ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
Keywords: cw092, flood, water management, น้ำท่วม, การจัดการน้ำ, คณะกรรมการน้ำ, การเกษตรที่ลุ่ม
เขียนโดย Pracob Cooparat ที่ ๐:๓๙
ความนำ
วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ปี พ.ศ. 2554 นับเป็นอีกปีหนึ่งที่เราประสบปัญหาน้ำท่วมหนักทั่วประเทศ โดยเฉพาะในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม แต่ที่มากที่สุดคือบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อันได้แก่นครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง สิงบุรี อยุธยา ลพบุรี สุพรรณบุรี ประเทศไทย ปัญหาใหญ่ของเราคือยังไม่มีการจัดการน้ำ (Water Management) ที่มีประสิทธิภาพ เมื่อมีน้ำมา ก็จะมาอย่างมากและเฉียบพลัน มากจนเกินความต้องการใช้ และเมื่อถึงช่วงน้ำแล้ง ก็จะแล้งอย่างไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้
เพราะเราปล่อยให้มนุษย์รุกล้ำไปในธรรมชาติ มีการตัดไม้ทำลายป่ากันอย่างกว้างขวาง จนป่าธรรมชาติไม่มีความสามารถซับน้ำได้ ทำให้น้ำต้องไหลลงสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็ว ดังกรณีของหลายจังหวัดย่านภูเขาต้นน้ำ ดังจังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน ลำปาง ฯลฯ จังหวัดเหล่านี้ไม่มีสภาพป่าที่จะซับน้ำได้แล้ว แม้ในตัวเมืองของจังหวัดเหล่านี้ก็จะพบปัญหาน้ำท่วมเฉียบพลันบ่อยครั้งที่มีฝนตกหนัก
สำหรับจังหวัดลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในระดับกลางน้ำและปลายน้ำ เรามีพื้นที่เมือง (Urban areas) ที่รุกล้ำไปในส่วนของแม่น้ำ ลำธาร ลำคลอง ทำให้การกระจายน้ำไปสู่ส่วนที่เป็นทุ่งรับน้ำได้น้อยลง ช้าลง
เขตที่ควรจะเป็นทุ่งน้ำหลาก ก็ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นที่รับน้ำได้ ถนนที่สร้างขึ้น ไม่ได้มีการสร้างอย่างเข้าใจธรรมชาติน้ำ กลายเป็นเส้นทางขวางทางน้ำในหลายกรณี พื้นที่เพาะปลูกก็มีการใช้น้ำอย่างไม่มีความยืดหยุ่น (Flexible) ยามมีน้ำมาก แทนที่จะแบ่งรับ ต่างก็ผลักน้ำออกพ้นพื้นที่ของตนเอง โดยไม่มีการจัดลำดับความสำคัญ
“น้ำ” เป็นสิ่งที่ดังสวรรค์ให้กับประเทศไทย เรามีน้ำอย่างเหลือเฟือ หลายประเทศที่เป็นทะเลทรายดังในตะวันออกกลาง เขาคงฝันอยากได้น้ำอย่างประเทศไทยบ้าง ในสังคมของเราเอง เราคงต้องทำความเข้าใจว่า สังคมไทย ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับน้ำให้มากกว่านี้ เริ่มตั้งแต่เด็กนักเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษา และประชาชนทั่วไป
เราต้องเรียนรู้ “การจัดการน้ำ” (Water Management) ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ วิทยาการใหม่ๆ ความเข้าใจในสภาพแวดล้อม เราต้องมีวิธีการวางแผน การพัฒนา สร้างกลไกในการจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราต้องมีระบบข้อมูลที่ละเอียด รวดเร็ว ทั้งข้อมูลล่วงหน้าและปัจจุบัน เพื่อทำให้การบริหารน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดปัญหาอันเกิดจากน้ำมาก หรือน้ำน้อย เพื่อให้สังคมไทยได้ประโยชน์ และลดภัยจากธรรมชาติของน้ำให้เหลือน้อย และอยู่ในสภาพจัดการได้
