One Tablet Per Child
( อุ๊ยลืม...เฉพาะเด็ก ป.1 นะค๊าาาา )
โดย Korbsak Sabhavasu เมื่อ 11 สิงหาคม 2011 เวลา 19:26 น.
นโยบายการศึกษา - ทักษิณคิด
โปสเตอร์โฆษณาหาเสียงของพรรคเพื่อไทย - คิดโดยพตท.ทักษิณและติดตั้งทั่วประเทศ
เป็น โปสเตอร์ที่เขียนนโยบายเป็นภาษาอังกฤษสองนโยบายคือนโยบายแจก tablet และนโยบายใช้ wifi ฟรี ท่านผู้อ่านสงสัยไหมครับว่าทำไมโปสเตอร์หาเสียงสำหรับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ที่เป็นคนไทยถึงต้องใช้ภาษาอังกฤษ
ผมพอจะมีข้อมูลอยู่บ้างครับ
เรื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์ราคาถูกไม่ใช่ของใหม่ คนที่ริเริ่มโครงการนี้ชื่อ Nicholas Negroponte คุณ Nicholas เป็นผู้ก่อตั้งองค์กรที่ใช้ชื่อว่า One Laptop Per Child ( OLPC ) และเป็นเจ้าของความคิดผลิต Laptop ราคาถูก ($100.00) ขายให้รัฐบาลของประเทศที่ด้อยพัฒนา เพื่อนำไปแจกเด็กๆตามโรงเรียนต่างๆ
คุณ Nicholas ได้เริ่มโครงการ OLPC นี้มานานกว่า 10 ปีแล้ว เป็นโครงการที่ตั้งอยู่บนหลักคิดที่ว่า เด็กๆทุกคน ไม่ว่าฐานะร่ำรวยหรือยากจน ควรที่จะได้รับโอกาสในการศึกษาที่เท่าเทียมกัน คุณ Nicholas เชื่อว่าระบบไอที คอมพิวเตอร์ จะเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้ และเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตในอนาคต โครงการนี้จึงผลิต laptop ราคาถูกเพื่อขายให้รัฐบาลของประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลาย เด็กๆที่ครอบครัวมีฐานะยากจนในประเทศด้อยพัฒนาจะได้ไม่เสียโอกาส เรียกว่าไม่ตกขบวนรถไฟในยุคโลกาภิวัฒน์ อะไรทำนองนั้นละครับ
มี ข้อมูล ( wikipedia ) รายชื่อประเทศที่ได้ร่วมโครงการมาให้ดูด้วย ท่านผู้อ่านจะได้นึกภาพออกว่าโครงการลักษณะนี้ มีรัฐบาลไหนบ้างที่สนใจซื้อ มากหรือน้อยเพียงใด
ทวีป แอฟริกาและตะวันออกกลาง
- · Ethiopia (5,000 laptops)
- · Gaza (2,100 laptops )
- · Ghana (10,000 laptops )
- · Rwanda (20,000 laptops received )
- · Sierra Leone (5,000 laptops)
ทวีป อเมริกา
- · Argentina (60,000 laptops )
- · Colombia (4,000 laptops )
- · Haiti (13,000 laptops)
- · Mexico (50,000 laptops)
- · Peru (870,000 laptops )
- · United States of America (15,000 laptops)
- · Uruguay (380,000+ given to 1-6 students and teachers, 90,000 ordered in 2010 for high-school students)
ทวีป เอเซีย
- · Afghanistan (11,000 laptops)
- · Cambodia (3,200 laptops)
- · Mongolia (10,000 laptops)
หมู่เกาะ
- · Kiribati, Nauru, New Caledonia, Niue, Papua New Guinea, Solomon Islands, Tuvalu, Vanuatu (5,000 laptops)
- · Australia (5,000 laptops)
