Saturday, August 6, 2011

มารู้จักกางเกงยีนส์ (Jeans)

มารู้จักกางเกงยีนส์ (Jeans)


ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org


ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

ภาพ ลายทอผ้ายีนส์แบบขยาย (Close-up on the jeans fabric)

ภาพหุ่นแสดงเสื้อผ้าที่ใส่กางเกงยีนส์ที่มีสไตล์กระเป๋าหลังที่แตกต่างกัน
Several mannequins wearing jeans with a variety of back pocket designs


Back pocket = กระเป๋าหลัง
Mannequins = หุ่นแสดงเสื้อผ้า


กางเกงยีนส์ (Jeans) เป็นกางเกงที่ทำจากผ้าฝ้ายหนาที่เรียกว่า “เดนิม” (denim) ในอเมริกายุคแรกๆ มีการผลิตกางเกงยีนส์โดยบริษัทอย่าง Jacob Davis, Calvin Rogers และ Levi Strauss ในปี ค.ศ. 1873 ในช่วงทศวรรษที่ 1950s กางเกงยีนส์ออกแบบมาให้คนทำงานในกองทัพบก และได้กลายมาได้รับความนิยมในวัยรุ่น แบรนด์ที่มีชื่ออยู่ในประวัติศาสตร์ได้แก่ Levi's, Lee, และ Wrangler มีการผลิตกางเกงยีนส์เป็นแบบอุตสาหกรรม ต่อมาสไตล์ของกางเกงยีนส์มีให้เลือกต่างขนาดกัน ซึ่งรวมถึง กางเกงสำหรับคนผอม ( skinny), กางเกงขาเรียว หรือกางเกงขาม้า (tapered), กางเกงขาตรง (straight), การเกงแบบขาช่วงล่างหลวม ไว้ใส่คลุมรองเท้าบูตส์ได้พอดี (boot cut) ง่ายในการถกขากางเกง, กางเกงแบบตัดขาสั้นลง (Mommy-cut), กางเกงแบบคนท้องใส่ (maternity) โดยให้มีช่วงหลวมหรือมียางยืดบริเวณพุง, และ กางเกงแบบขาบาน (flare) หรือบางทีเรียกกางเกงขาบาน หรือขากระดิ่ง (Bell-bottoms)


กางเกงยีนส์ในปัจจุบันได้รับความนิยมสวมใส่เป็นเครื่องแต่งกายแบบสบายๆ (Casual dress) ไปทั่วโลกมานานหลายทศวรรษแล้ว เดี๋ยวนี้มีให้เลือกหลายสไตล์และหลายสี ไม่ใช่เพียงสีน้ำเงินเข้มอย่างเดียว กางเกงยีนส์ถูกมองว่าเป็นวัฒนธรรมแบบอเมริกัน (American culture) โดยเฉพาะในภาพลักษณ์อเมริกันตะวันตกสมัยก่อน (American Old West) หรือที่หลายคนเรียกว่าพวกคาวบอย หรือพวกเลี้ยงวัว แต่กางเกงยีนส์และเสื้อผ้าแบบยีนส์ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในอเมริกาอีกต่อไป มันกลายเป็นวัฒนธรรมเสื้อผ้าสำหรับคนโดยทั่วไป

casual dress = ชุดสวมใส่แบบสบายๆ
Blue jeans = ยีนส์สีน้ำเงิน
American culture = วัฒนธรรมแบบอเมริกัน
American Old West = ยุคตะวันตกของอเมริกันสมัยเก่า


ประวัติศาสตร์ History


คำว่ายีนส์ (Jeans) มาจากภาษาฝรั่งเศส bleu de Gênes หรือผ้าสีน้ำเงินจากเมืองเจนัว (The blue of Genoa) ผ้ายีนส์ (Jeans fabric) หรือเรียกว่า “เดนิม” (Denim) อันที่จริงมาจากเมืองในฝรั่งเศสชื่อ 

Nîmes คำเรียกเดนิม มาจากคำว่า “de Nîmes” หรือ คือผ้าจากเมืองนิเม หรือ “เดอนิเม”
Genoa = เจนัว
Nîmes = นิเม เมืองหนึ่งในฝรั่งเศส

