Keywords: การศึกษา, โรงเรียนขนาดเล็ก, การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา,
ICT for Education, ถาวร พอสม, อุดม หอมคำ, ธัญญเทพ สิทธิเสือ
ผมขอตอบปัญหาที่เกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กในประเทศไทยดังนี้
คำถาม: โรงเรียนขนาดเล็ก
คืออะไร
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีภารกิจหลักคือ
จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร
ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีสถานศึกษาในสังกัด 32,879 แห่ง สถานศึกษาดังกล่าวนี้เป็นสถานศึกษาที่มีนักเรียนต่ำกว่า
120 คนลงมา 10,877 แห่ง
และในจำนวนนี้เป็นสถานศึกษาที่มีขนาดเล็กมาก กล่าวคือมีนักเรียนต่ำกว่า 60 คนลงมา ถึง 1,766 แห่ง
ในทัศนะของสพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ สถานศึกษาขนาดเล็กเหล่านี้
ส่วนใหญ่มีปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือ
1.1 นักเรียนจากสถานศึกษาขนาดเล็กมีคุณภาพค่อนข้างต่ำ
เมื่อเปรียบเทียบกับสถานศึกษา ขนาดอื่น ๆ
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะโรงเรียนขาดความพร้อมทางด้านปัจจัย เช่น มีครูไม่ครบชั้นเรียน
ขาดแคลนสื่อการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์ โดยเฉพาะสื่อและเทคโนโลยีที่มีราคาแพง
ทั้งนี้ เนื่องจากเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณส่วนใหญ่ใช้จำนวนนักเรียนเป็นเกณฑ์ในการจัดสรร
1.2
สถานศึกษาขนาดเล็กส่วนใหญ่ขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
กล่าวคือมีการลงทุนค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับสถานศึกษาขนาดที่ใหญ่กว่า เช่น
อัตราส่วนครู : นักเรียน ซึ่งตามมาตรฐานต้อง 1 : 25
แต่สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก อัตราส่วนครู: นักเรียน เท่ากับ 1:8 -11 เท่านั้น
มีประเด็นในทางเลือกในการจัดการที่หลากหลาย
คำถาม: ส่วนกลางมีการดำเนินการอย่างไร
สถานศึกษาขนาดเล็กดัง
ส่วนใหญ่เป็นสถานศึกษาในสังกัดเดิมของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
และตั้งแต่ปีการศึกษา 2536 เป็นต้นมา
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
(ปัจจุบันคือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ได้พยายามดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กในหลาย
ๆ รูปแบบ สถานศึกษาใดที่สามารถยุบรวม (Merging) และเลิกล้มได้
ก็ได้ดำเนินการไปตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ
ซึ่งการดำเนินการยุบรวมและเลิกล้มสถานศึกษานั้น
เป็นไปตามความสมัครใจในระดับพื้นที่
ส่วนสถานศึกษาขนาดเล็กที่ไม่สามารถยุบรวมได้ก็ได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการศึกษาหลากหลายรูปแบบ
เช่น ห้องเรียนเคลื่อนที่ ครูหลังม้า การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
ปีการศึกษา
|
จำนวนสถานศึกษา
ขนาดเล็ก* |
จำนวนสถานศึกษา
มารวมแต่ละปี |
จำนวนสถานศึกษา
มารวมทั้งสิ้น |
2536
|
10,741
|
25
|
25
|
2537
|
11,247
|
291
|
316
|
2538
|
11,276
|
55
|
371
|
2539
|
11,432
|
54
|
425
|
2540
|
10,649
|
150
|
575
|
