กฎข้อที่ 5 จงรักษาชื่อเอาไว้ยิ่งชีวิต
ศึกษาและเรียบเรียงจาก “กฎการใช้อำนาจ
48 ข้อ” The 48 Laws of Power”, 1998
โดย Robert Greene and Joost Elffers.
Keywords: power48, Administration, การบริหาร, management, การจัดการ, power, อำนาจ
Much Depends on Reputation – Guard it with your Life
ทุกสิ่งขึ้นอยู่กับกิตติศัพท์
รักษามันไว้ด้วยชีวิต
Reputation ตามพจนานุกรม เป็นคำนาม = ชื่อเสียง,
กิตติศัพท์, เกียรติภูมิ,เกียรติ, ความดัง, ความมีหน้ามีตา,
ความเลื่องลือ, ความเด่นดัง
คำว่า Reputation นั้นหมายถึงกิตติศัพท์ที่คนเขาเล่าลือ
ซึ่งอาจเป็นจริงหรือไม่จริงเสียทั้งหมดก็เป็นได้ ในบริษัท
หากบริษัทได้ทำดีมีผลงานจนคนล่ำลือ เขาเรียกว่า Corporate Image คือภาพลักษณ์ของบริษัท
ภาพลักษณ์หรือคำเขาเล่าลือนั้นส่วนหนึ่งก็เกิดจาดการสั่งสมความเชื่อถือที่มีมายาวนาน
นานจนคนเขาเกิดความเชื่อและศรัทธา ในทางธุรกิจเกิดสิ่งที่เรียกว่า Brand
Royalty
ภาพ กิตติศัพท์ของนักรบชาวมองโกล (Mongol) คือ เคลื่อนพลเร็วด้วยทัพม้า ดุดันด้วยการบุกใช้ดาบฟัน ใช้ธนูยิงได้อย่างแม่นยำจากหลังม้าที่เคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว
ภาพ กองทัพที่กิตติศัพท์เล่าลือไปไกล ทำให้ศัตรูลังเลเสียขวัญ หากยอมแพ้จะได้รับความปราณี แต่หากต่อสู้ก็จะได้รับความตายอย่างโหดเหี้ยม
ภาพ เตมูจิน (Temujin) ภาพวาดตามจินตนาการของการออกศึก นำทัพ
ภาพ ผู้นำเผ่ามองโกล เตมูจิน (Temujin) ซึ่่งต่อมาคือ เจงกิส ข่าน (Genghis Khan) จอมจักรพรรดิ์นักรบผู้ยิ่งใหญ่ กิตติศัพท์เล่าลือไกล
อีกตัวอย่างที่ยิ่งใหญ่ คือ
กษัตริย์ยอดนักรบชาวมองโกล ชื่อ เจงกิส ข่าน (Genghis Khan) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม
เตมูจิน (Temujin) ซึ่งเป็นผู้นำรวมเผ่าของมองโกล ในราวศตวรรษที่
1200 มีศัตรูที่ยังเหลืออยู่ซึ่งล้วนเป็นเผ่าที่แข็งแกร่ง
คือพวกไนมัน (Naimans) ทางตะวันตก เมอร์กิต (Merkits)
ทางทิศเหนือ พวกทังกุต (Tanguts) ทางภาคใต้
และพวกจิน (Jin) และทาทาร์ (Tatars) ทางตะวันออก
ในราวปี ค.ศ. 1190 เตมูจิน กับผู้ตาม
และที่ปรึกษาของเขาได้รวมชนกลุ่มเล็กๆน้อยๆ เขาเป็นสมาพันธ์ได้เท่านั้น
ในความพยายามของเขาที่จะชนะเผ่าคู่ปฏิปักษ์
เตมูจินได้เปลี่ยนวิธีการที่แตกต่างจากที่เคยยึดถือโดยพวกมองโกลในอดีต
