Wednesday, September 21, 2011

กฎข้อที่ 39 คุมอารมณ์ตนเอง แต่จัดการกับอารมณ์ของคนอื่น

กฎข้อที่ 39 คุมอารมณ์ตนเอง แต่จัดการกับอารมณ์ของคนอื่น

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail:
Pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “กฎการใช้อำนาจ 48 ข้อThe 48 Laws of Power”, 1998 โดย Robert Greene and Joost Elffers.

Keywords: Power48, Administration, การบริหาร, management, การจัดการ, power, อำนาจ

Stir up Waters to Catch Fish
ตีน้ำเพื่อจับปลา

ความโกรธและอารมณ์โดยยุทธศาสตร์แล้วไม่เกิดประโยชน์ ท่านจะต้องควบคุมอารมณ์ให้นิ่งและมุ่งที่วัตถุประสงค์ แต่ในอีกด้าน หากท่านสามารถทำให้ศัตรูโกรธ แล้วฝ่ายท่านยังคงสงบนิ่ง ท่านจะได้เปรียบ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามเสียศูนย์ ทำให้ฝ่ายเขาหมกมุ่นสั่นคลอนกับสิ่งไร้สาระ ส่วนตัวท่านเองกลับเป็นฝ่ายถือสายโยงใยได้

Vanity = นาม - โต๊ะเครื่องแป้ง, ความไร้สาระ, ความทระนง, ความหยิ่ง, ความฟุ้งเฟ้อ

คนที่ใช้อารมณ์ ควบคุมตนเองไม่ได้ จะเป็นการเปิดช่องให้คนอื่นโจมตีได้ง่ายๆ

ในการศึกษายุคใหม่ เราให้ความสนใจไม่ใช่เพียงปัญญา หรือที่เรียกว่า IQ – Intelligence Quotient หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า IQ แต่ในยุคปัจจุบัน เราให้ความสนใจในความฉลาดและมีปัญญาอีกแบบหนึ่ง เราเรียกว่า EQ – Emotional Quotient

EQ เป็นศักยภาพของคนที่จะตระหนักและจัดการกับอารมณ์ของตนเองและของผู้อื่นได้ อารมณ์เป็นศักยภาพที่จะทำให้งานธุรกิจและสัมพันธภาพของคนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีผลสัมฤทธิ์มากน้อยเพียงใด คนบางคนมีสติปัญญา แต่เพราะอารมณ์ของเขาไม่เป็นผู้ใหญ่ ไม่มีสติพอที่จะจัดการกับตนเองและสภาพแวดล้อมได้ ก็จะไม่ประสบความสำเร็จ และไม่มีความสุขในชีวิต

ความโกรธและอารมณ์เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดผลเสียในการดำเนินการใดๆได้ เราจึงต้องตระหนักว่าจะต้องมีความสงบและยึดจุดหมายปลายทางว่า เราต้องการทำเพื่ออะไร และในทางตรงกันข้าม เราสามารถใช้การก่อให้เกิดอารมณ์ของฝ่ายตรงกันข้ามเพื่อเป็นเครื่องมือในการทำงาน ทำให้เขาเสียดุลและสั่นคลอนได้อย่างไร จังหวะไหนที่เขาอารมณ์ดีที่ควรจะเจรจาได้ และขณะไหน หากจะดำเนินการอะไรไป ก็จะไม่เป็นผล สู้รอจังหวะอันเหมาะสมจะดีกว่า

Conspire = กริยาสมคบ, คิดกบฏ, สมรู้ร่วมคิด, งุบงิบ, รวมหัว, รู้กัน, ร่วมหัว, เป็นใจ, สุมหัว, รู้เห็นเป็นใจ

ย้อนไปเมื่อค.ศ. 1800s นโปเลียน (Napoleon) พบว่ารัฐมนตรีต่างประเทศของเขา คือ Talleyrand เอาใจออกห่างจากเขา ครั้งหนึ่งเมื่อมีการจัดประชุม นโปเลียนได้กล่าวถึงคนที่เอาใจออกห่างจากเขา และวางแผนไม่ดีเกี่ยวข้องเขา ในขณะนั้น Talleyrand ก็อยู่ในที่ประชุมนั้นด้วย แต่เขาไม่ได้แสดงความรู้สึกอันใดในการถูกกล่าวพาดพิงและโจมตี นโปเลียนยิ่งเห็นอาการดังกล่าวกลับยิ่งโกรธแล้วระเบิดอารมณ์เสียเอง เขาเริ่มตะโกนใส่ Talleyrand แล้วกล่าวว่า “แล้วภรรยาของคุณละ คุณไม่เคยบอกฉันเลยว่า San Carlos เป็นชู้กับภรรยาของคุณ” เมื่อถึงตอนนี้ คนก็จะเริ่มงงว่าแล้วการทรยศเอาใจออกห่างของ Talleyrand นั้นเกี่ยวอะไรกับภรรยาของเขา

เรื่องนี้เพียงจะอธิบายให้เห็นว่า นักการรบผู้ยิ่งใหญ่ มีสติปัญญาในยุทธการเป็นเลิศ แต่ก็มีบางจังหวะเหมือนกันที่มีการระเบิดอารมณ์ออกมา ซึ่งไม่เป็นสิ่งที่ดีสำหรับนโปเลียน ส่วน Talleyrand นั้นตลอดเวลาที่เขาทำงานในภาครัฐ เขาได้พิสูจน์ว่าด้วยการควบคุมอารมณ์และการทำหน้าที่การทูตอย่างมืออาชีพของเขานั้น ทุกรัฐบาลก็ต้องเรียกใช้ความเชี่ยวชาญของเขา

นโปเลียน โบนาปาร์ต

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte)

นโปเลียน โบนาปาร์ต (
Napoleon Bonaparte) เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1769 เสียชีวิตวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1821 เขาเป็นผู้นำทางการทหารและการเมืองของฝรั่งเศสในช่วงหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) เขาได้สถาปนาตนเองเป็นนโปเลียนที่หนึ่ง (Napoleon I) เป็นจักรพรรดิแห่งประเทศฝรั่งเศสในช่วงปี ค.ศ. 1804 ถึงปี ค.ศ. 1815

Talleyrand นักการฑูตผู้ยิ่งใหญ่

ภาพ Talleyrand นักการฑูตผู้ยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศส

Talleyrand มีชื่อเต็มวว่า Charles Maurice de Talleyrand-Périgord เป็นเจ้าชายอันดับหนึ่งของเบเนวอง (1st Prince de Bénévent) เป็นนักการฑูตฝรั่งเศสที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ไม่ว่าใครขึ้นสู่อำนาจก็ต้องมาใช้เขาในการทูต เขาจึงทำงานได้ในยุค Louis XVI ตราบจนยุคการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) และตามด้วยยุคนโปเลียนที่หนึ่ง (Napoleon I) พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 (Louis XVIII) ชาลส์ที่ 10 (Charles X) และหลุยส์ เฟลิปเป (Louis-Philippe)

Talleyrand จัดเป็นนักการทูตที่มีคนให้ทัศนะที่แตกต่างกันมาก บางคนมองเขาว่าเป็นนักการทูตที่มีความสามารถรอบด้านที่สุดในยุโรป และบางคนก็มองเขาว่าเป็นพวกทรยศ หักหลัง แต่ไม่มีใครไม่ยอมรับในความเป็นคนฉลาด รอบรู้ และมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตนเอง สามารถทำงานร่วมกับผู้ยิ่งใหญ่ได้ในทุกยุคทุกสมัย

No comments:

Post a Comment