Monday, January 3, 2011

กรณ์ จาติกวณิช ประชาวิวัฒน์...ไม่ใช่ประชานิยม

กรณ์ จาติกวณิช ประชาวิวัฒน์...ไม่ใช่ประชานิยม

ขอนำบทความจากการสัมภาษณ์นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่พูดเกี่ยวกับ ประชาวิวัฒน์ ไม่ใช่ประชานิยม มาลงอย่างง่ายๆที่สุด ด้วยวิธีการตัดแปะ เผื่อกลับไปค้นใหม่ในไทยโพสต์ไม่พบ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

คัดลอกจาก อีโคโฟกัส จากไทยโพสต์, 4 มกราคม 2554 - 00:00

----------------------

ประชาวิวัฒน์เป็นกระบวนการได้มาซึ่งนโยบาย ฉะนั้นในตัวนิยามของประชา วิวัฒน์นี่เป็นประชานิยมไม่ได้ เพราะมันเป็น Process ความหมายของผมคืออย่าง นี้ ประชานิยม เวลาคนพูดถึงจะมีความเห็นเป็นเรื่องในเชิงลบ เพราะมันคือนโยบายที่มาจาก นักการเมือง เป้าหมายหลักคือต้องการคะแนนเสียง ไม่มีความยั่งยืน และขาดความรับผิดในแง่ ของการใช้เม็ดเงินงบประมาณ แต่ประชาวิวัฒน์คือวิธีการบริหารแบบใหม่ วิธีการ บริหารจัดการเพื่อตอบโจทย์ของประชาชน..."

--------------

จับสัญญาณการยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายในปี 2554 ที่ออกจากปากของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หลายต่อหลายครั้ง นอกจากนั้น ยังมี พฤติการณ์ของรัฐบาลที่ประเคนนโยบายต่างๆ ออกมามากมายในช่วงนี้ ทำให้หลายฝ่ายอดตั้งข้อสังเกตไม่ได้ว่าเป็นการหาเสียงล่วงหน้าหรือไม่ ขณะที่พรรคฝ่ายค้านเองก็นั่งไม่ติด เริ่มเดินหน้าประกาศนโยบายหาเสียงแล้วเช่นกัน

จากสัญญาณต่างๆ เหล่านี้ จึงพอคาดการณ์ได้ว่าการยุบสภาเพื่อจัดเลือกตั้งใหม่ ไม่น่าจะเนิ่นนานออกไป หรือลากยาวไปจนถึงช่วงปลายปี แต่น่าจะเกิดขึ้นเร็ว

อย่างไรก็ดี ในช่วงระหว่างก่อนจะมีการเลือกตั้ง ภารกิจของรัฐบาลในการบริหารประเทศก็ยังคงต้องมีต่อไป แต่จะทำอะไร-แค่ไหนนั้น วันนี้ นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง หนึ่งในตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและของพรรคประชาธิปัตย์ แจกแจงให้ฟัง

นโยบายรัฐบาลในปี 2554 วางขั้นตอนการทำงานไว้อย่างไรบ้าง

จากนี้ไปจะเป็น Step จะมีหลายๆ เรื่องออกมา โดยวันที่ 9 ม.ค. นายกรัฐมนตรีจะพูดถึงกระบวนการประชาวิวัฒน์ ขณะที่ในส่วนของคลังเอง แผนการ ทำงานที่เป็นแผนระยะสั้นจนถึงระยะยาว 5 ปี ก็จะออกประมาณปลายเดือน ม.ค. ซึ่งตรงนั้นจะตอบโจทย์ที่ผมได้วางไว้ให้แก่ผู้บริหารกระทรวง ว่าทุกเรื่องที่ทำต้องตอบโจทย์ 3 เสาหลักให้ได้ คือ 1.ความมั่นคงทางการคลังและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 2.การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า 3.แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและปัญหาความยากจน

เป็นคนละส่วนกับประชาวิวัฒน์

ประชาวิวัฒน์นี่ ผมขอขยายความเพราะเป็นศัพท์ใหม่แต่คนจะสับสนกันมาก แล้วก็ วิพากษ์วิจารณ์ผิดแนวเพราะว่าเอาไปเปรียบกับประชานิยมซึ่งมันแตกต่างกัน มาก เพราะประชาวิวัฒน์ไม่ใช่นโยบายแต่ประชานิยมเป็นนโยบาย ประชาวิวัฒน์เป็น กระบวนการได้มาซึ่งนโยบาย ฉะนั้นในตัวนิยามของประชาวิวัฒน์นี่เป็นประชานิยม ไม่ได้ เพราะมันเป็น Process ความหมายของผมคืออย่างนี้ ประชานิยม เวลาคนพูดถึงจะมีความเห็นเป็นเรื่องในเชิงลบ เพราะมันคือนโยบายที่มาจากนักการเมือง เป้าหมายหลักคือต้องการคะแนนเสียง ไม่มีความยั่งยืน และขาดความรับผิดในแง่ของการใช้เม็ดเงินงบประมาณ

แต่ประชาวิวัฒน์คือวิธีการบริหารแบบใหม่ วิธีการบริหารจัดการเพื่อตอบโจทย์ ของประชาชนที่นักการเมืองเป็นคนตั้ง บทบาทของนักการเมืองก็คือการตั้ง โจทย์ แล้วโจทย์นี้ก็มาจากการทำงานทางการเมืองของพวกเรา ไม่ว่าจะเป็น โครงการปฏิรูปประเทศไทย โครงการ 6 วัน 63 ล้านความคิดเห็น

เราคุยกันว่าน่าจะเอาทุกหน่วยงานที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาโจทย์ที่ เราได้ตั้งขึ้นมามาทำงานร่วมกัน แล้วก็หาคำตอบในเชิงนโยบายที่เขากลั่นกรองเองว่าปฏิบัติได้ แล้วต้องใช้เม็ดเงินงบประมาณให้น้อยที่สุด พอออกมาก็ต้องนำมาให้ฝ่ายการเมือง เราก็มีหน้าที่ต้องตัดสินใจว่าจะเอาไปสู่การปฏิบัติหรือไม่ แต่ว่านายกรัฐมนตรีได้พูดกับคนกลุ่มที่มาทำงานชัดเจนตั้งแต่แรก ว่าฝ่ายการเมืองให้คำมั่นว่า ถ้าคุณตกผลึกแล้วว่าเป็นนโยบายเราก็จะรับเป็นนโยบาย ฉะนั้น คนที่คิดนโยบายไม่ใช่การเมือง เป็นราชการ เป็นเอกชน หรือใครก็แล้วแต่ที่เขาเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ฉะนั้นมันถึงไม่ใช่ประชานิยม

ดังนั้น ประชาวิวัฒน์คือวิวัฒนาการของประชาชน แล้วมันเป็น Process ซึ่งต่อไปเราจะเอาวิธีการแบบนี้ไปใช้แก้ปัญหาอีกหลายๆ เรื่อง ผมถึงเอาภาค ธุรกิจไปด้วย เพราะผมคุยกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยไว้ ว่ามันมีโจทย์ทางเศรษฐกิจในแง่การพัฒนายุทธศาสตร์-คลัสเตอร์ทางธุรกิจของคุณ ที่ต้องทำร่วมกันกับรัฐบาล ซึ่งเอามาคิดร่วมกันผ่านกระบวนการนี้ได้

