Thursday, March 23, 2017

การมีอายุยืนยาวอย่างมีความสุข - สารบัญ

การมีอายุยืนยาวอย่างมีความสุข - สารบัญ

ผมได้เขียนหนังสือเรื่อง “การมีอายุยืนยาวอย่างมีความสุข” เสร็จแล้วครับ มีทั้งหมด 11 บท ขณะนี้อยู่ในช่วงการทำเป็น Draft แรก ยังเปิดรับความคิดเห็นเพิ่มเติม หากมีส่วนใดที่ไม่ถูกต้อง หรือยังไม่ชัดเจน โปรดช่วยกันอ่าน แล้วให้คำแนะนำมาที่ผมได้ครับ ทาง
·       
·       ผ่าน Facebook Pracob Cooparat
·       หรือทาง Website “การมีอายุยืนยาวอย่างมีความสุข” นี้ ซึ่งอยู่ใน pracob.blogspot.com

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
24 มีนาคม พ.ศ. 2560

1.     

2.     

3.     

4.     

5.     

6.     

7.     

8.     

9.     

10.  

11.  



Updated: March 24, 2017

16 สิ่งที่พึงปล่อยวางเพื่อความสุขแห่งชีวิต

16 สิ่งที่พึงปล่อยวางเพื่อความสุขแห่งชีวิต

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmal.com

Updated: March 24, 2017

Keywords: การมีอายุยืนยาว, longevity, ความสุข, happiness, การปล่อยวาง, things to let go

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “16 Things to Let Go to Live a Truly Happy Life.” โดย Sumitha Bhandarkar แต่ได้ปรับความคิดเห็นและการประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้สูงอายุ และวัฒนธรรมบางประการของไทยที่ต่างกันจากสากล

ความนำ

การปล่อยวาง (Letting go) อาจเป็นสิ่งที่ทำได้ยากที่สุดในชีวิต แต่ในขณะเดียวกัน การปล่อยวางคือการทำให้ตนเองเป็นอิสระ มีพลังที่จะเดินหน้าต่อไป

When one door closes, another opens; but we often look so long and so regretfully upon the closed door that we do not see the one which has opened for us. – Alexander Graham Bell

ในขณะที่ประตูหนึ่งปิดลง ก็มีอีกประตูหนึ่งที่เปิดขึ้น แต่เรามักจะมองไปที่ประตูเดิม และเสียใจไปกับประตูที่ปิดลงนั้น เรามองไม่เห็นประตูที่ได้เปิดขึ้นใหม่เพื่อเรา – อเลกซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์

ผู้สูงวัยมีปัญญามากขึ้น ประสบการณ์มากขึ้น หากอยู่ในวัยเกษียณจากการทำงานหลักแล้ว อาจมีเวลามากขึ้น แต่พลังลดถอยลง ต้องรู้จักการปล่อยวาง แต่การปล่อยวางนั้น มิได้หมายความถึงการปล่อยวางในทุกเรื่อง แต่เป็นการปล่อยวางในบางเรื่อง เพื่อให้มีเวลา และทรัพยากรที่เหมาะแก่สภาพการณ์ เพื่อจะมุ่งเน้นการทำในบางอย่างเพื่อให้บรรลุผล ส่วนการจะปล่อยวางเรื่องใด และจะมุ่งมั่นทำอะไรนั้น ก็ต้องมีการออกแบบชีวิตสำหรับตนเองใหม่ แต่โดยรวมจะเน้นไปที่การปล่อยวางมากขึ้น

ในทุกขณะที่เราบรรลุเป้าหมายหนึ่ง ก็จะมีเป้าหมายต่อๆมาที่เราหวังว่าจะนำเราไปสู่ความสุขสมหวัง

·       การปล่อยวาง – คือการทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Graduation)
·       การปล่อยวาง คือปล่อยให้ใคร และอย่างไร ก็ต้องเตรียมการไปสู่สิ่งนั้น (Preparation) บางอย่างปล่อยทันทีไม่ได้
·       การปล่อยวาง – ต้องมีลำดับความสำคัญก่อนหลัง (Priority) การปล่อยวางจากเล็กไปหาใหญ่ ทำให้คนค่อยเรียนรู้ที่จะรองรับได้

การปล่อยวาง หมายถึง ทำให้ชีวิตเราเบาสบายขึ้น มีความกังวลให้น้อยลง แต่ยังอยู่ในแนวทาง “งานคือธรรมะ” ของท่านพุทธทาส ไม่ใช่ว่าปล่อยวางหมด แบบเราไม่เหลืออะไร ไม่ต้องคิดหรือทำอะไรเลย เรายังทำงานต่อไปในชีวิต เพียงแต่ให้เป็นงานที่เราเบาสบายขึ้น งานและคนรอบตัวเราก็ได้เรียนรู้จากเราไปด้วย และมีความรับผิดชอบพอเหมาะแก่วัยและพลังที่ยังมีอยู่

หลักของการปล่อยวางมี 16 เรื่องดังต่อไปนี้

เมื่อเป็นผู้สูงวัย – หยุดคิดที่จะคุมทุกสิ่งทุกอย่าง

Let go of trying to control everything.

เมื่อเป็นผู้สูงวัย 60-70 ปีขึ้นไป ต้องหยุดคิดที่จะควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งที่เราจะควบคุมได้จริงๆคือทัศนคติและการกระทำของเรา และหากเรายอมรับในสิ่งนี้ เราจะพบความสุขมากขึ้น ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น เราฝึกตัวเองให้รับในสิ่งเหล่านั้นได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยากแต่จำเป็นต่อชีวิตของเรา

ยิ่งเป็นคนเคยมีอำนาจ มีตำแหน่งในหน้าที่การงาน แต่สถานะได้เปลี่ยนไปแล้วดังเช่นการเกษียณอายุการทำงาน เราต้องยอมรับในสภาพใหม่ และทำใจเรียนรู้กับสถานะใหม่ หากทำได้ก็ให้สนุกสนานกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ฝึกเรียนรู้ ปรับตัว สนุกสนาน และมีอารมณ์ขันในชีวิตมากขึ้น

เมื่อเป็นผู้สูงวัย – หยุดการเอาใจทุกฝ่ายทุกคน

Let go of trying to please everyone.

เมื่อเราเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น เราจะเรียนรู้ว่า การพยายามทำตนเองให้เป็นที่ชื่นชอบของคนอื่นๆ หรือทุกคน ซึ่งบางครั้งขัดกับความคิดและทัศนคติของเรา ขัดกับข้อมูลและข้อเท็จจริงที่เรามี ทำให้เราหลุดจากความเป็นตัวตนของเรา และทำให้เราไม่มีความสุข การหยุดเอาใจคนทุกฝ่ายทุกคน ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องไปเป็นปฏิปักษ์ของทุกคน แต่เราต้องสามารถแสดงความคิดเห็นที่เป็นของตนเอง โดยเฉพาะที่คนอื่นๆไม่ทราบ การกล้าที่จะเป็นตัวของตัวเอง เมื่อเราตรองแล้วว่าเราควรยืนหยัดที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง แม้สิ่งเหล่านั้นจะขัดกับความรู้สึกของคนบางคน หรือคนเป็นอันมาก

คนมีทักษะทางสังคม โดยเฉพาะผู้สูงวัย เมื่อมีประสบการณ์ และฝึกทักษะการนำเสนอมาดีพอ เราเคารพความเห็นต่างของคน ฟังคนอื่นๆ แต่ขณะเดียวกัน เรามีความคิดเห็นของเราที่ในบางครั้งจำเป็นต้องแสดงความเห็น ข้อมูล และความคิดที่เรามี เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ทราบ ความขัดแย้งไม่ใช่เป็นเรื่องเลวร้าย มีเป็นอันมากที่ความขัดแย้งเป็นเรื่องสร้างสรรค์

หยุดคิดเรื่องการเป็นสิทธิ

Let go of the sense of entitlement.

ในสังคมไทย เราติดยึดกับความเป็นอาวุโส หากเป็นเรื่องของการเข้าสู่ตำแหน่ง มักจะถือเป็นมารยาทที่จะให้ผู้มีอาวุโสได้สิทธิไปก่อน แต่ในอีกด้านหนึ่ง องค์การ ชุมชน หรือสังคมต้องการสิ่งที่ดีที่สุด การเข้าสู่ตำแหน่งบางอย่างจึงต้องเป็นเรื่องของคนแสดงความสามารถ เสนอความคิดใหม่ แสดงวิสัยทัศน์ และแสดงความตั้งใจและศักยภาพที่จะทำหน้าที่นั้นๆ

ในโลกยุคใหม่ ความเปลี่ยนแปลงมาเร็ว โอกาสมาเร็วและไปเร็ว คนจะทำงานที่มีความหมาย คือคนที่พร้อมที่จะฉกฉวยโอกาสนั้นๆ เพื่อให้ตนเองได้ทำหน้าที่ๆเขามีความสามารถ มีความเหมาะสมที่สุด และในขณะเดียวกัน หากมีใครที่เขาสามารถเข้าสู่ตำแหน่ง มีโอกาสได้ทำหน้าที่นั้นๆ ก็ต้องยินดีกับเขา และให้ความร่วมมืออย่างเต็มใจ

ปล่อยวางความรู้สึกไม่พอใจ

Let go of resentment.