การเกงผ้าฝ้ายสำหรับทหารเรือ Denim trousers for sailors

การเกงผ้าเดนิม (Denim trousers) อย่างที่เราเรียก เริ่มผลิตที่เมือง Chieri เป็นเมืองเล็กๆ ใกล้กับ Turin ในประเทศอิตาลี (Italy) ในยุคสมัยฟื้นฟู (Renaissance) และแพร่หลายไปทั่วในศตวรรษที่ 19 กางเกงในลักษณะนี้มีขายที่บริเวณท่าเรือเมือง Genoa ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐอิสระจีนัว (Republic of Genoa) ซึ่งในขณะนั้นได้ชื่อว่าเป็นเมืองสำคัญทางการเดินเรือและค้าขาย กองทัพเรือของจีนัว (Genoese Navy) กำหนดให้มีเครื่องแบบสำหรับกลาสี สามารถใส่ในขณะทำความสะอาดพื้นเรือ เนื้อผ้าสีน้ำเงินเข้ม ทำให้ดูไม่สกปรกได้ง่าย และผ้าเดนิมมีคุณสมบัติสำหรับการนี้คือมีความทนทาน เวลาจะซักทำความสะอาด ก็เอาผ้าใส่รวมๆในตาข่าย แล้วโยนลงไปในทะเล ปล่อยให้เรือลากไป ส่วนสีที่เป็นน้ำเงิน เมื่อโดนแสงแดดและน้ำทะเล สีก็ซีดจนกลายเป็นสีซีดขาวในที่สุด


การเกงยีนส์ในขณะนั้นรู้จักกันในชื่อ “ดุงการี” (Dungarees) ส่วนเสื้อที่ใส่ก็เป็นผ้าฝ้ายเนื้อแบบเดียวกับเดนิม แต่บางเบากว่า เรียกว่า Cambric เสื้อผ้าในแบบนี้ได้กลายเป็นเครื่องแบบของกองทัพเรือสหรัฐในช่วงแรกของศตวรรษที่ 20 เสื้อผ้าที่ออกแบบมาให้สีเข้ม เพื่อทำให้แม้มีดินทรายเปื้อนในขณะทำงานบนเรือ ก็จะไม่ดูสกปรก ส่วนเครื่องแบบทหารเรือที่ใช้สีขาวนั้นจะใช้ในช่วงพิธีการ ไม่ใช่ในช่วงปฏิบัติหน้าที่ ในช่วงแรกในราวปี ค.ศ. 1901 กางเกงยีนส์สำหรับทหารเรือถูกออกแบบมาให้มีขาตรงตามปกติ (straight-legged) ซึ่งไม่สะดวกในการถลกขากางเกงทำงานที่ต้องมีพื้นเปียกน้ำ แต่ในราวกลางศตวรรษที่ 20 กางเกงในเปลี่ยนมาเป็นสไตล์ขาพอเหมาะหลวมปลาย (Boot-cut) เพื่อให้สวมได้พอเหมาะเมื่อใส่รองเท้าบูตส์แบบทหาร และเพื่อทำให้มีช่องลมพอทำให้ระบายความร้อนจากภายในได้ในสภาพการทำงานที่อากาศร้อน สามารถถลกขากางเกงขึ้นได้ หรือจะถอดรองเท้าบูตส์ ก็สามารถถกขากางเกงได้สะดวก กางเกงในสไตล์นี้เมื่อออกแบบให้ถกสูงได้ง่าย เลยกลายเป็นแฟชั่นที่เรียกว่า Bell-bottom หรือที่เรียกกันว่ากางเกงขากระดิ่ง


Denims = เรียกกางเกงยีนส์อีกแบบหนึ่ง
Dungarees = การเกงกันเปื้อน, อาจเป็นจีนส์ หรือผ้าแบบอื่นๆได้
Cambric = เสื้อผ้าลินินแบบบางๆ

ภาพ กางเกงสไตล์การเกงกันเปื้อน (Gungarees) ใช้ในการทำงาน ในฟาร์ม, โรงซ่อมรถ, หรือใส่ในสไตล์แฟชั่น

ส่วนเสื้อแบบยีนส์ที่ใช้ตัดเย็บด้วยผ้าในลักษณะคล้ายกัน แต่เบาบางกว่า เรียกว่า chambray tops เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแบบนักโทษ (prison uniforms) เหตุเพราะเสื้อแบบยีนส์มีความคงทน ดูแลง่าย เหมาะแก่คนที่ทำงานใช้แรงงานอย่างนักโทษ ตัวอย่างการแต่งกายของนักโทษในยุคก่อนของอเมริกันดูได้จากในภาพยนต์เรื่อง Cool Hand Luke.