2541
|
11,044
|
395
|
970
|
2542
|
10,969
|
258
|
1,228
|
2543
|
10,934
|
138
|
1,366
|
2544
|
10,970
|
282
|
1,648
|
2545
|
10,735
|
172
|
1,820
|
2546
|
10,877
|
468
|
2,288
|
* โรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียนต่ำกว่า 120
คน ในการสำรวจล่าสุดเท่าที่ปรากฏใน Website ของกระทรวงศึกษาธิการ
ในปีล่าสุด (2546) หรือเมื่อ 9
ปีที่ผ่านมา ยังคงมีโรงเรียนขนาดเล็กอยู่ 10,877 โรงเรียน
ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน
ที่ผ่านมาพบว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพสถานศึกษาขนาดเล็ก
ยังมีปัญหาอุปสรรคบางประการ คือ
1)
นโยบายเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็กไม่ชัดเจนและเปลี่ยนแปลงบ่อย ไม่ต่อเนื่อง
ทัศนะ:
เห็นด้วย เพราะในช่วงเวลา 10-12 ปีที่ผ่านมา
ได้มีการเปลี่ยนรัฐมนตรีศึกษาธิการไปแล้วกว่า 12 คน
ระบบการเมืองและพรรคการเมืองไม่เห็นความสำคัญของความต่อเนื่องในนโยบายทางการศึกษา
2) ผู้บริหารสถานศึกษายังยึดติดกับตำแหน่ง
ไม่ต้องการให้มีการยุบรวมสถานศึกษา
เพราะขาดความมั่นใจว่าเมื่อสถานศึกษาที่ตนเองครองตำแหน่งอยู่ถูกยุบรวม
เลิกล้มไปแล้ว ตนเองจะมีตำแหน่งอยู่ที่ใด
ทัศนะ:
มีส่วนถูก แต่ยังไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด
3) ค่าพาหนะที่นักเรียนได้รับวันละ 6
บาทนั้นค่อนข้างน้อย ไม่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน นอกจากนั้นในบางปี
งบประมาณยังล่าช้าหรือถูกตัด
ทัศนะ:
เห็นด้วยว่าเงินสนับสนุนค่าเดินทางวันละ 6 บาท
สำหรับค่าเดินทางไปกลับของนักเรียนแต่ละวันนั้นไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง
ที่น้ำมันได้ขึ้นราคามาตลอด ค่ารถเมล์เที่ยวละ 10 บาท ไปกลับ
2 เที่ยวต่อวันเท่ากับ 20 บาท
หากประมาณการเอาจากค่ารถทัวร์วิ่งทางไกล กิโลเมตรละ 1.5 บาทโดยประมาณ
วันหนึ่งเด็กนักเรียนเดินทางไปกลับ 10 กิโลเมตรโดยเฉลี่ยก็ตกประมาณ
15 บาทต่อวัน
4) ชุมชนบางส่วนต่อต้านการยุบรวมสถานศึกษา
เพราะมีฐานสร้างสนับสนุนโรงเรียนไม่มั่นใจในมาตรการที่จะรองรับ
5)
การใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างโรงเรียนยังไม่ค่อยได้ผลดีนัก
จากปัญหาและอุปสรรค์ดังกล่าว
หากไม่รีบปรับปรุงแก้ไขก็จะทำให้นักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กเหล่านั้นได้รับกาศึกษาที่ไม่ได้มาตรฐานกลายเป็นนักเรียนด้อยโอกาสที่จะเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญด้วยเหตุนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จึงได้จัดทำโครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กนี้ขึ้นมา
ทัศนะ:
ที่นำเสนอดังกล่าวเป็นทัศนะที่เตรียมโดยสพฐ. จากส่วนกลาง
แต่โรงเรียนอยู่ในชุมชน ซึ่งชุมชนเองอาจมีทางเลือกในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันไป
และสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและความต้องการได้มากกว่า
ต่อไปนี้เป็นทัศนะที่เปิดให้มีการเสวนาออนไลน์
ผ่าน Facebook และการนำเสนอบทความข้อคิดใน blogspot.com
และอื่นๆ
มีประเด็นคำถามดังต่อไปนี้
คำถาม: เด็กเล็กควรอยู่โรงเรียนใกล้บ้านใช่หรือไม่?