ภาพ โครงการป้องกันน้ำท่วม Delta Works ของประเทศเนเธอร์แลนด์ส่วนที่เกิดจากคลื่นลมและพายุ สมทบกับช่วงน้ำขึ้น จึงต้องมีการทำกำแพงกั้นน้ำ
29 ตุลาคม 2553
ขอแสดงความเสียใจต่อผู้ที่น้ำท่วม กิจการได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะเกษตรกรที่น้ำท่วมไร่นาเสียหาย บทความนี้นับเป็นจุดเริ่มต้น ยังไม่สมบูรณ์ แต่หากคิดแ้ล้วไม่เขียน เมื่อนำ้ท่วมลดลง ความสนใจของผู้คนก็จะหมดไป แต่เขียนทิ้งเอาไว้ แล้วให้มีคนเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ก็นับว่าจะเป็นประโยชน์
ผมจึงขอฝากท่านผู้เกี่ยวข้อง หากมีความคิดเห็นอย่างไร เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือมีแนวทางในการบริหารน้ำ (Water Management) แล้วต้องการแสดงความคิดเห็น โปรดนำเสนอ แล้วแลกเปลี่ยนกัน จะเป็นประโยชน์ยิ่ง
ความฝันของผม
คำว่า “น้ำท่วม” มันเจ็บปวดสำหรับหลายๆคน แต่อย่าเสียใจนานครับ ยึดสุภาษิตว่า “ล้ม 7 ครั้ง ลุกขึ้น 8 ครั้ง” คนเราประสบปัญหาได้ แต่ต้องลุกขึ้นมาสู้ใหม่ แม้หมดตัวแล้ว ก็กลับมาสู้ใหม่ ล้มละลายแล้ว ก็ยอมรับสภาพ แต่เมื่อหมดเวลาแล้ว ก็ให้กลับมาสู้ใหม่ได้
ผมเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นคนทำการเกษตร ทำบ่อปลาและสวนประสมแถวบางพลี บางบ่อ แต่เดี๋ยวนี้ทำไม่ได้แล้ว เพราะย่านที่เคยทำนั้น เขาได้เปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมและที่พักอาศัยไปเกือบหมดแล้ว พวกบ่อปลาที่เหลืออยู่ก็จะทนกับสภาพแวดล้อม น้ำเน่าเสียไม่ไหว
ภาพ น้ำท่วมซึ่งเำกิดถี่ขึ้นในชุัมชนต่างๆ ด้วยปัญหาด้านการวางแผนจัดการน้ำ ที่มีปัญหาตั้งแต่ต้้นน้ำ ลำธาร ป่าเขา แต่ผลจะส่งไปถึงทุกคนในระบบสังคม
ภาพ เมื่อเกิดปัญหาน้ำท่วม สิ่งที่ตามมาคือความไม่สะดวก และการสูญเสียทางเศรษฐกิจ
ภาพ น้ำท่วมเมืองอุดรธานี
ภาพ น้ำท่วม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ภาพ กระนวน อำเภอกระนวน ตรงถนนกระนวน-นำพอง ลึกครึ่งเข่า (2007) โดย ม.ราชภัฏพระนคร
ใครคือมนุษย์บีเฟ่อร์ (Beaver Man)
ภาพ บีเฟ่อร์ (Beavers) ที่มีอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ มีนิสัยชอบสร้างเขื่อนเพื่อกักกันน้ำไว้เพื่อพืชที่จะมีกิน และเพื่อใช้เป็นที่สร้างบ้านที่มีความปลอดภัย
บีเฟ่อร์ หรือบีเวอร์ (Beavers) เป็นสัตว์ที่มีในอเมริกาเหนือ มีธรรมชาติชอบกัดต้นไม้และกิ่งไม้มาทำเขื่อนกักเก็บน้ำ มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเหนือและยุโรป
บีเฟ่อร์นี้ทำงานอย่างตั้งใจ เพราะมันได้ประโยชน์จากพืชที่เกิดในน้ำ แล้วมันได้กินเป็นอาหาร มันทำที่พัก (lodges) ที่เป็นแพลอยน้ำ และทำเป็นโพรงใต้แพเป็นที่พักอาศัยหลบสัตว์กินเนื้อพวกหมาป่า หมี หรือสัตว์ใหญ่กินเนื้ออื่นๆ
มนุษย์บีเฟ่อร์ในความหมายของผม คือทั้งชายและหญิงที่มีความรักน้ำ ชอบการทำบ่อปลา มีชีวิต มีความสุขกับเศรษฐกิจการเลี้ยงปลาเป็นหลัก และสามารถหางานอันเกิดจากบ่อปลาอื่นๆ เพื่อดำรงชีวิต