Denim = ผ้ายีนส์, ผ้าที่ใช้ตัดกางเกงยีนส์r
Chambray = หรือ Cambric เป็นผ้าฝ้าย ที่ทออย่างง่าย น้ำหนักเบา สามารถปักหรือตัดเย็บได้สะดวก ในหลายที่ในโลก เรียกผ้ายีนส์สำหรับตัดเสื้อนี้ว่า batiste

กางเกงยีนส์ Riveted jeans

นาย Levi Strauss พ่อค้าขายของแห้ง ได้เริ่มขายกางเกงยีนส์โดยใช้ชื่อ Levi’s โดยขายให้กับชุมชนทำเหมืองแร่ในแคลิฟอร์เนียในราวทศวรรษที่ 1850s ลูกค้าคนหนึ่งของ Strauss ชื่อ Jacob Davis เป็นช่างตัดเย็บเสื้อผ้าที่มาซื้อหมุด (Bolts) ตอกเสื้อผ้าจากร้าน Levi Strauss & Co. wholesale เพราะในขณะที่ลูกค้าของ Davis ที่ซื้อเสื้อผ้าไปแล้วต้องกลับมาซ่อมเสื้อผ้าที่ขาด และขาดในบริเวณที่คล้ายๆกัน Davis จึงได้ความคิดว่าทำไมไม่ตอกหมุดทองแดง (Copper rivets) ตามมุมเสื้อผ้าที่จะขาดง่ายนั้นเสียแต่ก่อนที่จะขายไป


การตอก ก็เช่น ตอกตามมุมกระเป๋า และกระดุมตัวบนของกางเกง Davis ไม่มีเงินที่จะซื้อลิขสิทธิ์ จึงเขียนถึง Strauss และเสนอว่าทั้งสองควรมาร่วมธุรกิจผลิตกางเกงขายกัน หลังจากที่ Strauss รับข้อเสนอของ Davis ที่จะทำธุรกิจร่วมกัน ทั้งสองก็ได้ขอรับการจดสิทธิบัตรความคิดและแบบในการตัดเย็บกางเกง เขาได้สิทธิบัตรเลขที่ U.S. Patent 139,121 อันเป็น “วิธีการทำให้กระเป๋ามีความแน่นกระชับ” ในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1873

ราคาของกางเกงยีนส์ The cost of jeans

ในปี ค.ศ. 1885 กางเกงยีนส์ในขณะนั้นขายตัวละ USD1.50 ซึ่งคิดเป็นมูลค่าเงินในปัจจุบันเท่ากับ USD95 หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 2850 บาท แต่ราคากางเกงยีนส์ที่สามารถซื้อขายในตลาดในสหรัฐปัจจุบันอยู่ที่ตัวละ USD30-50 แล้วแต่แบรนด์ และอาจแพงขึ้นไปอีกมาก หากเป็นยีนส์แฟชั่น หรือนำมาตกแต่งแบบโดยเฉพาะ และในอีกด้านหนึ่ง กางเกงยีนส์หลายแบรนด์หรือไม่มีแบรนด์ก็มีขายกันในราคาที่ถูกยิ่งกว่านี้อีก ในประเทศไทยมีกางเกงยีนส์ที่ขายทั้งที่มีและไม่มีแบรนด์ โดยแหล่งผลิตมีทั้งที่ผลิตในประเทศ และผลิตจากประเทศเพื่อนบ้านและอื่นๆ แล้วนำมาขายผ่านประเทศไทยที่มีนักท่องเที่ยวมากเป็นพิเศษ แต่ด้วยราคาของฝ้ายสูงขึ้นเป็นลำดับ ราคาของกางเกงยีนส์ก็คาดว่าจะสูงขึ้นตามไปด้วย


