Saturday, January 15, 2011

ผู้นำแบบหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง

ผู้นำแบบหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: cw059, Leadership, ความเป็นผู้นำ, ผู้นำเป็นพิษ

ความหมาย

การแก้ปัญหาความขัดแย้งในแบบหลีกเลี่ยง (Conflict Avoidance) เป็นวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งแบบหนึ่งที่ยังมีความขัดแย้งกันในวิธีการคิด วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งแบบนี้ อาจหมายรวมถึงการเปลี่ยนเรื่องพูดคุย ไม่พูดถึงในสิ่งที่เป็นความขัดแย้ง หรือไม่นำสิ่งที่เป็นความขัดแย้งต่างๆมาพูดถึง แต่วิธีการนี้จัดว่าเป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่มีผลเพียงชั่วคราว เป็นการซื้อเวลา

ความแก้ปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวนี้อาจรวมถึงการ ไม่รับฟังความคิดเห็นที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง ซึ่งทำให้ขาดโอกาสในการจัดการกับปัญหาในแบบชนะหรือแพ้กันเด็ดขาด (Win-lose) หรือยอมแพ้ให้รู้ไปเลย (Lose-lose) หรือการแก้ปัญหาแบบชนะทั้งคู่ (Win-win)

การแก้ปัญหาความขัดแย้งแบบหลีกเลี่ยง (Conflict Avoidance) ต่างจากกระบวนการป้องกันความขัดแย้ง (conflict prevention) ดังเช่น การป้องกันปัญหาโรคเอดส์ วิธีการที่ดีที่สุด คือทำให้ตระหนักในปัญหา แล้วหาทางเตรียมการที่จะไม่ให้เกิดปัญหาโรคเอดส์ เพราะปัญหาโรคที่เกิดขึ้นนั้น การรักษาพยาบาลมีค่าใช้จ่าย และอาจหมายถึงการระบาดต่อ แต่การที่ปฏิเสธว่าไม่มีโรคเอดส์ในสังคมนั้นๆ อาจเป็นการแก้ปัญหาไม่ให้คนตกใจในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ในระยะยาวกลับเป็นผลร้ายอย่างมหันต์

การแก้ปัญหาแบบหลึกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัยหาดังนี้จัดได้ว่าเป็นการป้องกันปัญหา

การแก้ปัญหาแบบกล้ำกลืน

ในสังคมไทยมีสุภาษิตหนี่งกล่าวว่า แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร หรือในบางลักษณะว่า อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ หรือหากต้องไปอยู่ในสถานะที่จะขัดแย้ง กับคนพาลนั้น ให้หลีกเลี่ยงเสียดีกว่า ซึ่งบางทีผู้ใหญ่ก็สอนว่า เจอหมากัด อย่ากัดตอบ เพราะเป็นเรื่องจริงที่บางครั้งคนเราต้องเข้าไปขัดแย้งในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง เช่นไปทะเลาะตบตีกันในลานจอดรถด้วยการแย่งที่จอดรถ หรือบางที่ขัดรถปาดกัน แล้วนำไปสู่การทะเลาะและบางทีนำไปสู่การทำร้ายรุนแรง จนถึงใช้อาวุธเข้าประหัตประหารกัน อย่างนี้เป็นเรื่องที่ต้องคิดว่าสมควรต้องเข้าไปขัดแย้งหรือไม่ คนเราทุกคนมีกลไกในการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งด้วยกันทั้งสิ้น

แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า อะไรควรต้องเผชิญหน้า และอะไรควรปล่อยผ่าน หลีกเลี่ยงความขัดแย้งนั้นๆ

การแก้ปัญหาอย่างกล้ำกลืน (Concealers) Turner and Weed ได้นำเสนอว่ามีพวกแก้ปัญหาอย่างกล้ำกลืนอยู่ 3 ลักษณะดังกัน กล่าวคือ

1. พวกกล้ำกลืนความรู้สึก (Feeling-swallowers) คือการกล้ำกลืนความรู้สึกด้วยการแม้อยู่ในสถานะที่ก่อให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดและเครียด แต่จะคำนึงถึงภาพและการยอมรับของคนที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ และเห็นว่าการแสดงออกอย่างโกรธเกรี้ยวออกมาอย่างที่รู้สึกนั้น จะเป็นอันตรายเสียมากกว่า

