มาเรียนรู้กีฬายิ่งใหญ่ การแข่งขันวิ่งมาราธอน (Marathon)
ประกอบ คุปรัตน์
ประกอบ คุปรัตน์
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia
Keywords: Sports, กีฬา, Track and
field, ลู่และลาน, Long distance, Marathon, มาราธอน
กีฬาวิ่งระยะไกล
นับเป็นอีกกีฬาหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้แข่งขันได้พัฒนาสุขภาพอนามัยไปสู่คุณสมบัติสูงสุดที่มนุษย์พึงมี
กีฬาวิ่งระยะไกลที่สุดที่มีการแข่งขันอย่างเป็นทางการ
และบรรจุอยู่ในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก คือการวิ่งมาราธอน (Marathon running)
การวิ่งมาราธอน (Marathon) เป็นการวิ่งระยะไกล (Long-distance running) ที่มีระยะ
42.195 กิโลเมตร หรือ
26 ไมล์ 385 หลา
โดยทั่วไปเป็นการวิ่งบนผิวถนน (Road race) เป็นกิจกรรมการวิ่งที่เฉลิมฉลองให้กับทหารกรีกโบราณที่ชื่อ
“ฟิดิปปิเดซ” (Pheidippides)
ผู้วิ่งส่งสารสงครามแห่งมาราธอน (Battle of
Marathon) ไปยังกรุงเอเธน แล้วเสียชีวิตด้วยความเหนื่อยอ่อน
ประวัติความเป็นมา
(Origin)
ภาพวาด โดย ลุค โอลิเวอร์ เมอร์ซัน (Luc-Olivier Merson) เมื่อฟิดิปปิเดซ (Pheidippides) ผู้ทำหน้าที่วิ่งนำข่าวชนะสงครามที่เมืองมาราธอน
(Battle of Marathon) มาแจ้งแก่ประชานชาวเอเธนส์
(Athens)
ชื่อการแข่งขันวิ่งมาราธอน มาจาก Marathon
อันเป็นตำนานของ “ฟิดิปปิเดซ” (Pheidippides) ผู้ทำหน้าที่ส่งสารชาวกรีก
ตามตำนานมีอยู่ว่า เขาถูกให้มาส่งสารสงครามที่มาราธอน (battlefield of Marathon) แก่ชาวเอเธน เพื่อประกาศว่าทัพของเปอร์เซีย (Persians) ได้พ่ายแพ้ในการสู้รบกับกรีก
ช่วงที่เกิดเหตุการณ์นี้คือประมาณเดือนกันยายน 490 ปีก่อนคริสตกาล
ตำนานบอกว่า เขาวิ่งตลอดระยะทางนั้น โดยไม่ได้หยุดพักจนมาแจ้งข่าวแก่ที่ประชุม
โดยกล่าวคำว่า νικωμεν’ (nikomen) แปลว่า “เราได้ชนะสงครามแล้ว”
ก่อนที่เขาจะตายไปด้วยความเหนื่อยอ่อน
ตำนานเล่าขานนี้ปรากฏใน “เกียรติศักดิ์แห่งเอเธน”
(The Glory of Athens) ในช่วงศตวรรษแรกหลังคริสตกาล
ซึ่งในขณะนั้น ซึ่งได้กล่าวอ้างในงานของ Heraclides Ponticus ซึ่งบอกว่าชื่อนักวิ่งว่า เธอซิปุส (Thersipus) แห่ง
“เออคิอุส (Erchius) หรือ ยูคลิส (Eucles) ซึ่งไม่ใช่ชื่อ Philippides หรือ
Pheidippides
ส่วนงานเขียนของ
“ลูเซียน แห่ง ซาโมซาตา” (Lucian of Samosata) ได้ให้ชื่อนักวิ่งนี้ว่า
Philippides ไม่ใช่ Pheidippides
แปลจาก Wikipedia
มาราธอน หมายถึง
ระยะ 26 ไมล์ 385 หลา
แต่ทางแถบเอเซียนิยมใช้เป็น 42.195 กม.
