ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
Keywords: Politics, การเมือง, ความรุนแรง, สหราชอาณาจักร, อังกฤษ, riot, looting, arson, thug, อันธพาล
There is no excuse for thuggery. ~ Theresa May, British Home Secretary, promising to prosecute London rioters
ไม่มีข้อแก้ตัวสำหรับพฤติกรรมอันธพาลไร้สติ
ความหมายของคำ
เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์ที่เกี่ยวข้องกันสักเล็กน้อย กับคำว่า Thug, Thuggery, Ruffian, Terror, Terrorist, และ Terrorism ซึ่งมีความแตกต่างกัน
Thug = อันธพาล, ผู้ก่อการร้าย, มีความหมายในลักษณะเดียวกัน ส่วนคำว่า
Ruffian = คำนาม - นักเลง, อันธพาล, คนเกเร, คนพาล, คนโหดเหี้ยม ruffian (รัฟ'เฟียน), นักเลงโต, คนโหดเหี้ยมที่ชอบรังแกคนอื่น, คนไม่เคารพกฎหมาย
Thuggery = การกระทำของอันธพาลหรือผู้ก่อการร้าย
พฤติกรรมอะไรบ้างที่เข้าข่าย Thuggery ที่อาจพบตามข่าวหนังสือพิมพ์ อาจได้แก่ การจุดไฟเผารถยนต์ รถประจำทาง บ้านเรือน ร้านค้า ฯลฯ ในยามที่เกิดการจราจล การเอาหินขว้างกระจกรถยนต์ในขณะที่รถวิ่งสวน อันเกิดจากการกระทำคึกคนอง เมื่อเด็กๆและเยาวชนรวมตัวกันกระทำในสิ่งที่ไม่ได้คิดถึงผลกระทบที่จะมีต่อผู้อื่น ซึ่งในบางขณะมีผลทำให้คนบาดเจ็บและเสียชีวิตได้
Thuggery อาจไม่เหมือนกับพฤติกรรมผู้ก่อการร้าย (Terrorism) ตรงที่ Thuggery อาจเกิดจากอารมณ์อย่างไร้สติ อาจเกิดจากความโกรธเกลียด ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติของคนในชาติ ในชั่วขณะที่กระทำการไปอย่างไม่เป็นเหตุเป็นผล แต่ การก่อการร้าย หรือ Terrorism เป็นการกระทำอย่างไตร่ตรอง รวมถึงอาจมีการฝึกยุทธิวิธีในแบบการทหารร่วมด้วย
Thug อาจมีประวัติมาจากภาษาฮินดูและสันสกฤติของอินเดียผสมกับรากภาษาของยุโรป sthaga หมายถึง การคดโกง
ภาพ การจลาจล (Riots) ในกรุงลอนดอน ต้นเดือนสิงหาคม 2011
ภาพ จากการจลาจล กลายไปสู่การทุบร้านค้า ลักขโมยของ (Looting)
ภาพ การจลาจลที่รุนแรงแสดงออกมาด้วยการเผา (Arson) อาคารสถานที่ในกรุงลอนดอน
การจลาจลในกรุงลอนดอน
ในช่วงวันที่ 6 ถึง 10 สิงหาคม ค.ศ. 2011 ในกรุงลอนดอนและอีกหลายเมืองในประเทศอังกฤษประสบปัญหาการจลาจลที่ขยายตัวไป มีทั้งการลักขโมยทรัพย์ และการเผารถยนต์ รถโดยสาร และอาคารสถานที่
ทั้งนี้เพื่อประท้วงการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลได้ยิงชายคนหนึ่งที่ชื่อ Mark Duggan จนเสียชีวิตในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 2011 การจลาจลได้เกิดขึ้นที่ Tottenham ทางตอนเหนือของลอนดอน (North London) ในวันรุ่งขึ้นการจลาจลได้แพร่ขยายไปยังเขตอื่นๆของกรุงลอนดอน และได้ขยายไปยังส่วนอื่นๆของประเทศอังกฤษ โดยที่หนักที่สุดอยู่ในบริเวณนอกลอนดอนเกิดที่ Bristol และเมืองในเขต Midlands และทางตะวันตกเฉียงเหนือ (North West) ของประเทศอังกฤษ เหตุการณ์ในท้องที่เกิดเชื่อมโยงกับจลาจลใหญ่ โดยเกิดในเมืองขนาดเล็ก และเมืองใหญ่ในประเทศอังกฤษ
การจลาจลมีลักษณะเป็นการบุกเข้าร้านค้าเพื่อขโมยของ การเผาสถานที่ในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จนมีผลทำให้นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ David Cameron ต้องรีบกลับจากการพักร้อนในประเทศอิตาลี และละเว้นงานราชการอื่นๆ ผู้นำฝ่ายค้านก็ต้องหยุดการพักร้อนและต้องกลับมาดูแลปัญหาอย่างรีบด่วน นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องหยุดการพักร้อน และได้มีการเรียกประชุมรัฐสภาโดยด่วนในวันที่ 11 สิงหาคมเพื่อภิปรายในสถานการณ์ดังกล่าว
จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม มีคนถูกจับกุมทั้งสิ้น 3,100 คน มีการตั้งขอกล่าวหา 1,000 คน ทำให้มีการจับกุม ตั้งข้อหา และดำเนินการอย่างเร่งด่วนโดยเป็นการทำงานนอกเวลาราชการ
มีคนเสียชีวิต 5 คนและอย่างน้อยมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 16 คนที่เกี่ยวเนื่องกับการจลาจลและการใช้ความรุนแรงนี้ ประมาณว่ามีทรัพ์สินเสียหายประมาณ 200 ล้านปอนต์ หรือประมาณ 10,000 ล้านบาท และยังไม่นับรวมผลเสียต่อธุรกิจของท้องถิ่น
การกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกตำหนิว่าเป็นสาเหตุของการจลาจล การตอบโต้ของฝ่ายเจ้าหน้าที่ได้รับการวิพากษ์ว่าล่าช้า ไม่มีความเหมาะสม ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ การจลาจลได้ทำให้เกิดการอภิปรายในรัฐสภาเกี่ยวกับการเมือง สังคม และการศึกษา ว่าอะไรคือสาเหตุของสิ่งที่ปรากฏขึ้นในสังคมอังกฤษอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
No comments:
Post a Comment