Wednesday, July 23, 2014

ทุ่งไหหิน ประเทศลาว (Plain of Jars)

ทุ่งไหหิน ประเทศลาว (Plain of Jars)

ประกอบ คุปรัตน์ 
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: ประวัติศาสตร์, โบราณคดี, ประเทศลาว, ทุ่งไหหิน, แขวงเชียงขวาง, Plain of Jars,

ทุ่งไหหิน (ลาว: ທົ່ງໄຫຫິນ, อังกฤษ: Plain of Jars) คือ ภูมิประเทศทางโบราณคดี ซึ่งเป็นที่ตั้งของหินใหญ่ (Megalith) ที่กระจัดกระจายไปทั่วที่ราบสูงเชียงขวาง แขวงเชียงขวาง ทางเหนือของประเทศลาว ประกอบด้วยหินใหญ่รูปทรงไหนับพัน ปรากฏเป็นกลุ่มๆ ตลอดแนวเขาและอยู่ล้อมรอบหุบเขาสูง
ที่ราบสูงเชียงขวาง ตั้งอยู่บริเวณเหนือสุดของเทือกเขาอันนัม (Annamite Range) อันเป็นเทือกเขาหลักในอินโดจีน โดยมีการค้นพบทุ่งไหหินเบื้องต้นในช่วง ค.ศ. 1930 ซึ่งกล่าวถึงไหหินที่สัมพันธ์กับพิธีกรรมเกี่ยวกับงานศพในยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากนั้นได้มีการขุดค้นโดยนักโบราณคดีชาวลาวและชาวญี่ปุ่น และมีการค้นพบวัตถุเกี่ยวกับงานศพและเครื่องเคลือบรอบๆ ไหหิน วัตถุเหล่านั้นถูกกำหนดให้อยู่ในช่วงสมัยยุคเหล็ก (Iron Age) และกลายเป็นหนึ่งในแหล่งโบราณคดีทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในการศึกษายุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แหล่งโบราณคดีทุ่งไหหินบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างสังคมที่ซับซ้อนมากขึ้นและโครงสร้างหินใหญ่ ที่อยู่ในชุมชนยุคเหล็กในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รัฐบาลลาวกำลังผลักดันให้องค์การยูเนสโกจดทะเบียน ทุ่งไหหิน (Plain of jar) ในแขวงเซียงขวางเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งหนึ่งเคียงคูกับเมืองหลวงพระบาง แขวงเซียงขวางเป็นพื้นที่ทางโบราณคดีสำคัญของลาว เพราะมีพื้นที่ราบหลายแห่งเต็มไปด้วยไหหินอายุระหว่าง 2,500 - 3,000 ปี จำนวนหลายพันชิ้นที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ และมีขนาดใหญ่โต[1]

สมมุติฐานเกี่ยวกับไหหิน (Stone Jars)

ที่ทุ่งไหหิน (Plain of Jars) มีไหหินที่น่าจะเกิดจากมือมนุษย์นับเป็นพันใบ กระจายอยู่ในบริเวณที่ราบสูงของแขวงเชียวงขวาง ตอนเหนือของประเทศลาว ไหหินเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดก่อนมีการประดิษฐตัวอักษรและการจารึกประวัติศาสตร์ จึงไม่มีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ได้เกิดขึ้น ส่วนประวัติศาสตร์คำบอกเล่าที่สืบต่อกันมาจนเป็นตำนานนั้น ก็ยากที่จะเชื่อถือได้ ดังนั้นจึงได้แต่มีการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มขึ้น และทั่งหมดเป็นเพียงสมมุติฐาน

สมมุติฐานของไหหินว่าใช้ทำอะไร คงไม่ได้ใช้เพื่อการหมักเหล้า เพราะคงมีวัสดุอุปกรณ์ที่ทำจากดินเผาที่ง่ายในการทำการผลิตกว่านี้

ดังนั้นจึงคาดว่าเป็นสิ่งที่เขาใช้ในพิธีเกี่ยวกับศพ โดยใช้เป็นที่เก็บศพผู้เสียชีวิตแล้ว โดยใข้เป็นที่ๆหมักให้ศพเน่าเปื่อยไปในเวลาไม่นานนัก ขนาดของไหแสดงถึงสถานะของผู้เสียชีวิต และน่าจะมีการใส่ศพลงไปในไห เพื่อให้เกิดการเน่าสลายส่วนที่เป็นเนื้อและไขมันต่างๆ โดยมีเชื่อจุลินทรีย์ที่มีสะสมอยู่เป็นตัวเร่งดำเนินการ ซึ่งอาจมีแมลง สัตว์ปีก เช่นแร้ง กา นกกินเนื้อ เข้ามากินเศษเนื้อจากศพ ภายในไม่กี่สัปดาห์ ศพก็จะสะอาดเหลือแต่กระดูก ซึ่งสามารถนำออกมา แล้วนำไปทำพิธีทางศาสนาหรือความเชื่อของตนได้ บริเวณทุ่งไหหิน จึงน่าจะมีสภาพคล้ายสุสานเก็บศพในปัจจุบัน ที่แยกห่างจากที่พักอาศัย
สมมุติฐานว่า มีการสกัดหินที่มีทรงกลมจากที่อื่น แล้วนำมารวมไว้ที่บริเวณทุ่งไหหินนี้ ซึ่งตามสภาพบริเวณที่มีภูเขาที่เต็มไปด้วยหินขนาดต่างๆนั้นอยู่ไกลออกไป คงจะเป็นการเหนื่อยากเกินกว่าจะเป็นประโยชน์ จึงน่าจะเป็นการหาหินขนาดใหญ่ที่มีอยู่แล้วในบริเวณนั้นๆ แล้วสกัดเป็นรูปทรงเหมือนโอ่งขนาดใหญ่ ณ ที่นั้นๆ โดยไม่ต้องมีการขนย้ายมาจากที่อื่นๆ

ภาพ จากทุ่งไหหิน (Plain of Jars)



ภาพ ถ่ายภาพหมู่ของคณาจารย์และเพื่อนร่วมเดินทาง Surindra Rajabhat University (SRRU), จังหวัดสุรินทร์ ณ ทุ่งไหหิน ประเทศลาว




ภาพ ทุ่งไหหิน ในบริเวณที่ 1


ภาพ ไหหิน ที่เข้าใจว่าใช้ในพิธีกรรมเกียวกับงานศพ


ภาพ ไหหินมีหลายขนาด


ภาพ หลุมระเบิดที่กองทัพอากาศอเมริกันได้ทิ้งถล่ม โจมตีเส้นทางขนย้ายทหารเวียดนาม จากทางเหนือลงมาทางใต้ โดยผ่านประเทศลาว



No comments:

Post a Comment