วิ่งบนถนนทั่วไป (Road Races) คือระยะที่อาจมากหรือน้อยกว่ามาราธอน (Mini Marathon) จะเป็นระยะกี่กิโลก็ตาม แม้แต่ที่เรียกกันว่า ครึ่งมาราธอน ( 21.100
กม.) ก็เรียกมินิได้เช่นกัน ส่วนคำว่า ซูเปอร์ฮาล์ฟมาราธอน (
ซูเปอร์ครึ่งมาราธอน ที่บางคนเข้าใจว่าเป็นระยะมากกว่าครึ่งมาราธอน เช่น 25-30
กม. ความจริงคำว่า ซูเปอร์ฮาล์ฟนี้ฝรั่งไม่รู้จัก
พี่ไทยเราตั้งกันเองตามประสาสิบล้อครีเอท แต่ถ้าเป็นระยะที่ยาวกว่ามาราธอน ( 42.195
) เขาเรียก " Ultramarathon " มักจะมีมาตราฐานไว้ที่
100 กม. มีการจัดบ่อยในยุโรป
ส่วนใหญ่แชมป์จะทำเวลาอยู่ประมาณ 6.30-7 ชม.
AIMS มีสมาชิกที่เป็นสนามวิ่งอยู่ทั้งหมดทั่วโลก
ปัจจุบัน 55 ประเทศ ประกอบด้วย สมาชิกที่เป็นสนามแข่งขัน 166
แห่ง สนามวิ่งในประเทศเราที่เป็นสมาชิกของ AIMS มีอยู่ 1 สนาม คือ " กรุงเทพมาราธอน" สนามวิ่งที่เป็นสมาชิกของ
AIMS จะต้องได้รับการพิสูจน์วัดระยะของเส้นทางแข่งขันในระยะที่ถูกต้องตรงตามมาตราฐานวัดที่สุด
กรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางแข่งขันเดิมเลย เมื่อครบ 5 ปี ผู้แทนฝ่ายเทคนิคของ AIMS ซึ่งปัจจุบันร่วมมือกันกับ IAAF
( International Amateur Atheletic Federation ) จะต้องทำการพิสูจน์วัดเส้นทางใหม่
นอกจากดูแลเคร่งครัดเกี่ยวกับความเที่ยงตรงของเส้นทางแข่งขันแล้ว AIMS ยังควบคุมดูแลโครงสร้างการจัดงานที่ได้มาตรฐานอื่น ๆ อีกด้วย
ข้อมูลโดย สงคราม ไกรสนธิ์
การแข่งขันวิ่งมาราธอนครั้งแรกของโลก
ปี 1896 ในโอลิมปิคเกมส์
จัดที่เอเธนในระยะทาง 24 ไมล์ 1500 หลา
ผู้ชนะในครั้งนั้น เป็นชาวกรีกนั่นเอง คือ สปิริดอน หลุย ( Spyridon Louis ) ทำเวลา 2.58.50 ชม.
ชื่อของ สปิริดอน เป็นประวัติศาสตร์
ปัจจุบันเรามักจะเห็นตัวผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับกีฬานำเอาคำว่า "Spyridon"
ไปใช้ เช่น ชื่อบริษัทเกี่ยวกับกีฬา ฯลฯ โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกา
ข้อมูลโดย สงคราม ไกรสนธิ์
ระยะทาง Marathon ถูกเปลี่ยนแปลง
ปี 1908 มีการจัดโอลิมปิคเกมส์
ที่ London ระยะทางเดิมถูกปรับให้ยาวออกไปเป็น 26 ไมล์ 385 หลา ( 42.195 กม.)
ด้วยเหตุผลที่คณะกรรมการยินยอมกำหนดเส้นชัยอยู่ตรงหน้าพระพักตร์เจ้าหญิงพอดี
และต่อจากนั้นมาได้ยึดระยะนี้เป็นมาตราฐานจนถึงปัจจุบัน ผู้เป็นแชมป์คนแรกในระยะ 42.195
กม. นี้คนแรกคือ จอห์น เฮย์ (John
Hayes) นักวิ่งอเมริกัน ทำเวลา 2.55.18 ชม.