เมื่อเราเป็นเด็ก เราถูกฝึกให้รักและชอบสิ่งต่างๆได้อย่างง่ายๆ และในอีกด้านหนึ่ง ก็คุ้นเคยกับการจะบอกว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี เช่น กลางวันดี กลางคืนไม่ดีเพราะมันมืด เด็กเมื่อไม่พอใจสิ่งใด ก็แสดงออก ร้องไห้ หรือชักดิ้นชักงอ เพื่อให้ผู้ใหญ่ตามใจ

แต่เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ความรู้สึกไม่พอใจถูกฝึกให้ลดลง หรือซ่อนเอาไว้ แต่ประสบการณ์ในชีวิตยิ่งมากเข้า เราจะเริ่มเข้าใจฝ่ายตรงกันข้ามกับเรามากขึ้น บางครั้งเพราะการสรวมหัวโขนที่ต่างกัน ทำให้เราไม่พอใจต่อกัน ขัดผลประโยชน์ของหน่วยงานที่มีต่อกัน ก็สร้างความไม่พอใจ

เมื่อเข้าสู่ความเป็นผู้สูงวัย เหมือนเราได้ขึ้นไปยืนอยู่บนยอดเขา มองเห็นชีวิตที่วุ่นวายเบื้องล่าง เราจะเข้าใจโลกและสังคมมากขึ้น ความเป็นศัตรูต่อผู้คนจะลดลง แม้ชีวิตของเราก็รู้ว่าต้องไปสิ้นสุดที่ปลายอุโมงค์ ทุกอย่างจะกลายเป็นศูนย์ รัก โลภ โกรธ หรือหลงจะหมดไป

ความโกรธ เกลียด อาฆาต เหมือนเป็นไฟเผาผลาญเรา บั่นทอนเรา ทำให้เราไม่มีความสุขสงบดังนั้น จงฝึกเสียแต่เนิ่นๆ เมื่อมีความโกรธหรือเกลียดใคร ก็ปล่อยวางให้ได้ หากยังทำไม่ได้ ก็ให้ลืมชื่อเขาเสีย อย่าปล่อยให้มันมาติดฝังในใจเรา

หยุดความรู้สึกผิด

Let go of guilt.

A man must be big enough to admit his mistakes, smart enough to profit from them, and strong enough to correct them. - John C. Maxwell

คนต้องโตพอที่จะยอมรับความผิดพลาดของตน ฉลาดพอที่จะได้ประโยชน์จากมัน และแข็งแรงพอที่จะแก้ไขมัน – จอห์น ซี แมกซ์เวล

ผู้สูงอายุ วัย 60-70 ปีขึ้นไป เราผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านโลกมามาก ทำดีก็มาก ทำพลาดก็มี แต่เมื่อถึงวัยนี้ การทำอะไรพลาด ก็ให้ถือเป็นบทเรียนสำหรับเรา และสำหรับที่จะใช้เล่าและสอนลูกหลานต่อๆไป ที่สำคัญเราต้องสอนคนรุ่นใหม่ให้ทำดีที่สุด และอย่ากลัวผิดพลาด คนที่ไม่เคยทำอะไรผิดพลาดเลย คือคนที่ไม่เคยทำอะไรเลย แต่ทำผิดพลาดแล้ว ก็ให้รู้จักยอมรับ เพื่อที่จะได้เรียนรู้จากมัน และที่สำคัญ ดังที่กล่าว ต้องแข็งแรงพอที่จะปรับปรุงแก้ไขมัน

หยุดการมีทิฐิ

Let go of pride.

เมื่อเราทำผิดพลาด การขอโทษหรือขอให้ยกโทษจะไม่เกิดขึ้น หากเรายังติดยืดกับการรักษาหน้า หากมีความหมางเมินที่ควรต้องปรับปรุง มันจะไม่เกิดขึ้น หากเรายังติดยึดกับหน้าตาและความภาคภูมิใจ
เมื่อเราเป็นผู้ใหญ่ ก็ไม่ได้หมายความว่าเราทำผิดไม่ได้ หรือไม่เคยทำผิด และเมื่อรู้ว่าตนเองเป็นคนทำผิด หรือเป็นผู้ก่อให้เกิดความผิดพลาด ดีที่สุดคือคนเป็นผู้ใหญ่ต้องยอมเสียหน้า และกล่าวขออภัยในความผิดพลาดนั้น

หยุดคิดแบบมุ่งสู่ความสมบูรณ์แบบ

Let go of perfectionism.

The fastest way to break the cycle of perfectionism and become a fearless mother is to give up the idea of doing it perfectly - indeed to embrace uncertainty and imperfection. - Arianna Huffington

วิธีที่เร็วที่สุดที่จะหยุดวงจรของลัทธิสมบูรณ์แบบ และกลายเป็นแม่ที่ไม่กลัวอะไร คือเลิกคิดการทำให้สมบูรณ์แบบ และนั่นคือการยอมรับความไม่แน่นอนและความไม่สมบูรณ์แบบ – แอเรียนา ฮัฟฟิงตัน

การทำผิดพลาด ไม่สมบูรณ์แบบ นั่นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ หากจะทำบัญชีให้ถูกต้อง คำนวณได้อย่างไม่ผิดพลาด ก็ให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการ และมันจะทำหน้าที่ได้อย่างรวดเร็ว มนุษย์มีความไม่สมบูรณ์แบบ แต่เราก็ยังต้องใช้มนุษย์ทำงานในส่วนที่เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำหน้าที่นั้นๆได้ ดังเช่นการคิดอย่างเป็นยุทธศาสตร์ เหมือนแม่ทัพคิดและตัดสินใจในช่วงของสงคราม และนั่นก็อาจนำไปสู่ความผิดพลาด ไม่สมบูรณ์แบบ (Imperfection) แต่นั่นก็เป็นโอกาสที่จะทำให้การบรรลุผลได้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเกมส์กีฬา การศึกสงคราม หรือการบริหารองค์การยุคใหม่ที่ต้องเคลื่อนไหวปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว

ทีมรักบี้ All Blacks เป็นทีมรักบี้แห่งชาติของประเทศนิวซีแลนด์ ที่เป็นตำนานของการเล่นรักบี้ ผู้เล่นทุกคนเล่นอย่างตั้งใจ อย่างมองภาพเป็นทีม เล่นแบบไม่กลัวผิด ไม่กลัวจะไม่สมบูรณ์แบบ และทำผิดแล้วไม่ต้องมาขอโทษ ให้มองการเล่นต่อไปทำให้ดีที่สุด การจะชนะคู่ต่อสู้ ไม่ใช่เล่นอย่างสมบูรณ์แบบโดยไม่ทำผิดพลาดเลย แต่เป็นการเล่นที่ดุดัน รวดเร็ว เป็นทีม และเล่นในกลยุทธ์ที่ฝ่ายตรงข้ามคาดไม่ถึง นั่นแหละที่ทำให้ทีมนี้มีประวัติการเล่นที่เป็นตำนานของการเล่นรักบี้ในระดับนานาชาติ

หยุดการทำในทางลบ

Let go of negativity.

Negativity – การแสดงออก การวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบเกี่ยวกับบางสิ่ง หากมีน้ำสักแก้วที่มีน้ำครึ่งแก้ว คนมองในแง่ลบคือมองในส่วนที่ขาด แต่คนมองในแง่บวก (Positivity) คือมองสิ่งที่ดีที่มีอยู่
ในทุกสถานการณ์เรามีทางเลือก การเลือกมองและทำในทางบวก มองในแง่ดีและมองในสิ่งที่มีอยู่ หรือจะมองในแง่ข้อผิดพลาด มองอย่างจัดผิด และบ่นว่า แต่แล้วเราก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไรให้ดีขึ้นได้อย่างไร การที่คนเรามีอายุมากขึ้น ร่างกายอาจเสื่อมลง จิตใจอาจหม่นหมอง ต้องระวังตัวเองอย่าให้กลายเป็นคนแก่ขี้บ่น หวาดกลัวในสิ่งเลวร้ายที่จะเกิขึ้น เป็นคนอารมณ์ร้าย ซึ่งจะยิ่งเป็นคนไม่น่าคบ ผู้คนก็จะหนีหาย
แต่เราต้องรู้จักปรับตัว มองในอีกแง่หนึ่ง เรายังมีชีวิตอยู่ มีโลกทั้งใบที่เราจะได้เรียนรู้

เราควรเลือกที่จะมองชีวิตในแง่บวก มองอย่างขอบคุณในสิ่งที่เรามี สิ่งที่ทำให้เราเดินไปสู่สิ่งที่ดีๆยิ่งขึ้น เป็นคนมีจิตใจแจ่มใส เป็นที่พึ่งทางด้านอารมณ์แก่คนอื่นๆได้

หยุดสัมพันธภาพที่ไม่เป็นคุณ

Let go of draining, unhealthy relationships.

หยุดโกรธ หากโกรธใคร ก็ให้มีสติให้มากขึ้น ควบคุมสติไม่ให้แตกบ่อยครั้ง จนไปสู่การไม่ต้องโกรธใครเลย

หยุดเกลียด หากเรามีคนที่เราเกลียดเขาอย่างมาก ก็ให้อยู่ห่างไกลเสีย ต่างให้ไปกันคนละเส้นทาง ไม่ต้องไปคิดอะไรถึงเขาเหล่านั้น ลืมไปเสียเลยว่ามีเขาอยู่ในโลกนี้

หยุดคบคนที่ไม่มีความซื่อตรง แม้เราคิดว่าเราจะสามารถควบคุมเขาได้ จะยังได้ประโยชน์อะไรจากเขา เพราะเราฉลาดกว่า ให้เปลี่ยนวิธีการคิดใหม่ ให้สร้างกลุ่มเพื่อนที่มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน สามารถคบค้ากันได้อย่างสบายใจ แม้จะเป็นเพื่อนกลุ่มเล็กๆ แต่ก็ดีกว่าที่จะต้องอยู่ร่วมกันกักบผู้คนจำนวนมาก ที่มีความหวาดระแวงต่อกัน

หยุดกิจกรรมธุรกิจที่วุ่นวาย

Let go of the busyness.

