Thursday, September 15, 2011

กฎข้อที่ 31 ทำให้เรามีทางเลือก แต่คนอื่นเล่นเกมของเรา

กฎข้อที่ 31 ทำให้เรามีทางเลือก แต่คนอื่นเล่นเกมของเรา

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail:
Pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อThe 48 Laws of Power”, 1998 โดย Robert Greene and Joost Elffers.

Keywords: power48, Administration, การบริหาร, management, การจัดการ, power, อำนาจ, ความเป็นผู้นำ, leadership, 

Control the Options: Get Others to Play with the Cards you Deal

ควบคุมทางเลือก ทำให้คนอื่นๆต้องเล่นเกมส์ของเรา

การสร้างทางเลือกให้คนอื่นๆ แต่ทางเลือกนั้นก็เป็นประโยชน์ต่อเรา

การหลอกคนอื่นๆที่ดีที่สุด คือทำให้เหมือนว่ามันเป็นทางเลือกของเขา ทำให้คนที่จะเป็นเหยื่อรู้สึกเหมือนว่าเขากำลังได้เปรียบ แต่แท้จริงแล้ว เขากำลังเป็นเหมือนหุ่นเชิดของเรา ทำให้ทางเลือกต่างๆที่มีนั้นแท้ที่จริงเป็นทางเลือกที่เราได้เปรียบ หากมีทางเลือกเป็นสอง ทั้งสองนั้นเป็นเพียงมีทางเลือกที่ดีกว่า แต่แล้วก็เป็นประโยชน์กับฝ่ายเรา

การเล่นเทนนิส

ภาพ Roger Federer นักเทนนิสที่มีสไตล์การเล่นได้หลายแบบ และมีสถิติชนะเลิศสูงที่สุดคนหนึ่งของโลก

การเล่นเทนนิสก็เหมือนกีฬาทั้งหลาย คนที่จะเก่งเป็นเลิศต้องฝึกให้ชนะได้ในทุกสภาพการ และกับไตล์การเล่นของคู่ต่อสู้ที่มีได้หลายแบบ แต่นักเทนนิสชั้นเลิศนั้นต้องชนะให้ได้ในทุกสถานการณ์ สำคัญคือต้องอ่านเกมส์คู่ต่อสู้ออก และวางแผนการเล่นสำหรับแต่ละครั้งให้สอดคล้อง

เกมกีฬาเทนนิส หากเราอ่านคู่ต่อสู้ออกว่าเป็นประเภทมีกำลังแต่ไม่มีความอดทน ตัวใหญ่ แข็งแรง แต่เหนื่อยได้ง่าย แผนการเล่นคือใช้ความคล่องตัว และใช้เกมตอบโต้สลับทิศทาง เล่นลูกยาวและสั้นสลับ ทำให้คู่แข่งหมดกำลังในการเล่น และยิ่งเล่นนานก็จะยิ่งเสียเปรียบ

หากคู่ต่อสู้เป็นนักกีฬาที่มีความอดทน เป็นประเภทยิ่งเล่นนานยิ่งได้เปรียบ สไตล์การเล่นของเราคือการต้องเสิร์ฟลูกให้คม เล่นเกมส์เร็ว พยายามเอาชนะให้ได้เร็ว เสี่ยงได้เสี่ยงเสีย ไม่พยายามตีแบบยืดเยื้อ และเมื่อใดที่รู้สึกว่ากำลังได้เปรียบยิ่งต้องเล่นเร็ว ทำแต้มให้ไหลลื่น แต่เมื่อใดที่ถูกเล่นเกมส์ยืดเยื้อยาวนาน ก็ต้องใช้ทางออกแบบพยายามยืดเวลา เพื่อให้ร่างกายของเราได้พักให้หายเหนื่อยเป็นระยะๆ เพื่อให้สดแล้วค่อยกลับมาเริ่มใหม่ เพราะถ้าเล่นในขณะร่างกายเหนื่อยก็จะเสียเปรียบ

ประวัติของ Cornelius Vanderbilt

ภาพ คอร์เนลิอุส แวนเดอบิลท์ (Cornelius Vanderbilt)

