Saturday, May 21, 2011

จงมีเมตตาแม้แต่กับศัตรู - อับราฮัม ลินคอล์น

จงมีเมตตาแม้แต่กับศัตรู

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: proverb, quote, สุภาษิต, คำสอน, คำกล่าว, ความเมตตา, ความเป็นผู้นำ

I have always found that mercy bears richer fruits than strict justice. - Abraham Lincoln
ฉันพบว่าความเมตตาให้ผลที่ดีกว่าใช้เพียงหลักความยุติธรรมอย่างเคร่งครัด อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln)

ภาพวาด ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln)

อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 เสียขขีวิตเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1865 ด้วยการถูกลอบสังหาร รวมอายุได้ 56 ปี

ในฐานะประธานาธิบดีผู้นำประเทศสหรัฐอเมริกา เขาได้นำประเทศฟันฝ่าวิกฤติทางรัฐธรรมนูญ ทางการทหาร และทางศีลธรรม ที่ตัดสินกันด้วยสงครามกลางเมืองที่เรียกกันว่า American Civil War เพื่อรักษาความเป็นสหรัฐ (Union) ที่เป็นหนึ่งเดียว และดำรงหลักการเลิกทาส และส่งเสริมความทันสมัยก้าวหน้าทางเศรษฐกิจใหม่

ลินคอล์นเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนทางด้านตะวันตกของประเทศในขณะนั้น เขาได้รับการศึกษาด้วยการต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง จนกระทั่งเขาได้กลายเป็นนักกฎหมายในเขตชนบทที่ประสบความสำเร็จ เขาได้เข้าทำงานการเมือง ด้วยการรับเลือกเป็นฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐสภาแห่งรัฐอิลลินอยส์ (Illinois state legislator) ต่อมา ได้ทำงานหนึ่งสมัยในฐานะตัวแทนในสภาผู้แทนราษฏรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States House of Representatives) แต่ล้มเหลวทั้งสองครั้งที่จะได้เข้าไปทำงานในวุฒิสภาของสหรัฐ (United States Senate) เขาเป็นพ่อที่ให้ความรักต่อลูกๆทั้ง 4 คน เป็นสามีที่ดีของภรรยา แม้เขาจะห่างเหินด้วยหน้าที่การงาน

ในฐานะนักการเมือง เขาเป็นคนยืนหยัดต่อต้านการค้าและใช้แรงงานทาสในสหรัฐอเมริกา (Slavery in the United States) อย่างแข็งขัน โดยเขาทั้งรณรงค์โต้วาทีและกล่าวสุนทรพจน์ ลินคอล์นได้รับการเสนอชื่อโดยพรรครีพับลิกันให้เป็นตัวแทนแข่งขันเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แล้วเขาก็ได้รับเลือกในปี ค.ศ. 1960 (Elected president in 1860) ซึ่งหมายถึงสหรัฐอเมริกา จะเป็นหนึ่งเดียว และต้องจริงจังกับการเลิกการค้าทาส ซึ่งทำให้ขัดกับพวกฝ่ายใต้ ซึ่งยังมีการใช้แรงงานทาสในทางการเกษตรกันอย่างกว้างขวาง

เมื่อรัฐฝ่ายใต้ประกาศแยกประเทศ จึงได้เกิดสงครามขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1861 และในช่วงนี้ ลินคอลน์ในฐานะประธานาธิบดีต้องให้ความสำคัญต่อการทหารและการเมือง ทำสงครามเพื่อยังคงรักษาประเทศให้ยังเป็นหนึ่งเดียว เขาใช้อำนาจในการทำสงครามอย่างที่ไม่เคยมาก่อน รวมถึงการจับกุมผู้ต้องสงสัยว่าเป็นพวกแบ่งแยกดินแดน (suspected secessionists) จำนวนหลายพันคน โดยไม่มีการสอบสวน

เขาป้องกันอังกฤษที่จะรับรองฝ่ายใต้ (Confederacy) โดยใช้การอ้างถึงข้อตกลง Trent affair ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1861 ในปี ค.ศ. 1863 เขาได้ประกาศ “การปลดปล่อยทาศ” (Emancipation Proclamation) ปรับแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 13 (Thirteenth Amendment) ให้การค้าทาสเป็นสิ่งผิดกฏหมายในสหรัฐ