ผมเองเป็นคนหนึ่งที่ชอบคิดฝันอยากทำนั่นทำนี่ คิดอย่างที่เขาสอนในวงธุรกิจ คือ “คิดใหญ่ ไม่คิดเล็ก” คิดแบบนี้คือสำหรับคนหนุ่มสาวที่มีไฟมีพลัง เมื่อคิดแล้วก็ต้องมาลงมือทำ

แต่เมื่อถึงในวันหนึ่งที่เราเป็นผู้สูงวัย ก็ต้องทำใจมาคิดได้ว่า เราต้องหยุดที่จะคิดทำอะไรใหม่ๆด้วยตัวของเราเอง เพราะเรามีความไม่แน่นอนว่าจะมีชีวิตและความแข็งแรงที่จะดูแลสิ่งที่เราคิดให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้

แต่เราสามารถเป็น “คนขายฝัน” เรามีความคิดความฝันที่เคยอยากทำ เพราะมันเป็นสิ่งที่ดี เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและส้งคมแวดล้อม ถ้าเป็นดังนี้ จงหาคนรุ่นใหม่ๆมารับฟังความคิดของเรา ฝากความฝันของเราไว้ เป็นที่พึ่งที่ปรึกษาให้แก่เขา แล้วปล่อยให้เขาเดินหน้าต่อไป เราก็จะเป็นเหมือนคนที่ได้ปลูกต้นไม้ เพียงคอยดูต้นไม้นั้นๆที่จะเติบโตต่อไป

หยุดอะไรที่เกี่ยวกับเงินทอง

Let go of the attachment to money.

เงินทองเป็นของจำเป็น แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เมื่อเรามีอายุมากขึ้น เขาสู่วัยเกษียณอายุการทำงานแล้ว ต้องทำให้ชีวิตเราไม่ไปผูกกับการต้องใช้เงินทองมากมาย พยายามใช้ชีวิตอย่างไม่ต้องพึ่งพาการใช้เงินมากนัก เพราะอย่างไรเสีย เราต้องเตรียมตัวกินน้อย อยู่ในที่เล็กลง ลดค่าใช้จ่ายในชีวิตลง แล้วเราจะพบว่าเรามีชีวิตที่มีความสุขได้โดยพึ่งพาเงินไม่ต้องมากเลย

วิธีการคิดแบบฝรั่ง ต้องมีเงินเหลือในบั้นปลายแบบ 401k หรือมีเงินและทรัพย์สิน USD400,000 หรือ 14 ล้านบาทขึ้นไป บางรายก็บอกว่าจะให้ปลอดภัยต้องมี USD1,000,000 หรือ 35 ล้านบาทขึ้นไป คิดอย่างฝรั่งแล้วกลุ้ม เพราะชีวิตที่จะมีความสุขได้จริง ไม่จำเป็นต้องมีเงินขนาดนั้น หรือหากเป็นในประเทศไทย มีเงินหรือทรัพย์สินติดตัวจำนวนหนึ่งได้ก็เป็นเรื่องดีที่จะอุ่นใจ แต่หากไม่มีมากนัก เราก็มีวิธีการใช้ชีวิตที่มีความสุขได้ เพราะมันมักจะมีส่วนอื่นๆมาทดแทนได้ เช่น มีลูกหรือญาติ ชุมชนท้องถิ่นของเรา หรือระบบต่างๆที่จะมาดูแลเรา

แต่ที่สำคัญที่สุด คือให้มีเพื่อน และสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ความสัมพันธ์นี้มักจะเกิดจาการที่เรามีใจให้แก่กัน เราเคยเป็นที่พึ่งแก่เขาได้มาก่อน เรามีเพื่อน มีชุมชนที่สามารถเป็นที่พึ่งแก่กันได้ เหล่านี้ก็เป็นสิ่งทดแทนได้

หยุดกลัวความล้มเหลว

Let go of the fear of failure.

ทุกคนที่คิดจะทำอะไรใหม่ ล้วนแต่ต้องประสบกับความล้มเหลว เราต้องออกแบบให้โอกาสชีวิตของเรามีล้มเหลวอย่างเล็กๆ เพื่อจะอาศัยเก็บเกี่ยวประสบการณ์นั้นๆในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่า ในอุตสาหกรรมจึงต้องมี “การวิจัยและพัฒนา” (Research & Development – R&D) ในชีวิตของคนเราก็เหมือนกัน ไม่มีใครที่จะเริ่มอะไรแล้วสำเร็จเลย มันต้องมีการลองแล้วลองอีก บางอย่างลองไม่นานก็ตัดสินใจเปลี่ยนเลย บางอย่างลองทำหลายๆครั้ง กว่าที่จะได้สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอัน แต่ถ้าไม่ลองก็ไม่รู้

เมื่อสูงวัยขึ้น โอกาสที่เราจะคิดใหญ่เองลดลง และต้องส่งผ่านสู่คนรุ่นใหม่ แต่เมื่อปล่อยมือความร้บผิดชอบให้กับคนรุ่นใหม่แล้วอย่าไปคิดแทนเขาแบบอนุรักษ์ เราสอนเขาให้เป็นคนกล้าคิด ก็ต้องกล้าที่จะปล่อยให้เขารับผิดชอบอนาคตไปด้วยตนเอง ดังมีสุภาษิตว่า “หากเตี่ยไม่ตาย เสี่ยไม่โต” หากมีอะไรผิดพลาด ก็ให้เขาได้เรียนรู้บทเรียนนั้นๆด้วยตนเอง

หยุดกลัวถูกทอดทิ้ง

Let go of the fear of abandonment.

อย่ากลัวถูกทอดทิ้ง ถ้าเรากลัวก็จะเกิดชีวิตที่ติดยึด มีการตัดสินใจที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล
เมื่อเราเป็นพ่อแม่ แล้วลูกๆเป็นเด็ก ไม่แปลกที่เขาเป็นเด็กที่ติดพ่อแม่ แต่เราก็ต้องสอนเขาให้เป็นผู้ใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ โตขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้โดยไม่มีเรา แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อลูกๆโตขึ้น เป็นผู้ใหญ่ เขาก็ต้องไปมีครอบครัวของเขา พ่อแม่ก็ต้องคิดอย่างเข้าใจความอยากเป็นอิสระของเขา อย่าหวาดกลัวที่จะต้องแยกจากกัน

เราเองก็ต้องพร้อมที่จะออกแบบการดำรงชีวิตใหม่ของเราอย่างมีอิสระ โดยไม่ต้องคิดอย่างกลัวว่าจะถูกทอดทิ้ง ความเป็นครอบครัวแบบพ่อแม่ลูก และต่อไปอาจมีหลาน ความสัมพันธ์เหล่านี้จะยังคงมีอยู่ การอยู่ห่างกันไม่ได้หมายความว่าอยู่อย่างตัดขาดจากกัน มีการไปมาหาสู่กัน มีอะไรที่เป็นปัญหา ก็สามารถช่วยกันแก้ปัญหาได้ พึ่งพากันได้เมื่อจำเป็น

หยุดความคาดหวัง

Let go of expectations.

ชีวิตที่คาดหวัง แล้วนำมาซึ่งความทุกข์ เมื่อเราเป็นหัวหน้าครอบครัว และบุคคลในความดูแลของเรายังเป็นเด็กเล็ก เราต้องดูแลเขา สั่งสอนและคาดหวังจากเขา แต่เมื่อเขาโตขึ้น เป็นอิสระมากขึ้น ความคาดหวังที่เรามีต่อเขาจะเปลี่ยนไป เช่นเรามีกิจการของครอบครัวที่เห็นว่าเขาควรเป็นคนสืบต่อกิจการนั้นๆ แต่ทำไมลูกๆจึงไม่สนใจ เรามีบ้านที่น่าอยู่ ทำไมเขาไม่อยากอยู่กับเรา บางคนคาดหวังยิ่งกว่านั้น เราอยากให้เขาแต่งงานกับคนนั้นคนนี้ แล้วทำไมเขาไม่ทำอย่างที่เราต้องการ

การหวังให้ลูกหลานเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งๆที่เขามีชีวิตที่เป็นของเขา และเขาโตขึ้นทุกวัน ย่อมนำมาซึ่งความไม่สมหวัง และเมื่อคาดหวังแล้วไม่ได้เป็นไปตามคาดหวัง ก็จะเกิดความรู้สึกผิดหวัง และเสียใจ ทั้งๆที่บุคคลที่เราหวังดีต่อเขานั้น เขามีวิธีการคิด มีค่านิยม และความคาดหวังที่เป็นของเขาเอง

ดังนั้นจึงพึงปล่อยให้ชีวิตของเขาเป็นอิสระ ได้ตัดสินใจเอง ส่วนชีวิตของเราก็เป็นสิทธิของเราที่จะคิดได้อย่างอิสระ เมื่อภาระในการดูแลลูกๆได้หมดไปแล้ว

ปล่อยอดีตและไม่วุ่นวายกับอนาคต

Let go of yesterday and tomorrow.