เขาคือคนที่จะร่วมสร้าง และใช้ประโยชน์จากระบบกักเก็บน้ำ หรือแก้มลิง (Reservoirs) ที่จะเป็นความยืดหยุ่นในการบริหารน้ำสำหรับทั้งประเทศ
เลือกสถานที่
ผมยังชอบอยู่กับน้ำ และเชื่อว่า หากเรามีการคิด และวางแผนที่ดี การสู้กับน้ำนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ และเป็นประโยชน์แก่คนทั้งหลายได้
การหาสถานที่อยู่และทำกิน หาที่อยู่ที่น้ำท่วมซ้ำซาก ที่ดินเป็นที่ลุ่ม ใกล้กับความเป็น Swamp ในหน้าน้ำ ผมเป็นคนสู้น้ำ ไม่กลัวน้ำไม่ว่าจะมีน้ำมาในรูปแบบใด
ผมจะเลือกอยู่ในที่ๆ ควรจะทำหน้าที่เป็นแก้มลิง (Flexible reservoirs) สามารถเก็บน้ำได้ ยืดหยุ่น น้ำมามาก ก็เลี้ยงปลา น้ำน้อยก็เพาะปลูกได้ ปลูกข้าวได้ หน้าแล้ง ก็ปลูกพืชพวกผัก หรือไม่หากแล้งจัด ก็ตากดินเพื่อไว้ทำการเกษตรที่เหมาะสมเมื่อฝนมา
สถานที่เหมาะสมอาจมีได้หลายแห่งที่อยู่ในที่ลุ่มโดยธรรมชาติ มีแม่น้ำผ่าน ตัวอย่างที่ลุ่มภาคกลางที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีประโยชน์ในการสกัดน้ำสู่บริเวณปากแม่น้ำ (Delta) ซึ่งมีอยุธยา สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง อุทัยธานี ชัยนาท
ทำคันดินกั้นน้ำ (Dikes)
คันดินกั้นน้ำ (Dikes) ไม่ใช่คันนาแบบเล็กๆแคบๆที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย ขนาดแปลงของผมคงจะเป็นสัก 10-15 ไร่ กำลังพอเหมาะ มีคันดินกั้นน้ำรอบลอบ ใช้รถแทรกเตอร์ขนาด D5 ขนาดใหญ่ ทำคันกั้นน้ำให้มีขนาดสูง หนากว้างพอรถบรรทุกเล็กวิ่งได้ เตรียมไว้เป็นที่ทำนาข้าว และบ่อปลาอเนกประสงค์ และสามารถเพาะปลูกพืชผักที่โตเร็วอื่นๆได้ หากจะทำให้เป็นกึ่งอุตสาหกรรม ก็มีบ่อปลาขนาดสัก 4-5 แปลง มีพื้นที่สัก 50-70 ไร่ สามารถใช้เป็นที่พักอาศัยสำหรับคนได้สัก 10-20 คน คันดินรอบแปลงนาข้าว และบ่อปลาประสมนี้ คันดินต้องแข็งแรง ป้องกันน้ำท่วมได้ตามประวัติย้อนหลัง 10 ปี หรือคันดินสูงและแข็งแรงพอที่จะสู้น้ำท่วมได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า
ในหน้าแล้งจะเพาะพันธุ์ปลา หากที่แล้งมาก ก็จะไปหาที่เพาะพันธุ์ปลาในเขตที่มีน้ำตลอดปี เพราะในช่วงแรกใช้พื้นที่เพาะเลี้ยงไม่มากนัก เพียงร้อยละ 5 ของพื้นที่เลี้ยงจริงก็พอ ที่แถวนครปฐม สมุทรปราการ สมุทรปราการ ใกล้สามเหลี่ยมปากน้ำ (Delta areas) มักจะมีน้ำสมบูรณ์ตลอดปี
ภาพ เขื่อน หรือคันกั้นน้ำแม่น้ำ และเป็นถนนไปด้วยในตัว ประเทศเนเธอร์แลนด์ ส่วนทางขวา เป็นที่ๆสำหรับการเพาะปลูก
แนวคิดการทำถนนในที่ลุ่ม ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งคันดินกักเก็บน้ำ และถนนนี้ เราควรเรียนรู้จากประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีภูมิประเทศย่านปากแม่น้ำ (Delta) คล้ายที่ลุ่มภาคกลางในประเทศไทย
ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
ผมจะทำคันดินสูง หนาขึ้น ใช้ระบบจักรกล ลงทุนทำ และจะดูแลปรับปรุงทุกๆ 2-3 ปี แต่ผมจะใช้เทคนิคการปลูกหญ้าบนค้นบ่อปลาที่เหมาะสม เลี้ยงสัตว์กินหญ้าได้ เช่น พวกห่าน แพะ หรือแกะ แต่ไม่เลี้ยงพวกวัวหรือควาย เพราะธรรมชาติกินหญ้าไม่เหมาะกับลักษณะบ่อปลา และเวลาเดินริมน้ำทำให้คันดินพังเร็วเกินไป