เด็กเล็ก หรือเด็กในวัยอนุบาล และประถมศึกษา
ซึ่งอยู่ในวัยประมาณไม่เกิน 12 ปี จัดเป็นเด็กเล็ก
การจะต้องไปเรียนในสถานที่ไกลจากบ้านหรือชุมชนมากๆ จำเป็นต้องมียานพาหนะที่มีลักษณะเฉพาะ
เพื่ออำนวยความสะดวก และความปลอดภัย ซึ่งในต่างประเทศดังในสหรัฐอเมริกา
เขาจะมีรถนักเรียน หรือ School buses ซึ่งทำให้ต้องมีระบบจัดการ
มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
การมีโรงเรียนใกล้บ้านจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายด้านการเดินทาง
แต่ขณะเดียวกัน ระบบการศึกษาไทยกำลังเผชิญกับการมีผู้เรียนเกิดน้อยลง แต่ยังมีโรงเรียนขนาดเล็กที่คงอยู่แต่มีนักเรียนลดลง
ที่ทำให้ค่าใช้จ่ายรายหัวของผู้เรียนสูง เขาเรียกว่าขาด Optimization หากบริหารตามระบบอย่างที่เป็น เขาประมาณกันว่าขนาดของโรงเรียนที่พอเหมาะ
ควรมีผู้เรียนไม่น้อยไปกว่า 100-120 คน
แต่หากมีผู้เรียนที่น้อยไปกว่านี้
ก็ต้องคิดถึงวิธีการเรียนการสอน
การใช้บุคลากรทางการศึกษาในแบบอื่นๆที่มีความเหมาะสมกว่า
การจะตอบว่าควรจะดำเนินการอย่างไร เช่น ควรปิดหรือไม่
หรือควรจะจัดการกับปัญหาอย่างไรนั้น ต้องพิจารณาเป็นกรณีๆไป เช่น
หากเป็นโรงเรียนในเขตภาคอีสาน
ที่เป็นพื้นที่ราบ มีการคมนาคมที่สะดวก มีโรงเรียนที่มีคุณภาพ
สามารถรองรับได้ในรัศมีไม่ไกลจากเดิม (ภายใน 4-5 กิโลเมตร) ทางเลือกในการยุบรวมสถานศึกษาขนาดเล็กเข้ากับโรงเรียนใกล้เคียง
ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง
หากเป็นโรงเรียนในเขตภูเขาในภาคเหนือ
หรือบางเขตที่ทางสัญจรยังไม่ดี เช่นในเขตชาวเขา หรือในทางภาคใต้ มีชุมชนชาวเกาะ
ที่ยากแก่การเดินทางในแต่ละวัน ก็เป็นการยากที่จะยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก
แล้วให้นักเรียนไปเรียนในโรงเรียนใกล้เคียง
คำถาม: การลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับการศึกษาที่มีคุณภาพควรเป็นอย่างไร?
การจะดูว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุนนี้
อยากให้ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล (Efficiency
and Effectiveness)
ไม่ใช่พิจารณาเพียงค่าใช้จ่ายในระยะเท่าที่เห็น
โดยเป็นการมองภาครัฐบาล แต่ต้องมองค่าใช้จ่าย
ค่าเสียโอกาสได้โอกาสของประชาชนแต่ละคนร่วมไปด้วย
ไม่ใช่เพียงพิจารณาภาระด้านระบบการศึกษา
แต่ต้องมองถึงโอกาสในการพัฒนาและสร้างความแข็งแกร่งของชุมชนด้วย
การมีโรงเรียนในแดนห่างไกล ได้ให้ความรู้และการฝึกอาชีพ การมีศูนย์รวมของชุมชน
ย่อมดีกว่าการที่ชุมชนอ่อนล้า แล้วในที่สุดก็ล่มสลาย กลายเป็นชุมชนร้าง
การคิดต้องอย่าให้คิดติดกรอบแบบราชการส่วนกลางเสมอไป
- การมีโรงเรียนขนาดเล็กในแบบราชการดังปัจจุบัน ทำให้มีค่าใช้จ่ายรายหัวสูงมาก
ยกตัวอย่างมีครู 6-7 คน รวมครูใหญ่ แต่มีผู้เรียนเพียง 60
คน หรือครู 1 คนต่อผู้เรียน 10 คน ในขณะที่มาตรฐานทั่วไปอยู่ที่ครู 1 คนต่อผู้เรียน
18-20 คน ดังนี้ก็จะเป็นการยากที่จะบริหารโรงเรียนในรูปแบบเดิม
แต่การคิดแบบเด็กนักเรียนเป็นฐาน
โรงเรียนเป็นฐาน หรือชุมชนเป็นฐาน อาจมีทางเลือกในการดำเนินการอื่นๆ
ทางเลือกทางหนึ่ง
คือพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้เป็น “โรงเรียนชุมชน” (Community schools) นั่นคือยกโรงเรียนให้อยู่ภายใต้การบริหารของท้องที่ อาจจะเป็นหมู่บ้าน