โดยเขามอบอำนาจให้กับคนตามผลของงานและความสวามิภักดิ์ (Merit and Loyalty) แทนที่จะเป็นรางวัลตามสายสัมพันธ์ในครอบครัว ส่วนรางวัลนั้น เขาให้รางวัลสำหรับคนที่เชื่อฟังอย่างไม่มีเงื่อนไข
และอยู่ในกรอบของกฎหมายของเขาที่เรียกว่า “กฏยัสซา” (Yassa Code) โดยเตมูจินได้สัญญากับพลเรือนและทหารว่า
เขาจะให้ความมั่งคั่งที่จะได้ในอนาคต (War spoils) แกผู้ที่ทำให้รบชนะสงคราม
และเตมูจินก็ทำตามสัญญานั้นๆ
เมื่อเขารบชนะสงคราม เขาไม่ได้ไล่ทหารศัตรูเพียงไปให้พ้น
หรือสังหารทิ้ง แต่เขาจะครองเผ่าที่ชนะ แล้วปกป้องและประสานเผ่าเหล่านั้นให้เป็นส่วนของเผ่าของเขา
แม้กระทั่งเขาให้มารดาของเขารับอุปถัมภ์เด็กที่กำพร้าจากสงคราม
แล้วนำมาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ในขณะเดียวกัน
เขาได้จูงใจให้คนที่เขารบชนะนี้ให้มีความสวามิภักดิ์อันยิ่งใหญ่ให้กับส่วนรวม มิใช่เพียงเผ่าใดเผ่าหนึ่ง
ซึ่งทำให้เตมูจินยิ่งมีกิติศัพท์ที่แพร่ขจาย
ยิ่งแข็งแกร่งขึ้นในทุกครั้งที่ชนะสงคราม
อีกตัวอย่างในทางการค้าปัจจุบัน
เราทำร้านอาหารมีชื่อ คนมาอุดหนุนมากมาย แต่วันหนึ่งเราขายอาหารไม่ออก
เลยนำอาหารเหลือค้างจากวันก่อนมาอุ่นและขายต่อไปอีกเพื่อเป็นการลดต้นทุน
แต่ปรากฏว่าอาหารนั้นบูดเสีย กลายเป็นอาหารเป็นพิษ ลูกค้ามารับประทานอาหาร
ต่างเจ็บป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาล ดังนั้น ชื่อเสียงที่ได้มาด้วยความยากลำบาก
ก็ต้องพลอยเสียหายไปด้วย และยากที่จะปรับปรุงให้ดีได้อีกในเวลาอันสั้น
มองในอีกด้านหนึ่ง หากเจ้าของกิจการยอมตัดใจ
รักษามาตรฐานอาหาร อาหารที่ไม่สดพอ ก็เททิ้ง ขจัดเสีย
เพื่อรักษาชื่อเสียงของร้านอาหารเอาไว้ ผลคือชื่อเสียงของร้านของเขาก็จะไม่เสียหาย
ในบริษัทผู้ผลิตรถยนต์
บางครั้งเราจะเห็นเขาเรียกรถกลับ (Recall) นับเป็นแสนคัน เพื่อซ่อมและปรับปรุง
โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ด้วยเขาพบว่ารถยนต์ที่เขาผลิตออกไปนั้นยังมีปัญหาหรือจุดอ่อนอยู่
บางครั้งการเรียกรถกลับไปนั้นอาจมีจำนวนเป็นแสนๆ คันก็เคยมีให้เห็น เขาเรียกกลับไปตรวจสอบ
หากไม่สมบูรณ์ก็ซ่อมให้ดีโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
ปรับปรุงแก้ไขก่อนที่รถจะไปประสบอุบัติเหตุ บริษัทอาจถูกฟ้องร้อง
นำชื่อเสียงเสียหายต่อบริษัทไปในระยะยาวที่ยากกจะแก้ไข
No comments:
Post a Comment