คนที่มาร่วมกันทำงานมีมากน้อยแค่ไหน

ทั้งหมด 30 กว่าหน่วยงาน แล้วก็คน 80 กว่าคน ทำงานเต็มเวลา แล้วยังมีการระดมความคิดเห็นของคนที่เกี่ยวข้องแต่ไม่ได้อยู่ในทีมนี้อีก 1,000 กว่าคน ตลอด 5 อาทิตย์ที่ทำงาน ผมมีหน้าที่เป็นฝ่ายเลขาฯ ของกระบวนการประชาวิวัฒน์ แล้วเราก็แยกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งที่ดูเรื่องค่าครองชีพ มีคุณกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เป็นหัวหน้าทีม แล้วก็มีคุณชุติมา บุญยประภัศร ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ที่คุณพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ มอบหมายมา อีกส่วนที่ดูเรื่องของแรงงานนอกระบบกับความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน เดิมทีจะเป็นคุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน แต่คุณอภิรักษ์ไปลงสมัคร ส.ส.ตั้งแต่ก่อนเริ่มงาน ผมที่อยู่ในส่วนดูแลการบริหารจัดการโดยรวม ก็เลยลงมาดู แล้วก็มีอาจารย์สังศิต พิริยะรังสรรค์ เป็นคนดูเต็มเวลาวันต่อวัน

ในส่วนประชาวิวัฒน์ตอนนี้ถือว่าได้ข้อสรุปหมดแล้ว พร้อมประกาศแล้ว

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. ทางทีมงานก็มอบรายงานให้นายกฯ หมดแล้ว ตอนนี้ฝ่าย เลขาฯ ก็ช่วยกับทางนายกฯ ในการกลั่นกรอง เพื่อให้นายกฯ เสนอต่อสาธารณชนได้ ในวันที่ 9 ม.ค. หลังจากนั้นผมก็มีแผนจะนำมาตรการทั้งหมดนี้เข้า ครม.อีกที เพื่อให้ยืนยันว่านี่คือนโยบายของรัฐบาล

จะไม่มีผลต่อวินัยทางด้านการเงินการคลังอย่างที่เป็นห่วงกัน

ไม่มี แล้วเศรษฐกิจจะดีขึ้น ผมบอกให้เมื่อประชาชนเข้มแข็งขึ้น แล้วทำไมเศรษฐกิจจะไม่ดีขึ้น ไม่ต้องใช้งบประมาณ ผมถามหน่อย มันประชานิยมตรงไหน ประชานิยมก็ตรงที่แค่ประชาชนจะนิยมเท่านั้นเอง

เป็นการดัดจริตไม่ยอมรับประชานิยม ทั้งๆ ที่เห็นว่าเป็นสิ่งที่ประชาชน ต้องการและนิยม แต่ที่ไม่ยอมรับเพราะเป็นเรื่องที่รัฐบาลอื่นทำมาก่อนหรือไม่

ไม่ใช่ ที่เราไม่ยอมรับก็เพราะว่าเวลาใช้คำว่าประชานิยม เราไม่ได้หมายความ เพียงแค่ว่าประชานิยม แต่เราหมายความว่ามันใช้งบประมาณสิ้นเปลือง ไม่รอบคอบ ถ้าเรามาจำกัดความว่าประชานิยมคือสิ่งที่ประชาชนชอบอย่างเดียว ผมไม่เถียง ทุกอย่างที่เราทำ เรื่องอะไรจะทำในสิ่งที่ประชาชนไม่ชอบ ผมไม่สามารถจะหาคำตอบในหลายๆ เรื่อง นี้ได้ ถ้าผมไม่ใช่วิธีการนี้ที่เป็นการบริหารอย่างบูรณาการ