การแข่งขันวิ่งมาราธอนสำหรับประชาชนทั่วไปครั้งแรกในโลก
ทันทีที่มีการแข่งขันวิ่งมาราธอนในโอลิมปิคเกมส์ที่เอเธนปี
ค.ศ. 1896 เมือง "บอสตัน" ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ก็ริเริ่มจัดให้มีการแข่งขัน "วิ่งบอสตันมาราธอน" (Boston Marathon) ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1897
ใช้กฎกติกาการแข่งขันเหมือนโอลิมปิค
เพียงแตกต่างกันที่เปิดโอกาสให้นักวิ่งประชาชนทั่วไปเข้าแข่งได้ "บอสตันมาราธอน"
จึงกลายเป็นงานวิ่งมาราธอนประเพณีประจำเมืองที่มีอายุมากที่สุดในโลก จนถึงปัจจุบัน
115 ปี และจัดต่อเนื่องกันมามิได้ขาด
ข้อมูลโดย สงคราม ไกรสนธิ์
ภาพ การวิ่งมาราธอน ที่เบอร์ลิน ปี ค.ศ. 2007
วัฒนธรรมกีฬา
ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีวัฒนธรรมกีฬาคนตัวใหญ่ แข็งแรงที่สุด
ต้องตัวสูงใหญ่ และเร็วที่สุด โดยมีกีฬาอาชีพที่เลื่องชื่อ คือ บาสเก็ตบอล (Basketball),
อเมริกันฟุตบอล (American Football), และเบสบอล
(Baseball) แต่การวิ่งระยะไกลสุดอย่างวิ่งมาราธอนนั้น
เป็นกีฬาที่ต้องส่งเสริมกันอีกแบบหนึ่ง
การวิ่งมาราธอน ต้องการลักษณะพิเศษของนักกีฬา คือความสามารถวิ่งได้เร็วในระยะไกล
ไม่ใช่เร็วที่สุดในระยะสั้น (Sprint) นักกีฬาตัวใหญ่หรือเล็กไม่สำคัญ
แต่มักจะได้แก่คนที่มีรูปร่างผอม สูงสันทัด คือไม่สูงมากทีเดียว
ไม่มีกล้ามเนื้อแดงเป็นมัดๆ แต่กล้ามเนื้อทุกส่วนถูกสร้างมาให้มีความทนทาน
ใช้พลังงานอย่างประหยัด มีปอดใหญ่พิเศษ หัวใจต้องใหญ่พิเศษ และแข็งแรง ในสภาวะปกติ
นักวิ่งมาราธอนจะมีการเต้นของหัวใจช้ากว่าคนปกติ อาจจะ 40 กว่าครั้งต่อนาที
ในขณะที่คนทั่วไปจะมีหัวใจเต้นในเวลาปกติประมาณ 68-72 ครั้ง/นาที
สิ่งที่คุณสมบัติของร่างกายนักวิ่งมาราธอนที่เป็นเลิศต้องการมากที่สุด
คือ “ความอดทน” และแข็งแกร่ง อยางที่เรียกว่า Stamina
สภาพร่างกายของนักวิ่งมาราธอนเปรียบเหมือน
“นกบินระยะไกล” บินข้าทวีป เบา แต่แข็งแรง และแข็งแกร่ง ไม่ใช่ลักษณะของสิงโต
ที่ต้องการพลังและความเร็วในการวิ่งระยะสั้นๆ ซึ่งถูกจำลองไว้ในเกมส์อย่างอเมริกันฟุตบอล
นักวิ่งระยะไกลของอเมริกา จอห์น เฮยส์ (Johnny Hayes) นับว่ามีส่วนกระตุ้นวงการวิ่งระยะไกลนี้
เมื่อเขาชนะเลิศในการแข่งขันวิ่งมาราธอนในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี ค.ศ. 1908 ทำให้เกิดการวิ่งมาราธอนอีกหลายแห่งตามเมืองใหญ่ในสหรัฐ
และเป็นการจัดในช่วงวันหยุดยาว เช่น วันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day), ช่วงหลังฉลองคริสต์มาส
