1 พฤษภาคม วันแรงงานสากล (International Workers' Day)
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the
free encyclopedia
Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, สังคมนิยม, socialism, คอมมิวนิสต์, communism, สหภาพแรงงาน, Trad Unions, Labor Unions, วันแรงงาน, Labor Day, May Day, ผู้ใช้แรงงาน, สหรัฐอเมริกา, สหภาพโซเวียต,
ภาพ การเดินขบวนฉลองวันแรงงานในประเทศวีเดน ที่เมืองสตอคโฮล์ม (Stockholm, Sweden) ปี ค.ศ. 2006 พรรคได้มีอิทธิพลต่อการเมืองสวีเดนมาเกือบหนึ่งศตวรรษ
ที่เห็นในปลายถนน เป็นวังของสหภาพแรงงาน (Trade Union Palace) ในเมืองสตอคโฮล์ม
วันแรงงานสากล
International Workers' Day |
|
ชื่ออย่างเป็นทางการ
Official name |
วันแรงงานสากล
International Workers' Day |
ชื่ออื่นๆ
Also called |
วันพฤษภาคม
May Day |
เข้าร่วมโดย
Observed by |
|
วันที่
Date |
1 พฤษภาคม
May 1 |
การเฉลิมฉลอง
Celebrations |
organized street demonstrations and street marches
|
เกี่ยวข้องกับ
Related to |
วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี
เป็นวันคนงานสากล (International Workers’ Day) หรือ “วันแรงงานสากล”
หรือเรียกว่า “วันพฤษภาคม” (May Day) เป็นวันฉลองการเคลื่อนไหวแรงงานสากล
เป็นวันหยุดของชาติในมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก
และเป็นวันฉลองอย่างไม่เป็นทางการในหลายประเทศอื่นๆ เช่น
ไม่ได้เป็นวันหยุดของราชการ คนที่เป็นราชการ หรือหน่วยราชการยังเปิดทำการอยู่
แต่คนงาน หรือลูกจ้างในภาคเอกชนจะยอมรับให้เป็นวันหยุด
วันแรงงานสากลนี้เป็นวันฉลองอันเริ่มมาจากเหตุการณ์
“เฮย์มาร์เก็ตในปี ค.ศ. 1886” ที่เมืองชิคาโก
ในประเทศสหรัฐอเมริกา ตำรวจพยายามสลายการชุมนุมในที่สาธารณะในช่วงการประท้วงใหญ่
เพื่อขอให้มีการทำงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง (Eight-hour workday) แล้วมีผู้ที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร
ขว้างระเบิดเข้าใส่ฝูงชน แต่ตำรวจกลับยิงปืนเข้าใสฝูงชนคนงานที่ประท้วง
มีผู้ประท้วงเสียชีวิต 4 คน ผู้เห็นเหตุการณ์ให้การว่า
เห็นแสงไฟมาจากทางฝ่ายตำรวจด้านกลางถนน แต่ไม่เห็นมาจากฝูงชน
นอกจากนี้ในส่วนของหนังสือพิมพ์ก็รายงานโดยไม่ได้กล่าวถึงการใช้อาวุธโดยฝ่ายประชาชน
ในบริเวณเสาโทรเลขในที่ชุมนุม พบรอยกระสุนมากมาย ซึ่งเป็นทิศทางมาจากทางฝ่ายตำรวจ
ในปี ค.ศ. 1889 เป็นการประชุมนานาชาติครั้งที่สอง
เป็นการเฉลิมฉลอง “การปฏิวัติฝรั่งเศส” (French Revolution) และ
Exposition
Universelle ซึ่งเสนอโดย Raymond Lavigne เรียกร้องให้มีการรณรงเพื่อแสดงความระลึกถึงการปราบปรามผู้ชุมนุมที่เมืองชิคาโกอย่างรุนแรงในปี
ค.ศ. 1890 วันพฤษภาคม (May Day) ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการให้เป็นวันแรงงานสากลในการประชุมใหญ่ระดับสภาแรงงานนานาชาติในปี
ค.ศ. 1891
ในการฉลองวัน May Day ของปี
ค.ศ. 1894 ได้เกิดจลาจลขึ้นอีก ต่อมาในปี ค.ศ. 1904 การประชุมสังคมนิยมนานาชาติ (International Socialist Conference) ที่เมืองอัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) ได้เรียกร้องให้องค์กรพรรคการเมืองสังคมนิยมประชาธิปไตย
และสหภาพแรงงาน (trade unions) ในทุกประเทศ ได้รณรงค์อย่างแข็งขันในวันที่ 1 พฤษภาคม
เพื่อผลักดันให้มีการทำงานวันละไม่เกิน 8 ชั่วโมง
ซึ่งถือเป็นการเรียกร้องจากชนชั้นแรงงาน (Proletariat) เพื่อสันติภาพสากล
โดยให้วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกประเทศเป็นวันหยุดทำงาน
ส่วนจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ใช้แรงงานในแต่ละประเทศ
1 พฤษภาคม
เป็นวันหยุดอย่างเป็นทางการของประเทศคอมมิวนิสต์และสังคมนิยม ดังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
(People's
Republic of China), เกาหลีเหนือ (North Korea), คิวบา (Cuba) และอดีตประเทศสหภาพโซเวียต
(Soviet Union)
แต่สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา
การให้ฉลองวันแรงงานในเดือนพฤษภาคม ฝ่ายรัฐบาลจะรู้สึกเหมือนไปสนับสนุนกระบวนการเคลื่อนไหวเพื่อก้าวสู่ความเป็นสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์
ในอเมริกา แม้ยอมรับบทบาทฝ่ายแรงงาน
แต่ไม่อยากสนับสนุนการเคลื่อนไหวที่ไปสอดคล้องกับฝ่ายสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์
ก็จะให้ฉลองกันในเดือนกันยายน ซึ่งการนี้ ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายแรงงานในอเมริกา
ดัง Central Labor Union และ Knights of Labor
ผู้จัดให้มีการฉลองด้วยการเดินพาเรดเป็นครั้งแรกที่เมืองนิวยอร์ค หลังเหตุการณ์สังหารหมู่ที่เฮย์มาร์เก็ต
ประธานาธิบดีโกรเวอร์ คลิฟแลนด์ (Grover Cleveland)
เกรงว่าการจัดฉลองแรงงานในวันที่ 1 พฤษภาคม
จะเป็นการไปตอกย้ำเหตุการณ์สังหารหมู่เฮย์มาร์เก็ต ที่เกิดขึ้นในอเมริกา
เขาจึงสนับสนุนวันแรงงานที่จัดในเดือนกันยายน ตามแนวทางของ Knights of Labor
ในปี ค.ศ. 1955 ฝ่ายสำนักคริสต์ศาสนานิกายแคธอลิก
ได้อุทิศให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็น “วันนักบุญโจเซฟเพื่อแรงงาน”
(Saint Joseph The Worker) โดยเห็นว่านักบุญโจเซฟเป็นผู้อุปถัมภ์คนทำงานและช่างฝีมือ
ภาพ การฉลองวันแรงงานในประเทศฟิลิปปินส์
No comments:
Post a Comment