Tuesday, May 28, 2013

นโยบายโรงเรียนรัฐบาลคุณภาพต้องมาก่อนขนาด


นโยบายโรงเรียนรัฐบาลคุณภาพต้องมาก่อนขนาด
(Quality must trump size in govt’s school policy)

Supanutt Sasiwuttiwat: เขียน
สุริยา เผือกพันธ์
: แปล

ขนาดโรงเรียนก็เป็นเรื่องสำคัญแต่ไม่ควรจะเป็นสิ่งเดียวที่นำมาพิจารณา

ระหว่างสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องที่กระทรวงศึกษาธิการจะยุบและควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท

บางคนกล่าวว่าการยุบโรงเรียนขนาดเล็กเป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง เพราะจะทำให้นักเรียนต้องเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไกลไปโรงเรียน และยังอาจเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นตามมา เช่นอุบัติเหตุจากรถยนต์ ค่าใช้จ่ายจากการเดินทางที่เพิ่มขึ้นและยังเป็นการกัดกร่อนจิตวิญาณของชุมชนที่ฝังลึกอยู่ในโรงเรียน เป็นต้น

ผมต้องการให้รายละเอียดด้วยการอภิปรายเพิ่มเติมโดยการพิจารณาเรื่องที่สำคัญ 2 เรื่องคือ การเข้าถึงและคุณภาพของระบบการศึกษา

เรื่องแรก คือความสามารถในการเข้าถึง (Accessibility) แหล่งเรียนรู้ที่ดีของโรงเรียนขนาดเล็ก ต้องทำให้นักเรียนในพื้นที่ชนบทเข้าถึงได้ดีขึ้น การศึกษาขั้นพื้นฐานควรจัดให้นักเรียนแต่ละคนและทุก ๆ คนอย่างทั่วถึงอันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาความสามารถของมนุษย์

อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงมิได้หมายถึงคุณภาพเสมอไป

นักเรียนควรมีความสามารถในการเข้าถึงระบบการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม จะด้วยการใช้ความพยายามหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องทำให้ได้ และพวกเขาต้องเข้าถึงความมีคุณภาพทางการศึกษาที่สูงขึ้นด้วย

นี่คือสิ่งที่จะนำพวกเราไปสู่การพิจารณาเรื่องสำคัญเรื่องที่  2 คือ คุณภาพ ขนาดโรงเรียนจะนำมาซึ่งการพิจารณาถึงประสิทธิภาพของการใช้งบประมาณ โรงเรียนได้รับงบประมาณเป็นรายหัว (per-head subsidies) จากรัฐบาลเพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกแก่ครู โดยธรรมชาติแล้วโรงเรียนขนาดเล็กต้องได้งบประมาณน้อยกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่เพราะมีจำนวนนักเรียนมากกว่า

ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในปีท้ายสุดแสดงให้เห็นว่า โรงเรียนขนาดเล็ก (นักเรียน 41-60 คน) โดยเฉลี่ยมีครู 4-5 คน ขณะที่โรงเรียนขนาดใหญ่ (นักเรียน 500 -1,499 คน) โดยเฉลี่ยมีครู 30 คน

นี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีครูไม่เพียงพอต่อการสอนได้ครบทุกรายวิชา ครูแต่ละคนจะต้องสอนให้ได้มากกว่า 2 หรือ 3 รายวิชาแก่นักเรียนในหลายระดับชั้น ขณะที่การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่จะมีประกาศใช้ในบางโรงเรียน กระบวนการดำเนินการไม่ควรกลายเป็นการได้ผลลัพธ์ทางการศึกษาที่นักเรียนยังเข้าไม่ถึงแหล่งเรียนรู้ การตัดสินใจควบรวมควรจะพิจารณาเป็นราย ๆ

ดังนั้น เราจะมีความคาดหวังกับการควบรวมโรงเรียนเพียงใด

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่า โรงเรียนขนาดเล็กสามารถที่จะได้รับการยกเว้นการควบรวม ถ้าโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเดินทาง

บางโรงเรียนจะได้รับการยกเว้นด้วย ถ้าแสดงให้เห็นว่าผลงานของนักเรียนหรือความสำเร็จสอดคล้องกับค่าเฉลี่ยมาตรฐานการสอบระดับชาติ