หรือตำบล หรือเป็นองค์กรที่ชาวบ้านจัดตั้งกันเอง
มีระบบจัดการเรียนการสอนในแบบที่เขาเลือก
โดยใช้เงินสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายรายหัวตามที่รัฐบาลกำหนด (Cost per head) ยังคงใช้สถานที่เรียนคือโรงเรียนเดิม แต่โรงเรียนที่มีพื้นที่พอ
สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อกิจการของชุมชนอย่างอื่นๆได้ เช่น การเป็นห้องสมุดชุมชน
การฝึกอบรมสัมมนา ไม่เพียงใช้สอนเด็กๆ แต่ใช้เพื่อการศึกษาของผู้ใหญ่ด้วย
ทางเลือกที่สอง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการศึกษา
(ICT for Education) ซึ่งอาจใช้ควบคู่กันกับทางเลือกที่หนึ่ง
คือ โรงเรียนขนาดเล็กจะขาดครูผู้มีความเชี่ยวชาญ
ก็อาศัยระบบเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ โดยพัฒนาชุดการเรียนออนไลน์ (E-Courseware)
โดยลดบทบาทครูผู้สอนที่จะต้องทรงความรู้ และทำให้สามารถใช้ครูที่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้รู้ในทุกเรื่อง
แต่เป็นผู้แนะนำการเรียนการสอนในระบบออนไลน์
เรื่องของ Network สิ่งที่สำคัญ
โรงเรียนขนาดเล็กที่จะใช้ทางเลือกแบบที่สองได้ ก็ต้องมีเครื่องมือทาง IT อย่างเหมาะสมเพียงพอ โดยเฉพาะระบบเครือข่าย ซึ่งในปัจจุบัน
การมีระบบเครือข่ายใช้สายดัง ADSL หรือระบบไร้สายผ่านระบบ Cellular
ที่มีความเร็วสูง ที่เรียกว่า 3G หรือต่อไปจะเป็น
4G ตลอดจนการใช้ระบบโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม Satellite
TV ซึ่งในปัจจุบันจะเป็นระบบ Digital และสามารถใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง
และใช้ร่วมกับระบบสื่อสารสองทางได้ จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
ทดแทนการขาดแคลนครู วัสดุการเรียนการสอน ห้องสมุด และอื่นๆได้ด้วย
ทางเลือกที่สาม
การมองเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management – HRM) หากคิดว่าครูทุกคนเป็นข้าราชการหมด ก็ต้องคิดในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการ
ฯลฯ แต่หากคิดการระดมคนเพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา ครูมีได้หลายลักษณะ
พ่อแม่ผู้ปกครอง ชาวบ้าน ก็มาช่วยกันสลับเป็นครู
เช่น การสอนด้านการเกษตร การอาชีพ การมาช่วยกันแบ่งปันด้านอาหารการกิน
ใช้พืชผลจากท้องถิ่น
คนสูงอายุ พ่อแก่แม่แก่
ผู้เกษียณอายุจากการทำงานหนัก อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ก็สามารถมาช่วยกันรวมตัว เป็นบุคลากรสนับสนุนทางการศึกษา
ส่วนเรื่องค่าตอบแทนนั้นจะเป็นเรื่องรอง
คนมีการศึกษาในประเทศ ดังกรณีตัวผู้เขียนเอง
เมื่อเกษียณอายุ ก็อยากจะทำงานอย่างที่ชอบ คือให้ความรู้
โดยไม่จำเป็นต้องมีค่าตอบแทน ช่วยสอนพ่อแม่ให้รู้จักสอน
สอนปู่ย่าตายายให้รู้จักรักลูกให้ถูกทาง และพิสูจน์ได้ว่า
สามารถช่วยงานได้ในระบบออนไลน์
สรุปว่า อย่าคิดติดยึดกับวิชาชีพครู
โดยคิดเอาสวัสดิการ สวัสดิภาพของครูเป็นตัวตั้ง หากปล่อยให้มีทางเลือกที่หลากหลาย โรงเรียนขนาดเล็กจะมีวิธีใช้ความคิดสร้างสรรค์
ระดมสรรพกำลังเพื่อพัฒนาการศึกษาของเขาไปได้ หากเขามีทางเลือก
คำถาม: ขนาดห้องเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพควรเป็นอย่างไร?