เป็นเรื่องแปลกที่ฝรั่งที่ติดกับวัตถุนิยม กับไทยที่ไม่ได้ติดยึดเหมือนเขา แต่ท้ายสุดปราชญ์ทั้งสองซีกโลก ต่างแนะนำให้เราปล่อยวางในอดีต และไม่วุ่นวายกับอนาคต แม้กับคนที่รวยที่สุด แต่ประวัติศาสตร์บอกว่า ความมั่งคั่งของตระกูลใดๆนั้น จะคงอยู่ได้เพียง 3 ชั่วคน คือรุ่นปู่สร้างองค์การและความมั่งคั่ง เป็นคนบุกเบิกเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในรุ่นนำหน้า แต่พอมาถึงรุ่นพ่อ ก็เพียงรักษาสถานะและความเป็นปึกแผ่นต่อไป แต่พอถึงรุ่นลูก ก็มักจะเข้าสู่ระยะไม่รู้จะเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร ก็จะกินจะใช้แบบเสวยสุข แล้วในที่สุด ความมั่งคั่งนั้นก็ละลายหายไป

มหาเศรษฐีที่มีสายตากว้างไกล จึงไม่คิดว่าเขาจะต้องสร้างสมความมั่งคั่งให้คงอยู่ต่อไป แต่จะใช้เงินให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ฝากชื่อและวงศ์ตระกูลของเขาเอาไว้ ส่วนลูกๆ เขาก็จะฝึกให้มีความสามารถในระดับดูแลตัวเองได้ อยากทำอะไรที่มีความสุขก็ทำ และขอให้เป็นคนดี

ส่วนในอดีต ไม่ว่าเราจะยิ่งใหญ่ หรือมีปัญหาที่เราไม่อยากพูดถึง แต่ในที่สุดเมื่อเราจากโลก ทุกสิ่งก็จะกลับไปเริ่มต้นที่ศูนย์ จงลืมอดีตเสีย รู้จักให้อภัยกับตนเอง ให้อภัยคนอื่นๆ เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบัน โลกในทุกๆวันยังมีอะไรที่เราจะเรียนรู้และได้ชื่นชมอีกมากครับ

สรุป

ท่านได้มาถึงส่วนสุดท้ายของบท และส่วนสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้แล้ว

การอ่าน หากมีข้อสงสัย หรือมีความเห็นต่าง ขอให้สื่อสารกลับมา โดยใช้ Facebook ของผม Pracob Cooparat หรือ ใน Website ที่ชื่อ pracob.blogspot.com ในการแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมกลับมา


ต้องขอบคุณล่วงหน้าครับ ข้อมูลสะท้อนกลับเป็นเรื่องที่ดี จะได้ใช้เพื่อประกอบการปรับปรุงหนังสือ ส่วนไหนที่ต้องการข้อมูลลึกซึ้งขึ้นไป จะได้สื่อต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ หรือไม่ก็ต้องศึกษาเพิ่มเติมเอง เพื่อพัฒนาในเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นไปและเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น

16 สิ่งที่พึงปล่อยวางเพื่อความสุขแห่งชีวิต

16 สิ่งที่พึงปล่อยวางเพื่อความสุขแห่งชีวิต

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmal.com

Updated: March 24, 2017

Keywords: การมีอายุยืนยาว, longevity, ความสุข, happiness, การปล่อยวาง, things to let go
ศึกษาและเรียบเรียงจาก “16 Things to Let Go to Live a Truly Happy Life.” โดย Sumitha Bhandarkar แต่ได้ปรับความคิดเห็นและการประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้สูงอายุ และวัฒนธรรมบางประการของไทยที่ต่างกันจากสากล

ความนำ

การปล่อยวาง (Letting go) อาจเป็นสิ่งที่ทำได้ยากที่สุดในชีวิต แต่ในขณะเดียวกัน การปล่อยวางคือการทำให้ตนเองเป็นอิสระ มีพลังที่จะเดินหน้าต่อไป

When one door closes, another opens; but we often look so long and so regretfully upon the closed door that we do not see the one which has opened for us. – Alexander Graham Bell

ในขณะที่ประตูหนึ่งปิดลง ก็มีอีกประตูหนึ่งที่เปิดขึ้น แต่เรามักจะมองไปที่ประตูเดิม และเสียใจไปกับประตูที่ปิดลงนั้น เรามองไม่เห็นประตูที่ได้เปิดขึ้นใหม่เพื่อเรา – อเลกซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์

ผู้สูงวัยมีปัญญามากขึ้น ประสบการณ์มากขึ้น หากอยู่ในวัยเกษียณจากการทำงานหลักแล้ว อาจมีเวลามากขึ้น แต่พลังลดถอยลง ต้องรู้จักการปล่อยวาง แต่การปล่อยวางนั้น มิได้หมายความถึงการปล่อยวางในทุกเรื่อง แต่เป็นการปล่อยวางในบางเรื่อง เพื่อให้มีเวลา และทรัพยากรที่เหมาะแก่สภาพการณ์ เพื่อจะมุ่งเน้นการทำในบางอย่างเพื่อให้บรรลุผล ส่วนการจะปล่อยวางเรื่องใด และจะมุ่งมั่นทำอะไรนั้น ก็ต้องมีการออกแบบชีวิตสำหรับตนเองใหม่ แต่โดยรวมจะเน้นไปที่การปล่อยวางมากขึ้น

ในทุกขณะที่เราบรรลุเป้าหมายหนึ่ง ก็จะมีเป้าหมายต่อๆมาที่เราหวังว่าจะนำเราไปสู่ความสุขสมหวัง

·       การปล่อยวาง – คือการทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Graduation)
·       การปล่อยวาง คือปล่อยให้ใคร และอย่างไร ก็ต้องเตรียมการไปสู่สิ่งนั้น (Preparation) บางอย่างปล่อยทันทีไม่ได้
·       การปล่อยวาง – ต้องมีลำดับความสำคัญก่อนหลัง (Priority) การปล่อยวางจากเล็กไปหาใหญ่ ทำให้คนค่อยเรียนรู้ที่จะรองรับได้

การปล่อยวาง หมายถึง ทำให้ชีวิตเราเบาสบายขึ้น มีความกังวลให้น้อยลง แต่ยังอยู่ในแนวทาง “งานคือธรรมะ” ของท่านพุทธทาส ไม่ใช่ว่าปล่อยวางหมด แบบเราไม่เหลืออะไร ไม่ต้องคิดหรือทำอะไรเลย เรายังทำงานต่อไปในชีวิต เพียงแต่ให้เป็นงานที่เราเบาสบายขึ้น งานและคนรอบตัวเราก็ได้เรียนรู้จากเราไปด้วย และมีความรับผิดชอบพอเหมาะแก่วัยและพลังที่ยังมีอยู่

หลักของการปล่อยวางมี 16 เรื่องดังต่อไปนี้

เมื่อเป็นผู้สูงวัย – หยุดคิดที่จะคุมทุกสิ่งทุกอย่าง

Let go of trying to control everything.

เมื่อเป็นผู้สูงวัย 60-70 ปีขึ้นไป ต้องหยุดคิดที่จะควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งที่เราจะควบคุมได้จริงๆคือทัศนคติและการกระทำของเรา และหากเรายอมรับในสิ่งนี้ เราจะพบความสุขมากขึ้น ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น เราฝึกตัวเองให้รับในสิ่งเหล่านั้นได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยากแต่จำเป็นต่อชีวิตของเรา

ยิ่งเป็นคนเคยมีอำนาจ มีตำแหน่งในหน้าที่การงาน แต่สถานะได้เปลี่ยนไปแล้วดังเช่นการเกษียณอายุการทำงาน เราต้องยอมรับในสภาพใหม่ และทำใจเรียนรู้กับสถานะใหม่ หากทำได้ก็ให้สนุกสนานกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ฝึกเรียนรู้ ปรับตัว สนุกสนาน และมีอารมณ์ขันในชีวิตมากขึ้น

เมื่อเป็นผู้สูงวัย – หยุดการเอาใจทุกฝ่ายทุกคน

Let go of trying to please everyone.

เมื่อเราเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น เราจะเรียนรู้ว่า การพยายามทำตนเองให้เป็นที่ชื่นชอบของคนอื่นๆ หรือทุกคน ซึ่งบางครั้งขัดกับความคิดและทัศนคติของเรา ขัดกับข้อมูลและข้อเท็จจริงที่เรามี ทำให้เราหลุดจากความเป็นตัวตนของเรา และทำให้เราไม่มีความสุข การหยุดเอาใจคนทุกฝ่ายทุกคน ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องไปเป็นปฏิปักษ์ของทุกคน แต่เราต้องสามารถแสดงความคิดเห็นที่เป็นของตนเอง โดยเฉพาะที่คนอื่นๆไม่ทราบ การกล้าที่จะเป็นตัวของตัวเอง เมื่อเราตรองแล้วว่าเราควรยืนหยัดที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง แม้สิ่งเหล่านั้นจะขัดกับความรู้สึกของคนบางคน หรือคนเป็นอันมาก

คนมีทักษะทางสังคม โดยเฉพาะผู้สูงวัย เมื่อมีประสบการณ์ และฝึกทักษะการนำเสนอมาดีพอ เราเคารพความเห็นต่างของคน ฟังคนอื่นๆ แต่ขณะเดียวกัน เรามีความคิดเห็นของเราที่ในบางครั้งจำเป็นต้องแสดงความเห็น ข้อมูล และความคิดที่เรามี เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ทราบ ความขัดแย้งไม่ใช่เป็นเรื่องเลวร้าย มีเป็นอันมากที่ความขัดแย้งเป็นเรื่องสร้างสรรค์

หยุดคิดเรื่องการเป็นสิทธิ

Let go of the sense of entitlement.

ในสังคมไทย เราติดยึดกับความเป็นอาวุโส หากเป็นเรื่องของการเข้าสู่ตำแหน่ง มักจะถือเป็นมารยาทที่จะให้ผู้มีอาวุโสได้สิทธิไปก่อน แต่ในอีกด้านหนึ่ง องค์การ ชุมชน หรือสังคมต้องการสิ่งที่ดีที่สุด การเข้าสู่ตำแหน่งบางอย่างจึงต้องเป็นเรื่องของคนแสดงความสามารถ เสนอความคิดใหม่ แสดงวิสัยทัศน์ และแสดงความตั้งใจและศักยภาพที่จะทำหน้าที่นั้นๆ

ในโลกยุคใหม่ ความเปลี่ยนแปลงมาเร็ว โอกาสมาเร็วและไปเร็ว คนจะทำงานที่มีความหมาย คือคนที่พร้อมที่จะฉกฉวยโอกาสนั้นๆ เพื่อให้ตนเองได้ทำหน้าที่ๆเขามีความสามารถ มีความเหมาะสมที่สุด และในขณะเดียวกัน หากมีใครที่เขาสามารถเข้าสู่ตำแหน่ง มีโอกาสได้ทำหน้าที่นั้นๆ ก็ต้องยินดีกับเขา และให้ความร่วมมืออย่างเต็มใจ

ปล่อยวางความรู้สึกไม่พอใจ

Let go of resentment.

