ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia
Keywords: ความขัดแย้ง, การบริหาร, การจัดการ, การจัดการความขัดแย้ง, conflict management, ซีเรีย, Syria, สหรัฐอเมริกา, USA, The United States, แคนาดา, Canada, สหราชอาณาจักร, United Kingdom, มาเลเซีย, Malaysia, สิงคโปร์, Singapore, อินเดีย, India, ปากีสถาน, Pakistan, บังคลาเทศ, Bangladesh
ภาพ ความขัดแย้งภายในชาติของ Syria ที่ท้ายสุดประชาชนเป็นผู้ได้รับผลกระทบ ในภาพ เด็กกำลังไปรับขนมปัง เพื่อนำมาใช้กินประทังชีพช่วงสงครามกลางเมืองในซีเรีย
ภาพ ความขัดแย้งรุนแรง ระดับกลายเป็นสงครามกลางเมือง (Civil War) ในซีเรีย ที่เมืองAleppo ผู้คนล้มตาย บ้านเมืองพังทลาย
ภาพ สงครามไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการที่คนจับอาวุธเข้าต่อสู้กัน
ความหมาย
มีผู้ให้ความหมายของ “ความขัดแย้ง” (Conflict)
เอาไว้หลายลักษณะ กล่าวคือ
ความขัดแย้ง (Conflict) เกิดขึ้นได้เมื่อ
-
มีอย่างน้อย 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน
(Two independent groups); กลุ่มมองเห็นความไม่สอดคล้องไปกันได้
(Incompatibility) ภายในกลุ่มเอง หรือระหว่างกลุ่ม; และ กลุ่มที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่ขัดแย้งกัน (Putnam and
Poole, 1987)
ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อ
“กระบวนการซึ่งฝ่ายหนึ่งมองเห็นว่าผลประโยชน์ของกลุ่มถูกต่อต้านหรือทำให้เป็นลบโดยอีกกลุ่มหนึ่ง
(Wall & Callister, 1995, p. 517)
ความขัดแย้งคือกระบวนการที่แสดงให้เห็นความไปกันไม่ได้
(Incompatibility) ความเห็นแตกต่างกัน (Disagreement)
หรือ ความเห็นไม่สอดคล้องกัน (Dissonance) ภายในกลุ่มสังคมหนึ่ง
หรือระหว่างกลุ่มสังคมนั้น (Rahim, 1992, p. 16)
สาเหตุ (Causes)
ส่วนสาเหตุ (Causes of conflict) ของความขัดแย้งมีหลายประการ กล่าวคือ
·
ฝ่ายหนึ่งถูกกำหนดให้เข้าไปมีกิจกรรมที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการ (Needs) และความสนใจ หรือผลประโยชน์ (Interests) ของฝ่ายตน
·
ฝ่ายหนึ่งมีความเอนเอียงทางพฤติกรรม (Behavioral preferences)
ซึ่งการจะตอบสนองนั้นไม่สอดคล้อง (Incompatible) กับคนอื่นๆ
ซึ่งเขาก็มีความเอนเอียงที่ไม่เหมือนกัน
·
ฝ่ายหนึ่งต้องการทรัพยากรบางอย่างที่หลายๆฝ่ายต้องการ แต่มีอย่างจำกัด
และความต้องการของทุกฝ่ายเหล่านี้ไม่สามารถตอบสนองได้อย่างเต็มที่
·
ฝ่ายหนึ่งมีทัศนคติ (Attitudes) ค่านิยม (Values) ทักษะ
(Skills) เป้าหมาย (Goals) ที่เด่นแยกไปจากฝ่ายอื่นๆ
หรือพฤติกรรมของฝ่ายเขาถูกมองว่าแปลกแยกออกไปจากทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ
และเป้าหมายของฝ่ายอื่นๆ
ในกรณีมีสองฝ่าย ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งต่อกัน
·
มีสองฝ่าย (Two
parties) ที่มีความเอนเอียงทางพฤติกรรมที่มีบางส่วนแตกต่างกัน
แล้วต้องมากระทำการร่วมกัน (Joint actions)
·
สองฝ่ายมาร่วมกันโดยเป็นอิสระต่อกัน (Interdependent) ในการทำงาน หรือมีกิจกรรมร่วมกัน
(Rahim, 2002, p. 207)
ในการจะแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ ก่อนอื่น
ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและสาเหตุของความขัดแย้งให้ได้ชัดเจนเสียก่อน
