะนาว หากมีการส่งเสริมการปลูก การคัดเลือกสายพันธุ์ ก็จะสามารถผลิตเพื่อการส่งออก หรือการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารขนาดย้อยได้


ภาพ รวงต่อ อาหารป่า สามารถนำไปประกอบอาหาหรได้












No comments:

Post a Comment