คอร์เนลิอุส แวนเดอบิลท์ (Cornelius Vanderbilt) เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1794 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1877 เขามีชื่อเรียกอื่นๆว่า sobriquet Commodore เขาเป็นผู้ประกอบการชาวอเมริกันเชื้อสายดัช ผู้สร้างฐานะจากกิจการเดินเรือ (shipping) และกิจการรถไฟ (railroads) เขาเป็นผู้นำตระกูลแวนเดอบิลท์ (Vanderbilt family) อันเป็นตระกูลที่มั่งคั่งที่สุดของอเมริกาในยุคสมัยนั้น

วิธีการทำการค้าของเขาดังในกิจการเดินเรือล่องแม่น้ำฮัดสัน (Hudson River) เขาจะใช้การขยายเส้นทางให้ยาวออกไป และครอบครองท่าเรือและเส้นทางให้ได้มากที่สุด หากมีคู่แข่งขัน เขาจะเสนอบริการที่ตัดราคาจนฝ่ายตรงข้ามทนไม่ไหว และกิจการเดินเรือก็จะเป็นของเขาเกือบเหมือนผูกขาดตลอดเส้นทาง และเมื่อเขาเข้ามาเริ่มในการกิจการรถไฟ ซึ่งเป็นการขนส่งเช่นกัน วิธีการก็คล้ายๆกัน คือครองตลาดให้ได้มากที่สุด จนสามารถเป็นฝ่ายกำหนดราคาค่าบริการเองได้ และเขาจะกำหนดราคาในลักษณะที่คนเข้ามาทำธุรกิจแข่งด้วยลำบาก แต่เป็นค่าบริการที่เขาสามารถมีรายได้อย่างดีไปได้เรื่อยๆ

กิจการรถยนต์

กิจการรถยนต์ของบริษัท General Motors เป็นกิจการรถยนต์ที่มีเครือข่ายขยายไปทั่วโลก ครั้งหนึ่งได้ชื่อว่าเป็นบริษัทรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แม้แต่ในประเทศไทยเอง ก็มีกิจการรถยนต์ของ GM ให้บริการอยู่ ไม่ว่าจะเป็น Opel ซึ่งมีฐานเทคโนโลยีจากเยอรมัน, Chevrolet ซึ่งเป็นแบรนด์ของอเมริกันเอง และในระยะหลังเองมีการใช้การผลิตจากเกาหลีใต้ร่วมด้วย, หรือ Isuzu ที่ใช้เทคโนโลยีของญี่ปุ่น
ภาพ รถกระบะ Isuzu แบบ Space Cab ที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทย

ภาพ Chevrolet Colorado กระบะแบบ 4 ประตู ใช้เครื่องดีเซล ประหยัดน้ำมัน
ภาพ รถกระบะ Isuzu ที่เป็นที่นิยมอย่างมากในตลาดรถ Pickup ในประเทศไทย

ภาพ Chevrolet Cruze รถนั่งแบบ Sedan ขนาดกลาง มีแบบใช้เครื่องดีเซลให้เลือก

ภาพ รถนั่งแบบ SUV สปอร์ตอเนกประสงค์ ของ Chevrolet ชื่อ Captiva

รถยนต์ที่มีหลายแบบ อาศัยเทคโนโลยีจากหลายประเทศดังตัวอย่างของ GM ที่มีชื่อที่ใช้ทั้ง Chevrolet, Isuzu, หรือ Opel นับเป็นช่องทางทำธุรกิจที่ต้องแข่งขันกันของบริษัทรถยนต์ทั้งหลาย

ISUZU ทางเลือกสำหรับผู้ซื้อ

ทางเลือกสินค้าเพื่อการแข่งขันของรถ Pickup Truck ของ Isuzu ซึ่งมีบริษัทแม่คือ General Motors คือ มีสินค้าที่เป็นทั้งชื่อญี่ปุ่นอย่าง Isuzu หรือจะเป็นแบรนด์อเมริกัน อย่าง Chevrolet, Colorado มีตั้งแต่เป็นรถกระบะ Standard, Spacecab, 4 ประตู, รูปแบบตรวจการ 4 ประตูนั่งได้ 7 คน หรือเป็นแบบ Offroad แต่ไม่ว่าจะซื้อรถของ Isuzu หรือ Chevrolet Colorado ก็ล้วนใช้ตัวถังและเทคโนโลยี ตลอดจนเครื่องยนต์หลักๆจากแหล่งเดียวกัน