เมื่อเราเป็นเด็ก เราถูกฝึกให้รักและชอบสิ่งต่างๆได้อย่างง่ายๆ และในอีกด้านหนึ่ง ก็คุ้นเคยกับการจะบอกว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี เช่น กลางวันดี กลางคืนไม่ดีเพราะมันมืด เด็กเมื่อไม่พอใจสิ่งใด ก็แสดงออก ร้องไห้ หรือชักดิ้นชักงอ เพื่อให้ผู้ใหญ่ตามใจ

แต่เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ความรู้สึกไม่พอใจถูกฝึกให้ลดลง หรือซ่อนเอาไว้ แต่ประสบการณ์ในชีวิตยิ่งมากเข้า เราจะเริ่มเข้าใจฝ่ายตรงกันข้ามกับเรามากขึ้น บางครั้งเพราะการสรวมหัวโขนที่ต่างกัน ทำให้เราไม่พอใจต่อกัน ขัดผลประโยชน์ของหน่วยงานที่มีต่อกัน ก็สร้างความไม่พอใจ

เมื่อเข้าสู่ความเป็นผู้สูงวัย เหมือนเราได้ขึ้นไปยืนอยู่บนยอดเขา มองเห็นชีวิตที่วุ่นวายเบื้องล่าง เราจะเข้าใจโลกและสังคมมากขึ้น ความเป็นศัตรูต่อผู้คนจะลดลง แม้ชีวิตของเราก็รู้ว่าต้องไปสิ้นสุดที่ปลายอุโมงค์ ทุกอย่างจะกลายเป็นศูนย์ รัก โลภ โกรธ หรือหลงจะหมดไป

ความโกรธ เกลียด อาฆาต เหมือนเป็นไฟเผาผลาญเรา บั่นทอนเรา ทำให้เราไม่มีความสุขสงบดังนั้น จงฝึกเสียแต่เนิ่นๆ เมื่อมีความโกรธหรือเกลียดใคร ก็ปล่อยวางให้ได้ หากยังทำไม่ได้ ก็ให้ลืมชื่อเขาเสีย อย่าปล่อยให้มันมาติดฝังในใจเรา

หยุดความรู้สึกผิด

Let go of guilt.

A man must be big enough to admit his mistakes, smart enough to profit from them, and strong enough to correct them. - John C. Maxwell

คนต้องโตพอที่จะยอมรับความผิดพลาดของตน ฉลาดพอที่จะได้ประโยชน์จากมัน และแข็งแรงพอที่จะแก้ไขมัน – จอห์น ซี แมกซ์เวล

ผู้สูงอายุ วัย 60-70 ปีขึ้นไป เราผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านโลกมามาก ทำดีก็มาก ทำพลาดก็มี แต่เมื่อถึงวัยนี้ การทำอะไรพลาด ก็ให้ถือเป็นบทเรียนสำหรับเรา และสำหรับที่จะใช้เล่าและสอนลูกหลานต่อๆไป ที่สำคัญเราต้องสอนคนรุ่นใหม่ให้ทำดีที่สุด และอย่ากลัวผิดพลาด คนที่ไม่เคยทำอะไรผิดพลาดเลย คือคนที่ไม่เคยทำอะไรเลย แต่ทำผิดพลาดแล้ว ก็ให้รู้จักยอมรับ เพื่อที่จะได้เรียนรู้จากมัน และที่สำคัญ ดังที่กล่าว ต้องแข็งแรงพอที่จะปรับปรุงแก้ไขมัน

หยุดการมีทิฐิ

Let go of pride.

เมื่อเราทำผิดพลาด การขอโทษหรือขอให้ยกโทษจะไม่เกิดขึ้น หากเรายังติดยืดกับการรักษาหน้า หากมีความหมางเมินที่ควรต้องปรับปรุง มันจะไม่เกิดขึ้น หากเรายังติดยึดกับหน้าตาและความภาคภูมิใจ
เมื่อเราเป็นผู้ใหญ่ ก็ไม่ได้หมายความว่าเราทำผิดไม่ได้ หรือไม่เคยทำผิด และเมื่อรู้ว่าตนเองเป็นคนทำผิด หรือเป็นผู้ก่อให้เกิดความผิดพลาด ดีที่สุดคือคนเป็นผู้ใหญ่ต้องยอมเสียหน้า และกล่าวขออภัยในความผิดพลาดนั้น

หยุดคิดแบบมุ่งสู่ความสมบูรณ์แบบ

Let go of perfectionism.

The fastest way to break the cycle of perfectionism and become a fearless mother is to give up the idea of doing it perfectly - indeed to embrace uncertainty and imperfection. - Arianna Huffington

วิธีที่เร็วที่สุดที่จะหยุดวงจรของลัทธิสมบูรณ์แบบ และกลายเป็นแม่ที่ไม่กลัวอะไร คือเลิกคิดการทำให้สมบูรณ์แบบ และนั่นคือการยอมรับความไม่แน่นอนและความไม่สมบูรณ์แบบ – แอเรียนา ฮัฟฟิงตัน

การทำผิดพลาด ไม่สมบูรณ์แบบ นั่นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ หากจะทำบัญชีให้ถูกต้อง คำนวณได้อย่างไม่ผิดพลาด ก็ให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการ และมันจะทำหน้าที่ได้อย่างรวดเร็ว มนุษย์มีความไม่สมบูรณ์แบบ แต่เราก็ยังต้องใช้มนุษย์ทำงานในส่วนที่เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำหน้าที่นั้นๆได้ ดังเช่นการคิดอย่างเป็นยุทธศาสตร์ เหมือนแม่ทัพคิดและตัดสินใจในช่วงของสงคราม และนั่นก็อาจนำไปสู่ความผิดพลาด ไม่สมบูรณ์แบบ (Imperfection) แต่นั่นก็เป็นโอกาสที่จะทำให้การบรรลุผลได้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเกมส์กีฬา การศึกสงคราม หรือการบริหารองค์การยุคใหม่ที่ต้องเคลื่อนไหวปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว

ทีมรักบี้ All Blacks เป็นทีมรักบี้แห่งชาติของประเทศนิวซีแลนด์ ที่เป็นตำนานของการเล่นรักบี้ ผู้เล่นทุกคนเล่นอย่างตั้งใจ อย่างมองภาพเป็นทีม เล่นแบบไม่กลัวผิด ไม่กลัวจะไม่สมบูรณ์แบบ และทำผิดแล้วไม่ต้องมาขอโทษ ให้มองการเล่นต่อไปทำให้ดีที่สุด การจะชนะคู่ต่อสู้ ไม่ใช่เล่นอย่างสมบูรณ์แบบโดยไม่ทำผิดพลาดเลย แต่เป็นการเล่นที่ดุดัน รวดเร็ว เป็นทีม และเล่นในกลยุทธ์ที่ฝ่ายตรงข้ามคาดไม่ถึง นั่นแหละที่ทำให้ทีมนี้มีประวัติการเล่นที่เป็นตำนานของการเล่นรักบี้ในระดับนานาชาติ

หยุดการทำในทางลบ

Let go of negativity.

Negativity – การแสดงออก การวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบเกี่ยวกับบางสิ่ง หากมีน้ำสักแก้วที่มีน้ำครึ่งแก้ว คนมองในแง่ลบคือมองในส่วนที่ขาด แต่คนมองในแง่บวก (Positivity) คือมองสิ่งที่ดีที่มีอยู่

ในทุกสถานการณ์เรามีทางเลือก การเลือกมองและทำในทางบวก มองในแง่ดีและมองในสิ่งที่มีอยู่ หรือจะมองในแง่ข้อผิดพลาด มองอย่างจัดผิด และบ่นว่า แต่แล้วเราก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไรให้ดีขึ้นได้อย่างไร การที่คนเรามีอายุมากขึ้น ร่างกายอาจเสื่อมลง จิตใจอาจหม่นหมอง ต้องระวังตัวเองอย่าให้กลายเป็นคนแก่ขี้บ่น หวาดกลัวในสิ่งเลวร้ายที่จะเกิขึ้น เป็นคนอารมณ์ร้าย ซึ่งจะยิ่งเป็นคนไม่น่าคบ ผู้คนก็จะหนีหาย
แต่เราต้องรู้จักปรับตัว มองในอีกแง่หนึ่ง เรายังมีชีวิตอยู่ มีโลกทั้งใบที่เราจะได้เรียนรู้

เราควรเลือกที่จะมองชีวิตในแง่บวก มองอย่างขอบคุณในสิ่งที่เรามี สิ่งที่ทำให้เราเดินไปสู่สิ่งที่ดีๆยิ่งขึ้น เป็นคนมีจิตใจแจ่มใส เป็นที่พึ่งทางด้านอารมณ์แก่คนอื่นๆได้

หยุดสัมพันธภาพที่ไม่เป็นคุณ

Let go of draining, unhealthy relationships.