หากเราใช้ระบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered)
มีระบบการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น ก็ย่อมจะไม่ต้องยึดติดกับขนาดของห้องเรียน
หรือหากยังต้องการใช้ระบบห้องเรียนแบบทั่วไปบ้าง ก็สามารถจัดระบบห้องเรียนใหม่
เช่น ให้ 2 ชั้นต่อ 1 ห้อง นักเรียน 60
คน ใช้ 3 ห้องเรียน
ขนาดของห้องเรียน
มีผลต่อการจัดรูปแบบการเรียนการสอน แต่หากเราจัดการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม โรงเรียนที่มีขนาดเล็ก
กลับจะเป็นโอกาสที่จะให้ความเอาใจใส่นักเรียนได้มากขึ้น
โรงเรียนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดระบบหนึ่งในปัจจุบัน คือ Home schools ระบบ “บ้านเรียน” หรือนักเรียนเรียนที่บ้าน โดยมีพ่อแม่เป็นครูหลัก ที่เป็นเช่นนี้ได้ เพราะสังคมยุคใหม่มีเครื่องมือการสื่อสาร มีหนังสือเรียน ชุดการเรียนต่างๆ ที่ผู้ปกครองสามารถหาซื้อเพื่อเสริมการเรียนการสอนได้
คำถาม: สัดส่วนครูต่อนักเรียน (ศักยภาพครูในการดูแลเด็ก)
ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน
แต่ในหลายประเทศจะพยายามให้มีสัดส่วนครู-ผู้เรียนต่ำ ลดภาระงานของครูต่อผู้เรียน
แต่ในบางประเทศในเอเชีย ดังในเกาหลีใต้ สัดส่วนของผู้สอนและผู้เรียนอยู่ในเกณฑ์สูง
แต่ก็สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทางออกคือการต้องออกแบบการเรียนการสอนและระบบโรงเรียนขนาดเล็กใหม่
ให้สอดคล้องกับโอกาสใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเรียนออนไลน์ ระบบทดสอบออนไลน์
และรวมถึงการขนย้ายผู้เรียนไปมีประสบการณ์ทางการเรียนรู้ในที่อื่นๆ เป็นครั้งคราว
คำถาม: ปริมาณงาน/โครงการ/
เส้นทางวิชาการของบุคลากร
ครูในอนาคตจะมีความหลากหลายยิ่งขึ้น
อย่ายึดติดกับครูในระบบราชการ (Bureaucratic teachers) ครูสามารถลดบทบาทหน้าที่ผู้สอนหน้าชั้นลงไปได้มาก
โดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุน
แต่ผู้เรียนยิ่งขนาดเล็ก
ก็ต้องการครูที่จะมีส่วนในการพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development) ซึ่งหมายรวมถึง การพัฒนาทางด้านจิตใจ สังคม อารมณ์ สุขนิสัย
การออกกำลังกาย ฯลฯ ครูอาชีพในแบบนี้ยังต้องมีอยู่
คงต้องมีครูบางส่วนที่มีพื้นฐานทางจิตวิทยาพัฒนาการที่ดี ทำการศึกษาเด็กเป็นรายคน
โดยเน้นเด็กส่วนล่างที่มีปัญหา พิการด้านร่างกาย บกพร่องด้านสติปัญญา
ครอบครัวมีฐานะยากจนช่วยตัวเองไม่ได้ เด็กและครอบครัวเหล่านี้ต้องการความช่วยเหลือเป็นรายกรณี
และเด็กส่วนบน คือมีปัญญาเลิศ มีพรสวรรค์
ไม่เหมาะสมที่จะปล่อยให้เรียนไปตามกลุ่มทั่วไป เด็กส่วนนี้ บางครั้งหากระบบการศึกษาไม่สามารถตอบสนองต่อเขาได้
ก็จะกลายเป็นเด็กละทิ้งการศึกษาไป
สังคมต้องการครูแนะแนว (Guidance and Counseling)
