Monday, September 12, 2011

กฎข้อที่ 26 การทำตนให้สะอาด

กฎข้อที่ 26 การทำตนให้สะอาด

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail:
Pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อThe 48 Laws of Power”, 1998 โดย Robert Greene and Joost Elffers.

Keywords: power48, Administration, การบริหาร, management, การจัดการ, power, อำนาจ

Keep Your Hands Clean
รักษามือให้สะอาด

แม้เผด็จการ ก็ต้องการภาพพจน์ของความเป็นนักบุญ

ไม่ว่าชายหรือหญิงที่ก้าวสู่อำนาจ ทั้งหมดจะมีลักษณะเหมือนกันประการหนึ่งคือ “รักษามือให้สะอาด” (Keep your hands clean.) กฎแห่งอำนาจข้อที่ 26 นั้นเกี่ยวกับการแสดงออกในลักษณะที่ว่าไม่ว่ามีอะไรเกิดขึ้น ท่านจะปราศจากการกล่าวหาหรือกระทำผิด ไม่ว่าท่านจะเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่

ผู้นำมักจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างเปิดเผยกับความผิดพลาด หรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ทั้งนี้ด้วยมีคนที่เข้ามารับหน้าแทน หรืออาจเป็นแพะที่เข้ามารับบาป (Scapegoat) หรือมีคนเข้ามารับทำงานสกปรกแทน หรืออาจมีตัวแทนของตัวแทนแล้ว แต่ระบบจะดำเนินการให้มี คนที่มักจะมีข่าวว่าเกี่ยวข้องมักจะเป็นระดับ “เบี้ย” ในเกมส์หมากรุก และการที่มีคนมารับงานสกปรกแทนนี้ นักการเมืองระดับสูงมักจะมีระบบปกป้องตนเองได้

กฎข้อนี้ไม่ใช่มีใช้กันในหมู่พวกคนโกง แม้ผู้นำที่ว่าดีในประวัติศาสตร์ก็ล้วนใช้อำนาจตามกฎข้อนี้ ในการเมืองระบบสาธารณรัฐมีตำแหน่งสูงสุดคือประธานาธิบดี ก็จะมีนายกรัฐมนตรีเข้ามารับผิดชอบงานบริหาร หากบริหารได้ดี ประธานาธิบดีก็ได้รับชื่อเสียงและความนิยม แต่หากบกพร่อง นายกรัฐมตรีอาจต้องลาออก หรือถูกปลดออกเพื่อหาคนใหม่ที่มีภาพลักษณ์สดใส หรือเปลี่ยนยุทธศาสตร์การบริหารไป ประธานาธิบดีจะดำรงตำแหน่งจนครบวาระ 4 หรือ 6 ปี แล้วไปตัดสินกันด้วยการลงคะแนนเสียงของประชาชน

ภาพ 4 คน (Gang of Four) ที่เป็นผู้ถูกลงโทษฐานก่อการในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม

ในสมัยการปฏิวัติวัฒนธรรมของจีน (Cultural Revolution) ความจริงในประวัติศาสตร์ ประธานเหมา เจอตุงมีส่วนเกี่ยวข้องด้วนแน่ แต่กระนั้นคนสำคัญในพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีอำนาจต่อมาอย่างเติงเสี่ยวผิง ก็ไม่อยากให้ภาพลักษณ์นี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งและเกลียดชังประธานเหมา แต่สำหรับหัวหน้าฝ่ายปฏิวัติวัฒนธรรม 4 คน ที่เรียกว่า Gang of Four นั้น เขาคือผู้รับผิดในสังคม และต้องโทษโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนไป

ภาพ Adolf Hitler ผู้นำเยอรมันในยุคนาซี ที่ถ่ายภาพร่วมกับเด็กๆ ทำให้ภาพความเป็นเผด็จการโหดร้ายเบาบางลง

ภาพฮิตเลอร์ (Hitler) กับเด็กๆ

แม้เผด็จการอย่าง Adolf Hitler ที่ว่ามีความเหี้ยมโหดที่สุดนั้น เขาก็ต้องการสร้างภาพของต้วเองให้เป็นคนสะอาด มีจิตใจที่เมตตา รักเด็กๆ ให้ความสำคัญต่อการศึกษาของชาติ

สำหรรับผู้นำ เขาคงต้องการสร้างภาพลักษณ์ของความสมบูรณ์แบบ เป็นคนอารยะ มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เป็นคนทำงานอะไรแบบงุ่มง่าม หรือเป็นตัวตลก ผู้นำบางคนแม้จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานที่สกปรก ต้องทำลายคน แต่ก็จะหาคนที่ทำหน้าที่ดังกล่าวมาทำแทน เช่น

เป็นผู้นำประเทศ มีฝ่ายที่ต่อต้านออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ก็ไม่ต้องไปตอบโต้โดยตรง หาคนที่จะทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงมาทำหน้าที่นั้นๆ แทน ดังเช่นการทำลายภาพลักษณ์ของฝ่ายตรงกันข้าม การคุกคามผู้สนับสนุนของฝ่ายตรงกันข้าม แต่สำหรับผู้นำแล้ว ต้องรักษาภาพลักษณ์ที่ใสสะอาดเอาไว้

No comments:

Post a Comment