ประเทศลาวตอนเหนือ จากสงครามสู่สันติภาพ
Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance, government,ประชาธิปไตย democracy, สปป ลาว, Loa PDR, สันติภาพ, peace, สงคราม, war, สหรัฐอเมริกา, USA, การโจมตีทางอากาศ,
“ปะเทดซาด ได้จาลึกไว้วันแห่งโสกนาตะกำ
ถ้ำปิว 24-11-1968 374 สบเพียงวินาทีเดียว
ช่วงที่ผมและคณาจารย์ได้มีโอกาสไปเยือนประเทศลาวโดยทางรถยนต์
จากเมืองเวียงจันท์ขึ้นไปทางเหนือ จนไปสู่เขตเชียงขวาง ส่วนหนึ่งเพื่อให้ได้เรียนรู้ประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว
นอกเหนือจากสภาพแวดล้อมแบบเมืองที่นครเวียงจันท์ ที่ได้เคยไปมาบ้างแล้ว
คราวนี้ ได้เดินทางไปจนถึงเขตเชียงขวาง
และได้ไปเยี่ยมชมสถานที่ทางประวัติศาสตร์บางแห่ง
ทัศนศึกษา ชมถ้ำที่เมืองเวียงชัย (Viengxay
Caves) เมืองเวียงชัย จังหวัดหัวพัน ประเทศลาว (Viengxay,
Houaphanh Province, LAO PDR) บริเวณนี้มีถ้ำที่มีความซับซ้อนแต่สวยงามและมีประวัติศาสตร์
ในช่วงปี ค.ศ. 1964 ถึง 1973 ได้มีถ้ำบริเวณนี้ประมาณ 400
แห่งที่เป็นที่หลบซ่อนตัวของกองทัพประชาชนลาวจากการทิ้งระเบิดและโจมตีทางอากาศของสหรัฐอเมริกา
กว่า 20,000 คน บริเวณนี้ห่างจากชายแดนเวียดนามเพียง 52 กิโลเมตร
และเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ลำเลียงกำลังทหารจากเวียดนามเหนือสู่เวียดนามใต้
ถ้าปิว (Pew Cave) เป็นถ้ำประวัติศาสตร์
เป็นถ้้ำที่เครื่องบินรบอเมริกันยิงระเบิดเข้าปากถ้ำ ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 1968
ยิง 2 ลูก เข้าไปหนึ่งลูก คน 374 คนตายในทันที
ปัจจุบนเมืองเวียงชัย (Viengxay) เป็นที่ๆสงบ มีเสน่ห์ของธรรมชาติที่สวยงามดึงดูดนักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวสามารถขี่จักรยานหรือจักรยานยนต์ท่องเที่ยวไปตามที่ต่างๆได้
รวมถึงการเยี่ยมชนเผ่าต่างๆ เช่น ไทแดง (Tai daeng, Yao, Kamu, Hmong) มีการทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายที่ละเอียดสวยงาม มีบ้านพักแบบ Guesthouses
ที่ดำเนินการโดยชาวบ้านแบบเป็นกันเองและเรียบง่าย
ภาพ พิพิธภัณฑ์ที่จังหวัดเชียงขวาง สปป ลาว
ภาพ ทางเข้าพิพิธภัณฑ์เชียงขวาง สปป ลาว
ภาพ ลูกระเบิดนานาชนิดที่ใช้ในสงครามอินโดจีน ซึ่งยังมีระเบิดหลงเหลืออยู่ทั่วบริเวณ โดยประมาณ ระเบิดร้อยละ 30 ไม่จุดระเบิด และยังคงฝังดิน ซึ่งต้องมีการสำรวจหา และทำลาย
ภาพ ระเบิดนานาชนิดที่ถูกทิ้งลงในบริเวณจังหวัดเชียงขวาง ทางตอนหนือของประเทศลาว ภาพจากพิพิธภัณฑ์จังหวัดเชียงขวาง สปป ลาว
พิพิธภัณฑ์ ในช่วงที่ยังไม่ได้เก็บสะสมเกี่ยวกับวัฒนธรรมชนเผ่าของที่จังหวัดเชียงขวาง ก็ใช้เก็บสะสมชิ้นส่วนที่เก็บได้จากสงครามอินโดจีน
ภาพ อาวุธปืนประเภทปืนยิ่งเร็วหรือปืนกลมือ ที่ใช้ในสงครามอินโดจีน
ภาพ อนุสาวรีย์ถ้ำปิว ทางตอนเหนือของประเทศลาว
ภาพ ที่จารึกไว้ “ปะเทดซาด ได้จาลึกไว้วันแห่งโสกนาตะกำ ถ้ำปิว 24-11-1968 374 สบเพียงวินาทีเดียว
374 ศพที่ได้เสียชีวิตใน้ำปิวแห่งนี้ ในวันที่ 24 เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1968
374 ศพที่ได้เสียชีวิตใน้ำปิวแห่งนี้ ในวันที่ 24 เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1968
ภาพ บริเวณปากถ้ำปิว ซึ่งมีความลึกไม่มากนัก เมื่อระเบิดถูกยิงเข้าไปในถ้ำ จึงสังหารทุกคนในถ้ำ ไม่มีเหลือรอดชีวิต
ภาพ ชาวบ้านคนหนึ่งที่พ่อแม่เขาเสียชีวิตด้วย แต่เขามีชีวิตรอด เพราะไม่ได้เข้าไปหลบภัยในถ้ำ
No comments:
Post a Comment