ยินดีให้ข้อยกเว้น โดยเฉพาะผู้ที่เรียกร้องที่อยู่ตรงข้ามกับนโยบายนี้ ถ้าหากโรงเรียนขนาดเล็กใดมีคะแนนการสอบ 0-Net สูงกว่าปี 2012

อย่างไรก็ตาม แผนการปัจจุบันของรัฐมนตรี มีการเสนองบประมาณให้นักเรียนคนละ 15-30 บาทต่อคนต่อวัน สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่อาจมีไม่เพียงพอ รัฐบาลควรจะดำเนินการต่อไปถึงการอธิบายเพิ่มเติมว่า จะทำให้การเดินทางปลอดภัยอย่างไรสำหรับเด็กนักเรียน จะต้องอธิบายเกี่ยวกับเรื่องสังคมที่ใหญ่ขึ้นและวัฒนธรรมที่หลากหลายจากกลุ่มคนต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นจะทำอย่างไร

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (The Thailand Development Research Institute’s: TDRI) ได้ทำการวิจัยและเสนอแนะว่าขนาดโรงเรียนตามที่พูดถึงอยู่นี้เพียงอย่างเดียวไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ รัฐบาลควรคิดเกี่ยวกับเรื่องที่สำคัญอีก 2 ประการคือ

ประการแรก หลักสูตรการเรียนการสอนไม่มีการปรับให้เข้ากับการสอนนักเรียนว่า จะทำอย่างไรที่จะทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จได้ในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรล้มเหลวในการสอดแทรกทักษะที่เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ การทำงานเป็นทีมและการสื่อสาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในโลกแห่งการงานในปัจจุบัน

ประการที่สอง ระบบการศึกษาขาดการตรวจสอบความรับผิดชอบ (Accountability) ในการผลิตการศึกษาที่มีคุณภาพตกต่ำ เมื่อนักเรียนมีผลการเรียนต่ำลงไม่มีใครสามารถตรวจสอบได้ ความก้าวหน้าและเงินเดือนของครูไม่สอดคล้องกับคุณภาพนักเรียน

ปัจจัยอื่น ๆ เช่น คุณภาพของครู การฝึกอบรม การพัฒนาหลักสูตรและการประเมินผลต้องนำมาพิจารณาด้วยเมื่อตัดสินใจว่าจะพัฒนาคุณภาพโรงเรียนอย่างไร

รายละเอียดของข้อเสนอเหล่านี้สามารถหาอ่านได้ในงานของ Somkiat Tangkitvanich หนังสือพิมพ์ Bangkok Post ฉบับวันที่ 27 มีนาคม 2013 ในหน้า Opinion และมีฉบับที่เป็นภาษาไทยหาอ่านได้ที่ www.tdri.or.th

ในท้ายสุด ถ้าขนาดโรงเรียนทำให้มีผลต่อคุณภาพการศึกษา รัฐบาลควรระมัดระวังในเรื่องการสื่อสารและการลงมือปฏิบัติ ตามแผนปฏิบัติการอันจะทำให้กระทบต่อความรู้ของผู้ที่เกี่ยวข้องในเข้ามาให้ความช่วยเหลือ

หรืออีกนัยหนึ่ง ถ้าโรงเรียนขนาดเล็กได้รับการยกเว้นจากการควบรวม รัฐบาลควรมีข้อเสนอแผนพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนเหล่านี้ด้วย

การมีนโยบายที่เป็นจริง จะทำให้การประกาศสาระสำคัญที่เกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาและผู้จัดทำนโยบายได้คิดให้กว้างไกลออกไปถึงวิธีการปฏิรูปสถาบันทางการศึกษาของเราด้วย สิ่งนี้จะเป็นการรับรองไม่ให้พวกเขาต้องตกหลุมพรางของความไร้ประสิทธิภาพและขาดมาตรฐานในอนาคต หวังว่าในระยะยาวแล้ว เราจะได้ฟังเรื่องเหล่านี้น้อยลง

คัดจาก หนังสือพิมพ์ Bangkok Post ฉบับวันที่ 22 พฤษภาคม 2013 คอลัมน์ POLICY FOCUS หน้า 11

No comments:

Post a Comment