เกือบ 20 ประเทศสนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวนที่สั่งซื้อแตกต่างกันไป เป็นหลักพันบ้าง หลักหมื่นบ้าง ที่สั่งซื้อจำนวนหลักแสนเครื่องคือ ประเทศ Peru และ Ururuay
ประเทศกัมพูชาเพื่อนบ้านเราก็มีชื่ออยู่ในโครงการนี้เช่นกัน เข้าใจว่าเป็นการบริจาค แจกให้เด็กๆ 3,200 เครื่อง
ภาพ เด็กเขมรก็มีใช้
จะ เห็นว่าโครงการไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่คุณ Nicholas ฝันไว้ รัฐบาลที่เชื่อในแนวความคิดของ OLPC มีไม่มากนัก ส่วนหนึ่งเป็นการซื้อเพื่อเป็นการทดสอบ ทดลอง อาจเรียกว่าเป็นโครงการนำร่องก็คงไม่แปลก
คุณ Nicholas ไม่ละความพยายามครับ เมื่อปีที่แล้วคุณ Nicholas ได้เปลี่ยนวิธีการบริหารโครงการใหม่ คงมองเห็นว่าทั่วโลกกำลังเห่อ IPad คุณ Nicholas จึงเลิกล้มการผลิต Laptop ราคาถูก และเปลี่ยนเป็นผลิต Tablet ราคาถูกแทน วางแผนที่จะขาย Tablet ในราคาย่อมเยาว์อีกเช่นเคยคือ $99 และแน่นอนว่าลูกค้าเป้าหมายคือรัฐบาลของประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลาย
คุณ Nicholas เปลี่ยนชื่อโครงการใหม่เป็น One Tablet Per Child ตรงกับนโยบายที่พตท.ทักษิณคิดเปี๊ยบเลย.....น่าจะเป็นที่มาของนโยบายที่เป็น ภาษาอังกฤษครับ
( สนใจอ่านเพิ่มได้ที่
ข้อสังเกตุเพิ่มเติมคือรูปเด็กที่กำลังนั่งมอง Tablet สีเขียวบนโปสเตอร์หาเสียงของพรรคเพื่อไทย ไม่ใช่ Tablet แต่เป็น Laptop ราคาถูกของ OLPC ครับ
Laptop ผลืตโดย OLPC
ผมไม่ทราบว่าพตท.ทักษิณจะให้รัฐบาลคุณน้องสาวซื้อ Tablet ของคุณ Nicholas หรือไม่ เป็นละครฉากต่อไปที่ต้องรอดูกัน
และ ผมก็ไม่ควรที่จะแสดงความเห็นว่าโครงการอย่างนี้ดีหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ อย่างไร สำหรับการศึกษาของเด็กไทย เป็นเรื่องที่รัฐบาลของน้องสาวพตท.ทักษิณจะต้องรับผิดชอบถ้าไม่ประสบผล สำเร็จตามเป้าหมายที่โฆษณาไว้อย่างสวยหรู
ประเด็นว่าจะซื้อที่ไหนไม่สำคัญไปกว่าเป้าหมายของนโยบายที่ได้กำหนดไว้
เป้า หมายที่ว่าจะให้เด็กไทยทุกคนได้ใช้ tablet เพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษา ก็ต้องทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมได้จริงคุ้มค่ากับเงินภาษีทุกเม็ดที่ใช้ในการ จัดซื้อ
เป้าหมายที่ว่าจะแจก tablet ให้เด็กทุกคน ท่านก็ต้องแจกทุกคน ( ประมาณ 10 ล้านคน) ถ้าแจกเฉพาะ ป.1 จริงอย่างที่เป็นข่าว ( ประมาณ 800,000 เครื่อง) ก็ต้องบอกว่าหลงลืมไป ขอโทษที่ไม่อธิบายให้ชัดเจน
ห้ามบอกว่าเป็นเทคนิคการหาเสียงเป็นอันขาด
ฟังไม่ขึ้นแล้ว เดีี๋ยวผู้ปกครองทั้งหลายจะของขึ้นแทนนะครับ
One Tablet Per Child ( อุ๊ยลืม...เฉพาะเด็ก ป.1 นะค๊าาาา )
เรียนคุณกอปศักดิ์ สภาวสุที่เคารพ
จาก ...