ยกตัวอย่าง หากความขัดแย้งเป็นสิ่งที่เกิดภายในกลุ่มเดียวกัน แต่มีทัศนคติ ค่านิยม
หรือเป้าหมายที่แตกต่างกัน ก็ต้องไปปรับแก้ในส่วนนี้
ไม่ใช่ไปแก้ในส่วนที่เป็นนอกกลุ่ม หรือดึงส่วนอื่นๆมาร่วมกระบวนการขัดแย้ง
แล้วท้ายสุดกลับกลายเป็นความขัดแย้งที่ลุกลาม แล้วไม่ได้ช่วยให้ความขัดแย้งยุติลงได้
การตัดสินใจ
สองคน/กลุ่มมีทางเลือกที่จะแยกกันอยู่
หรือจะอยู่ร่วมกัน
ในการมารวมกันแล้วเกิดความขัดแย้ง
และดูจะหาวิธีการทั้งในระยะสั้นและระยะยาวที่จะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ก็ต้องอยู่อย่างแยกกัน
ดีกว่าที่จะอยู่ร่วมกันอย่างขัดแย้งแล้วนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น และเป็นแบบทำลายล้าง
(Destructive) ไม่สร้างสรรค์ (Non-constructive)
ยกตัวอย่าง
สามีภรรยา เมื่อแต่งงานกัน อยู่ร่วมกัน
แล้วอยู่กันไม่ได้ มีความแตกต่างกันอย่างยากที่จะอยู่ร่วมกัน (Incompatibility)
เช่น ความรับผิดชอบต่อครอบครัวที่คาดหวังต่างกัน
ความไม่ซื่อสัตย์ต่อกัน ความรักที่เคยมีต่อกันหมดหายไป ก็ตัดสินใจแยกทางกัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นแล้วว่าเป็นทางเลือกที่จะดีกว่าอยู่ร่วมกันไปอย่างขัดแย้งกัน
อย่างไม่มีความสุขสงบ ต้องทะเลาะกันบ่อยๆ และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
ภาพ แผนที่ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน ที่มีสิงคโปร์
อินโดนีเซีย เป็นประเทศเพื่อนบ้าน
ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) และสิงคโปร์ (Singapore) เคยเป็นประเทศเดียวกันในรูปสหพันธรัฐ
แต่เมื่อฝ่ายนำการเมืองของมาเลเซียเห็นว่า เพราะความแตกต่างกันทางด้านเชื้อชาติ
จนอาจนำไปสู่การต่อสู้แย่งชิงอำนาจและทรัพยากรกัน ก็ตกลงที่จะอยู่กันอย่างแยกกัน
และเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน จะยังดีกว่า
ภาพ แผนที่ประเทศอินเดียในปัจจุบัน
ในสมัยได้รับเอกราช ปากีสถาน (Pakistan) และอินเดีย (India) เคยเป็นประเทศเดียวกัน
แต่เพราะความแตกต่างกันทางศาสนาและวัฒนธรรม ความขัดแย้งรุนแรงจนระดับรบรา ฆ่ากัน
จนท้ายที่สุด ก็ต้องตัดสินใจแยกประเทศกัน เพื่อให้ความขัดแย้งลดลง
ภาพ แผนที่ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน
ประเทศปากีสถาน เคยเป็นประเทศเดียวแต่มีส่วนภาคตะวันออก
และภาคตะวันออก แต่เพราะลักษณะภูมิประเทศ การจัดสรรผลประโยชน ทรัพยากร
และวิธีการบริหารร่วมกันไม่ลงตัว ท้ายสุดมีการแยกประเทศออกเป็นปากีสถาน
และบังคลาเทศ (Bangladesh)
ภาพ แผนที่ประเทศบังคลาเทศ (Bangladesh)
กรณีตัวอย่าง
หลักการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ต้องแยกเรื่องเล็ก
ก็ต้องจัดการอย่างเล็กๆ โดยไม่ขยายวงความขัดแย้ง
ตัวอย่างที่ 1
มีพี่น้องตระกูลหนึ่ง เมื่อพ่อแม่ได้เสียชีวิตจากไปแล้ว
มีปัญหาความไม่ลงตัวในด้านการแบ่งทรัพย์สิน ทางที่ดีคือการหาทางพูดคุย
เจรจาเพื่อหาข้อยุติด้านกลุ่มพี่น้องด้วยกันเอง ไม่ไปดึงเอาสามี ภรรยา
หรือบุตรธิดา หรือกลุ่มเพื่อนของตนเข้ามาเกี่ยวข้อง การเจรจากันในกลุ่มคนขนาดเล็ก
และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเดิม ย่อมกระทำได้ง่ายกว่าการขยายวงกลุ่มคนที่มีความเห็นแตกต่างกันมากขึ้นไปอีก