ภาพ แกะที่เลี้ยงตาทุ่งในเมืองหนาว ในเนเธฮร์แลนด์ใช้เป็นสัตว์ควบคุม
ภาพ แพะ มีลักษณะการกินหญ้าเช่นเดียวกับแกะ ทำให้ได้หญ้าแน่นคลุมดินบริเวณคันดินกั้นน้ำ
ภาพ ห่าน เลี้ยงได้ในที่ๆมีน้ำมาก หรือจะบนบกก็ได้ ปรับตัวได้ดี เลี้ยงง่าย สามารถขายในตลาดได้ง่าย
การจะเลี้ยงพันธุ์ปลา
ปลาพันธุ์อะไร ให้เลือกพันธุ์ปลาที่เหมาะสม ขายง่าย ไม่ต้องหาอาหารมาเลี้ยงมาก ใช้อาหารตามธรรมชาติเลี้ยง และเติบโตได้ดีในช่วงไม่เกิน 8-10 เดือน ซึ่งมีอยู่มากมาย เอาประเภทที่ซื้อง่ายขายคล่อง มีตลาดรองรับได้ตลอดปี อย่างเช่น ปลานิล ปลานิลแดง หรือปลาทับทิม ปลาช่อน ปลาตะเพียน ปลาสวาย ปลาจีน ฯลฯ
ภาพ ปลานิล (Nile Tilapia) ขนาด 300-500 กรัม เป็นขนาดที่ตลาดต้องการ สามารถเลี้ยงได้ภายใน 8-10 เดือน
ภาพ ปลาทับทิม หรือปลานิลที่ผสมพันธุ์ให้มีลักษณะโตเร็ว และขนาดพอเหมาะที่จะทำเป็นอาหารขนาด 1 จาน
ภาพ ปลา Carp หรือปลาจีน สามารถเลี้ยงแบบ 1-2 ปี ขนาดโตเต็มที่ยาว 60 ซม. น้ำหนักหลายกิโลกรัม หากมีขนาดใหญ่เกินไป ไม่เหมาะแก่
ภาพ ปลาตะเพียน ขนาด 300-500 กรัม สามารถเลี้ยงได้ภายใน 8-10 เดือน
ไม่เอาปลาที่ชอบชอนไชเขื่อนหรือดิน อย่างเช่นปลาดุก หรือปลาไหล
หาที่เพาะเลี้ยงเล็กๆใกล้ๆ เลี้ยงในช่วงแรก แม้ในที่นั้นๆจะยังไม่ค่อยมีน้ำ หาที่ๆอยู่ริมน้ำสักหน่อย เลี้ยงจนขนาดสักเท่าเหรียญ 5 บาท หากเป็นพันธุ์ตัวยาว ก็ให้ยาวสัก 2 ข้อนิ้ว หรือประมาณ 2 นิ้วฟุตหรือ 5 ซม. ซึ่งอาจมีอายุประมาณ 2-3 เดือน ปลาขนาดนี้เลี้ยงรอดได้มาก
แนวทางการเลี้ยงปลา ไม่ควรเลี้ยงอย่างหนาแน่นจนเกินไป (Intensive) ดังเช่นการเลี้ยงปลาดุก แล้วต้องให้อาหารตลอด แต่ควรเลี้ยงแบบหนาแน่นปานกลาง (Semi-Intensive) เลี้ยงตามธรรมชาติ โดยปรับน้ำให้มีแพลงตอนพืชและสัตว์ ใส่ปุ๋ยหรือมูลสัตว์ในน้ำ ให้อาหารเสริมเฉพาะช่วงที่จะจับส่งตลาด เวลาน้ำมามาก ก็ไม่เสียหายมาก ขอเพียงปลาอย่าให้หลุดจากบ่อที่เลี้ยง หากหลุดลงไปในเขตบ่อรวมกัน ก็จะยังไม่เสียหาย เพราะยังเป็นผลประโยชน์ร่วม
หากเป็นการเลี้ยงหนาแน่น เหมือนการเลี้ยงในกระชัง ต้องให้อาหารตลอดเวลา ดังนี้ เมื่อปลาหลุดจากที่กักเก็บจะเสียหายมาก เพราะปลาแทบอาหารเองตามธรรมชาติไม่ได้
ชุมชนคนเลี้ยงปลา (Community)
ในชุมชนของผมจะเป็นพวกที่ทำอะไรเหมือนๆกัน เลี้ยงปลาก็เลี้ยงปลาในช่วงเดียวกัน เมื่อจะปลูกพืช ก็ปลูกในเวลาใกล้เคียงกัน ต้องการน้ำมากน้อยในระดับเดียวกัน ระดับน้ำในที่ดินไม่แตกต่างกันมากนัก ทำให้ไม่ต้องมีระบบน้ำรั่วไหล มีค่าใช้จ่ายบางอย่าง ก็แบ่งกันรับผิดชอบได้ เพราะผลประโยชน์เป็นไปในแบบเดียวกัน ชุมชนคนเลี้ยงปลาของผม หากมีขนาดใหญ่สัก 100 ครอบครัวก็จะคลุมพื้นที่ 5,000 ไร่ เท่ากับ 8,000,000 ตร.เมตร มีช่วงเก็บน้ำสูงสุดได้ลึก 3 เมตร คิดเป็นปริมาณน้ำ 24,000,000 ลบ.เมตร หากมีชุมชนแบบที่ผมกล่าวริมเจ้าพระยาภาคกลางนี้ จะช่วยหน่วงน้ำท่วมในเมืองปลายน้ำริมเจ้าพระยาได้ ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี อยุธยา ซึ่งมีการลงทุนไปทำอุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากแล้ว ปรับตัวได้ลำบากกว่า