ในปัจจุบัน คนอเมริกันใช้เงินเพื่อกางเกงยีนส์ประมาณปีละ USD14,000 ล้านในปี ค.ศ. 2004 และในปี ค.ศ. 2005 ใช้ประมาณ USD15,000 ล้าน

วิวัฒนาการของเสื้อผ้า Evolution of the garment


ภาพ กางเกงยีนส์มีการตัดเย็บที่ต้องให้มีความแน่นหนา ทนทานสำหรับการทำงานหนัก โดยมีการติดหมุดเสริมความแข็งแรงในจุดที่ขาดได้ง่ายและบ่อยๆ
Copper rivets for reinforcing pockets are a characteristic feature of blue jeans.

Rivet = หัวหมุดย้ำ
กระบวนการผลิต
Manufacturing processes

การย้อม Dyeing

โดยทั่วไป กางเกงยีนส์มีสีน้ำเงิน โดยใช้วิธีการย้อมด้วยคราม (Indigo dye) ส่วนกางเกงยีนส์ในยุคใหม่มีใช้สีอื่นๆ เช่น ชมพู แดง น้ำเงิน เหลือง หรือขาว โดยใช้วิธีการย้อมที่แตกต่างกันออกไป ในแต่ละปีมีการใช้ครามถึง 20 ล้านตัน แต่จริงๆแล้วใช้ครามไม่กี่กรัมในการย้อมกางเกงยีนส์แต่ละตัว


กางเกงยีนส์ใช้ไปนานๆเข้าสีจะตก แต่ตามความนิยมยุคใหม่แล้ว สีตกไม่เป็นปัญหาสำหรับผู้สวมใส่ ส่วนกางเกงดูเก่าก็ไม่เป็นปัญหา เพราะวัฒนธรรมใหม่ คือเขาทำให้กางเกงยีนส์ดูเก่าตั้งแต่ออกจากร้านแล้ว

การทำให้กางเกงยีนส์หดตัวก่อนใส่ Pre-shrinking of jeans

pre-washed jeans = กางเกงยีนส์ที่ซักมาก่อนที่จะนำมาขายในตลาด


ในสมัยก่อน เมื่อซื้อกางเกงยีนส์มาใส่ คนซื้อจะต้องซื้อในขนาดที่มีขายาวกว่าที่ต้องการสัก 2-3 นิ้ว และเอวจะต้องให้หลวมสักหน่อย เพราะหลังจากซักน้ำที่มักจะใช้น้ำร้อน และอบด้วยเครื่องอบแห้งร้อน ที่จะทำให้กางเกงหดลงมา เอวจะคับขึ้น และขากางเกงจะหดสั้นจนพอดีกับที่ต้องการ


ในช่วงทศวรรษที่ 1970s Hal Burgess เป็นรายแรกๆที่ได้ทำการตลาดกางเกงยีนส์ที่ซักมาเรียบร้อยแล้ว (Pre-washed jeans) Hal เป็นพนักงานขายให้กับบิดาที่เป็นเจ้าของบริษัทตัดเย็บเสื้อผ้า Cartersville, ในรัฐจอร์เจีย (Georgia) ในสหรัฐอเมริกา


มีครั้งหนึ่ง ขณะที่เขาเดินทางไปขายสินค้า ได้เกิดน้ำท่วมโรงแรมรวมถึงห้องที่เขาพักอยู่ สินค้ากางเกงที่เก็บไว้ในห้องพักเสียหายเพราะเปียกน้ำหมด เพื่อบรรเทาปัญหาสินค้าเสียหาย Hal ได้เจรจาขอเช่าสระน้ำของโรงแรม เพื่อซักกางเกงยีนส์จำนวนมากมายของเขา เมื่อเขาซักกางเกงยีนส์เสร็จ และรีดพร้อมบรรจุห่อใหม่ เขาก็เรียกสินค้าใหม่ของเขาว่า Pre-washed jeans และขายยีนส์ด้วยขนาดที่เล็กลงมา 2 เบอร์จากที่ติดป้าย และโฆษณาว่านี่เป็นสินค้าที่ทำให้หดมาก่อนแล้ว

