การแต่งตั้ง
John
Marshall เป็นหัวหน้าผู้พิพากษาศาลสูงสหรัฐอเมริกา
ภาพ จอห์น มาร์แชล (John Marshall)
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the
free encyclopedia
Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance, ศาล, judiciary, federal
court, ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, constitution court, สหรัฐอเมริกา, USA, United States, Federalists, จอห์น
มาร์แชล, John Marshall จอห์น
อาดัมส์, John Adams,
เจฟเฟอร์สัน, Jeffersonians
ความนำ
ภาพ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กับความเห็นด้านการทำงาน
การเมืองไทยในปัจจุบันเป็นเรื่องของการเปลี่ยนผ่าน
ที่จะต้องพิสูจน์ถึงความศักดิ์สิทธิของ 3 สถาบัน คือฝ่ายบริหาร
ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลากร ในสองฝ่ายแรกเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ขาด
ฝ่ายบริหารยังมีอิทธิพลเหนือฝ่ายนิติบัญญัติ
แถมเป็นที่รู้กันว่าอำนาจแท้จริงยังเป็นของทักษิณ ชินวัตร
คนที่หลบหนีคดีอยู่นอกประเทศ ส่วนคนที่ทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ต่างอะไรจากหุ่น
หรือตัวแทน ที่สามารถสั่งการสายตรงทางออนไลน์ได้
ฝ่ายตุลาการ โดยเฉพาะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (Constitution
Court) ซึ่งมีคณะบุคคล 9 ท่านที่ได้รับการสรรหาและเข้าสู่ตำแหน่งในสมัยก่อนมีรัฐบาลยิ่งลักษณ์
และนั่นเป็นสิ่งปกติ ที่ศาลต้องเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร
ดังนั้นการที่ฝ่ายที่ไม่พอใจศาลรัฐธรรมนูญจะใช้วิธีกดดันอย่างไร หรือพยายามใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย
นั่นไม่สำคัญ เพราะการได้มาและการดำรงอยู่ตามวาระของศาล
เขาออกแบบมาเพื่อให้มีความมั่นคง ไม่หวั่นไหวไปด้วยอิทธิพลทางการเมืองใดๆ
ผมมองอย่างเป็นทางบวก และเชื่อมั่นว่าศาลทั้ง
9 ท่าน
ต้องสามารถยืนหยัดทำหน้าที่ดูแลรัฐธรรมนูญให้เป็นหลักของกฎเกณฑ์ประชาธิปไตย
และยิ่งเวลาผ่านไป เราก็จะได้ระบบที่มีวุฒิภาวะมากขึ้นเรื่อยๆ
และเราจะเห็นคุณค่าของการต้องมีระบบศาลรัฐธรรมนูญ
วันนี้กลับมาย้อนศึกษาประวัติศาลสูงของสหรัฐอเมริกา
ที่ทำหน้าที่คล้ายกับศาลรัฐธรรมนูญ ลองติดตามประวัติของ John Marshall ผู้ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าศาลสูงของสหรัฐอเมริกา และตลอดระยะเวลาดำรงตำแหน่งยาวนานถึง
34 ปี ผ่านประธานาธิบดีมาหลายสมัย
เขาได้วางรากฐานประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกา
ให้ดำรงอยู่อย่างแข็งแกร่งต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ตำนานผู้พิพากษาเที่ยงคืน
เมื่อวาระของจอห์น อาดัมส์
(John Adams) ประธานาธิบดีคนที่สองของสหรัฐจบลง
อาดัมส์ได้แต่งตั้งคณะตุลาการเข้ามา ดังที่มีการเรียกขานว่า “คณะผู้พิพากษาเที่ยงคืน” (Midnight Judges) เพราะผู้พิพากษาเหล่านี้ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในช่วงเวลาไม่กี่วัน
ก่อนที่ประธานาธิบดีอาดัมส์จะหมดอำนาจลง คณะผู้พิพากษาเหล่านี้ต้องหมดอำนาจลง
เมื่อ Jefferson ได้ตำแหน่ง ยกเว้น John Marshall ที่ยังคงตำแหน่งอยู่ในฐานะ
หัวหน้าตุลาการศาลสูงสุดของสหรัฐ (Chief Justice of the United
States) และจัดเป็นอิทธิพลท้ายสุดของกลุ่ม Federalists
ซึ่งต้องการให้รัฐบาลกลางมีความแข็งแกร่งเป็นหลักของประเทศ และเพราะความแตกต่างจากฝ่ายเจฟเฟอร์สัน
(Jeffersonians) ที่เห็นตรงกันข้าม จึงทำให้ฝ่ายตุลาการได้กลายเป็นอำนาจอิสระอีกสายหนึ่งที่ต้องมีการทดสอบในทางปฏิบัติ
ที่มีอำนาจเท่าเทียมกับฝ่ายบริหาร (Executive) และฝ่ายนิติบัญญัติ
(Legislative)
John Marshall เกิดเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1755 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1835
เป็นรัฐบุรุษของชาวอเมริกัน เป็นผู้ได้รับชื่อว่าเป็นผู้วางระบบศาล
และกฎหมายเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ และทำให้ศาลสูงทรงอำนาจ
เป็นที่เคารพของตำแหน่งในวัฒนธรรมการเมืองของอเมริกัน
John Marshall ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าศาลสูงสุด (Chief Justice of the United
States) เริ่มรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์
ค.ศ.1801 จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1835 ก่อนหน้านี้เขาได้เริ่มชีวิตการเมืองด้วยการเป็นผู้แทนราษฎรในสภาล่าง (The United States House of
Representatives) จากวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1799
จนถึงวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1800 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (Secretary of State) จากวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1800 ถึงวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1801 เขาเป็นคนมีพื้นฐานมาจาก
Commonwealth of Virginia และเป็นผู้นำคนหนึ่งของพรรค Federalist Party
เขารับหน้าที่เป็นหัวหน้าศาลสูงสุดของสหรัฐที่ยืนยาวที่สุดของสหรัฐ
คือ 34 ปี
และได้ทำให้ระบบศาลของสหรัฐได้มีรากฐานที่เข้มแข็ง
ทำให้ศาลสามารถยืนหยัดเป็นเสาหลัก 1 ใน 3 ของประชาธิปไตยของสหรัฐ ร่วมกับอีก 2 เสา คือ
ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ภายใต้ระบบศาลของเขาได้ทำให้ศาลเป็นอิสระ
เขาได้ตัดสินคดีที่สำคัญที่เกี่ยวกับความเป็นรัฐบาลกลาง สร้างดุลอำนาจของรัฐบาลกลางและรัฐบาลของรัฐแต่ละรัฐในช่วงแรกๆของการเป็นระบบสาธารณรัฐ
และในหลายๆครั้ง เขาได้แสดงให้เห็นถึงอำนาจของรัฐบาลกลาง และกฎหมายของรัฐบาลกลาง (Federal
Law) ในกรณีที่ขัดกัน จะต้องอยู่เหนือกฎหมายของแต่ละรัฐ
คำตัดสินของเขาได้กลายเป็นฐานรากในทิศทางของศาลและของประเทศในระยะต่อมา
No comments:
Post a Comment