หยุดโกรธ หากโกรธใคร ก็ให้มีสติให้มากขึ้น ควบคุมสติไม่ให้แตกบ่อยครั้ง จนไปสู่การไม่ต้องโกรธใครเลย

หยุดเกลียด หากเรามีคนที่เราเกลียดเขาอย่างมาก ก็ให้อยู่ห่างไกลเสีย ต่างให้ไปกันคนละเส้นทาง ไม่ต้องไปคิดอะไรถึงเขาเหล่านั้น ลืมไปเสียเลยว่ามีเขาอยู่ในโลกนี้

หยุดคบคนที่ไม่มีความซื่อตรง แม้เราคิดว่าเราจะสามารถควบคุมเขาได้ จะยังได้ประโยชน์อะไรจากเขา เพราะเราฉลาดกว่า ให้เปลี่ยนวิธีการคิดใหม่ ให้สร้างกลุ่มเพื่อนที่มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน สามารถคบค้ากันได้อย่างสบายใจ แม้จะเป็นเพื่อนกลุ่มเล็กๆ แต่ก็ดีกว่าที่จะต้องอยู่ร่วมกันกักบผู้คนจำนวนมาก ที่มีความหวาดระแวงต่อกัน

หยุดกิจกรรมธุรกิจที่วุ่นวาย

Let go of the busyness.

ผมเองเป็นคนหนึ่งที่ชอบคิดฝันอยากทำนั่นทำนี่ คิดอย่างที่เขาสอนในวงธุรกิจ คือ “คิดใหญ่ ไม่คิดเล็ก” คิดแบบนี้คือสำหรับคนหนุ่มสาวที่มีไฟมีพลัง เมื่อคิดแล้วก็ต้องมาลงมือทำ

แต่เมื่อถึงในวันหนึ่งที่เราเป็นผู้สูงวัย ก็ต้องทำใจมาคิดได้ว่า เราต้องหยุดที่จะคิดทำอะไรใหม่ๆด้วยตัวของเราเอง เพราะเรามีความไม่แน่นอนว่าจะมีชีวิตและความแข็งแรงที่จะดูแลสิ่งที่เราคิดให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้

แต่เราสามารถเป็น “คนขายฝัน” เรามีความคิดความฝันที่เคยอยากทำ เพราะมันเป็นสิ่งที่ดี เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและส้งคมแวดล้อม ถ้าเป็นดังนี้ จงหาคนรุ่นใหม่ๆมารับฟังความคิดของเรา ฝากความฝันของเราไว้ เป็นที่พึ่งที่ปรึกษาให้แก่เขา แล้วปล่อยให้เขาเดินหน้าต่อไป เราก็จะเป็นเหมือนคนที่ได้ปลูกต้นไม้ เพียงคอยดูต้นไม้นั้นๆที่จะเติบโตต่อไป

หยุดอะไรที่เกี่ยวกับเงินทอง

Let go of the attachment to money.

เงินทองเป็นของจำเป็น แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เมื่อเรามีอายุมากขึ้น เขาสู่วัยเกษียณอายุการทำงานแล้ว ต้องทำให้ชีวิตเราไม่ไปผูกกับการต้องใช้เงินทองมากมาย พยายามใช้ชีวิตอย่างไม่ต้องพึ่งพาการใช้เงินมากนัก เพราะอย่างไรเสีย เราต้องเตรียมตัวกินน้อย อยู่ในที่เล็กลง ลดค่าใช้จ่ายในชีวิตลง แล้วเราจะพบว่าเรามีชีวิตที่มีความสุขได้โดยพึ่งพาเงินไม่ต้องมากเลย

วิธีการคิดแบบฝรั่ง ต้องมีเงินเหลือในบั้นปลายแบบ 401k หรือมีเงินและทรัพย์สิน USD400,000 หรือ 14 ล้านบาทขึ้นไป บางรายก็บอกว่าจะให้ปลอดภัยต้องมี USD1,000,000 หรือ 35 ล้านบาทขึ้นไป คิดอย่างฝรั่งแล้วกลุ้ม เพราะชีวิตที่จะมีความสุขได้จริง ไม่จำเป็นต้องมีเงินขนาดนั้น หรือหากเป็นในประเทศไทย มีเงินหรือทรัพย์สินติดตัวจำนวนหนึ่งได้ก็เป็นเรื่องดีที่จะอุ่นใจ แต่หากไม่มีมากนัก เราก็มีวิธีการใช้ชีวิตที่มีความสุขได้ เพราะมันมักจะมีส่วนอื่นๆมาทดแทนได้ เช่น มีลูกหรือญาติ ชุมชนท้องถิ่นของเรา หรือระบบต่างๆที่จะมาดูแลเรา

แต่ที่สำคัญที่สุด คือให้มีเพื่อน และสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ความสัมพันธ์นี้มักจะเกิดจาการที่เรามีใจให้แก่กัน เราเคยเป็นที่พึ่งแก่เขาได้มาก่อน เรามีเพื่อน มีชุมชนที่สามารถเป็นที่พึ่งแก่กันได้ เหล่านี้ก็เป็นสิ่งทดแทนได้

หยุดกลัวความล้มเหลว

Let go of the fear of failure.

ทุกคนที่คิดจะทำอะไรใหม่ ล้วนแต่ต้องประสบกับความล้มเหลว เราต้องออกแบบให้โอกาสชีวิตของเรามีล้มเหลวอย่างเล็กๆ เพื่อจะอาศัยเก็บเกี่ยวประสบการณ์นั้นๆในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่า ในอุตสาหกรรมจึงต้องมี “การวิจัยและพัฒนา” (Research & Development – R&D) ในชีวิตของคนเราก็เหมือนกัน ไม่มีใครที่จะเริ่มอะไรแล้วสำเร็จเลย มันต้องมีการลองแล้วลองอีก บางอย่างลองไม่นานก็ตัดสินใจเปลี่ยนเลย บางอย่างลองทำหลายๆครั้ง กว่าที่จะได้สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอัน แต่ถ้าไม่ลองก็ไม่รู้

เมื่อสูงวัยขึ้น โอกาสที่เราจะคิดใหญ่เองลดลง และต้องส่งผ่านสู่คนรุ่นใหม่ แต่เมื่อปล่อยมือความร้บผิดชอบให้กับคนรุ่นใหม่แล้วอย่าไปคิดแทนเขาแบบอนุรักษ์ เราสอนเขาให้เป็นคนกล้าคิด ก็ต้องกล้าที่จะปล่อยให้เขารับผิดชอบอนาคตไปด้วยตนเอง ดังมีสุภาษิตว่า “หากเตี่ยไม่ตาย เสี่ยไม่โต” หากมีอะไรผิดพลาด ก็ให้เขาได้เรียนรู้บทเรียนนั้นๆด้วยตนเอง

หยุดกลัวถูกทอดทิ้ง

Let go of the fear of abandonment.

อย่ากลัวถูกทอดทิ้ง ถ้าเรากลัวก็จะเกิดชีวิตที่ติดยึด มีการตัดสินใจที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล
เมื่อเราเป็นพ่อแม่ แล้วลูกๆเป็นเด็ก ไม่แปลกที่เขาเป็นเด็กที่ติดพ่อแม่ แต่เราก็ต้องสอนเขาให้เป็นผู้ใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ โตขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้โดยไม่มีเรา แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อลูกๆโตขึ้น เป็นผู้ใหญ่ เขาก็ต้องไปมีครอบครัวของเขา พ่อแม่ก็ต้องคิดอย่างเข้าใจความอยากเป็นอิสระของเขา อย่าหวาดกลัวที่จะต้องแยกจากกัน

เราเองก็ต้องพร้อมที่จะออกแบบการดำรงชีวิตใหม่ของเราอย่างมีอิสระ โดยไม่ต้องคิดอย่างกลัวว่าจะถูกทอดทิ้ง ความเป็นครอบครัวแบบพ่อแม่ลูก และต่อไปอาจมีหลาน ความสัมพันธ์เหล่านี้จะยังคงมีอยู่ การอยู่ห่างกันไม่ได้หมายความว่าอยู่อย่างตัดขาดจากกัน มีการไปมาหาสู่กัน มีอะไรที่เป็นปัญหา ก็สามารถช่วยกันแก้ปัญหาได้ พึ่งพากันได้เมื่อจำเป็น

หยุดความคาดหวัง

Let go of expectations.

ชีวิตที่คาดหวัง แล้วนำมาซึ่งความทุกข์ เมื่อเราเป็นหัวหน้าครอบครัว และบุคคลในความดูแลของเรายังเป็นเด็กเล็ก เราต้องดูแลเขา สั่งสอนและคาดหวังจากเขา แต่เมื่อเขาโตขึ้น เป็นอิสระมากขึ้น ความคาดหวังที่เรามีต่อเขาจะเปลี่ยนไป เช่นเรามีกิจการของครอบครัวที่เห็นว่าเขาควรเป็นคนสืบต่อกิจการนั้นๆ แต่ทำไมลูกๆจึงไม่สนใจ เรามีบ้านที่น่าอยู่ ทำไมเขาไม่อยากอยู่กับเรา บางคนคาดหวังยิ่งกว่านั้น เราอยากให้เขาแต่งงานกับคนนั้นคนนี้ แล้วทำไมเขาไม่ทำอย่างที่เราต้องการ

การหวังให้ลูกหลานเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งๆที่เขามีชีวิตที่เป็นของเขา และเขาโตขึ้นทุกวัน ย่อมนำมาซึ่งความไม่สมหวัง และเมื่อคาดหวังแล้วไม่ได้เป็นไปตามคาดหวัง ก็จะเกิดความรู้สึกผิดหวัง และเสียใจ ทั้งๆที่บุคคลที่เราหวังดีต่อเขานั้น เขามีวิธีการคิด มีค่านิยม และความคาดหวังที่เป็นของเขาเอง

ดังนั้นจึงพึงปล่อยให้ชีวิตของเขาเป็นอิสระ ได้ตัดสินใจเอง ส่วนชีวิตของเราก็เป็นสิทธิของเราที่จะคิดได้อย่างอิสระ เมื่อภาระในการดูแลลูกๆได้หมดไปแล้ว

ปล่อยอดีตและไม่วุ่นวายกับอนาคต

Let go of yesterday and tomorrow.