2. พวกเปลี่ยนเรื่อง (Subject Changers) โดยมองเห็นว่าประเด็นแท้จริงนั้นเป็นเรื่องที่ยากเกินกว่าจะเข้าไปจัดการได้ โดยการเปลี่ยนเรื่องหรือประเด็นไปสู่สิ่งที่หลายฝ่ายสามารถเห็นด้วยได้ แต่การเปลี่ยนเรื่องนี้ ไม่สามารถทำให้เกิดการแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง และในทางตรงกันข้าม จะทำให้ปัญหาที่จะแก้ไขได้นั้น กลับสะสมหมักหมมจนสู่ระดับสายเกินไปที่จะแก้ไข แต่ในกรณีที่เรื่องนั้นๆไม่ใช่เรื่องใหญ่ ไม่ได้เป็นสาระ การตัดปัญหาด้วยการเปลี่ยนเรื่องจึงเป็นทักษะอย่างหนึ่ง ที่จะแก้ปัญหาด้วยการนำเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องมาขยายทำให้เกิดผลเสียหาย

3. พวกหลีกเลี่ยงไปเลย (Avoiders) โดยยอมออกนอกทางที่จะต้องไปเผชิญกับความขัดแย้ง เช่นอยู่ในตำแหน่งที่จะต้องตัดสินใจ และมองว่าจะตัดสินใจไม่ได้ ก็ลาออกจากตำแหน่งนั้นๆเสีย เช่น มีข้ออ้างว่าสุขภาพไม่ดี

ตัวอย่างนายกฯ Chamberlain

Arthur Neville Chamberlain เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1869 – 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 เป็นนักการเมืองจากพรรคอนุรักษ์ของอังกฤษ (British Conservative politician) ซึ่งได้ทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงของสหราชอาณาจักร (Prime Minister of the United Kingdom) ในช่วงเดือนมีนาคม 1937 ถึงมีนาคม ค.ศ. 1940 เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ยอมต่อการรุกราน (appeasement) ด้านนโยบายทางการทูต ที่ปล่อยให้เขต Sudetenland ของประเทศเชคโกสโลวาเกีย (Czechoslovakia) ให้แก่เยอรมันนาซีในยุคของฮิตเลอร์ แต่ในที่สุด เมื่อ Adolf Hitler ได้ขยายการรุกรานกว้างขึ้น อังกฤษในที่สุดก็ต้องประกาศสงครามกับเยอรมันในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939 และ Chamberlain ได้รับตำแหน่งในช่วง 8 เดือนแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนที่จะเกิดรัฐบาลแห่งชาติในสมัยของนายกรัฐมนตรีวินส์ตัน เชอร์ชิล (Sir Winston Leonard Spencer-Churchill) ซึ่งเป็นรัฐบาลสงคราม

Chamberlain ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 แต่ในช่วงดังกล่าวก็ยังคงมีตำแหน่งเป็นผู้แทนราษฎรในรัฐสภา กรณีการยอมต่อฮิตเลอร์ในช่วงเริ่มแรกนั้น หากมองได้ในอีกแง่หนึ่ง คืออังกฤษเองก็ยังไม่มีความพร้อมที่จะเข้าสู่สภาพสงคราม แต่มองอีกด้านหนึ่ง เพราะการยอมฮิตเลอร์นั้น ไม่ได้ช่วยให้ไม่เกิดสงคราม เพราะอย่างไรเสียฮิตเลอร์ก็จะใช้กำลังทหารขยายอิทธิพลไปเรื่อยๆ หากมองในกรณีหลังนี้เอง ท้ายสุด อังกฤษก็ต้องตัดสินใจเข้าสู่สงครามกับเยอรมันอย่างไม่มีทางเลือก และต้องเลือกผู้นำอย่างวินส์ตัน เชอร์ชิล ในสถานะการต้องนำในสถานการณ์สงครามเต็มรูปแบบ

No comments:

Post a Comment