Saturday, November 6, 2010

เรียนรู้ "ความปกติใหม่" จากอเมริกัน

เรียนรู้ "ความปกติใหม่" จากอเมริกัน

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

keywords: economy, sufficiency economy, new normal

สวัสดียามเช้าของวันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2553 ครับ ขอผองเรามีความสุขและสงบกับวันที่เราควรได้พักผ่อน


ประเทศไทยเรานับว่าโชคดี ที่เราเคยเจ็บตัวมาจากเศรษฐกิจฟองสะบู่ เราได้รับบทเรียนจาก "ต้มยำกุ้ง" เมื่อ 1998-1999

ความปกติใหม่ - เราเคยไม่ฉลาดมาแล้ว อยู่อย่างฟู่ฟ่า แล้วล้มอย่างไม่เป็นท่า วันนี้เราต้องเรียนรู้บทเรียน

ความปกติใหม่ - Finance: Americans Adapt to the 'New Normal'
Readers Share Their Stories of Hardship and Hope in the New Economy

วันนี้ผมขอเสนอบทเรียนฉบับสั้น เศรษฐกิจของอเมริกัน ที่เขาต้องปรับตัว เราลองเรียนรู้จากเขาด้วย

คนอเมริกันเรียนรู้อย่างไรกับสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป กำลังเจ็บปวดอย่างไร คนไทยควรได้เรียนรู้ และไม่ต้องประสบปัญหาตาม

ในทางการเงิน คนอเมริกันตต้องปรับตัวให้เข้ากับ "ความปกติใหม่" หรือ New Normal ต้องกินเจียมอยู่เจียม ต้องคิดใหม่

ความปกติใหม่ - ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คนอเมริกันได้ประสบวิกฤติทางการเงินรุนแรงที่สุดนับแต่เมื่อปี ค.ศ. 1929 เป็นต้นมา

ความปกติใหม่ (New normal) คือการตัดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง เพื่อให้สอดคล้องกับรายได้ หรือมูลค่าของเงินที่ลดลง และต้องกระทำกันในทุกครอบครัว

หากสามีทำงานคนเดียวไม่พอ ภรรยา หรือแม่บ้านก็ต้องหาทางทำงาน สร้างงานอะไรที่พอมีรายได้ทำ

ความปกติใหม่ - ความฝันที่จะมีบ้านหลังใหญ่ๆ แบบมีเผื่อ ก็ต้องคิดถึงการมีบ้านที่พอเหมาะ ไม่ไกลจากที่ทำงาน ลดเวลาและค่าเดินทาง

ตามธรรมชาติของคนอเมริกัน อาหารมีราคาถูก เขาทำมาก และกินมาก แต่ต้องเปลี่ยนเป็น อาหารที่เคยทำแบบกินทิ้งกินขว้าง หรือมากเกินไป ก็ทำกินแต่พอเพียง หรือเหลือก็เก็บไว้กินในมื้อต่อไป ลดอาหารได้ก็ยิ่งดี เพราะคนอเมริกันส่วนใหญ่มีน้ำหนักเกิน

ความปกติใหม่ - ตัวเราและลูกๆที่เคยไปตัดผมดัดผม แต่งผมทำเล็บ ก็หันมาทำให้กับลูกๆและตัวเอง ลดค่าใช้จ่ายลง

ความปกติใหม่ - ที่เคยจะต้องขับรถฝ่าจราจรไปตัดผม ทำผม นวดตัว ก็ลดลง หันมาดูแลตัวเองแบบธรรมชาติมากขึ้น

ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเป้นอีกประเด็นที่ต้องหาทางปรับปรุงในทุกครัวเรือน บ้านยามหน้าร้อน ต้องใช้้เครื่องปรับอากาศ ก็ปรับลดให้เย็นไม่เกิน 25c และใช้เวลาเปิดเครื่องในน้อยลง

แฟชั่นเป็นสิ่งที่สร้างสีสันให้กับชีวิต แต่ต้องให้พอเหมาะ ปัจจุบัน ต้องซื้ออย่างระมัดระวัง เคยซื้อเสื้อผ้าราคาแพงตามแฟชั่น ก็เปลี่ยนไปซื้อที่เป็นของทั่วไปราคาไม่แพง ใส่ได้นานไม่ต้องซื้อใหม่บ่อยๆ

หากมีปัญหา อย่าเก็บไว้เพียงลำพัง ต้องปรึกษาหารือกัน พ่อและแม่ ที่สำคัญ เราต้องให้ลูกๆได้เรียนรู้และรับทราบปัญหาร่วมไปกับเราที่ต้องอยู่อย่างจำกัดมากขึ้น

การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนในยุคใหม่ แต่ก็ต้องเลือกใช้อย่างพอเหมาะ เราลดระดับการใช้โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์บอกรับ เลือกใช้ที่มีค่าใช้จ่ายประจำน้อยลง หรือซื้อเป็น Package รวม

ความปกติใหม่ - เราเลิกใช้บัตรเครดิตแบบอยากซื้ออะไรก็ซื้อ ไม่อยากต้องเสียดอกเบี้ย เราอยู่ได้แม้คนหาเงินครึ่งหนึ่งต้องออกจากงาน

ลูกสองคนกำลังจะจบมัธยม เราวางแผนที่จะให้เรียนในวิทยาลัย/มหาวิทยาลัยของรัฐใกล้บ้าน (Community Colleges) วิทยาลัยชุมชนโดยทั่วไป อยู่กระจายไปทั่วทุกชุมชน เป็นของรัฐ ค่าเล่าเรียนไม่สูง หากเป็นคนเสียภาษีในรัฐนั้นๆ

ชายคนหนึ่งเล่า "เรามีร้านขายของเล่น เคยขายได้ปีละ USD 1.5 ล้าน แม้ต้องขายสินค้าแบบขาดทุน ก็ต้องทำเพื่อลดการกู้จากธนาคาร" เขากล่าวต่อ "เราปรับตัวสู้ปัญหา เจรจากับธนาคารปรับโครงสร้างหนี้ โดยไม่หวังพึ่งรัฐบาลกลาง"

ภายในชุมชน ในขณะที่เรามีปัญหา เรารวมตัวกันในหมู่เพื่อนบ้านที่ก็มีปัญหาแบบเดียวกัน เราแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างไม่อายกัน

ฉันเคยใช้เงินมือเติบมาตลอดชีวิต การปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ใหม่ เป็นเรื่องที่เราต้องเรียนรู้

เดี๋ยวนี้แม้การแลกสินค้ากันเอง (Barter system) เราก็ทำ ตั้งแต่พืชผักสวนครัว นมสด เนื้อสัตว์ที่เราเลี้ยงเอง

"ฉันเป็นครูเกษียณแล้ว ปัจจุบันพักอยู่กับลูกสาวที่เป็นแม่เดี่ยว พร้อมหลานที่เป็นวัยรุ่น เศรษฐกิจทำให้เราต้องปรับตัวอยู่ด้วยกัน" ลูกสาวฉันจะจบมหาวิทยาลัยในปีนี้ เธอทำงานเต็มเวลาและเรียนมหาวิทยาลัยภาคค่ำ ฉันเป็นคุณยายดูแลหลาน รวมทั้งทำอาหาร

"เราอยู่ในย่านตะวันตกกลาง (สหรัฐ) คนตกงานมาก แต่ก็ยังดีที่บ้านเราไม่ได้ถูกยืด กลายเป็นคนไร้บ้าน

" ฉันตกงาน จากที่เคยมีรายได้ USD40,000 ต่อปี แต่ปีที่ผ่านมา ฉันมีรายได้เพียง USD9,850 อัตตาของฉันลดไปอย่างมาก" หลังจากหางานอยู่หลายเดือนก็ไม่สำเร็จ ฉันจึงตัดสินใจเข้าเรียนในวิทยาลัยชุมชน และขอเงินทุนกู้ยืม ฉันเลือกเรียนสาขาที่จะมีงานทำ

ฉันเลือกเรียนอนุปริญญาด้านสถาปัตยกรรม เพิ่มเติมจากประกาศนียบัตรด้านภูมิสถาปัตย์

แผนการเรียนของฉันสอดคล้องกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของ Obama ที่เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ฉันเรียนได้ดี คะแนน 3.83 GPA และฉ้นก็หางานทำเพื่อให้มีรายได้บ้าง แม้จะเป็นแรงงานระดับล่าง ฉันหารายได้เสริมโดยทำงานในมหาวิทยาลัย ทำแซนวิชและสลัด รายได้ไม่มาก แต่ได้กินอาหารฟรี

เหล่านี้คือสิ่งที่คนอเมริกันในระดับครอบครัวและชุมชนได้เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนทัศนะต่อกัน อเมริกาคงจะไม่กลับไปเป็นเหมือนเดิม เหมือนกับประเทศไทย ที่เราต้องได้เรียนรู้ และก้าวข้ามปัญหาต่างๆไป อย่างมีสติ และได้ใช้บทเรียนเหล่านี้ เพื่อเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงด้วยปัญญาและการไตร่ตรองต่อไป

No comments:

Post a Comment