การเพาะปลูก
การปลูกพืชที่มีความยืดหยุ่น สามารถปลูกได้เมื่อน้ำแล้ง และปลูกได้เมื่อน้ำท่วม
การปลูกพืชเมื่อยามน้ำแล้ง ก็คือช่วงฤดูแล้งที่ไม่มีฝนแล้ว ที่ดินลุ่มเหล่านี้ก็ยังสามารถอาศัยน้ำที่กักเก็บไว้ตามแอ่งน้ำ คู คลอง เพื่อปลูกพืชผักที่มีระยะเวลาปลูกไม่นาน จัดเป็นรายได้เสริมในฤดูแล้ง
ภาพ ผักบุ้ง ปลูกได้ในน้ำไม่จำกัดความลึก น้ำน้อยหรือน้ำมาก ก็ปรับตัวได้ เพราะเป็นพืชลอยน้ำ
ภาพ ผักบุ้งที่เราซื้อหาในตลาด มีราคา มีคุณประโยชน์ทางโภชนาการ
ภาพ ผักกระเฉด ปลูกในน้ำ เก็บเกี่ยวได้ตลอดเวลา
ภาพ ผักกระเฉด เมื่อเก็บจากน้ำ จะมีลักษณะดังที่เห็นในภาพ
ภาพ ผักระเฉดผัดไฟแดง ผัดกับน้ำมันพืชอาจใส่ซอสหอยนางรม ใส่พริกเผ็ด รับประทานการับข้าวสวย หรือข้าวต้ม
ยามฝนมาก็อาจปลูกข้าวเช่นที่อื่นๆ หรือปลูกหญ้าเพื่อเลี้ยงสัตว์ หรือต้องการใช้พื้นที่เป็นแก้มลิงเก็บน้ำหลาก ก็อาศัยหญ้าเหล่านี้เพื่อการเลี้ยงปลาได้ด้วย กลายเป็นสร้างแพลงตันพืชและสัตว์สำหรับเลี้ยงปลา หรือจะปลูกพืชลอยน้ำ เช่นผักบุ้ง ผักกระเฉด กระจับ ฯลฯ ซึ่งพบว่ามีการปลูกแถวอยุธยากันมาแต่เดิมอยู่แล้ว ซึ่งนับว่าได้ราคา ยิ่งยามน้ำท่วม ผักมีราคาแพง ผักลอยน้ำเหล่านี้เป็นทางออกสำหรับผู้บริโภคที่ดี
ที่พักอาศัย (Housing)
ที่พักอาศัยในที่ของผมจะเป็นแบบบ้านบนแพลอยน้ำได้ เรียกว่า Houseboat ในภาษาอังกฤษ ก็ไม่ผิด ปลูกเป็นแบบชั้นเดียว มีน้ำหนักเบา ทนทาน แต่เหมาะแก่การอยู่อาศัยแบบพอเพียง (Sufficiency) พร้อมที่จะอยู่อาศัยแบบปรับตัวได้ง่าย แม้ยามน้ำหลากท่วมทั้งบริเวณ บ้านก็จะลอยตัวขึ้นไปอยู่บนทุ่น น้ำท่วมแค่ไหนก็ลอยน้ำได้ คาดว่า บ้านจะอยู่บนน้ำปีละ 6 เดือน มีลักษณะคล้ายร้านอาหารริมน้ำหลายๆแห่งนั้นเอง ยามน้ำลด บ้านก็จะลดลงมากองอยู่บนพื้นดิน
ภาพ บ้านลอยน้ำ (Floating House) แบบขั้นเดียว น้ำหนักเบาตั้งอยู่บนทุ่นลอยน้ำ
ภาพ บ้านลอยน้ำ (Floating House) แบบสองชั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการเคลื่อนย้าย แต่ให้มีความสามารถในการลอยตัวขึ้นไป เมื่อระดับน้ำสูงขึ้น
ภาพ บ้านลอยน้ำ (Floating Houses) แบบสองชั้น
ภาพ บ้านลอยน้ำใน Victoria, แคนาดา
ถนนในที่ดิน
ในชุมชนของเราจะมีกฎว่า บ้านต้องสร้างในลักษณะลอยน้ำได้ ไม่สร้างบนคันดิน (Dikes) เพราะในแต่ละปี เราอาจมีการต้องปรับเสริมคันดินให้แข็งแรง บนคันดิน หากต้องมีถนน เราจะให้ใช้ดินลูกรัง อิฐหัก หินคลุกโรยผิว หรือคอนกรีตบล็อก พร้อมเสริมคันดินข้างบนได้สะดวกในทุก 3-5 ปี หากทางเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก จะปรับปรุงได้ยาก
ภาพ คันดินที่เป็นถนนไปในตัวในประเทศเนเธอร์แลนด์
ยานพาหนะ (Vehicles)
ยานพาหนะที่ใช้ในชุมชน จะเน้นที่มีน้ำหนักไม่มากเกินไป ดังขนาดรถ Pickup 1 ตัน รับน้ำหนักปลา หรือสิ่งของได้สูงสุด 1,500 กก. ที่เป็นเช่นนี้ เพื่อไม่ให้คันดินหรือเขื่อนในที่ดินต้องพังเร็วจนเกินไป
ภาพ รถอีแต๋น ดัดแปลงใช้พลังงานจากเครื่องดีเซลใช้ในการเกษตรขนาด 7-10 แรงม้า
ภาพ รถอีแต๋นที่ทำเป็นรถบันทุก ใช้งานในการเกษตร