(Christmas) , และฉลองปีใหม่ (New Year's Day), วันฉลองวันเกิดของประธานาธิบดีคนแรก
คือจอร์จ วอชิงตัน (Washington's Birthday),
และวันฉลองวันเกิดของประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น (Lincoln's Birthday) การวิ่งมาราธอนเนื่องจากเป็นการวิ่งระยะยาว ต้องใช้ถนนผิวราบปกติ
ไม่ใช้ถนนขึ้นเขา ส่วนสภาพอากาศ ก็คือ ไม่ควรจัดในช่วงอากาศร้อนจนเกินไป
หรือหนาวจัดจนเกินไป
สถิติโลก
และสถิติที่ดีที่สุดในโลก
World records and world's best
คำว่าสถิติโลก (World records) สำหรับวิ่งมาราธอนไม่ได้รับการยอมรับโดย
IA AF จนกระทั่ววันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2004 ก่อนหน้านี้เขาใช้คำว่าสถิติที่ดีที่สุดในโลก
หรือ World Best เพราะสภาพแวดล้อมในการวิ่งจะต้องอยู่ในกรอบมาตรฐานของ
IAAF จึงจะยอมรับเป็นสถิติ
เนื่องจากเส้นทางการวิ่งมาราธอนแต่ละที่มีความแตกต่างกันตามระดับสูงต่ำ (Elevation),
เส้นทางการวิ่ง (Course), และผิวทางวิ่ง (Surface)
สถิติโลกชายสำหรับวิ่งมาราธอน คือวิ่งได้ 2 ชั่วโมง 3 นาที กับ 38
วินาที ในวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2011 ที่เมืองเบอร์ลิน (Berlin Marathon) โดย แพทริก มาเคา (Patrick Makau) จากเคนยา (Kenya)
นับเป็นสถิติที่ดีกว่าเดิมถึง
21 วินาทีจากสถิติที่ทำในการวิ่งที่เดียวกันในสถานที่เดียวกันที่ทำโดย
ไฮเล เกสบริซิลาสซี่ (Haile Gebrselassie) จากประเทศเอธิโอเปีย (Ethiopia) ที่ทำไว้เมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2008
สถิติวิ่งมาราธอนชายที่เร็วที่สุดในโลก
ทำขึ้นในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2011 ทำโดย
จีออฟฟรี มูไต (Geoffrey Mutai)
จากประเทศเคนยา (Kenya) ที่ทำสถิติวิ่งด้วยเวลา 2 ชั่วโมง 3 นาที กับ 2 วินาที ที่เมืองบอสตัน (Boston Marathon)
แต่สถิตินี้จะไม่ได้รับการยอมรับเป็นสถิติโลก
เนื่องจากเงื่อนไขของการวิ่งมาราธอนที่บอสตันไม่ผ่านเงื่อนไขของ IAAF (IAAF
criteria for world record eligibility)
ภาพ การแข่งขันวิ่งมาราธอนชาย ในกีฬาโอลิมปิก ปี ค.ศ. 2008 แซมมวล วานิิจิรู (Samuel Wanijiru) ขณะวิ่งเข้าเส้นชัย
สถิติการแข่งขันวิ่งมาราธอนชาย
สถิติการแข่งขันวิ่งมาราธอนชาย ที่เร็วที่สุดที่มีการบันทึกไว้
ระยะเวลา
Time |
ชื่อนักกีฬา
Athlete |
ประเทศ, วัน/เดือน/ปี,
ณ สถานที่ |
2h03:38
|
||
2h03:42
|
||
2h03:59
|
||
2h04:23
|
||
2h04:27
|
||
2h04:27
|
||
2h04:40
|
||
2h04:48
|
||
2h04:50
|
||