ผมบอกได้เลยว่า ปัญหาหลายๆ เรื่องในอนาคตทั้งในรัฐบาลนี้และรัฐบาลหน้า คือเราต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานมาทำแบบนี้ มันถึงจะหาคำตอบได้ในหลายๆ เรื่อง คือมันเป็นวิธีการทำงาน และผมจะบอกว่าไม่เคยมีใครทำอย่างนี้ ไม่เคยมีใครจับทุกหน่วยงานมาเข้าค่าย ด้วยกันแบบนี้เพื่อที่จะทำงานร่วมกัน หาคำตอบออกมา เป็นนโยบายแบบแนวร่วมคือโอเค สิ่งหนึ่งที่มันเหมือนกับสิ่งที่คนอื่นเคย พยายามทำ คือตัวโจทย์ว่าเราช่วยแท็กซี่ยังไง ทักษิณเขาเคยตั้งโจทย์นี้ ผมก็ตั้งโจทย์นี้ แต่วิธีการหาคำตอบและลักษณะของคำตอบไม่เหมือน

เอาอันจริงเลยแล้วกัน แก้หนี้นอกระบบ ทักษิณก็เคยตั้งโจทย์นี้ ปี 2548 ขึ้นทะเบียนมา 1.5 ล้านคน ช่วยคนไป 7 หมื่นคน ไม่ได้ทำอะไรเลย แต่ว่าโจทย์เดียวกัน ผมตั้งโจทย์เหมือนกัน ปลายปี 2552 แต่วิธีการปฏิบัติต่างกันราวฟ้ากับดิน ผลก็ต่าง ของผมออกมา 4.6 แสนคน แล้วก็วิธีการ ผมตอบกับนักวิชาการก็ได้ ผมไม่ได้เคลียร์หนี้ให้ใคร ไม่ได้ยกหนี้ให้ใคร ผมรีไฟแนนซ์ เขายังเป็นหนี้อยู่แต่เป็นหนี้ที่มีเหตุมีผลแล้วก็เป็นภาระที่เขาแบกรับได้ ฉะนั้นโจทย์เหมือนกันจะบอกว่าประชานิยม ผมลอกนโยบายหรือเปล่า ไม่ใช่ เพราะปัญหาบ้านเมืองมันก็ยังเป็นปัญหาเดียวกันนั่นแหละ เพียงแต่คุณไม่เคยแก้

แล้วคิดว่าประชาวิวัฒน์จะมาแทนที่ประชานิยมได้ดีกว่า

หวังอย่างนั้น แต่บางเรื่องมันหลีกเลี่ยงไม่ได้หรอกที่จะต้องใช้เงิน แต่ว่า มันไม่ใช่การแจก มันมีสิ่งที่เราเคยทำที่ใกล้เคียงการแจกมากที่สุด เป็นการแจกเลย แต่มันอธิบายได้ มันมีตรรกะระดับหนึ่งแล้วก็ให้ผลดีในระดับหนึ่ง นั่นคือเช็คช่วยชาติ อันนั้นแจกตรงๆ เราก็พยายามกำหนดเกณฑ์ว่าอย่างน้อยประชาชนที่ได้เงินไปต้องเป็นคนยากจน แต่เราก็ตอบโจทย์ไม่ได้หมดด้วยนโยบายเดียว อันนั้นใกล้เคียงที่สุด แต่ว่ามันก็เวิร์ก เพราะการบริโภคภายในประเทศมันกระเตื้องทันที มันก็พออธิบายได้ว่า สุดท้ายมันมีผลในภาพรวมที่ไม่ได้ทำให้ทุกคนเสียหายแล้วมันเป็นครั้งเดียว ด้วย ไม่ได้แจกทุกปี

ใครเป็นคนคิดคำว่า ประชาวิวัฒน์ขึ้นมา

ส่วนตัวชื่อก็พยายามคิดให้สื่ออะไรบางอย่าง แต่มันประหลาด คือเที่ยวนี้เรา ทำงานกันจนเสร็จแล้ว เหลืออีกวันเดียวก่อนที่นายกฯ จะไปประกาศ ยังคิดชื่อกันไม่ได้เลย ปกติมันต้องคิดชื่อสวยหรูรอไว้ แต่อันนี้ทำกันมา 5 อาทิตย์อย่างเข้มข้น ยังไม่ได้เปิดตัวเลย มันกลับตาลปัตรกัน สักนิดนึงกับการทำงานการเมืองตามปกติ

