Monday, September 26, 2011

กฎข้อที่ 44 ใช้ประโยชน์จากการให้ส่องกระจก

กฎข้อที่ 44 ใช้ประโยชน์จากการให้ส่องกระจก

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail:
Pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อThe 48 Laws of Power”, 1998 โดย Robert Greene and Joost Elffers.

Keywords: Power48, Administration, การบริหาร, management, การจัดการ, power, อำนาจ

ความนำ

Disarm and Infuriate with the Mirror Effect
ทำให้เขาหมดฤทธิและเกรี้ยวกราดด้วยวิธี “ภาพสะท้อนกระจก”

Mirror Effect – ตีความได้หลายแบบ อาจหมายถึงเขาทำอะไร เราทำตามอย่างนั้น เหมือนทำให้เขาเห็นภาพสะท้อนตัวของเขาเอง

กระจกที่ว่านี้คือ สิ่งที่ทำให้สะท้อนข้อเท็จจริง และในอีกด้านหนึ่งคือการทำให้เกิดภาพหลอนที่เป็นภาพหลอก ไม่ใช่ของจริงเสมอไป เช่น เห็นศัตรูทำอะไร เราทำตาม ทำให้เขาไม่รู้ว่าความเป็นจริงนั้นเรากำลังทำอะไร เช่นในสมัยโบราณ เราไม่มีกำลังรบมากมาย แต่เพราะศัตรูยกทัพมาบุก เราก็แกล้งทำเป็นมีกำลังทัพอยู่ในฝ่ายเรามาก เช่นมีค่ายพักจำนวนมาก มีเสียงอึกทึกจากในกำแพง มีหุ่นแทนกำลังทหารจริง ในสมัยโบราณนั้นได้มีการใช้ยุทธศาสตร์นี้ และสามารถทำให้ฝ่ายศัตรูตกใจ และถอยทัพกลับไปในที่สุด

กระจกเงามีได้หลายแบบ

ปรากฏการณ์กระจกเงา หรือ Mirror Effect จึงเป็นวิธีการสร้างอำนาจอย่างหนึ่ง ซึ่งมีได้อย่างน้อย 4 แบบ กล่าวคือ

การทำให้มีผลเป็นกลาง (Neutralizing Effect) การเลียนแบบการกระทำของฝ่ายศัตรูและทำให้เขาสับสนและมืดบอดว่า ประเด็นที่ท่านกำลังเผชิญอยู่นั้นเป็นอย่างไร ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ท่านมีเวลาในการเตรียมการ หายุทธวิธีใหม่ที่จะชนะฝ่ายตรงกันข้าม

การทำให้เกิดภาพหลอน (Hallucinatory Effect) แสร้งทำเป็นคนอื่น โดยสะท้อนภาพนั้นออกมาที่ทำให้เห็นเป็นการกระทำ ทัศนคติ และรูปลักษณ์ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริง การที่ทำให้ไม่รู้ว่าสิ่งไหนจริง และสิ่งไหนเป็นสิ่งหลอก ทำให้ท่านมีอำนาจที่จะกระทำอะไรที่ท่านต้องการ ในขณะที่คนอื่นหลงคิดว่าท่านเป็นคนบางคน

ยกตัวอย่าง

วุฒิสมาชิก John (นามสมมุติ) เป็นนักการเมืองดาวรุ่งในวุฒิสภา ที่ฝ่ายตรงข้ามไปได้ข้อมูลมาว่า John มีบิดาเป็นชาวต่างชาติ และ John ไม่ได้เกิดในประเทศ จึงทำให้เขาไม่ควรได้รับความนิยมที่จะก้าวสู่ความเป็นผู้นำระดับสูงของประเทศ John ทราบประเด็นที่ได้รับการโจมตีดี แต่ไม่ตอบโต้ การกล่าวโจมตีจากฝ่ายตรงกันข้ามก็ยิ่งรุนแรงขึ้น และดูเหมือนคนก็จะเชื่อตามคำกล่าวหามากขึ้นเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่ง John ก็แถลงข่าวโดยนำหลักฐานคือในสูติบัตรและหลักฐานจากโรงพยาบาลที่ทำคลอดเขามายืนยันอย่างแน่แท้ว่า เขาเป็นผู้เกิดในประเทศ และเขามีมารดาเป็นราษฎรของประเทศ แม้มีบิดาที่เป็นชาวต่างชาติ

จากการออกมาแถลงนี้เพียงครั้งเดียวได้แก้ข้อกล่าวหาทั้งหมด และขณะเดียวกัน ทำให้ฝ่ายตรงข้ามเหมือน “เด็กเลี้ยงแกะ” ที่นำเรื่องไร้สาระที่ไม่เป็นความจริง มาขยายข่าว สะท้อนภาพของความเป็นนักการเมืองที่ไม่รับผิดชอบ และไม่มีสาระอะไรที่ควรรับฟังอีกต่อไป