2h04:50
|
สถิติการแข่งขันวิ่งมาราธอนหญิง
สถิติวิ่งมาราธอนหญิงที่เร็วที่สุดในโลกคือ 2
ชั่วโมง 15 นาที 25 วินาที
โดยพอล่า แรดคลิฟ (Paula Radcliffe) จากสหราชอาณาจักร (United Kingdom) ทำไว้เมื่อวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 2003 ในการแข่งขันเมืองลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร
ภาพ แคเธอรีน เดเรบา (Catherine Ndereba) ผู้ครองสถิติวิ่งมาราธอนหญิงที่เร็วที่สุดในช่วงปี ค.ศ. 2001-2002 จะเห็นได้ว่า นักวิ่งระยะไกลอย่าง มาราธอนนี้ นักกีฬา ทั้งชายและหญิง จะเป็นคนรูปร่างผอมสูง ขายาว และมีความอดทนเป็นพิเศษ โดยในปัจจุบันครองโดยนักวิ่งจากอัฟริกาเสียเป็นส่วนใหญ่
ระยะเวลา
Time |
ชื่อนักกีฬา
Athlete |
ประเทศ, วัน/เดือน/ปี,
ณ สถานที่ |
2h15:25
|
||
2h18:20
|
||
2h18:37
|
||
2h18:47
|
||
2h18:58
|
||
2h19:12
|
||
2h19:19
|
||
2h19:31
|
||
2h19:34
|
||
2h19:36
|
ภาพ พอลล่า เจน แรดคลิฟ (Paula Jane Radcliffe
พอลล่า
เจน แรดคลิฟ (Paula Jane
Radcliffe) เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม
ค.ศ. 1973 เป็นนักวิ่งระยะไกลชาวอังกฤษ
ปัจจุบันเป็นเจ้าของสถิติโลก (world record holder) ในการวิ่งมาราธอนหญิง
ด้วยเวลาที่ดีที่สุดที่ 2 ชั่วโมง 15 นาที
25 วินาที เป็นผู้ชนะเลิศมาราธอนกรุงลอนดอน (London Marathon) 3 ครั้ง
มาราธอนเมืองนิวยอร์ค (New York Marathon) 2 ครั้ง
ชนะเลิศมาราธอนเมืองชิคาโกมาราธอน (Chicago Marathon) 1 ครั้ง ในปี ค.ศ. 2002
ภาพ ลิลิยา บูลาตอฟนา
โซบูโควา (Liliya Bulatovna Shobukhova)
ลิลิยา
บูลาตอฟนา โซบูโควา (Liliya
Bulatovna Shobukhova) (Russian: Лилия Булатoвнa Шoбухова, née Russian: Шагбaлова, Shabalova) เกิดเมื่อวันที่
13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1977 เป็นนักวิ่งระยะไกลชาวรัสเซีย
ผู้เคยเข้าแข่งขันวิ่งมาราธอน ก่อนหน้านี้เธอเชี่ยวชาญวิ่งระยะ 3000 เมตร
และ 5000 เมตร
ภาพ เออร์บา ติกิ เกลาน่า (Erba Tiki Gelana)
เออร์บา ติกิ
เกลาน่า (Erba Tiki Gelana) เกิดเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1987 เป็นนักวิ่งระยะไกลชาวเอธิโอเปีย (Ethiopian) เป็นเจ้าของสถิติ 2
ชั่วโมง 18 นาที 58 วินาที
อันเป็นสถิติแห่งชาติของเอธิโอเปีย (Ethiopian national record) เธอชนะเลิศในรายการ
วิ่งมาราธอนที่อัมสเตอร์ดัม (Amsterdam
Marathon) ในปี ค.ศ. 2011 และที่รอตเตอร์ดัม (Rotterdam
Marathon) ปี ค.ศ. 2012
No comments:
Post a Comment