ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
ศึกษาและเรียบเรียงจาก “August 3, 1958: Nautilus travels under North Pole”, History.com
ในวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1958 เรือดำน้ำนิวเคลียร์ของสหรัฐชื่อ “นอติลุส” (Nnautilus) ได้เดินทางท่องใต้สมุทรไปยังขั้วโลกเหนือได้สำเร็จ นอติลุสนับเป็นเรือดำน้ำนิวเคลียร์ลำแรกของโลกสามารถดำน้ำไปยัง Point Barrow ในรัฐอลาสกา (Alaska) เดินทางใต้น้ำ 1000 ไมล์ ผ่านในจุดที่เรียกว่าขั้วโลกเหนือ แล้วเดินทางต่อไปยังไอซ์แลนด์ ตามเส้นทางแปซิฟิกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก และยุโรป
เรือดำน้ำ USS Nautilus ได้ถูกสร้างขึ้นภายใต้การดูแลของนาวาเอก Hyman G. Rickover ซึ่งเป็นชาวอเมริกันเกิดในรัสเซีย และได้เข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อที่จะใช้ในการพัฒนาเรือดำน้ำนิวเคลียร์เพื่อการทหารในปี ค.ศ. 1947
ความปราดเปรื่องของ Rickover ได้ทำให้การสร้างเรือดำน้ำนิวเคลียร์ลำแรกของโลกเป็นผลสำเร็จ ในปี ค.ศ. 1952 Nautilus ได้ถูกวางกระดูกงู โดยประธานาธิบดีสหรัฐ Harry S. Truman ในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1954 สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง ภรรยาประธานาธิบดี Mamie Eisenhower ได้ทำพิธีทุบขวดแชมเปนที่หัวเรือ โดยปล่อยลงแม่น้ำ Thames River ที่ Groton ในรัฐ Connecticut เรือได้เข้าประจำการในกองทัพในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1954 และได้เดินเครื่องโดยใช้พลังจากนิวเคลียร์ในเช้าวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1955
ภาพ เรือดำน้ำ Nautilus ในพิธีปล่อยลงน้ำ
เรือนอติลุสมีขนาดใหญ่กว่าเรือดำน้ำลำอื่นๆที่ใช้เครื่องดีเซลและไฟฟ้าที่มีมาก่อนหน้านี้ นอติลุสมีความยาว 319 ฟุต หรือมีขนาดเท่ากับความยาวสนามฟุตบอล มีขนาด 3,180 ตัน สามารถดำอยู่ใต้น้ำได้เป็นเวลาอย่างไม่จำกัด เพราะพลังนิวเคลียร์ทำให้ไม่ต้องใช้อากาศในการสันดาป และยังใช้พลังจากนิวเคลียร์ที่มีขนาดเล็กมาก เป็นพลังจากแร่ยูเรเนียมที่สร้างความร้อนทำให้เกิดไอน้ำที่ไปหมุนกังหันและใบพัดเรือ นอติลุสดำน้ำได้ด้วยความเร็ว 20 Knots
ภาพ เรือดำน้ำนิวเคลียร์ Nautilus เดินทางลอดใต้นำแข็ง ไปถึงขั้วโลกเหนือ
นอติลุสทำสถิติการดำน้ำต่างๆมากมาย สามารถดำน้ำได้ลึก 500 ฟุต ผ่านบริเวณน้ำแข็งหนา 10-50 ฟุต
หลังจากประจำการอยู่ 25 ปี เดินทางเกือบ 500,000 ไมล์ นอติลุสก็หยุดประจำการในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1980 และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การดำน้ำที่ Submarine Force Museum ที่เมือง Groton ในรัฐ Connecticut สหรัฐอเมริกา
No comments:
Post a Comment