และไม่มีแรงจูงใจที่จะร่วมกันเป็นกลุ่ม
ในการเจรจา
ก็ต้องเลือกตัดส่วนที่มีความเห็นไม่แตกต่างกันออกไปให้มากที่สุด
เหลือในส่วนที่เป็นความต่างกันมาเจรจา ทำให้มองเห็นภาพรวมว่า
ส่วนที่แตกต่างกันนั้นมีอยู่จริง แต่มีไม่มาก แต่เป็นส่วนจำเป็นที่ต้องมาพูดคุยกัน
ตัวอย่างที่ 2
สหรัฐอเมริกาและแคนาดามีความเป็นเพื่อนบ้านกันมายาวนาน
มีพรมแดนติดกันยาวหลายพันไมล์จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก แต่เพราะมีพรมแดนติดกัน สหรัฐอเมริกาก็มีความขัดแย้งกับประเทศแคนาดาเป็นระยะๆ
ทั้งสองประเทศเคยมีเรื่องกระทบกระทั่งกัน
ในยุคที่สหรัฐอเมริกาประกาศอิสรภาพจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ. 1776 ส่วนแคนาดายังคงเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของอังกฤษ
ซึ่งยังเป็นมหาอำนาจทางทะเลอยู่ เป็นอันมากในช่วงหลังจากก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกา
50 ปีแรก สองประเทศมีความสัมพันธ์ต่อกัน
และมีความขัดแย้งกันเกิดขึ้นเป็นระยะๆ
ในฐานะแคนาดาเป็นอาณานิคมและผลประโยชน์ของประเทศอังกฤษ แต่ในระยะหลัง
เมื่อแคนาดาเป็นประเทศอิสระ ภายใต้เครือจักรภพอังกฤษแล้ว
สถานะความสัมพันธ์ก็เริ่มเปลี่ยนไป ที่สองประเทศ สหรัฐอเมริกาและแคนาดาต้องเจรจากันโดยตรง
ในกรณีหนึ่งของการใช้ทางสัญจรทางน้ำในทะเลสาป Great
Lakes ปี ค.ศ. 1907 มีเหตุการณ์เล็กๆเกิดขึ้น
เมื่อ เรือรบของสหรัฐ USS Nashville แล่นเข้าไปในทะเลสาบ Great Lakes โดยไม่ได้ขออนุญาตจากทางฝ่ายแคนาดา
ซึ่งความจริงไม่ใช่เรื่องใหญ่ ในปี ค.ศ. 1909 เพื่อตัดโอกาสที่จะสร้างความอับอายและเสียหน้าต่อก้น
จึงได้มีการเจรจากันระหว่างสองฝ่าย
แล้วได้ข้อยุติเพื่อลงนามในสิทธิขอบเขตทางน้ำนานาชาติ (International
Boundary Waters Treaty) และมีคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง
ชื่อว่า “คณะกรรมการร่วม” (Joint Commission) เพื่อจัดการกิจการอันเกี่ยวกับทะเลสาป
Great Lakes เรื่องทั้งหมดที่จะเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของทะเลสาปร่วมกัน
ก็ให้ไปเจรจาทำความตกลงกันในคณะกรรมการร่วมนี้
แต่ในกรณีของผลประโยชน์หลัก
และความเข้าใจร่วมกัน อเมริกาเคยประกาศตั้งแต่สมัยเจมส์ มอนโร (President
James Monroe) ประธานาธิบดีคนที่ 5 อเมริกาจะไม่เข้าไปยุ่งหรือรุกล้ำในกิจการของยุโรป
และในขณะเดียวกัน ก็ไม่ประสงค์ให้ชาติในยุโรปมาขยายอาณานิคมในทวีปอเมริกาทั้งเหนือและใต้
ปล่อยให้แต่ละประเทศได้มีเอกราชของตนเอง แล้วโดยถือหลักนี้อย่างเคร่งครัด
ส่วนอื่นๆ หากมีความขัดแย้ง ก็จะเป็นการแก้ไขความขัดแย้งที่ถือเป็นเรื่องเล็กๆในท้องถิ่น
ทั้งนี้ได้กลายเป็นส่วนทำให้ลดความร้อนแรงของความขัดแย้งระหว่างชาติ
ไม่ให้มีความรุนแรงยิ่งขึ้น
ในยุคที่หลายๆชาติในยุโรปต้องการขยายอาณานิคมของตนไปยังประเทศด้อยพัฒนาในสมัยนั้น
ภาพ ประธานาธิบดีสหรัฐ กำลังสนทนากับนายกรัฐมนตรีของแคนาดา
เมื่อมีผลประโยชน์ร่วมกัน สหรัฐอเมริกา กับแคนาดา ก็ต้องใช้การสร้างความสัมพันธ์ทั้งทางการฑูตระดับผู้นำ และการเจรจาในทุกระดับที่เกี่ยวข้อง หากมีความขัดแย้งกัน
No comments:
Post a Comment