ในช่วงสงคราม ลินคอลน์ดูแลกิจการเกี่ยวกับสงคราม โดยเฉพาะการเลือกนายพลที่จะเข้าทำหน้าที่รบ รวมถึงการสั่งให้นายพล Ulysses S. Grant เป็นผู้นำทัพของรัฐบาลกลาง เขาต้องนำผู้นำจากหลายฝ่ายภายในพรรคของเขาเองที่ยังขัดแย้งแตกแยกกัน ให้เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรี และบีบให้คนเหล่านี้ต้องทำงานอย่างร่วมมือกัน เขาเลือกใช้คนตามความสามารถ แม้ว่าคนเหล่านั้นอาจเป็นเคยเป็นศัตรูทางการเมือง ที่อาจชอบหรือไม่ชอบเขา

ภายใต้การนำของเขา กองทัพของรัฐบาล (Union) ได้เข้าควบคุมบริเวณพรมแดนของร้ฐฝ่ายใต้ (border slave states) โดยพยายามรุกเข้าไปถึงเมืองหลวงของรัฐฝ่ายใต้ที่ตั้งอยู่ที่เมือง Richmond ในแต่ละครั้งที่นายพลนำทัพกระทำการไม่สำเร็จ เขาเปลี่ยนคนนำใหม่ จนกระทั่งนายพลแกรนท์ (Grant) กระทำการสำเร็จในปี ค.ศ. 1865

ในฐานะนักการเมือง เขาใช้อำนาจเข้าไปในแต่ละรัฐ เพื่อเข้าถึงพรรคฝ่ายตรงกันข้ามที่เข้าร่วมสงคราม (War Democrats) และทำให้เขาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งที่จะเป็นประธานาธิบดีต่อเป็นสมัยที่สอง (1864 presidential election) ในฐานะผู้นำของฝ่ายสายกลางของพรรครีพับลิกันเอง ลินคอลน์ถูกโจมตีจากหลายฝ่ายรอบด้าน ฝ่ายรีพับลิกันหัวรุนแรง (Radical Republicans) ต้องการให้เขาจัดการกับฝ่ายใต้ผู้แพ้สงครามอย่างรุนแรง ฝ่ายที่เป็นพรรคดีโมแครตอันเป็นพรรคฝ่ายตรงข้าม ต้องการให้มีการประนีประนอมมากกว่า แต่พวกที่แบ่งแยกดินแดนมองเห็นเขาเป็นศัตรู แต่ลินคอล์นตอบกลับ โดยเรียกร้องประชาชนอเมริกันด้วยอำนาจจากความเป็นนักพูด ดังปรากฏในคำกล่าวสุนทรพจน์แห่งเกตติสเบอร์ก (Gettysburg Address) ในปี ค.ศ. 1863 ซึ่งเป็นสุนทรพจน์ที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกัน มันเป็นคำประกาศของอเมริกันที่อุทิศให้กับหลักการแห่งชาติที่เป็นหนึ่งเดียว การให้สิทธิประชาชนอย่างเท่าเทียม การยึดมั่นในเสรีภาพ และหลักการประชาธิปไตย

ในช่วงสุดท้ายของสงคราม ทัศนะของลินคอล์นเป็นสายกลาง (Reconstruction) เน้นการกลับมาสร้างชาติ เร่งรัดการกลับมาเป็นหนึ่งเดียว โดยใช้หลักสมานฉันท์ แม้ทั้งสองฝ่ายจะยังมีความขัดแย้งครุกรุ่นหลังสงครามที่สร้างความเสียหาย การบาดเจ็บล้มตายของทหารและพลเรือนของทั้งสองฝ่าย

ลินคอล์นถูกยิงหลังจากที่ฝ่ายใต้ โดยนายพล Robert E. Lee ประกาศยอมแพ้แล้ว เพียง 6 วัน และนับเป็นการลอบสังหารบุคคลระดับประธานาธิบดีของสหรัฐเป็นครั้งแรก ลินคอล์นได้รับการจัดอันดับโดยผู้ศึกษาเกี่ยวกับอเมริกันส่วนใหญ่ให้เป็นประธานาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล

No comments:

Post a Comment