ภาพ รถ Pickup Trucks ขนาด 1 ตัน ที่มีใช้กันอยู่แล้ว ขนาดเครื่องยนต์ดีเซล 2500 ซีซี ใช้งานเอนกประสงค์ทั้งขนคนและคนสิ่งของ
รัฐบาลต้องช่วย
การจะทำอ่างเก็บน้ำ หากทำในกรุงเทพฯ คงไม่มีคนมีที่ดินที่ยอมยกให้ในราคาถูก แต่หากทำอ่างเก็บน้ำ (Reservoirs) อยู่ในต่างจังหวัด ณ ที่ๆ โดยธรรมชาติก็เสี่ยงต่อน้ำท่วมบ่อยๆอยู่แล้ว ที่ดินในลักษณะนี้มีอยู่แถวที่ลุ่มภาคกลาง และบริเวณใกล้เมืองใหญ่ของเขตมีฝนชุก หรืออยู่ใกล้แม่น้ำ
การจะทำอ่างเก็บน้ำ โดยทั่วไปก็ต้องใช้การลงทุนอยู่แล้ว ซึ่งมากเกินกว่าเกษตรกรจะคิดทำขึ้นเองได้ คงต้องอาศัยการทำข้อตกลง มีการวางแผน คิดงานกันอย่างเป็นระบบ และมีหลายส่วนที่มีส่วนร่วมได้เสีย เข้ามามีส่วนร่วม
บริเวณดังกล่าวต้องทำการเกษตรที่ยืดหยุ่นมากกว่าปกติ หากรัฐบาลขอให้ต้องปรับไปเป็น “แก้มลิง” รับน้ำที่มากเกินต้องการจากที่อื่นๆปลายทาง ก็พร้อมที่จะรับน้ำเหล่านั้น
การช่วยนี้เรียกว่า Subsidization คือช่วยในบางเรื่อง บางเวลา แต่ไม่ใช่ช่วยทั้งหมดและตลอดเวลา
การช่วยเหลือมีตั้งแต่ การออกกฎของจังหวัด (Provincial Ordinance) หรือออกเป็นกฎหมายการจัดสรรที่ดินใหม่ หรือจะเรียกว่า “ปฏิรูปที่ดิน” (Land Reform) ก็ได้ คนที่อยู่ในที่ดังกล่าวจะได้รับสิทธิการลดหย่อนภาษีที่ดิน การทำถนนหรือเขื่อนดินเพื่อป้องกันน้ำหรือจัดเก็บน้ำ การได้รับการสนับสนุนแผนและการออกแบบพัฒนาที่ดิน แต่ทั้งหมดนี้ รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีรายได้จากผลผลิตคืนได้ด้วยซ้ำ เพราะเมื่อเลี้ยงปลาหรือสัตว์น้ำนั้น รายได้จะสูงกว่าการปลูกข้าว ที่อาจเสี่ยงและไม่แน่นอนสำหรับบางพื้นที่ๆเป็นที่ลุ่มเกินไป
ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประโยชน์ที่ได้รับคือ
สำหรับภาครัฐและส่วนรวม
1. นำน้ำออกจากที่ๆคนไม่ชอบน้ำไปสู่คนที่ต้องการน้ำ น้ำสร้างความเสียหาย ไปสู่ที่ๆคนเขาต้องการใช้น้ำ และเก็บน้ำไว้ใช้ได้ในอีกหลายเดือนของปี
2. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากที่ดิน เพื่อเป็นที่การเกษตรที่ชัดเจน มีความรับรู้ในสภาพที่จะเกิดขึ้น คือที่รองรับน้ำ ก็ทำการเกษตรได้ในแบบที่ลุ่มเก็บน้ำ
3. มีกฎหมายและข้อตกลงรองรับ ทำเป็นแผนดูแลน้ำท่วมได้อย่างจริงจัง เพราะโดยปกติ หากรัฐหรือท้องถิ่นไม่มีสัญญาผูกมัดบางส่วน ก็ทำให้ไม่สามารถควบคุมปริมาณกักเก็บน้ำได้ แม้เมื่อจำเป็น เพราะทุกคนจะเห็นแก่ผลประโยชน์ตนก่อนเป็นหลัก
- กฎหมายในการจัดการบริเวณควบคุมน้ำนี้มีความสำคัญต่อชุมชน ดังในประเทศเนเธอร์แลนด์ (
- มีการรรับรู้ในสภาพการใช้สอยที่แน่นอน คนที่อยู่ในที่ลุ่ม ยอมรับสภาพความเป็น “แก้มลิง” ให้กับชุมชนแวดล้อม หรือชุมชนปลายน้ำที่เป็นเมือง นอกจากจะได้รับการดูแลจากรัฐอย่างเป็นระบบแล้ว เขาจะได้รับรายได้จากการเกษตรที่เขารู้ตัวและวางแผนล่วงหน้าได้
4. ไม่ต้องเป็นภาระแก่รัฐที่จะต้องมีคนมาดูแล “แก้มลิง” หรือ Reservoir ไม่ต้องใช้ลูกจ้าง หรือพนักงาน เพราะระบบมีคนดูแลด้วยตัวเองตามธรรมชาติ เพราะเกษตรกรในพื้นที่เท่ากับเป็นหุ้นส่วน หรือ Stakeholders ร่วมกับรัฐ การตรวจงาน ก็สามารถติดตามได้ง่าย