ครูการศึกษาพิเศษ (Special
Education) ผู้เชี่ยวชาญด้านวัดผลประเมินผล
ส่วนการบริหารการให้บริการนั้นต้องมีการออกแบบที่เหมาะสมแก่แต่ละท้องที่
แต่เนื่องด้วยเนื้อหาสาระ มีอยู่มากมาย (abundant
Content) ที่หากวางระบบดีๆ เปลี่ยนเนื้อหาที่เป็นกระดาษและสื่ออื่นๆ
เพื่อให้ใช้ในแบบออนไลน์ได้อย่างสร้างสรรค์
เหล่านี้จำเป็นต้องมีส่วนงานพัฒนาเนื้อหาสาระ ซึ่งอาจจะเป็นภาคเอกชน
องค์กรแสวงกำไรและไม่แสวงกำไร แล้วระบบการศึกษาก็สามารถเลือกรับบริการ (Subscribe)
โดยเสียค่าใช้จ่ายสนับสนุนเป็นรายปี แต่ไม่ต้องไปซื้ออย่างขาดตัว
เพราะจะทำให้ไม่มีระบบพัฒนาต่อเนื่อง
ส่วนระบบงานพัฒนานั้นก็ต้องมุ่งพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง ระบบต้องมี Version
ใหม่ๆออกมา ที่มีทั้งเนื้อหาที่ปรับปรุงขึ้น รูปแบบ
และโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง
คำถาม: งบประมาณควรเป็นอย่างไร
เพราะอะไร
รัฐบาลกลางสำหรับประเทศมีประชากรขนาด 65-70
ล้านคน ย่อมมีขนาดใหญ่เกินไปที่จะบริหารแบบรวมศูนย์
โดยเฉพาะในระบบการศึกษา งบประมาณจากรัฐบาลกลางควรจัดให้กับท้องถิ่นอย่างยุติธรรม (Equalization
funds) และให้โอกาสท้องถิ่นแสวงหาทรัพยากรเพิ่มเติมตามขีดความสามารถของตนเอง
และตามความมุ่งหวังที่แตกต่างกันไป
อย่างไรก็ตาม
หากรัฐบาลส่วนกลางสามารถจ่ายเงินสนับสนุนรายหัวผู้เรียน หากเริ่มต้นในปัจจุบัน
คงตกที่หัวละ 15,000-18,000 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด
รวมที่ดิน สิ่งก่อสร้าง เงินเดือนครูและบุคลากร ค่าพลังงาน ประปา และในส่วนนี้
ผู้เขียนคิดว่า หากท้องถิ่นในหลายๆองค์กร เช่น อบต. อบจ. วัด
รวมถึงการสนับสนุนโดยพ่อแม่ผู้ปกครอง รวมอีก ร้อยละ 30 ของเงินรัฐบาลกลาง
เราก็จะยังได้งบประมาณที่เพียงพอสำหรับบริหารโรงเรียนขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำถาม: การมีส่วนร่วมของชุมชน
ในอดีต ชุมชน ดังเช่น อบต. อบจ. เทศบาล
ยังไม่ได้เข้ามามีบทบาทสนับสนุน หรือบริหารการศึกษาของท้องถิ่นตนเอง แต่ในอนาคต
ส่วนงานเหล่านี้ ต้องเข้ามามีบทบาทพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นของตน
คำถาม: Accountability &
Transparency
การใช้เงินอย่างคุ้มค่าเม็ดเงิน (Accountability)
ท้องถิ่นต้องเรียนรู้กลไกในการติดตามตรวจสอบความคุ้มค่า
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency & Effectiveness) ของโรงเรียน
ไม่ใช่เพียงครูใหญ่ หรืออาจารย์ใหญ่ที่ต้องรู้การจัดการ แต่คณะกรรมการโรงเรียน
คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา เหล่านี้ต้องมีพื้นฐานการจัดการ
พื้นฐานเศรษฐศาสตร์จุลภาคเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อจะจัดการกับระบบโรงเรียนในยุคใหม่
ขอบพระคุณมากครับ
ReplyDelete