ในทางธุรกิจ ธุรกิจที่ฐานการเงินสนับสนุนดีกว่า มักจะใช้เกมแข่งขันด้านราคา หรือแม้แต่ให้ฟรี จนกระทั่งคู่แข่งทนไม่ไหวและล้มละลาย สูญหายตายจากธุรกิจไป

สินค้าบริโภค

ภาพ บะหมี่สำเร็จรูปแบบบรรจุซองทั่วไป

ภาพ บะหมี่สำเร็จรูป ไม่บรรจุซอง อาจบรรจุห่อใหญ่ขายให้กับร้านอาหาร
ภาพ บะหมี่สำเร็จรูปแบบบรรจุในชามพลาสติก สะดวกในการบริโภค ราคาสูงขึ้นบ้าง สำหรับลูกค้าที่ไม่อยากล้างจานหลังบริโภค

ในทางธุรกิจ เรามีโรงงานผลิตสินค้าขนาดใหญ่ ต้องขายสินค้าให้ได้มาก แต่ขณะเดียวกันเราจะรู้ว่าผู้บริโภคนั้นต้องการลักษณะสินค้าที่มีความเฉพาะตัว ต้องการความแตกต่างของสินค้าเล็กๆน้อยๆ เราก็ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ดูมีความหลากหลาย มีรถชาดที่หลากหลาย เช่นเป็นบะหมี่มีขนาดห่อใหญ่และเล็ก มีรสจัดจ้าน มีรถเผ็ด และรสแบบจืดเด็กๆกินได้ ตลอดจนผลิตเป็นห่อขนาดใหญ่ที่ร้านอาหารจะซื้อไปใช้ปรุงขาย ยอมขายในราคาต่ำลง แต่ขายได้มากๆ

นักธุรกิจกับการเมือง

ในทุกประเทศ ธุรกิจกับการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน ธุรกิจต้องการฝ่ายการเมืองที่เอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายตน แต่ขณะเดียวกันก็ไม่อยากเสี่ยงเข้าข้างพรรคใดพรรคหนึ่ง จึงต้องสนับสนุนทั้งสองพรรคสองฝ่าย และเป็นการสนับสนุนอย่างเงียบๆ เพราะไม่ว่าแพ้หรือชนะ เขาไม่อยากเป็นศัตรูกับฝ่ายการเมือง หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายการเมือง แต่อย่างน้อยก็ต้องไม่ถูกรังแกหรือทำให้เป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบในการแข่งขัน

สรุป

ในทางธุรกิจหรือการเมือง เกมของอำนาจเป็นเรื่องที่มีความพยายามผูกขาด หรือที่เรียกว่า Monopoly เพราะคนที่สามารถผูกขาดได้ จะโดยเปิดเผยหรืออย่างลับๆ แต่ผลที่ตามมาคือความได้เปรียบ หลักในทางธุรกิจมีอยู่ว่า ยิ่งกิจการมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งมีความได้เปรียบ มีอำนาจในการซื้อ การต่อรอง และมีทางเลือกให้กับลูกค้ามากตามไปด้วย แต่ในอีกด้านหนึ่ง การพยายามที่จะมีอำนาจเหนือฝ่ายอื่น ก็จะมีฝ่ายที่เสียเปรียบจะไม่ยอม และในทุกสังคมจึงมีกฎหมายป้องกันการผูกขาด ในทางการเมือง ก็มีความพยายามที่จะไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) คนที่เป็นกลุ่มธุรกิจ ใช้กลุ่มของตนและพรรคพวกเข้ามาใช้อำนาจทางการเมือง เพื่อหาความได้เปรียบในทางธุรกิจ

ศิลปะของการใช้อำนาจในข้อที่ 31 นี้จึงต้องมีสิ่งที่ตามมา คือต้องรู้ว่าเมื่อใดจึงจะเพียงพอ เพราะถ้าหากก้าวล่วง เป็นฝ่ายได้เปรียบจนฝ่ายอื่นๆไม่มีทางต่อสู้ ผลที่ตามมาคือการสู้กลับอย่างชนิดตายเป็นตาย ดังสุภาษิตที่ว่า “แม้กระต่ายเมื่อจนตรอก ก็ยังหันหน้าสู้” ซึ่งจะเป็นอันตรายกับทุกฝ่าย

No comments:

Post a Comment