สำหรับเกษตรกรที่อยู่ในบริเวณส่งเสริม
ภาพ การจับปลา สามารถคัดกรองได้ด้วยขนาดของอวน สามารถตีอวนจับปลาทะยอยส่งตลาดได้เป็นระยะ ทำให้ได้ราคา มากกว่าที่จะจับส่งไปเป็นปริมาณมากๆ แล้วไม่ได้ราคา
5. การมีรายได้ที่สูงพอแก่การยังชีพของเกษตรกร การเลี้ยงปลาโดยทั่วไปได้รายได้สูงกว่าปลูกข้าว และต้องการการดูแลที่น้อยกว่า รายได้จากปลา หากคิดโดยเฉลี่ยที่ไร่ละ 1000-1500 กิโลกรัม/ปี ราคาปลารับซื้อ ณ หน้าบ่อที่ 20-25 บาท ก็จะมีรายได้ประมาณไร่ละ 20,000-25,000 บาท หรือมากกว่าปลูกข้าว 2-3 เท่า ซึ่งรายได้จากสามารถจับปลาได้ 2-3 ครั้งต่อปี ห่างกันครั้งละ 2 เดือน ไม่ต้องรอเก็บเกี่ยวปีละครั้งอย่างการปลูกข้าวทั่วไป
- การปลูกพืชน้ำ สามารถกระทำได้ตลอดปี ดังเช่นผักบุ้ง ผักกระเฉด แม้น้ำแห้งแล้วก็ทำได้ จึงมีรายได้ตลอดปี ทำให้เกษตรกรส่วนนี้ไม่ต้องกู้หนี้ยืมสินมากนัก
- การเลี้ยงสัตว์ นับเป็นอาชีพเสริม (Supplementary income) อีกส่วนหนึ่ง แม้ไม่มากนัก สามารถใช้บริโภคในครัวเรือน ขายในชุมชน หรือส่งไปขายข้างนอกได้ด้วย แต่เนื่องด้วยพื้นที่เลี้ยงสัตว์จะจำกัดอยู่เฉพาะส่วนคันดินกั้นน้ำ จึงมีพื้นที่ไม่มากนัก เพียงแต่ประหยัดงบตัดหญ้า เพราะสัตว์ทำหน้าที่แทะเล็มหญ้าไปในตัว
ความเห็นเพิ่มเติมผมเคยทำการเกษตรแบบบ่อปลาและเลี้ยงไก่ประสมในพื้นที่ประมาณ 30 ไร่ ในย่านบางพลี สมุทรปราการ โดยจ้างรถแทรกเตอร์ขนาด D5 ไถปาดขึ้นมาเป็นคันดิน แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 บ่อๆละ 9-10 ไร่ เพื่อสะดวกในการทะยอยจับปลา
สำหรับการเลี้ยงใช้วิธีการง่ายๆ เลี้ยงพวกปลานิล ปลาตะเพียน ปลาจีน โดยซื้อพันธุ์ปลามาปล่อยในบ่ออนุบาลก่อน แล้วปล่อยสู่บ่อใหญ่ ส่วนปลาช่อนไม่ได้เลี้ยง แต่มักได้มาตามธรรมชาติ
ทำคันดินบริเวณหนึ่งขนาดกว้าง 15 เมตรใช้ทำเป็นโรงเล้าที่เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงประมาณ 3300 ตัว ตอนแรกใช้อาหารถุง แต่ตอนหลังผสมเอง แต่ใส่หัวอาหารและวิตามินตามมาตรฐาน
จากประสบการณ์ทำมาแล้ว หากเลี้ยงไก่ไข่สัก 10,000 ตัวต่อที่ดิน 30 ไร่จะพอเหมาะแบบไม่ต้องซื้ออาหารมาลงบ่อเลย เลี้ยงไก่ไข่เหมาะกว่าเลี้ยงไก่เนื้อ เพราะการทำความสะอาดพื้นเก็บกวาดขี้ไก่ แล้วกวาดลงบ่อได้ทันที
สำหรับปลา ได้ใช้ขี้ไก่เป็นตัวทำน้ำให้สมบูรณ์มีแพลงตอน (Plankton) มีการเติมปุ๋ยเคมีบ้าง แล้วเลี้ยงปลาแบบไม่แน่น (Semi-intensive) หวังผลประมาณไร่ละ 700-1200 กก.ต่อปี
เวลาก่อนจับขาย จะให้อาหารเพิ่ม เป็นพวกขี้ไก่ หรือขี้หมู และเศษอาหารจากอุตสาหกรรม เช่นกากจากการทำเบียร์ หรือกากจากที่เขาทำนมถั่วเหลือง
สนุกดีครับ แต่ปัญหาสำหรับผมจะอยู่ที่การนำปลาไปขายที่ตลาด มักจะโดนกดราคา หรือเมื่อให้พ่อค้ามารับปลาที่บ่อ ก็มักจะโดนเบี้ยวในเที่ยวท้ายๆ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกษตรกรเลี้ยงปลาทั่วๆไปประสบมา การเลี้ยงปลาในลักษณะดังกล่าว เกษตรกรควรรวมตัวกันทำแบบสหกรณ์ ร่วมกันเมื่อต้องใช้แรงงานจับปลา หรือการนำปลาส่งตลาด หรือการมีห้องเย็นเก็บปลา
1 ความคิดเห็น:
Pracob Cooparat กล่าวว่า...
