(Closing small schools is a huge mistake)
Sanitsuda
Ekachai: เขียน
สุริยา เผือกพันธ์: แปล
สุริยา เผือกพันธ์: แปล
Keywords: การศึกษา, education, การบริหารการศึกษา, school management, administration, governance, โรงเรียนขนาดเล็ก, small schools, rural school, ความเป็นผู้นำ, leadership
ภาพ รถรับส่งนักเรียนอย่างที่เป็นไปในหลายๆแห่ง ซึ่งยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัย - บรรณาธิการ
ภาพ รถรับส่งนักเรียนในสหรัฐอเมริกา (School buses in USA) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ไม่มีผลเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษามากนัก แต่เป็นสิทธิของผู้เรียน ที่รัฐต้องจัดหาให้ หากหาโรงเรียนใกล้บ้านให้นักเรียนหรือชุมชนได้ - บรรณาธิการ
หนึ่งเหตุผลหลักที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้กลับไปใช้นโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กเพราะเห็นว่า
การจัดการเรียนการสอนขาดคุณภาพ (Poor-quality teaching)
นายสุชาติ มีสมบัติ
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสะพานยูง
ซึ่งโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในอำเภอหลังสวนจังหวัดชุมพร แสดงความไม่เห็นด้วย
โรงเรียนบ้านสะพานยูง
เป็นโรงเรียนขนาดเล็กมีนักเรียน จำนวน 82 คน
กำลังเผชิญหน้ากับนโยบายดังกล่าว อย่างไรก็ตามคะแนนผลการสอบ O-Net (Ordinary National Education Test)
ของนักเรียนไม่เพียงแต่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยกลางของประเทศ
หากแต่ยังเป็นโรงเรียนที่นักเรียนมีคะแนนสูงหนึ่งใน 10 โรงเรียนของเขตพื้นที่การศึกษาอีกด้วย
นอกจากนี้ โรงเรียนบ้านสะพานยูง
ยังเป็นโรงเรียนดีเด่นของอำเภอหลังสวน
“แม้กระนั้น...โรงเรียนของเราก็ไม่ได้รับการยกเว้น” ผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าว
“มากกว่าครึ่งของโรงเรียน 10 โรงเรียนที่มีคะแนน O-Net สูงในเขตพื้นที่ของเราล้วนเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก
แต่ทำไมมาพูดได้ว่าโรงเรียนขาดเล็กไม่มีคุณภาพ”
เมื่อเขาได้พบกับผู้อำนวยการโรงเรียนอื่น ๆ
ในกรุงเทพฯในสัปดาห์นี้ (15 พฤษภาคม 2556)
เพื่อพูดคุยถึงแนวทางการคัดค้านไม่เห็นด้วยกับความพยายามในการยุบโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ
เขาพบว่า โรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดอื่น ๆ ก็มีคะแนนผลการสอบ O-Net อยู่ในกลุ่มโรงเรียนที่มีคะแนนสูงหนึ่งใน 10 ด้วยเช่นเดียวกัน
“รัฐบาลให้งบประมาณอย่างจำกัดแก่โรงเรียนขนาดเล็ก
แต่พวกเราก็สามารถระดมการสนับสนุนจากชุมชน การที่มีห้องเรียนขนาดเล็กกว่าปกติ
พวกเราสามารถดูแลนักเรียนได้อย่างใกล้ชิด นั่นเป็นการตอบคำถามว่า
ทำไมครูจึงทำให้ผลการสอบของนักเรียนมีคะแนนสูงขึ้นได้”
“พวกเขาต่างก็มีความสุขเพิ่มขึ้นด้วย” นายสุชาติ กล่าว
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ
ได้กำหนดให้โรงเรียนประถมศึกษาที่มีนักเรียนจำนวนเกินกว่า 200
คนเพียงสองถึงสามคนอยู่ในบัญชีที่จะต้องถูกยุบด้วย
ซึ่งก็อยู่ในกลุ่มเดียวกับโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนเกินกว่า 60 คนอยู่สองถึงสามคนเช่นกัน
กระทรวงศึกษาธิการยืนยันว่าโรงเรียนเหล่านี้ใช้ทุนไม่คุ้ม (Not
cost-effective) และไม่มีคุณภาพ
การย้ายนักเรียนไปยังโรงเรียนขนาดใหญ่
เป็นการลดต้นทุนและพัฒนาคุณภาพของกระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายการยุบโรงเรียนขนาดเล็กไม่ใช่เรื่องใหม่