ตอนแรกก็ฝากผู้ใหญ่ไว้เพราะเขาบอกว่าจะช่วยคิดชื่อให้ แต่สุดท้ายเขาคิดไม่ ออก ก็โยนกลับมา เราก็เหลือเวลาอีกนิดเดียว ก็นั่งคิดกันในกลุ่ม ชื่อนี้ก็ มาจากภรรยาผมเอง เขาเก่งภาษาไทยกว่าผมเยอะ ผมก็บรีฟทุกคนทีมงานที่นั่งกัน อยู่ว่าถ้าให้ผมบรรยายว่าที่เราทำอยู่คืออะไร จากนั้นให้พวกเราช่วยกันคิด เสนอไอเดียว่าชื่อมันควรเป็นอะไร ก็มีคนโยนมา หลายชื่อ จากนั้นเราก็โยนชื่อเหล่านี้กลับไปให้คนที่เขาทำงานกัน อยู่ 80 กว่าคน ว่าชอบอันไหน โดยไม่ได้บอกว่าใครคิด แล้วมันกลับมาแบบสูงที่ สุด ขาดเลย ก็คือประชาวิวัฒน์ จากประมาณ 4-5 ชื่อที่เสนอไปให้เลือก

ถ้าดูทั้งหมด ผลพวงจากประชาวิวัฒน์จะส่งดีต่อเศรษฐกิจปี 2554 อย่างไรบ้าง

พูดตามตรง คนถามคำถามนี้เหมือนกัน คำตอบคือผมยังไม่ได้คิดเลย ก็ถ้าประชาชน เข้มแข็งขึ้น ผมคิดว่าทุกอย่างก็น่าจะดีขึ้น ระบบดีขึ้น ปลดล็อกเรื่องต่างๆ ช่องทางในการทุจริต ความโปร่งใสมากขึ้น ความมั่นคงดี ทุกอย่างก็ดี

เหมือนสมัยผมทำงานบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ผมคุยกับผู้ถือหุ้นจนเขาเข้าใจว่า อย่ามาตั้งเป้ากำไรแต่ละปีให้ผมต้องทำเลย มันไม่ใช่เรื่อง เพราะว่าเวลาเรา ทำธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ มันขึ้นอยู่กับมูลค่าการซื้อขายแต่ละวัน ถ้ามูลค่าเยอะ เราก็กำไรเยอะ มูลค่าน้อยก็กำไรน้อย แล้วคุณจะมาตั้งเป้าทำไม เพราะผมไม่สามารถไปบอกคุณได้ คือเราเอาคุณภาพไว้ก่อน ถ้าผมให้บริการลูกค้าได้ดี ถ้าผมมีส่วนแบ่งการตลาดที่สูง แล้วสภาพในตลาดมันเอื้อ กำไรมันมาเอง ฉะนั้นวัดด้วยคุณภาพ ซึ่งในแง่ของประเทศ จีดีพีมันจะมาเอง

ปี 2553 ที่ผ่านมา ประเมินการทำงานของตัวเองอย่างไรบ้าง

ผมตั้งใจเต็มร้อยแล้วก็ทำงานกันหนักมาก กระตุ้นตัวเองตลอด เพราะการเมืองบ้านเราก็เป็นอย่างนี้ เราไม่รู้ว่าจะอยู่อีกกี่วัน ทุกวันตื่นขึ้นมา ผมก็บอกกับทีมงาน คอยเตือนกันอยู่เรื่อยๆ ว่า เราไม่รู้ว่าจะอยู่ที่นี่นานเท่าไหร่ ดังนั้น เรื่องอะไรที่อยากทำก็ต้องรีบทำเต็มที่

