ศึกษาและเรียบเรียงจาก “Japan signs
deal with Turkey to build nuclear plant.” โดย Laura
Smith-Spark, CNN, May 4, 2013 -- Updated 1200 GMT (2000 HKT)
Keywords: พลังงาน, โรงไฟฟ้านิวเคลียร์, nuclear
power plant, ญี่ปุ่น, Japan, ตุรกี, Turkey,
ฝรั่งเศส, France, ฟูกูชิมะ ไดอิชิ, Fukushima
Daiichi plant, ซินอป, Sinop
ภาพ นายกรัฐนตรีชินโตะ อาเบะ ทางขวา และเทยิป
เออร์โดแกน ของประเทศตุรกี กำลังตรวจแถวกองเกียรติยศในกรุงแองการา วันที่ 3
พฤษภาคม ค.ศ. 2013
ตุรกี เหมือนกับประเทศญี่ปุ่น
ตรงที่เป็นเขตแผ่นดินไหว
CNN – ตามข่าว ประเทศตุรกีและญี่ปุ่นได้ตกลงในแผนงานมูลค่า
22,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 660,000 ล้านบาท
เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ขึ้นในประเทศตุรกี
แหล่งข่าวกึ่งทางการของตุรกีกล่าว
ข้อตกลงในวันศุกร์ที่ผ่านมาเป็นอีกก้าวหนึ่งในแผนงานที่จะฟื้นฟูอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น
ซึ่งถดถอยอย่างหนักหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นใต้น้ำยักษ์สึนามิที่ทำให้เกิดวินาศภัยที่โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ
ไดอิชิ (Fukushima Daiichi plant) ในปี ค.ศ. 2011
นายกรัฐมนตรีรีเซป เทยิป เออร์โดแกน (Recep
Tayyip Erdogan) ของตุรกีและนายกรัฐมนตรีชินโซะ อาเบะ (Shinzo
Abe) ได้ให้ข่าวร่วมกัน การตกลงกันของทั้งสองชาติจะมีฐานที่ต่างกัน
กล่าวคือ บริษัทของประเทศญี่ปุ่นและฝรั่งเศสจะนำในการร่วมมือนี้
โดยจะมีสัญญาลงนามโดยรัฐบาลของทั้งสองประเทศ
ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ก้าวหน้าที่สุดชาติหนึ่งทางด้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้า
เทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่จะใช้ คือ
โรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์ยุคที่ 3 เรียก ATMEA1 reactor จะถูกสร้างขึ้นที่จังหวัดซินอป (Sinop)
ทางตอนเหนือของตุรกี ซึ่งติดกับทะเลดำ ฝ่าย GDF SUEZ
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือดังกล่าว
นายกรัฐมนตรีเออร์โดแกนกล่าวว่า เราได้มีบทเรียนจากหายนะที่ฟูกูชิมะ
ซึ่งเป็นอุบัติเหตุของนิวเคลียร์ในยุคหนึ่ง “หลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ฟูกูชิมะ
ประชาชนพูดในสิ่งลบเกี่ยวกับเทคโนโลยีของญี่ปุ่น” ฝ่ายข่าว อนาโดลูกล่าวอ้างคำพูดของเออร์โดแกน
เขาเปรียบเทียบคำวิพากษ์วิจารณ์นี้ว่า
เปรียบเหมือนกับสิ่งที่เกิดจากเครื่องบินตก อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้
แต่เราก็ต้องการเทคโนโลยีนี้ และด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น
เราจะก้าวไปได้ดีกว่าเดิม
ตุรกีเช่นเดียวกับญี่ปุ่น
เป็นเขตที่มีแผ่นดินไหว
ทั้งสองประเทศได้ตกลงที่จะร่วมกันตั้งมหาวิทยาลัยทางเทคโนโลยีขึ้นในประเทศตุรกี
อนาโดลูรายงาน ทั้งนี้โดยมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีแผนงานที่จะติดตามเทคโนโลยีของฝ่ายญี่ปุ่นในอนาคต
“ความร่วมมือของตุรกีและญี่ปุ่นในครั้งนี้มีความสำคัญอย่างแท้จริง”
เออร์โดแกนกล่าว
คลื่นยักษ์สึนามิที่ถล่มโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ
ไดอิชิ หลังแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นได้ทำให้ระบบหล่อความเย็นของโรงงานเสียหาย
ทำให้เกิดการหลอมละลายของเตาปฏิกรณ์ 3 แห่ง
และส่งผลให้กัมมันตภาพรังสีได้กระจายสู่สภาพแวดล้อม ซึ่งผลนับเป็นความเสียหายรุนแรงที่เกี่ยวกับนิวเคลียร์ตั้งแต่อุบัติเหตุที่ได้เกิดขึ้นที่เมืองเชอร์โนบิล
(Chernobyl) ในประเทศรัสเซีย
ภาพ ATMEA1 reactor
แอทเมีย (Atmea) หรือ ATMEA
เป็นความร่วมมือของบริษัทมิทซูบิชิ (Mitsubishi) ของประเทศญี่ปุ่น
และ อาริว่า (Areva) ของประเทศฝรั่งเศส
ในการพัฒนา ทำการตลาด การออกใบรับรอง และขายเทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยุคที่สาม generation III ใช้เตาพลังงานนิวเคลียร์แบบ
Pressurized water
reactor
โดยทั้งสองบริษัทได้มีการลงนามในสัญญาความร่วมมือในวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 2006 ชื่อของความร่วมมือนี้ได้ประกาศเมื่อวันที่
3 กันยายน ค.ศ. 2007 และสหภาพยุโรปได้ผ่านข้อตกลงความร่วมมือนี้ในเดือนตุลาคม
ค.ศ. 2007 โดยให้เหตุผลว่า ความร่วมมือระหว่างสองบริษัทนี้
จะเป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทแม่
มิทซูบิชิ (Mitsubishi) เป็นที่รู้จักกันทางด้านอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์
ในด้านการผลิตชิ้นส่วนที่ใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าหลายแห่งในโลก
รวมถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่โอลกิลูโอโต (Olkiluoto
Nuclear Power Plant) ซึ่ง Areva กำลังก่อสร้างโรงงานดังกล่าวนี้ในประเทศฟินแลนด์
No comments:
Post a Comment