ด้วยจำนวนนักเรียนไม่มาก
การคมนาคมสะดวกและระบบการศึกษาที่เน้นกรุงเทพฯเป็นศูนย์กลาง (Bangkok-centric
education) ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองส่งลูกหลานเข้าไปเรียนในเมือง
เป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่ทำให้โรงเรียนขนาดเล็กมีจำนวนเพิ่มขึ้น
จึงเหลือโรงเรียนที่อยู่ในหมู่บ้านที่ผู้ปกครองเห็นว่าอยู่ใกล้บ้านจึงให้ลูกหลานเรียนอยู่ที่นั่นหรือไม่ก็มีฐานะยากจนที่ไม่สามารถมีทุนเพื่อใช้จ่ายในการเดินทางของบุตรหลานได้
กระทรวงศึกษาธิการตอบสนองต่อปัญหาการเพิ่มขึ้นของจำนวนโรงเรียนขนาดเล็กเหล่านี้
อย่างง่าย ๆ ด้วยการยุบโรงเรียน
โรงเรียนนับพันโรงจะถูกยุบโดยชุมชนไม่มีปากเสียงอะไรในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
ในที่สุดเด็ก ๆ
ก็จะมีปัญหาตามมาเช่นกันที่ต้องเหน็ดเหนื่อยกับการใช้เวลาในการเดินทางที่มากขึ้น
เสี่ยงกับการเกิดอุบัติเหตุในช่วงฤดูฝน
มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงและยังเป็นการกัดกร่อนจิตวิญญาณของชุมชนให้เลือนหายไปจากชุมชนอีกด้วย
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์จึงเป็นการสร้างเครือข่ายให้กว้างขวางออกไปเพื่อช่วยกันดูแลและคัดค้านการยุบโรงเรียนในท้องถิ่นจากผู้มีอำนาจ
การเคลื่อนไหวการศึกษาทางเลือกควรเริ่มต้นจากการสนับสนุนของชุมชนด้วยการสร้างหลักสูตรท้องถิ่นและสร้างทักษะที่มีในท้องถิ่นและความภาคภูมิใจให้แก่นักเรียน
ล่าสุดของการผลักดันการยุบโรงเรียนขนาดเล็กของกระทรวงศึกษาธิการที่พยายามลดกระแสการคัดค้านด้วยการเสนอให้มีการรับฟังชุมชนและเสนอให้รถตู้
1,000
คันเพื่อรับ-ส่งนักเรียนไปยังโรงเรียนแห่งใหม่
เราจะพูดเฉพาะเรื่องที่ว่า
จะต้องจ่ายเงินเป็นค่ารถตู้อย่างน้อยคันละ 1 ล้านบาท
ด้วยจำนวนครูและผู้บริหารที่ใช้รถตู้ในจำนวนดังกล่าว
สิ่งที่ต้องเกิดติดตามมาคือ ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มจากการใช้รถตู้
ค่าบำรุงรักษาและค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเรื่องนี้รัฐมนตรีไม่พูดถึงแต่กลับยังหัวเราะได้
จากการประกาศให้เห็นภาพของรถตู้จำนวน 1,000
คันที่กระทรวงศึกษาธิการ
จะมอบให้แก่โรงเรียนที่จะถูกยุบอย่างน้อยที่สุด 1,000 คันไม่มีการปรึกษาหารือกับชุมชน
“ทำไมต้องลงทุนกับรถตู้
ทำไมไม่ลงทุนกับนักเรียน จะไม่ดีกว่านี้หรือที่เงินจำนวนนี้นำไปไปให้โรงเรียนขนาดเล็กได้จ้างครูและพัฒนามาตรฐาน
“ นายสุชาติตั้งคำถาม
“เมื่อเราพูดถึงการยุบโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก
เราลืมพูดถึงนักเรียนอนุบาลด้วย ซึ่งจะต้องเผชิญกับปัญหา
การตื่นแต่เช้าและการเดินทางไกลไปโรงเรียนที่อยู่ไกลจากบ้าน
เราแน่ใจหรือว่าจะดูแลพวกเขาได้ดี เราไม่ต้องการให้เด็ก ๆ ไปเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย”
“นโยบายการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก
เป็นการหวนกลับไปสู่ระบบการรวบอำนาจของกระทรวงศึกษาธิการ” เขากล่าว
“เราต้องกระจายอำนาจ”
เขาเรียกร้อง
“เดี๋ยวนี้ เราไม่สามารถแม้แต่จะคัดเลือกครูด้วยตนเองได้
พวกเขาถูกส่งมาจากส่วนกลาง ถ้าโรงเรียนสามารถเลือกได้
จะเป็นการดีที่สุดสำหรับนักเรียนและท้องถิ่น เราสามารถที่จะแก้ปัญหาได้ในหลาย ๆ
ปัญหา รวมทั้งคำถามที่ว่า
อะไรคือสิ่งที่จะต้องทำกับโรงเรียนขนาดเล็ก
คัดจากบทความในคอลัมน์ COMMENTARY.
Bangkok Post. Wednesday, May 15, 2013:9.
No comments:
Post a Comment