Tuesday, February 19, 2013

ตนเลสาป (Tonle Sap) ทะเลสาบน้ำจืดใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ตนเลสาป (Tonle Sap) ทะเลสาบน้ำจืดใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: Geography, ภูมิศาสตร์, environment, สิ่งแวดล้อม, Cambodia, กัมพูชา, โตนเลสาป, ตนเลสาป, Tonle Sap, lake, river

ภาพ แผนที่ Tonle Sap ทะเลสาปน้ำจืดใหญ่สุดของกัมพูชา และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ตนเลสาป หรือ Tonlé Sap (Khmer: ទន្លេសាប IPA: [tunleː saːp], "Large Fresh Water River" หรือเรียกอีกชื่อว่า “แม่น้ำน้ำจืดขนาดใหญ่” หรือแปลได้ว่า “ทะเลสาบใหญ่” เป็นคำที่มีความหมายรวม ระหว่าง ทะเลสาบ (Lake) และแม่น้ำ (River) ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อประเทศกัมพูชา

ตนเลสาป เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนับเป็นจุดที่มีความสำคัญทางธรรมชาติจนได้รับการบรรจุเป็น “ชีววงของยูเนสโก หรือ UNESCO biosphere ในปี ค.ศ. 1997


ภาพ บ้านเรือนรอบๆทะเลสาป มีทั้งส่วนที่สร้างบนเสาสูง และสร้างเป็นแพลอยน้ำ 

ตนเลสาปมีธรรมชาติที่แปลกอยู่ 2 ประการ คือ มันไหลเปลี่ยนทิศ 2 ครั้งในหนึ่งปี โดยทำให้บริเวณแม่น้ำส่วนที่เป็นกระเปาะ เป็นทะเลสาบ จะขยายตัว แลหดตัวไปตามฤดูกาล ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนพฤษภาคมจะเป็นฤดูแล้ง น้ำในตนเลสาปจะไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่บริเวณเมืองหลวงพนมเปญ (Phnom Penh) และเมื่อเริ่มฤดูฝนตกหนักในช่วงเดือนมิถุนายน ตนเลสาปก็จะกลายเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ ในช่วงฤดูแล้ง พื้นที่น้ำจะเล็กลงที่สุดเหลือประมาณ 4,000 ตารางกิโลเมตร แต่เมื่อช่วงมีน้ำมากที่สุด จะมีพื้นที่น้ำขยายเป็นถึง 16,000 ตารางกิโลเมตร ระดับน้ำยกสูงขึ้นจากช่วงต่ำสุดถึง 9-12 เมตร


ภาพ ร่องน้ำ เพื่อนำนักท่องเที่ยวออกไปเยี่ยมชม Tonle Sap


ภาพ ท่าเทียบเรือ เพื่อลงเที่ยวด้วยเรือใน Tonle Sap


ภาพ ภายในเรือเพื่อการท่องเที่ยว ขนาดจุคนได้ 30-35 คน


ภาพ อาคารลอดน้ำ สำหรับเป็นโรงเรียนให้เด็กที่ต้องใช้ชีวิตใน Tonle Sap


ภาพ Backhoe ที่ใช้ในการขุดลอกร่องน้ำ


ภาพ ชุมชนกลางทะเลสาป ที่อยู่ยนบ้านและอาคารลอยน้ำ


ภาพ การเลี้ยงจระเข้ใน Tonle Sap โดยทำเป็นกระชังกลางน้ำ


ภาพ ชุมชนกลางตนเลสาป (Tonle Sap)


ภาพ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ไปเยี่ยมชม Tonle Sap


ภาพ อาคารที่สร้างใน Tonle Sap ที่ต้องแข็งแรง แต่มีน้ำหนักเบา ทั้งโครงสร้าง และหลังคา


ภาพ บรรไดอาคารที่เป็นไม้ มีความชัน เพื่อประหยัดพื้นที่ เวลาขึ้นหรือลง ต้องตะแคงตัว


ภาพ หอตรวจสอบสภาพแวดล้อม และเพื่อการสื่อสาร ซึ่งต้องตั้งอยู่บนเสาสูง


ภาพ ท้องทุ่งประเภทน้ำท่วมในช่วงฤดูน้ำ และแห้งลงในฤดูแล้ว ต้องปลูกพืชแบบใช้ประโยชน์เร็ว ก่อนที่จะแล้ง หรือเมื่อน้ำจะมาถึง

No comments:

Post a Comment