ปี 2553 ที่บอกทำ 100% แล้วคิดว่าได้มากี่เปอร์เซ็นต์

ในหลายๆ เรื่องพอใจ ถ้ามองย้อนไป การตัดสินใจสำคัญๆ หลายเรื่องในการแก้วิกฤติเศรษฐกิจ ผม ต้องบอกว่า เป๊ะ ผมแฮปปี้มาก ว่าเรารู้ว่าตอนนั้นเราต้องทำอะไรแล้วเรากล้าทำเพราะถูกด่าเยอะมาก ตอนทำมาตรการระยะสั้นกระตุ้นเศรษฐกิจก็ถูกด่าแล้วรอบ หนึ่ง พอมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยไทยเข้มแข็งก็ต้องอธิบายยาว แต่รู้ว่า มันเป็นเรื่องถูกต้องแล้วต้องทำ และรู้ด้วยว่าผลลัพธ์สุดท้าย ถ้าเราทำได้ดี มันจะไม่มีผลต่อเสถียรภาพ ต่างๆ ซึ่งมันก็ไม่มีหนี้สาธารณะก่อนกระตุ้นกับหลังกระตุ้นเท่ากันเป๊ะเมื่อ เทียบกับจีดีพี ก็แสดงให้เห็นว่าประเทศอื่นมีกี่ประเทศที่ทำได้อย่างนี้ นี่ คือสาเหตุที่แสตนดาร์ดแอนด์พัวร์ เขายกระดับเครดิตให้เรา

เรื่องนโยบายอย่างการแก้หนี้นอกระบบไม่เต็มร้อยเพราะไม่มีทางทำได้เต็มร้อย ถ้าจะรักษาวินัยด้วย คือถ้าผมตั้งใจบอกว่าจะช่วยทุกคนที่มาขึ้นทะเบียน แต่ รู้ทั้งรู้ผมดูก็ออกว่า ทุกคนที่มาขึ้นทะเบียน ข้อมูลที่ขึ้นไว้ไม่เป็นข้อมูลข้อเท็จจริง เราต้องกล้าที่จะปฏิเสธคนบางคน แต่ว่าเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ ถ้าช่วยคนได้สัก 3 แสนคน ถือว่าโอเค แต่สุดท้ายมันออกมาเกือบ 5 แสนคน ก็ถือว่าดี

แล้วก็เรื่องของไมโครไฟแนนซ์ลงตัว แบงก์ที่เกี่ยวข้องชัดเจน เรื่องของการบริหารธนาคารของรัฐอื่นๆ ให้เขาดำเนินงานตรงกับบทบาทของเขา ผมถือว่าไปได้ดี แล้วกำลังจะมีข้อสรุปต้นเดือน มี.ค. ผมได้ขอให้ธนาคารโลกมาสำรวจ คล้ายๆ กับว่ามาประเมินอีกทีว่าบทบาทหน้าที่ของแบงก์รัฐแต่ละแบงก์ควรเป็นอย่างไร และทำได้ตามนั้นหรือเปล่า แล้วตามภาวะที่เปลี่ยนไปทางเศรษฐกิจและการแข่งขัน ควรจะเปลี่ยนบทบาทหรือยัง ให้มีความเข้มข้นชัดเจนขึ้น เพราะบางแบงก์ตั้งมานานแล้ว ระหว่างนั้นภาค เอกชนเขาไปถึงไหนแล้ว อาจจะไม่มีความจำเป็นต้องไปตอบโจทย์นั้นให้กับสังคม แล้วเพราะเอกชนเขามาทำแล้ว ก็เปลี่ยนบทบาทได้ ฉะนั้น การปล่อยสินเชื่อและบทบาทแบงก์รัฐในช่วงมีวิกฤติ แบงก์รัฐมีความสำคัญมากต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

