การศึกษา – 4 องค์ประกอบที่อาจทำให้สมองฝ่อ
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
ศึกษาและเรียบเรียงจาก “Study: 4 Factors That May Shrink Your Brain” โดย Meredith Melnick Wednesday, August 3, 2011
Keywords: สุขภาพ, Brain, Mental Health, ป้องกันสมองเสื่อม
The four factors that were associated with faster declines in brain volume were: • High blood pressure • Diabetes • Cigarette smoking • Being overweight or obese
สมองของเราจะฝ่อไปตามอายุ และเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่มีวิถีชีวิต 4 เรื่องที่ทำให้กระบวนการฝ่อของสมองเร็วยิ่งขึ้น จากผลการศึกษาของนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่เมืองเดวิส (University of California, Davis)
สี่องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการที่สมองฝ่อเร็วขึ้น ทำงานด้อยประสิทธิภาพลง คือ
- ความดันโลหิตสูง (High blood pressure)
- การเป็นเบาหวาน (Diabetes)
- การสูบบุหรี่ (Cigarette smoking)
- การมีน้ำหนักเกิน (Being overweight or obese)
จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใหญ่ 1,352 คนที่มีอายุเฉลี่ย 54 ปี และไม่เคยมีอาการสมองและความจำเสื่อม (Dementia) ในช่วงก่อนการศึกษา ทั้งหมดเป็นผู้เข้าร่วมในการศึกษาที่เรียกว่า Framingham Offspring Cohort Study อันเป็นลูกของผู้เข้าร่วมในโครงการศึกษาด้านหัวใจแต่เดิมที่เรียกว่า Framingham Heart Study
ในการเริ่มวิจัย นักวิจัยได้ให้ผู้เข้าร่วมได้รับการทดสอบหลายด้าน ที่วัดความอ้วนหรือน้ำหนักเกิน (Obesity), ความดันโลหิตสูง (High blood pressure), เบาหวาน (Diabetes) และวัดปริมาณคอเลสโตรอล (High cholesterol) การเริ่มศึกษาในอีก 7 ปีต่อมา ผู้วิจัยได้วัดขนาดของสมองของผู้เข้าร่วมโครงการโดยใช้ MRI scans และให้ผู้เข้าร่วมได้รับการทดสอบด้านสติปัญญา (Cognitive tests) เพื่อวัดการทำงานด้านการจัดการ การวางแผน และวัดทักษะด้านการวางระบบต่างๆ
คณะผู้วิจัยพบว่าตัวแปรความเสี่ยงทั้ง 4 ด้านมีส่วนสัมพันธ์กับขนาดของสมอง คนที่มีอาการความดันโลหิตสูงในช่วงวัยกลางคน จะพัฒนาไปสู่อาการทีเรียกว่า What matter change ซึ่งบริเวณเส้นเลือดเลี้ยงสมองมีการชำรุด เมื่อเทียบกับคนที่มีความดันปกติ
คนที่ป่วยเป็นเบาหวานจะมีสมองฝ่อเร็วในบริเวณที่เรียกว่า hippocampus ซึ่งเกี่ยวกับความจำ คนสูบบุหรี่จะมีอาการสมองฝ่อมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ และแสดงให้เห็นอาการเปลี่ยนแปลงที่เร็วกว่า
ในการทดสอบด้านสติปัญญา (Cognitive tests) ผู้เข้าร่วมแสดงให้เห็นความเสื่อมถอยทางการทำงานด้านการจัดการ (Executive function) หรือความสามารถในการตัดสินใจ การวางแผน การจัดองค์ประกอบ (Organize) การใส่ใจรับฟัง และการจำรายละเอียด คนที่น้ำหนักเกิน หรือคนอ้วนในวัยกลางคนขึ้นไป โดยจากตัวอย่าง จะพบว่าพวกที่อยู่ใน Quartile สูงสุด จะมีความเสื่อมทางสมอง สมองฝ่อลง และความสามารถในการจัดการเสื่อมถอยอย่างรวดเร็ว
เราไม่มีวิธีการแก้โรคสมองเสื่อม แต่หลักการที่ว่า “ร่างกายแข็งแรง จะทำให้มีจิตใจที่ดี” นั้นเป็นความจริงอย่างมาก - จากคำกล่าวของนายแพทย์ Charles DeCarli ผู้อำนวยการศูนย์ผู้ป่วยโรค Alzheimer ของมหาวิทยาลัย U.C. Davis
ผู้คนทั้งหลายควรหยุดสูบบุหรี่ หันมาให้ความสนใจในการควบคุมความดันโลหิต และควบคุมน้ำตาลในเลือด หลีกเลี่ยงโรคเบาหวาน และการต้องลดน้ำหนัก
จากการศึกษาก่อนหน้านี้ ก็พบว่าปัญหาโรคหัวใจ (Cardiovascular system) มีความสัมพันธ์กับความเสื่อมทางสติปัญญา และความเสี่ยงจากโรคการสูญเสียความจำ หลงๆลืมๆ การควบคุมวิถีชีวิตอย่าง การสูบบุหรี่ การควบคุมความดันโลหิตสูง การควบคุมน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการเป็นโรคอ้วน มีส่วนสัมพันธ์กับการลดโอกาสการป่วยเป็นโรคหัวใจ และเป็นการศึกษาแรกๆที่บ่งบอกถึงองค์ประกอบความเสี่ยงที่ทำให้สมองมีขนาดฝ่อลง
ในขณะที่สังคมโลกที่พัฒนามากขึ้น วิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าขึ้น เรารู้สาเหตุของโรคต่างๆได้มากขึ้น ดูแลตัวเองได้ดีกว่าแต่ก่อนด้วยการมีเครื่องมือและยาที่มีความสามารถรักษาโรคได้ดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันโลกยุคใหม่ก็มีสิ่งที่สวนทางกัน คือ เรามีกินมากขึ้น และกินอาหารสมบูรณ์มากขึ้น มีเครื่องช่วยผ่อนแรงในการทำงานมากขึ้น ทำให้เดินและออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆน้อยลง โอกาสที่เราจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคในยุคใหม่ก็มีส่วนสูงตามไปด้วย โดยเฉพาะคนไม่เข้มแข็ง ไม่รักษาวินัยในการใช้ชีวิตที่ดี ปล่อยตัวปล่อยใจไปตามความอยาก หรือขี้เกียจออกกำลังกาย
The study was published Tuesday in Neurology, the medical journal of the American Academy of Neurology.
Meredith Melnick is a reporter at TIME. Find her on Twitter at @MeredithCM. You can also continue the discussion on TIME's Facebook page and on Twitter at @TIME.
No comments:
Post a Comment