Wednesday, December 7, 2011

มารู้จักประเทศเยอรมนี และตำแหน่ง Chancellor

มารู้จักประเทศเยอรมนี และตำแหน่ง Chancellor

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail:
pracob@sb4af.org

Keywords: Government, Germany, Chancellor, การเมือง การปกครอง, ประเทศเยอรมัน, นายกรัฐมนตรี

ความนำ

ก่อนอื่นใช้เวลาศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเยอรมันสักเล็กน้อย

ประเทศเยอรมนี (Germany) i/ˈɜrməni/, มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า the Federal Republic of Germany ในภาษาเยอรมันเรียกว่า Bundesrepublik Deutschland, อ่านว่า [ˈbʊndəsʁepuˌbliːk ˈdɔʏtʃlant] เป็นประเทศที่มีระบบสาธารณรัฐที่มีระบบรัฐสภาประเทศหนึ่งในยุโรป ประเทศเยอรมนีมี 16 รัฐ (States) มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดอยู่ที่เบอร์ลิน (Berlin) มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร เทียบยังพื้นที่เล็กกว่าประเทศไทย ซึ่งมีพื้นที่ 513,120 ตารางกิโลเมตร ประเทศเยอรมนีมีภูมิอากาศอบอุ่นมีหลายฤดู (Temperate seasonal climate) มีประชากร 81.8 ล้านคน จัดเป็นประเทศมีประชากรมากที่สุดและมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในสหภาพยุโรป (European Union) เป็นประเทศที่มีอำนาจทางการเมืองในทวีปยุโรป เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีและหลายๆวิชาการ

บริเวณประเทศเยอรมนีในปัจจุบันเดิมเรียกว่า Germania เป็นถิ่นอาศัยของชนเชื้อสายเยอรมันหลายชนเผ่า ซึ่งสืบย้อนไปได้ถึง ค.ศ. 100 ในช่วงนั้นได้มีการโยกย้ายถิ่นฐานของชนเผ่าเยอรมันขยายลงมาทางใต้ และเข้าครอบครองในหลายราชอาณาจักรในยุโรป ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 10 ได้มีการรวมตัวกันเป็นส่วนกลางของคริสตจักรวรรดิโรมัน (Holy Roman Empire) ในศตวรรษที่ 16 เขตทางตอนเหนือเป็นศูนย์กลางของพวกปฏิเสธคริสต์นิกายนำโดยจักรวรรดิโรมัน เรียกตัวเองว่า “พวกปฏิรูปใหม่ ปฏิเสธแนวเดิม” หรือ Protestant Reformation ส่วนทางตอนใต้และบางส่วนทางตะวันตกยังคงยึดถือนิกายโรมันแคธอลิก (Roman Catholic) ทั้งสองส่วนที่มีความแตกต่างทางความเชื่อด้านศาสนานี้ จนในระดับมีการปะทะกันในสงครามที่เรียกว่า “สงคราม 30 ปี” (Thirty Years' War)

ในช่วงนโปเลียนจักรพรรดิของฝรั่งเศสครองอำนาจ ก็มีการรบพุ่งกันในสงครามที่เรียกว่า Napoleonic Wars ในขณะเดียวกันมีการเติบโตของกลุ่มชาติพันธุ์เยอรมัน หรือ Pan-Germanism ขึ้นภายในสหพันธรัฐ (German Confederation) ทำให้มีการรวมรัฐหลายๆรัฐเข้าเป็นจักรวรรดิเยอรมัน (German Empire) ในปี ค.ศ. 1871 ซึ่งมีพวก Prussian เป็นอิทธิพลหลัก หลังการปฏิวัติเยอรมันในปี ค.ศ. 1918-1919 (German Revolution of 1918–1919) และในทางการทหารต้องแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ.1918 และถูกแบ่งแยกตัดทอนกำลังไปตามสนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Versailles Treaty) ในช่วงหลังจากนั้นแม้จะมีปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (the Great Depression) แต่เยอรมันก็ได้ฟื้นฟูเศรษฐกิจพร้อมประกาศตั้ง “อาณาจักรไรช์ที่สาม” (Third Reich) ในปี ค.ศ. 1933 ซึ่งในระยะต่อมาได้ก้าวเข้าสู่ยุค “เผด็จการฟาสซิสต์” (Fascism) และสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเยอรมันเป็นฝ่ายแพ้สงคราม หลังปี ค.ศ. 1945 เยอรมันได้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนที่ฝ่ายพันธมิตรยึดครองอยู่ทางฝั่งตะวันตก และเยอรมันตะวันออกภายใต้การยึดครองของสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ. 1990 ได้มีการรวมประเทศให้กลายเป็นหนึ่งเดียว

ประเทศเยอรมนีเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของ European Community ในปี ค.ศ. 1957 ซึ่งในระยะต่อมาได้กลายเป็น EU ในปี ค.ศ. 1993 เยอรมนีเป็นส่วนหนึ่งของ Schengen Area และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 ได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศกลุ่ม eurozone เยอรมนีเป็นสมาชิกของ United Nations,NATO, กลุ่มประเทศ G8, กลุ่มประเทศ G20, the OECD และ Council of Europe, เป็นสมาชิกไม่ถาวรของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UN Security Council) ในช่วงวาระ ปี ค.ศ. 2011–2012

Eurozone หมายถึงประเทศในกลุ่ม European Union ที่ใช้ค่าเงิน Euro แล้วยกเลิกค่าเงินของตนเองเดิมไป มีหลายประเทศที่เป็นสมาชิกในกลุ่ม EU แต่ไม่ใช้ค่าเงิน Euro มี 10 ประเทศ อันได้แก่ Bulgaria, the Czech Republic, Denmark, Hungary, Latvia, Lithuania, Poland, Romania, Sweden, และ the United Kingdom

ปัจจุบันประเทศเยอรมนีเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกด้วยวิธีการคิดแบบ nominal GDP และใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ตามการคิดแบบอำนาจการซื้อ (purchasing power parity) ประเทศเป็นผู้ส่งออกใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลก และเป็นผู้นำเข้าสินค้าใหญ่เป็นอันดับที่สามของโลก ประเทศได้พัฒนามีมาตรฐานการครองชีพที่สูง มีระบบประกันสังคมที่สมบูรณ์ เป็นแหล่งของนักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ และเป็นที่รู้จักกันในฐานะศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์การเมือง

ตำแหน่ง Chancellor ของประเทศเยอรมัน

นายกรัฐมนตรีแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี
Chancellor of the Federal Republic of Germany
มีชื่อเรียกในภาษาเยอรมันว่า
Bundeskanzler


ตราสัญลักษณ์ของรัฐบาลเยอรมัน
Coat of Arms of the German Government

ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน
Incumbent
นางแองเจลา เมอร์เคล - Angela Merkel
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005
since 22 November 2005

ผู้แต่งตั้ง
Appointer

ประธานาธิบดีแห่งเยอรมนี
President of Germany

วาระการดำรงตำแหน่ง
Term length

วาระจะสิ้นสุดลงเมื่อมีการประชุมรัฐสภา หรือสั่งปลดโดยประธานาธิบดี ดังกรณีไม่ผ่านการลงมติไม่ไว้วางใจโดยสภา แต่โดยทั่วไปจะมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี

The Chancellor's term of office ends when a new Bundestag convenes for its first meeting or when dismissed by the President(for instance following a constructive vote of no confidence),[1] i.e. usually 4 years (unlimited during state of defence)

ผู้ดำรงตำแหน่งคนแรก
Inaugural holder

Konrad Adenauer

เริ่มต้นเมื่อปีFormation

1949

ตำแหน่งผู้ช่วยDeputy

รองนายกรัฐมนตรี
Vice-Chancellor

Website

www.bundeskanzlerin.de

ภาพ นายกรัฐมนตรีหญิง Angela Merkel แห่งประเทศเยอรมนี

Chancellor = อธิการบดี, นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี, นายกฯ, อัครมหาเสนาบดี, เลขานุการสถานทูตน

ตำแหน่ง Chancellor ของประเทศเยอรมนี เป็นที่รู้จักกันในนาม Bundeskanzler หรือ Federal Chancellor หรือเรียกสั้นๆว่า Kanzler ตามรัฐธรรมนูญเยอรมันฉบับปี ค.ศ. 1949 มีตำแหน่งเป็นผู้นในคณะรัฐบาลของประเทศเยอรมนี ซึ่งแต่เดิมจัดตั้งสำนักงานที่เรียกว่า Office of Chancellor แห่งสหพันธรัฐเยอรมันเหนือ (North German Confederation) ในปี ค.ศ. 1867 ในปี ค.ศ. 1949 รัฐธรรมนูญได้เพิ่มบทบาทของ Chancellor เทียบได้เท่ากับที่ตราไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับไวมาร์ (Weimar Constitution) ซึ่งเทียบได้เท่ากับนายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ในประเทศอื่นๆที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีรัฐสภา

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 เป็นต้นมา ได้มี Chancellor รวมแล้ว 8 คน คนปัจจุบันคือ Angela Merkel ผู้ได้รับเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2005 เธอจัดเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกตั้งแต่มีตำแหน่งนี้มาในปี ค.ศ. 1867 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในเยอรมันว่า Bundeskanzlerin อันเป็นคำเพศหญิงของคำว่า Bundeskanzler นาง Merkel นับเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกนับแต่การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ที่แบ่งแยกฝ่ายตะวันตกกับฝ่ายตะวันออกหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา เธอเป็นคนที่ได้รับการเลี้ยงดูแลเติบโตมาในเยอรมันตะวันออก (East Germany)

No comments:

Post a Comment