ภาพสะท้อนทางจริยธรรม (Moral Effect) เมื่อคนอื่นได้กระทำในสิ่งที่ทำให้ท่านเจ็บ ทางแก้ที่ดีคือทำให้เขาเจ็บอย่างเดียวกับท่าน ทำให้เขารู้รสของยา แล้วทำให้เขาอับอายในพฤติกรรมของตนเอง

ยกตัวอย่าง

นักการเมืองคนหนึ่ง สมมุติชือ Mr. A เป็นนักการเมืองแนวอนุรักษ์ เป็นคนที่แสดงตนว่าเป็นคนยึดมั่นในขนบประเพณี มีความรักภรรยาและครอบครัว และเขาได้โจมตีนักการเมืองฝ่ายตรงกันข้ามว่า เป็นนักการเมืองดังเพลบอย ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเยาวชนของประเทศ แต่นักการเมืองฝ่ายตรงกันข้ามก็ไม่ปฏิเสธความเป็นเสรีนิยมในชีวิตครอบครัว แต่ก็มีคนมาให้ข้อมูลว่า Mr. A ไม่ได้นอกใจภรรยากับหญิงอื่นๆ แต่เขาเคยมีเพศสัมพันธ์กับเด็กชายคนหนึ่งที่ยืนยันได้ ท้ายสุดจึงมีข่าวนี้พร้อมคลิปที่หลุดออกไปสู่เครือข่าย ทำให้ Mr. A ต้องเป็นฝ่ายตั้งรับ ถูกตั้งคำถามมากมาย จนในที่สุดเขาต้องออกมารับสารภาพว่าเขาเป็นพวก Bi-sexual มีเพศสัมพันธ์กับทั้งสองเพศจริง แม้จะไม่ได้กระทำบ่อยนัก และด้วยความอับอาย ท้ายสุด เขาต้องลาออกจากตำแหน่งหน้าที่อันทรงเกียรติ และปิดฉากชีวิตการเมืองไป

การใช้วิธีการแบบนี้ ในภาษาไทยเรียกว่า “ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง” เป็นการย้อนรอยที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดได้อย่างมาก ในวงการเมือง บางทีเขาใช้คำพังเพยว่า “ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่” คือคนในวงการเมืองจะรู้ปัญหาของกันและกัน เช่นเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นและเรื่องอื่นๆที่สาธารณชนอาจไม่ได้รับรู้ แต่ในวงการเมืองอาจมองว่า ตราบเท่าที่ท่านไม่ก้าวล่วง ฉันก็จะไม่ไปแตะเรื่องของท่านในส่วนนี้ หรือบางทีก็ไม่ว่ากัน แต่ขอแบ่งผลประโยชน์กันบ้าง เป็นต้น

ภาพสะท้อนการหลงตน (Narcissus Effect) คนมักจะถูกดึงดูดโดยคนที่มีลักษณะคล้ายตน หากท่านแสดงคุณลักษณะอย่างที่เขาเป็น มันจะทำให้คนๆนั้นกับท่านสามารถติดต่อเชื่อมโยงกันได้ ดังนั้นการแสดงความชอบหรือมีคุณค่าเช่นเขา ก็จะทำให้ท่านเข้าไปใกล้เขาและชนะใจเขาได้มากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างหนึ่งที่จะอธิบายลักษณะการสร้างภาพสะท้อนการหลงตน (Narcissus Effect)

Marie Mancini

ภาพ Marie Mancini

Marie Mancini จัดว่าเป็นสาวที่เปรียบดังลูกเป็ดขี้เหล่เมื่อเทียบกับพี่น้องของเธอ แต่กลับเป็นคนที่ต้องใจของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เหตุที่เป็นได้ดังนี้ เพราะเธอศึกษาพระองค์และใช้ความพยายามที่จะทำในสิ่งที่เป็นความสนใจของพระองค์ เธอสามารถสะท้อนจินตนาการและอารมณ์ที่ต้องการชัยชนะ ทำให้พระองค์ชอบที่จะสนทนากับเธอ การทำตนดังเป็น “กระจกสะท้อนภาพของพระราชา” นี้ จึงทำให้พระองค์หลงรักเธอ

แอนนา มาเรีย แมนซินี (Anna Maria (Marie) Mancini) เกิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1639 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 พฤาภาคม ค.ศ. 1715 เป็นหนึ่งในพี่น้อง 5 สาว โดยเป็นคนที่สาม เป็นหลานของพระราชาคณะ Cardinal Mazarin โดยถูกนำมาฝรั่งเศส โดยหวังจะได้แต่งงานกับคนมีบรรดาศักดิ์ และพร้อมกับญาติในกลุ่ม Martinozzi อีก 2 คน สามสาวในตระกูล Mancini เป็นที่รู้จักกันในราชสำนักฝรั่งเศสในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louis XIV of France) ว่า “Mazarinettes

No comments:

Post a Comment