ความเห็นเพิ่มเติม
ผมเคยทำการเกษตรแบบบ่อปลาและเลี้ยงไก่ประสมใน พื้นที่ประมาณ 30 ไร่ ในย่านบางพลี สมุทรปราการ โดยจ้างรถแทรกเตอร์ขนาด D5 ไถปาดขึ้นมาเป็นคันดิน แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 บ่อๆละ 9-10 ไร่ เพื่อสะดวกในการทยอยจับปลา
สำหรับการเลี้ยงใช้วิธีการง่ายๆ เลี้ยงพวกปลานิล ปลาตะเพียน ปลาจีน โดยซื้อพันธุ์ปลามาปล่อยในบ่ออนุบาลก่อน แล้วปล่อยสู่บ่อใหญ่ ส่วนปลาช่อนไม่ได้เลี้ยง แต่มักได้มาตามธรรมชาติ
ทำ คันดินบริเวณหนึ่งขนาดกว้าง 15 เมตรใช้ทำเป็นโรงเล้าที่เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงประมาณ 3300 ตัว ตอนแรกใช้อาหารถุง แต่ตอนหลังผสมเอง แต่ใส่หัวอาหารและวิตามินตามมาตรฐาน
จากประสบการณ์ทำมาแล้ว หากเลี้ยงไก่ไข่สัก 10,000 ตัวต่อที่ดิน 30 ไร่จะพอเหมาะแบบไม่ต้องซื้ออาหารมาลงบ่อเลย เลี้ยงไก่ไข่เหมาะกว่าเลี้ยงไก่เนื้อ เพราะการทำความสะอาดพื้นเก็บกวาดขี้ไก่ แล้วกวาดลงบ่อได้ทันที
สำหรับ ปลา ได้ใช้ขี้ไก่เป็นตัวทำน้ำให้สมบูรณ์มีแพลงตอน (Plankton) มีการเติมปุ๋ยเคมีบ้าง แล้วเลี้ยงปลาแบบไม่แน่น (Semi-intensive) หวังผลประมาณไร่ละ 700-1200 กก.ต่อปี
เวลาก่อนจับขาย จะให้อาหารเพิ่ม เป็นพวกขี้ไก่ หรือขี้หมู และเศษอาหารจากอุตสาหกรรม เช่นกากจากการทำเบียร์ หรือกากจากที่เขาทำนมถั่วเหลือง
สนุกดีครับ แต่ปัญหาสำหรับผมจะอยู่ที่การนำปลาไปขายที่ตลาด มักจะโดนกดราคา หรือเมื่อให้พ่อค้ามารับปลาที่บ่อ ก็มักจะโดนเบี้ยวในเที่ยวท้ายๆ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกษตรกรเลี้ยงปลาทั่วๆไปประสบมา การเลี้ยงปลาในลักษณะดังกล่าว เกษตรกรควรรวมตัวกันทำแบบสหกรณ์ ร่วมกันเมื่อต้องใช้แรงงานจับปลา หรือการนำปลาส่งตลาด หรือการมีห้องเย็นเก็บปลา
ความเห็นเพิ่มเติม
ReplyDeleteผมเคยทำการเกษตรแบบบ่อปลาและเลี้ยงไก่ประสมในพื้นที่ประมาณ 30 ไร่ ในย่านบางพลี สมุทรปราการ โดยจ้างรถแทรกเตอร์ขนาด D5 ไถปาดขึ้นมาเป็นคันดิน แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 บ่อๆละ 9-10 ไร่ เพื่อสะดวกในการทะยอยจับปลา
สำหรับการเลี้ยงใช้วิธีการง่ายๆ เลี้ยงพวกปลานิล ปลาตะเพียน ปลาจีน โดยซื้อพันธุ์ปลามาปล่อยในบ่ออนุบาลก่อน แล้วปล่อยสู่บ่อใหญ่ ส่วนปลาช่อนไม่ได้เลี้ยง แต่มักได้มาตามธรรมชาติ
ทำคันดินบริเวณหนึ่งขนาดกว้าง 15 เมตรใช้ทำเป็นโรงเล้าที่เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงประมาณ 3300 ตัว ตอนแรกใช้อาหารถุง แต่ตอนหลังผสมเอง แต่ใส่หัวอาหารและวิตามินตามมาตรฐาน
จากประสบการณ์ทำมาแล้ว หากเลี้ยงไก่ไข่สัก 10,000 ตัวต่อที่ดิน 30 ไร่จะพอเหมาะแบบไม่ต้องซื้ออาหารมาลงบ่อเลย เลี้ยงไก่ไข่เหมาะกว่าเลี้ยงไก่เนื้อ เพราะการทำความสะอาดพื้นเก็บกวาดขี้ไก่ แล้วกวาดลงบ่อได้ทันที
สำหรับปลา ได้ใช้ขี้ไก่เป็นตัวทำน้ำให้สมบูรณ์มีแพลงตอน (Plankton) มีการเติมปุ๋ยเคมีบ้าง แล้วเลี้ยงปลาแบบไม่แน่น (Semi-intensive) หวังผลประมาณไร่ละ 700-1200 กก.ต่อปี
เวลาก่อนจับขาย จะให้อาหารเพิ่ม เป็นพวกขี้ไก่ หรือขี้หมู และเศษอาหารจากอุตสาหกรรม เช่นกากจากการทำเบียร์ หรือกากจากที่เขาทำนมถั่วเหลือง
สนุกดีครับ แต่ปัญหาสำหรับผมจะอยู่ที่การนำปลาไปขายที่ตลาด มักจะโดนกดราคา หรือเมื่อให้พ่อค้ามารับปลาที่บ่อ ก็มักจะโดนเบี้ยวในเที่ยวท้ายๆ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกษตรกรเลี้ยงปลาทั่วๆไปประสบมา การเลี้ยงปลาในลักษณะดังกล่าว เกษตรกรควรรวมตัวกันทำแบบสหกรณ์ ร่วมกันเมื่อต้องใช้แรงงานจับปลา หรือการนำปลาส่งตลาด หรือการมีห้องเย็นเก็บปลา