ลีลาศ การเต้นรำในแบบ Ballroom dance
Keywords: physical exercise, การออกำลังกาย, health,
สุขภาพอนามัย, physical education, พลศึกษา
ภาพ กิจกรรมลีลาศของประชากรสูงอายุ อาจมีการจัดกันที่ Sport Club, Country club, ชุมชนทางเลือกผู้สูงวัย ภัตตาคาร หรือ Nigh club
หากเราจะมีอายุสัก 90-100 ปี
เราคงต้องมีกิจกรรมออกกำลังกายที่หลากหลาย และลีลาศก็เป็นทางเลือกประการหนึ่ง
ซึ่งปัจจุบัน ผู้สูงอายุได้หันกลับมาเรียนรู้กิจกรรมลีลาศ (Ballroom dance)
กันมากขึ้น
ภาพ การแลีลาศแข่งขัน ซึ่งจะมีทั้งความสวยงาม ต้องมีการฝึกฝนอย่างมาก และผู้แข่งขันต้องมีสมรรถนะร่างกายที่ดีคล้ายๆกับ Gymnastic
ลีลาศ ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกว่า Ballroom
dance เป็นการเต้นที่ต้องมีคู่ ซึ่งทั้งสองฝ่าย
ซึ่งจะเป็นชายและหญิง
ได้มีกิจกรรมการเต้นเป็นจังหวะทั้งเพื่อการเข้าสังคมและการแข่งขัน
ซี่งมีการแข่งขันกันถึงในระดับโลก เพราะมันเป็นกิจกรรมที่ทั้งเพื่อสันทนาการ
สนุกสนานและมีลีลาน่าสนใจ จึงมีปรากฏในการแสดงละคร ภาพยนตร์ และโทรทัศน์
การเต้นรำหรือลีลาศอย่างที่คนรุ่นผมรู้จักในช่วงเรียนมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
คือเมื่อราวปี พ.ศ. 2507-2512
ปัจจุบันนี้มีเหลือให้เห็นน้อยลง แต่ในสมัยก่อน
ลีลาศเป็นกิจกรรมที่หนุ่มสาวต้องแสวงหาโอกาสและสถานที่ๆจะได้มีกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน
และหากใครเต้นรำไม่เป็น
ในมหาวิทยาลัยบางแห่งมีวิชาสอนเต้นรำเป็นวิชาเลือกให้ได้เรียนด้วย
ซึ่งมักจะอยู่ในภาควิชาด้านพลศึกษาและสันทนาการ
ภาพ ศาลาพระเกี้ยว หรือ Chula Student Union จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมัยก่อนไม่มีเครื่องปรับอากาศ แม้มีระบบระบายอากาศด้วยใช้เพดานสูง แต่ก็ยังร้อนอยู่มาก
สถานที่ในการเต้นรำ จะมีทั้งที่มหาวิทยาลัย ไนต์คลับ
หากใครเต้นรำเป็น ก็จะหาเวทีซึ่งมีทั้งที่มหาวิทยาลัยเอง จัดกันเป็นวาระ
เช่นงานปีใหม่ มีการจัดกันใหญ่ใช้เวทีไม้ปูกันที่สนามฟุตบอลเลย
บางทีจัดกันที่ศาลาในร่ม ซึ่งทำให้จัดได้ไม่จำกัดว่าฝนจะตกหรือไม่ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดกันที่ศาลาพระเกี้ยว
ซึ่งสมัยนั้นไม่มีเครื่องปรับอากาศ ในสมัยก่อน
นิสิตนักศึกษาเกือบทุกมหาวิทยาลัยจะคุ้นกับกิจกรรมนี้
ส่วนวงดนตรีมีทั้งที่เป็นวงดนตรีขนาดใหญ่เต็มรูป
ที่ขึ้นชื่อที่สุดของยุคเมื่อ 40-50 ปีที่แล้วก็จะต้องยกให้วงดนตรีสุนทราภรณ์,
และหากเป็นวงของมหาวิทยาลัยก็จะมีทึ่ขึ้นชื่อคือ วง KU Band ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
วง CU Band ซึ่งวงดนตรีของมหาวิทยาลัยนี้
ถือเป็นกิจกรรมที่เล่นทั้งเพลงป๊อป หรืออาจใช้เปิดเครื่องเล่นแผ่นเสียงเอา
สมัยต่อมามีเครื่องเล่นเทป ก็สามารถจัดเพลงเป็นกลุ่ม สามารถเต้นได้อย่างต่อเนื่อง
เรียกว่า Medley โดยนำหลายเพลงมาผสมผเสต่อเนื่องกันไป
แทนที่จะหยุดทุก 3 นาที
ก็สามารถมีกิจกรรมเต้นรำต่อเนื่องไปเป็น 15-30 นาทีได้
จังหวะที่ใช้เป็นเพลงและเต้นรำกันมีลักษณะความเป็นนานาชาติมาก
มีทั้งจากยุโรป อเมริกา และอเมริกาใต้ และเพลงเพื่อการลีลาศ และจังหวะเพลงที่ใช้
มี Waltz, Viennese Waltz, Foxtrot มีพื้นฐานจากอัฟริกันอเมริกัน,
Tango นิยมกันในประเทศอาร์เจนติน่าและอูรูกวัย, Quickstep มีพื้นฐานมาจากอัฟริกัน และเกาะในทะเลแคริเบียน, Samba ของบราซิลมีพื้นฐานจากอัฟริกาและอัฟริกาตะวันตก, Cha-cha-cha มาจากคิวบาในอเมริกาใต้, และ Rumba ของคิวบามีพื้นฐานจากอัฟริกาเช่นกัน และเป็นครั้งคราว
ก็จะมีเพลงที่เป็นพวก Folk dance เต้นกันเป็นกลุ่ม
ในยุคนั้น หากใครไม่หัดเต้นรำให้เป็น อยากจะไปสนุกกับเพื่อนๆ
ก็ต้องได้แต่นั่งจิบเครื่องดื่มดูเขาเต้นกันไป
No comments:
Post a Comment