การทำให้เหมือนใช้แล้ว Used look created by sandblasting

กางเกงยีนส์มีธรรมชาติของผ้าเดนิมอย่างหนึ่ง คือ หากเป็นผ้าใหม่ๆที่คลี่ออกจากม้วนแล้วนำมาตัดเย็บ จะได้กางเกงที่มีสีเข้มที่กระด้าง เวลาใส่จะรู้สึกไม่สบาย ต้องใช้ไปสักระยะหนึ่ง ผ่านการซักหลายๆครั้ง ผ้าจะนิ่มขึ้น ใส่ได้สบายขึ้น ใส่นานๆ เหงื่อออก ก็สามารถดูดซับและระบายความชื่นได้ดี


ดังนั้นผู้ใช้กางเกงยีนส์ในประเทศตะวันตก จึงยอมจ่ายเงินพิเศษ เพื่อทำให้กางเกงมีสภาพเก่า เหมือนผ่านการใช้มาแล้ว วิธีการทำให้เก่า เขาทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ทรายเป่า (sandblasting) บางวิธีการก็ใช้การซักหลังตัดเย็บด้วยน้ำร้อน สารเคมีกัดกร่อน และการใส่หินภูเขาไฟที่หยาบ มาช่วยขัดผิวผ้าให้นุ่ม และดูเก่า แต่ในกระบวนการเป่าด้วยทรายนั้น ออกจะเป็นวิธีการที่มีผลต่อสุขภาพของคนงาน เพราะจะได้รับผลจากฝุ่นทรายเข้าไปในระบบทางหายใจ ทำให้เกิดอาการป่วยเป็นโรค silicosis ได้ ดังนั้น หลายประเทศผู้บริโภคกางเกงยีนส์จึงกำหนดว่าไม่ให้ใช้วิธีการเป่าทราย

ภาพ กางเกงยีนส์สไตล์ หลวมพอเหมาะ (Loose fit jeans) เหมาะสำหรับคนทั่วไป ใส่แล้วไม่คับ นั่งนานๆในเครื่องบินก็ไม่ทำให้เลือดลมไม่เดิน แต่ขณะเดียวกัน ก็ไม่หลวมจนเกินไป เป็นแบบกลางๆ

ภาพ กางเกงยีนส์ในสไตบ์หลวมๆ ใส่สบายๆ

ภาพ กางเกงยีนส์ในสไตล์ Boot cut หลวมพอบริเวณปลายขาที่จะคลุมรองเท้าบูตส์ได้
ภาพ การเกงยีนส์ในสไตล์ปลายหางกระดิ่ง หรือปลายรูประฆัง (Bell Bottoms)

ภาพ การเกงยีนส์ในสไตล์ปลายหางกระดิ่ง หรือปลายรูประฆัง (Bell Bottoms) มีความยาวปลายขาที่เกินปลายเท้าจริง แต่พอดีกับใส่รองเท้าส้นสูง กางเกงแบบนี้มีสไตล์ขึ้นๆลงๆ หายไปนานๆ แล้วก็กลับมาเป็นแฟชั่นใหม่อีก

ภาพ กางเกงยีนส์มีได้หลากสี ไม่ใช่เพียงในสีน้ำเงินเข้ม อาจเป็นแดง เขียว ชมพู เหลือง หรืออื่นๆ
ภาพ กางเกงยีนส์แบบขาลีบ (Tapered jeans) สำหรับผู้ชาย แบบพอดีตัวไปตลอด และมักมีเอวต่ำ คนใส่ต้องเลือกให้ขนาดพอเหมาะ มิฉะนั้นจะคับเกินไป ใส่แล้วไม่สบาย และไม่ดีต่อสุขภาพ เลือดลมไม่เดิน

ภาพ กางเกงยีนส์แบบขาลีบ (Tapered jeans) สำหรับสตรี คนรูปร่างข่วงขายาว หากออกแบบมาดี ก็จะทำให้ใส่ได้สบายด้วย แต่จะเหมาะสำหรับคนช่วงขาเรียวยาว โชว์คนรุ่นใหม่ที่เขาควบคุมน้ำหนักมากขึ้น

No comments:

Post a Comment