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
Keywords: การเมือง, นโยบาย ICT, การศึกษา
ขออนุญาตนำข้อเขียนของท่านที่ได้เสนอไปนี้เพื่อเผยแพร่ต่อ และเห็นว่าเป็นการวิพากษ์นโยบายรัฐที่มีประโยชน์ การที่พรรคการเมืองหนึ่งจะเสนอนโยบายใดๆต่อประชาชน ก็ต้องซื่อสัตย์ต่อแนวนโยบายนั้น โดยใช้เวลาเผยแพร่ความคิดให้ประชาชนได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ โดยใช้กระบวนการหาเสียง ใช้สื่อเท่าที่มีที่จะทำให้นโยบายนั้นๆได้เข้าใจอย่างแจ่มชัด เสียดายที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้มีเวลาหาเสียงได้นาน แม้คนที่จะเป็นหัวหน้าพรรคอย่างคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็มีเวลาเปิดตัวเพียง 49 วัน แต่นั่นคือความได้เปรียบของพรรคเพื่อไทย
ก่อนการเลือกตั้ง สื่อโทรทัศน์บางช่อง หนังสือพิมพ์บางฉบับเองก็เชียร์กันอย่างสุดฤทธิ์ แต่เสียดายที่ไม่ได้ทำหน้าที่สำคัญ คือการตรวจสอบนโยบาย หรือทำให้ประชาชนได้เข้าใจในนโยบายที่มีความซับซ้อน ให้กระจ่างขึ้นสำหรับประชาชนโดยทั่วไป
ผมเองขอร่วมแสดงความคิดเห็นต่อนโยบาย “One Tablet Per Child” ของพรรคเพื่อไทย ดังนี้ครับ
ควรใช้อะไรแน่ - นโยบายการจัดหาคอมพิวเตอร์ให้กับนักเรียนที่จะสามารถใช้ได้ที่โรงเรียน ที่บ้าน หรือติดตัวไปเหมือนมีกระเป๋าหนังสือติดตัวไปด้วยนั้นเป็นสิ่งที่ดี มันอาจจะเป็น Labtop PC, Tablet PC, Netbook, หรือแม้แต่ SmartPhone ทั้งหมดนี้ยังไม่มีคำตอบชัดเจน เพราะมันขึ้นอยู่กับราคา ระบบการบำรุงรักษา และประโยชน์ใช้สอย
การจัดการสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร – นโยบาย ICT เพื่อการศึกษา ทั้งหมดนี้จะต้องเกี่ยวข้องกับการมีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพ การสร้างระบบฐานข้อมูล ชุดการเรียนออนไลน์ หรือ Courseware รองรับ ระบบทดสอบออนไลน์ อาจเรียกว่า Online Assessment และการต้องฝึกอบรมครูยุคใหม่ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน ตลอดจนพัฒนาและใช้ผู้ช่วยสอนให้การศึกษายุคใหม่ ได้ใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่ได้อย่างเต็มที่
ใครจ่ายและจ่ายอย่างไร – ค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนตามที่เสนอนี้จะทำอย่างไร ใครจ่ายและจ่ายอย่างไร นั่นคือ เรื่องการซื้อโดยรัฐบาลส่วนกลางทั้งหมด เพื่อแจกนั้น นับว่าต้องมีการตรวจสอบว่าจะใช้ประโยชน์ได้คุ้มหรือไม่ หรือจะส่งเสริมให้ซื้อหาได้ในราคาถูก เรียกว่า Subsidization ก็ทำได้ เหมือนที่เคยทำในโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่พูดนี้ไม่ได้กล่าวว่าเห็นด้วยกับ “บ้านเอื้ออาทร” นะครับ
ลดต้นทุนดำเนินการด้วย Matching Funds - ในส่วนการจ่ายเงิน อาจเป็นแบบรัฐส่วนกลางส่วนหนึ่ง รัฐบาลท้องถิ่นเอง และจากพ่อแม่ ซึ่งรวมเรียกว่า Matching funds ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้ของมีราคาแต่มีประโยชน์สามารถกระทำได้ และน่าจะเป็นประโยชน์กว่า ซึ่งรัฐบาลกลางอาจจะจ่ายเองเพียงร้อยละ 30-33 ส่วนที่เหลือต้องหาเจ้าภาพอื่นๆเข้าร่วม เหมือนที่สหรัฐใช้นโยบายผลักดันรถยนต์ไฟฟ้า (Electric cars – EV) โดยใช้เงินสนับสนุนบางส่วน แต่ไม่ใช่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแจก
จะทำให้กระทำได้อย่างมีแผนดำเนินการได้อย่างไร – ผมได้เคยทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับงานด้าน ICT เพื่อการศึกษา ปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นคือ เมื่อส่วนกลางคิดแล้วส่วนท้องที่และโรงเรียนเป็นฝ่ายรับลูกนั้น เขารับลูกไม่ถูก มีอะไรแจกให้ก็เอา แต่ไม่มีแผนที่จะนำไปใช้ทำอะไรอย่างคุ้มค่า ก็เหมือนของแจกทั่วไป มีอะไรมาก็รับทั้งหมด ถือว่าได้ยังดีกว่าไม่ได้ สิ่งที่ส่วนกลาง และท้องถิ่นทำได้ คือการต้องให้ฝ่ายปฏิบัติต้องมีแผนการใช้จ่าย และการใช้ประโยชน์ ตลอดจนแผนการร่วมลงทุน ส่วนงานไหนมีแผนพร้อม มีคนรับผิดชอบ ก็ให้ดำเนินการไปก่อน เป็นโครงการนำร่อง (Pilot Project) ส่วนที่ยังงงๆ มึนๆ ก็ให้รอไปก่อนและไปสังเกตโรงเรียนและระบบที่เขาเดินหน้าไปก่อน ตลอดจนมีการอบรมเรื่องการเขียนแผน (Business Plan) รองรับ มีการประชุมปฏิบัติการภายใน มีการหาเจ้าภาพมาร่วมงาน โดยต้องยึดหลักว่า การให้สิ่งที่เขาไม่พร้อม ก็เหมือนกับสุภาษิตฝรั่งที่ว่า “เอาไข่มุกไปให้หมู”
Phasing การใช้ระยะเวลา และมีขั้นตอน – การจะทำอะไรให้สำเร็จคงต้องใช้เวลา และทำอย่างเป็นขั้นตอน ดังคำพังเพยว่า “กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว” ตามหลักพรรคเพื่อไทยมีเวลา 4 ปีที่จะทำอะไรให้ได้บรรลุตามเป้าหมาย ประเด็นคือในแต่ละปี เขามีแผนจะทำอะไร กระทรวงไหน กระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวง ICT และเขตพื้นที่การศึกษาที่มีอยู่กว่า 180 แห่งจะเข้ามาร่วมรับผิดชอบอย่างไร
เป้าหมายและการบรรลุผลคือจุดสำคัญ – สิ่งที่ต้องวัดคือ Educational Effectiveness หรือประสิทธิผลทางการศึกษา การจะซื้อคอมพิวเตอร์หรืออะไรแจกหรือไม่ มากและน้อยอย่างไร ไม่ใช่ประเด็นทางการศึกษา สำคัญที่เราสามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้นจริงหรือไม่ ผมเชื่อว่าคอมพิวเตอร์ในแบบที่มีความเหมาะสมมีประโยชน์ต่อการศึกษาแน่ แต่ขึ้นอยู่กับการจัดการทั้งระบบหมด ที่ผ่านมาเรามีปัญหาการจัดการศึกษา แทนที่จะกระจายอำนาจ ชวนให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม เรากลับไปเอาระบบราชการส่วนกลางไปจัดการ ที่ทั้งอืดอาด ลังเล ไม่กล้าตัดสินใจ หรือไม่ก็ตัดสินใจอย่างผิดพลาด ท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการศึกษาของเขาเองน้อยมาก ความผิดพลาดเกิดจากทุกพรรคที่เข้าร่วมรับผิดชอบในกระทรวงศึกษาธิการ
ในวันนี้พรรคเพื่อไทยภายใต้คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คงจะต้องจริงจังกับสิ่งที่ได้รับปากกับประชาชนเอาไว้ เพราะหากเขียนนโยบายเพื่อหาเสียงไว้อย่างหนึ่งอย่างที่ทำให้คนเข้าใจผิด แต่ต่อไป คนก็จะไม่เชื่อในสิ่งที่พูดหรือเขียน ศรัทธาต่อพรรคก็ต้องลดลงแน่ๆ และเปิดช่องให้ฝ่ายค้านสามารถหยิบยกเป็นประเด็นเพื่อการวิพากษ์ได้ตามหน้าที่ของเขา
No comments:
Post a Comment