เป็นเรื่องแปลกที่ฝรั่งที่ติดกับวัตถุนิยม กับไทยที่ไม่ได้ติดยึดเหมือนเขา แต่ท้ายสุดปราชญ์ทั้งสองซีกโลก ต่างแนะนำให้เราปล่อยวางในอดีต และไม่วุ่นวายกับอนาคต แม้กับคนที่รวยที่สุด แต่ประวัติศาสตร์บอกว่า ความมั่งคั่งของตระกูลใดๆนั้น จะคงอยู่ได้เพียง 3 ชั่วคน คือรุ่นปู่สร้างองค์การและความมั่งคั่ง เป็นคนบุกเบิกเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในรุ่นนำหน้า แต่พอมาถึงรุ่นพ่อ ก็เพียงรักษาสถานะและความเป็นปึกแผ่นต่อไป แต่พอถึงรุ่นลูก ก็มักจะเข้าสู่ระยะไม่รู้จะเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร ก็จะกินจะใช้แบบเสวยสุข แล้วในที่สุด ความมั่งคั่งนั้นก็ละลายหายไป

มหาเศรษฐีที่มีสายตากว้างไกล จึงไม่คิดว่าเขาจะต้องสร้างสมความมั่งคั่งให้คงอยู่ต่อไป แต่จะใช้เงินให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ฝากชื่อและวงศ์ตระกูลของเขาเอาไว้ ส่วนลูกๆ เขาก็จะฝึกให้มีความสามารถในระดับดูแลตัวเองได้ อยากทำอะไรที่มีความสุขก็ทำ และขอให้เป็นคนดี

ส่วนในอดีต ไม่ว่าเราจะยิ่งใหญ่ หรือมีปัญหาที่เราไม่อยากพูดถึง แต่ในที่สุดเมื่อเราจากโลก ทุกสิ่งก็จะกลับไปเริ่มต้นที่ศูนย์ จงลืมอดีตเสีย รู้จักให้อภัยกับตนเอง ให้อภัยคนอื่นๆ เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบัน โลกในทุกๆวันยังมีอะไรที่เราจะเรียนรู้และได้ชื่นชมอีกมากครับ

สรุป

ท่านได้มาถึงส่วนสุดท้ายของบท และส่วนสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้แล้ว

การอ่าน หากมีข้อสงสัย หรือมีความเห็นต่าง ขอให้สื่อสารกลับมา โดยใช้ Facebook ของผม Pracob Cooparat หรือ ใน Website ที่ชื่อ pracob.blogspot.com ในการแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมกลับมา


ต้องขอบคุณล่วงหน้าครับ ข้อมูลสะท้อนกลับเป็นเรื่องที่ดี จะได้ใช้เพื่อประกอบการปรับปรุงหนังสือ ส่วนไหนที่ต้องการข้อมูลลึกซึ้งขึ้นไป จะได้สื่อต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ หรือไม่ก็ต้องศึกษาเพิ่มเติมเอง เพื่อพัฒนาในเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นไปและเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น

การจัดการความเครียด

การจัดการความเครียด

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Updated: March 24, 2017

Keywords: การมีอายุยืนยาว, longevity, ความสุข, Happiness, การสื่อสาร, communication

ศึกษาและเรียบเรียงจาก

ความนำ

The greatest weapon against stress is our ability to choose one thought over another. - William James
อาวุธสำคัญที่จะจัดการกับความเครียด คือความสามารถของเราที่จะเลือกความคิดหนึ่งเหนือความคิดอีกด้านหนึ่ง – วิเลเลียม เจมส์, นักปรัชญา, นักจิตวิทยา, และแพ่ทย์ชาวอเมริกัน

ความเครียด (Stress) มีผลกระทบต่อเราท่านทั้งหลาย ทุกท่านอาจจะพบกับอาการความเครียด เมื่อท่านลงโทษเด็กๆ หรือลูกของท่าน หรือในช่วงวุ่นๆของงาน เมื่อท่านต้องจัดการกับการเงิน หรือเมื่อมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ ความเครียดมีอยู่ในทุกหนแห่ง ในขณะที่มีความเครียดเล็กน้อย นับเป็นเรื่องปกติ ความเครียดบางอย่างเป็นสิ่งที่ดี แต่ความเครียดที่มากล้นจะบั่นทอนท่าน และทำให้ท่านป่วยทั้งทางจิตใจและร่างกาย

การที่จะควบคุมความเครียดได้ประการแรกคือต้องรู้อาการ (Symptoms) ของความเครียด แต่การจะเข้าใจว่าความเครียดนั้นยากกว่าที่เราคิด เพราะคนเราเป็นอันมากอยู่ในความเครียดมาแล้วเป็นเวลายาวนาน เราไม่รู้ว่าเราเครียดจนกระทั่งถึงจุดแตกหัก

ความเครียดคืออะไร

What Is Stress?

ความเครียด (Stress) คือปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อสถานการณ์อันตราย  ที่อาจเป็นสิ่งจริงหรือเป็นสิ่งที่คนรับรู้ (Perception) เมื่อเรารู้สึกถูกคุกคาม ปฏิกิริยาทางเคมีเกิดขึ้นในร่างกาย ที่ทำให้เราตอบสนองเพื่อจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดบาดเจ็บ ปฏิกิริยานี้รู้จักกันว่า ต้องสู้หรือหนี (Fight or flight) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ต่อความเครียด ในขณะเครียด หัวใจจะเต้นเร็ว หายใจถี่ขึ้น กล้ามเนื้อเกร็ง ความดันโลหิตสูง ร่างกายเตรียมพร้อมที่จะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นปฏิกิริยาที่ท่านเตรียมปกป้องตนเอง

ความเครียดมีความหมายแตกต่างกันในแต่ละคน สิ่งที่เป็นความเครียดสำหรับบุคคลหนึ่ง อาจมีผลเพียงเล็กน้อยสำหรับคนอื่น บางคนจัดการกับความเครียดได้ดีกว่าบางคน และความเครียดทั้งหมดไม่ใช่สิ่งไม่ดี ความเครียดในระดับเล็กน้อยอาจเป็นแรงกระตุ้นให้เราทำงานเพื่อประสบความสำเร็จ ความเครียดในระดับความตื่นตัว (Alert) เช่น เราเหยียบเบรกรถ เพื่อหลีกเลี่ยงรถวิ่งไปชนรถหรือคนอื่นๆ หรือตื่นเต้นที่จะบรรยายต่อหน้าคนจำนวนมาก ดังนี้เป็นสิ่งที่ดีและยอมรับได้ แต่ต้องไม่มากจนเราตกใจ ขาดสติในการขับรถ หรือตื่นเต้นจนไม่มีสมาธิในการบรรยาย รนในการตอบคำถาม

ร่างกายมนุษย์เราถูกออกแบบมาให้รับกับความเครียดในระดับน้อยๆได้ แต่ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รองรับความเครียดอย่างมากๆ และตลอดเวลา ซึ่งกลายเป็นความเครียดเรื้อรัง กลายเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพ ซึ่งผลที่ตามมาจะมีอันตรายอย่างมากต่อสุขภาพกายและจิตในระยะยาว

อาการความเครียด

What Are the Symptoms of Stress?

ความเครียดมีผลต่อหลายด้านในชีวิตของท่าน รวมทั้งด้านอารมณ์ ความสามารถในการคิด และสุขภาพร่างกาย ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่รอดพ้นจากความเครียด แต่เพราะมนุษย์มีวิธีจัดการกับความเครียดที่แตกต่างกัน อาการจากความเครียดก็แตกต่างกัน หากพบว่ามีความเครียดในลักษณะมากเกิน ก็ควรไปปรึกษาแพทย์ หรือจิตแพทย์

ท่านอาจประสบกับความเครียดในลักษณะต่างๆดังนี้

อาการของความเครียดทางอารมณ์ (Emotional symptoms)

·       ระคายเคือง ขัดข้อง และอารมณ์เสีย
·       มีความรู้สึกท่วมท้น เหมือนจะควบคุมตัวเองไม่ได้
·       มีความยากลำบากที่จะผ่อนคลาย และทำให้ใจสงบลง
·       รู้สึกแย่เกี่ยวกับตนเอง รู้สึกเสียศักดิ์ศรี เหงา ไร้ค้า และมีความกดดัน
·       หลีกเลี่ยงไม่ยอมพบผู้คน

อาการที่ปรากฏทางร่างกาย (Physical symptoms)

·       อ่อนแรง ขาดพลังงาน
·       ปวดหัว
·       กระเพาะเครียด ท้องร่วง ท้องผูก คลื่นเหียน
·       ปวดเมื่อย เจ็บปวด และกล้ามเนื้อตึงเครียด
·       เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว
·       นอนไม่หลับ
·       เป็นหวัดบ่อย และเกิดการอักเสบได้ง่าย
·       ขาดความต้องการทางเพศ หรือหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
·       ความวิตกกังวลและการสั่น มีอาการแว่วในหู หนาวสั่น เหงื่อมือและเท้าออก
·       ปากแห้งและกลืนได้ยาก
·       กัดกรามและบดฟัน

ความเครียดที่มีต่อด้านปัญญา

·       กังวลตลอดเวลา
·       คิดอย่างลุกลน
·       หลงลืมและคิดอย่างไม่เป็นระบบ
·       ไม่สามารถมุ่งมั่น หรือจดจ่อในสิ่งที่จะทำ
·       สูญเสียความสามารถในการตัดสินใจ
·       มองสรรพสิ่งเป็นลบ เห็นโลกเป็นลบ
·       อาการความเครียดที่แสดงออกเป็นพฤติกรรม
·       เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน – ไม่กิน หรือกินมากเกิน
·       ผัดวันประกันพรุ่ง และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
·       ใช้แอลกอฮอล ยาเสพติด หรือบุหรี่
·       พฤติกรรมทางประสาท เช่น กัดเล็บ นั่งเขย่าขา หรือเคาะของ  เช่นปากกา หรือดินสอ