เดิมทีปี 2552 เขามีเป้าปล่อยกู้ 6 แสนล้านบาท สุดท้ายเราทำให้เขาปล่อยกู้ได้ 1.2 ล้านล้านบาท ในช่วงเศรษฐกิจขาลงด้วย เพราะฉะนั้นเขาได้ลูกค้าดีๆ ไปหมดเลย ฉะนั้น เวลาเศรษฐกิจฟื้นตัว ทุกอย่างกลายเป็นธุรกิจที่ดีหมด

การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ ต้องบอกว่าประสิทธิภาพดีขึ้นมาก อย่างเช่น พอน้ำท่วมเรามาใช้เครือข่ายธนาคารออมสินในการดูแลประชาชน 4.5 แสนคน ภายใน 2 เดือน เราสามารถเบิกจ่ายออกไปได้หมด ต้องบอกว่าเป็นตัวสะท้อนว่า ถ้าอาศัยระบบ ราชการแบบเดิมๆ อย่างเดียวมันยาก คือน้ำท่วมจ่ายออกไปหมดแล้วโดยธนาคารออมสินแต่ภัยแล้งก่อนหน้านั้น ป่านนี้ ยังไม่ได้จ่ายออกไปเลยในส่วนของภาคราชการ ดังนั้น ผมว่าเราได้มาปฏิรูปการทำงานในหลายๆ เรื่อง ทำให้มันมีความตื่นตัว ประสิทธิภาพสูงขึ้น

ปี 2554 พอจะให้ความหวังกับคนไทยได้หรือไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นกระต่ายร่าเริงได้หรือเปล่า

ผมว่าน่าจะดีขึ้นนะ ปีนี้ทุกอย่างก็ดีขึ้น ต้องบอกว่า ปี 2552-2553 ถ้ามองโดยรวมถือว่าแย่มาก แต่เรามาถึงจุดนี้ได้ต้องถือว่ามหัศจรรย์นะ ถ้า มองจากคนนอกประเทศ เขาบอกว่ามหัศจรรย์ คือเวลาคนเขาวิเคราะห์ประเทศไทย เขามองว่ามันไม่น่าเชื่อว่าคุณจะรอดมาได้ แล้วนอกจากนั้นเศรษฐกิจคุณในเชิงมหภาคในสายตาของเขา ดูเหมือนว่าแข็งแกร่งที่สุด เสถียรภาพทางการเงินการคลัง อะไรทุกอย่าง แน่น โป๊กเลย เขาไม่เข้าใจ เพราะดูจากภาพข่าวที่ปรากฏหน้าจอทุกวันๆ เหมือนประเทศมันจะแตก

แสดงว่ามองว่าการเมืองพ้นจุดเลวร้ายสุดไปแล้ว

แน่นอน แล้วเลือกตั้งผลออกมาเป็นอย่างไร ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แล้วเราสัมผัสได้ว่าไอ้ 2 ขั้วมันมีคนที่ยังฝักใฝ่น้อยลงทั้ง 2 ขั้ว คือในสังคมที่ดีต้องไม่มีขั้ว ทุกคนอาจจะมีความเห็นขัดแย้ง แต่ไม่ใช่ขั้ว ถ้าเป็นขั้วไม่ดี เพราะฉะนั้น ขั้วยิ่งมีน้อยเท่าไหร่ แม้แต่เหลืองกับแดง ถ้าไปถามเขา เขาก็ไม่อยากเห็นขั้ว เพียงแต่เขาอยากให้ทุกคนเห็นเหมือนเขาเท่านั้นเอง ฉะนั้น ถ้าขั้วมีกำลังน้อยลง แสดงให้เห็นว่าคนมันเริ่มมีความเหมือนกันมากขึ้น ซึ่งย่อมเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้วต่อสังคมโดยรวม

วางไว้แล้วใช่ไหมว่าจะทำอะไรช่วงไหนอย่างไร และหวังผลแค่ไหน

มี แต่อย่างเดียวที่ผมไม่รู้ คือไม่รู้ว่านายกฯ จะยุบสภาเมื่อไหร่

No comments:

Post a Comment