สิ่งที่มีผลระยะยาวจากความเครียด

ความเครียดเล็กน้อยเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวไม่ใช่สิ่งที่ต้องกังวลนัก ทุกคนมีความเครียดในแบบนี้ แต่หากมีความเครียดแล้วไม่มีการจัดการ ก็กลายเป็นความเครียดถาวร ซึ่งมีผลพลอยให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิต ดังเช่น ความซึมเศร้า ความกังวล และมีบุคลิกภาพที่แปรปรวน

โรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งรวมถึง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจวาย หัวใจหยุดเต้น
โรคอ้วน และพฤติกรรมกินอาหารผิดปกติ
ปัญหารอบเดือนผิดปกติในสตรี
ความผิดปกติทางเพศ หย่อนสมรรถภาพ การหลั่งเร็วในชาย และกามตายด้านในทั้งชายและหญิง
ปัญหาด้านผิวและผมร่วง เช่น เป็นสิว โรคสะเก็ดเงินและกลาก และผมร่วงอย่างถาวร
ปัญหาด้านระบบย่อยอาหาร เช่น เกิร์ด (GERD) หรือกรดไหลย้อน โรคแก๊สมากในกระเพาะ เป็นแผลในกระเพาะและลำไส้

ความเครียดที่ดูแลรักษาได้

Help Is Available for Stress

โรคเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต สิ่งสำคัญคือเราต้องจัดการกับมันได้ สิ่งที่ต้องทำ คือป้องกันความเครียดที่มากเกิน และผลที่จะมีต่อสุขภาพ ดังนั้นเราต้องรู้จักอาการของความเครียดที่พอสังเกตได้
หากท่านหรือคนที่ท่านรักมีความเครียดที่มากเกิน ให้ไปปรึกษาแพทย์ อาการเครียดเป็นสัญญาณว่าท่านกำลังมีปัญหาด้านสุขภาพ แพทย์อาจประเมินอาการของท่าน และหากมีความเครียดจริงๆ ก็จะมีการหานักกิจกรรมบำบัดหรือที่ปรึกษา เพื่อช่วยให้ท่านจัดการกับความเครียดได้ดีขึ้น

การจัดการกับความเครียด

ความเครียด (Stress) หากไม่ได้รับการจัดการ จะมีผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และมีผลต่อความสัมพันธ์ต่างๆที่มีต่อผู้คน

1. ดูแลร่างกายและจิตใจ ให้ดี มีการออกกำลังกายอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ นอนให้พอ กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงผักและผลไม้ ในด้านการออกกำลังกาย จะเป็นอะไรก็ได้ เดิน วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน ฯลฯ การได้ใช้กล้ามเนื้อทั่วทั้งตัว รวมถึงปอดและหัวใจ ได้ฝึกการหายใจเข้าและหายใจออก รวมถึงการยืดกล้ามเนื้อ (Stretch) สร้างความยืดหยุ่นให้ร่างกาย ในขณะที่ออกกำลังกาย เราก็ได้ใช้สมาธิไปด้วยในตัว ได้ฝึกละวางความโกรธ เกลียด หลง หรือกลัวไปด้วยในตัว เมื่อออกกำลังกายเพียงพอแล้ว เมื่อเข้านอนในแต่ละวัน ได้ฝึกการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ บางคนใช้การสวดมนต์ คิดแต่สิ่งดีๆ นั่นก็เป็นการฝึกปล่อยวางไปด้วยในตัว นอนหลับไปอย่างไร้กังวล ตื่นขึ้นมาด้วยความสดใส มีแรงที่จะคิดแก้ปัญหาอย่างสดชื่น มากกว่าที่จะกังวลจนนอนไม่หลับไปตลอดคืน

2. การหาความสำคัญก่อนหลังและขอบเขตที่ก่อให้เกิดความเครียดเหล่านั้น อะไรเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด อะไรสำคัญแต่น้อยลงไป และอะไรไม่ใช่สิ่งสำคัญ เช่น มีความเครียดเรื่องบ้าน หรือที่พักอาศัย
เราต้องการที่พักอาศัยที่สบายพอสมควร ต้องมีความสะดวกในการเดินทางทั้งการไปทำงานของพ่อ แม่ และสำหรับลูกๆที่จะไปโรงเรียน ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงเกินไป พอรับได้

หากมีที่ทำงานอยู่ในเมือง (Urban areas) ทางเลือกอาจเป็น (1) มีบ้านชานเมือง ขนาดใหญ่มีห้องนอน 4 ห้อง พอสำหรับพ่อแม่และลูก แต่อยู่ห่างจากที่ทำงาน ต้องขับรถไปทำงานนานนับชั่วโมง (2) บ้านแบบคอนโดมีเนียม มีที่ไม่มากนัก ค่าผ่อนส่งพอรับได้ มีห้องนอน 2 ห้อง พออยู่ได้ สะดวกในการไปทำงาน แม้ไม่ต้องใช้รถยนต์ มีโรงเรียนดีๆใกล้ที่พัก (3) การเลือกเช่าห้องพักไปชั่วคราวก่อน มีค่าใช้จ่ายไม่มากนัก เพราะเหลือเวลาอีกไม่นานลูกจะจบการศึกษา ตัวเองจะเกษียณจากการงาน อาจไปมีบ้านพักในต่างจังหวัดที่มีญาติพี่น้องอยู่ด้วย หรือมีมรดกที่ดินหรือบ้านพักอยู่แล้วในต่างจังหวัด

นี่เป็นตัวอย่างที่ต้องมีการศึกษา ใช้สติปัญญา คิดถึงผลในระยะสั้นและระยะยาว คิดอย่างรอบด้าน คิดถึงความสะดวกสบาย ค่าใช้จ่าย ความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้าง คิดแล้วให้ค่าและประมวลผลออกมา เพื่อทำให้เกิดการตัดสินใจอย่างเป็นเหตุเป็นผล ไม่ใช่การตัดสินใจไปด้วยอารมณ์และหน้าตา ไม่ใช่ไม่ศึกษา ตัดสินใจไปด้วยอารมณ์ แล้วมาผิดหวัง เครียดในพายหลัง

3. ให้คิดและมองสรรพสิ่งอย่างเป็นจริง (Be realistic) ไม่เพ้อฝัน หากเงื่อนไขทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญ และมีผลผูกพันเป็นเวลายาวนาน ก็ต้องหัดคิดและเรียนรู้ในสิ่งเหล่านั้น และขณะเดียวกัน การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับคนทั้งครอบครัว ก็ต้องใช้เวลาในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ทั้งรับทราบรายรับ รายจ่าย ความเสี่ยงในสถานะในอนาคต

การทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมรับรู้ปัญหา นับเป็นวิธีการลดความเครียด ได้เรียนรู้ในสภาพข้อเท็จจริงไปด้วยกัน

4. สร้างความรู้สึกขอบคุณในสิ่งที่มี และที่เป็น (Cultivate gratitude) ให้พอใจในสิ่งที่มีและสิ่งที่เป็น มีบ้านอยู่แล้ว แม้เป็นบ้านเก่า แต่ก็เป็นบ้านที่หากเพียงเราปรับปรุง ก็เสียค่าใช้จ่ายไม่มาก แต่หากต้องทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่ ก็แน่นอนว่าต้องเสียค่าใช้จ่าย และจะมีความยุ่งยากตามมามากในระหว่างการก่อสร้าง เป็นต้น การรู้สึกขอบคุณในสิ่งที่มีและที่เป็น ทำให้เราไม่ต้องไปกระวนกระวาย ขวนขวายหาสิ่งที่เกินความจำเป็น ซึ่งอาจสร้างความยากลำบากแก่เราในระยะยาว

การรู้สึกขอบคุณในสิ่งรอบๆตัว มีภรรยาและลูกที่ดี มีเพื่อนร่วมงานที่ดี เพื่อนบ้านที่ดี มองเห็นสิ่งดีๆที่มีเหล่านี้ แล้วเราจะลดความเครียด บางครั้งการไม่พอใจในสิ่งที่มี มองเห็นสนามหญ้าเพื่อนบ้านเขียวกว่าของตน (The grass is always greener on the other side.) การดิ้นรนแสวงหาอาจเป็นตัวที่ทำให้เราเกิดทุกข์มากขึ้น และไม่ได้ทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้น เพราะความสุขเป็นอันมากเป็นสิ่งที่อยู่ในใจเรา ไม่ใช่สิ่งของที่อยู่นอกตัวเรา

สรุป

ความเครียดเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อผู้สูงวัย และมักจะเป็นผลมาจากวิถีชีวิตที่ได้ทำจนกลายเป็นนิสัย แต่ความเครียดมีผลต่อชีวิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทางที่ดีต้องจัดการกับความเครียดตั้งแต่เมื่อยังมีอายุน้อยอยู่ อาจเริ่มตั้งแต่เมื่อเยาว์วัย เพราะบางครังรอให้เป็นผู้ใหญ่ก็สายไปเสียแล้ว

แต่ไม่ว่าจะรู้ว่าตนเองมีความเครียดมากจนผิดปกติเมื่อใด อย่างน้อยก็ต้องรู้ตัวเองว่าต้องได้รับการรักษา ต้องมีการปรับเปลี่ยนชีวิต เพราะชีวิตมนุษย์ไม่ได้ถูกออกแบบให้รองรับความเครียดได้เป็นระยะเวลายาวนาน ต้องแก้ไข ทำช้ายังดีกว่าไม่ทำ

แต่การแก้ปัญหาความเครียด เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการปล่อยวาง ในท้ายสุด ชีวิตของผู้สูงวัยคือการต้องปล่อยวาง ดังนั้นขอให้ศึกษาเรื่อง “การปล่อยวาง” เสียอีกครั้งในชีวิตครับ อย่างน้อยในช่วงสูงวัยนี้


-----------------------